ดอกไม้ในวรรณคดี


ดอกไม้ในวรรณคดี
ดอกไม้ในวรรณคดีไทย  สามารถแบ่ง  ได้ 5 ลักษณะ คือ

          1. ไม้ล้มลุก  ได้แก่ พันธุ์ไม้ที่มีอายุไม่เกินปี  เมื่อออกดอกแล้วมักจะตาย  เช่น  ดาวเรือง  ทานตะวัน 
บานเย็น     ไม้ล้มลุกนี้ยังจัดไว้อีกประเภทหนึ่ง  คือไม้ล้มลุกยืนต้น   เป็นไม้ประเภทที่มีอายุได้ตลอดปี   เช่น  
กุหลาบ  กล้วยไม้  กาหลา  ซ่อนกลิ่น  ช่อนชู้  การะเกด  ฯลฯ

          2. ไม้พุ่ม   หมายถึง   ต้นไม้ยืนต้น  มีอายุได้นานปี  แบ่งออกเป็นไม้พุ่มต่ำ  และไม้พุ่มกลาง  ซึ่งสูง
ไม่เกิน 6 เมตร  มีดังนี้ คือ
                    2.1 ไม้พุ่มต่ำ  ได้แก่  การะเกด  เข็ม  นางแย้ม  ปาหนัน  ฯลฯ
       2.2 ไม้พุ่มกลาง  ได้แก่  กระถิน  กรรณิการ์   ชงโค  ประยงค์  จำปี  จำปา  จำปาเทศ   ฯลฯ

          3. ไม้เถา  คือพันธุ์ไม้ที่ต้องอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่  ตามหลัก  ตารั้วหรือเรือนต้นไม้  จึงจะทรงตัว
อยู่ได้  ไม้เถาแบ่งออกเป็น
       3.1 ไม้เถาล้มลุก  คือ  พันธุ์ไม้ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี  เมื่อออกดอกหรือหมดฤดูฝนแล้วก็ตาย
เช่น ดองดึง  ขจร ฯลฯ
       3.2 ไม้เถายืนต้น  คือ พันธุ์ไม้ที่มีอายุนานปี เช่น การะเวก คัดเค้า ช้องนาง ชำมะนาด ฯลฯ

          4. ไม้ยืนต้น  ได้แก่  พันธุ์ไม้ขนาดใหญ่สูงเกิน 6 เมตรขึ้นไป  เช่น  กระทิง  กระทุ่ม  กระดังงา  กุ่ม 
เกด  แก้ว  แค  จิก  ตะแบก  ฯลฯ

          5. ประเภทไม้น้ำ  ได้แก่  บัวต่าง ๆ ผักตบ  จอก  กก ฯลฯ 

หมายเลขบันทึก: 164341เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2008 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แล้วมีอย่างอื่นอีกรึเปล่าค่ะ  หรือว่าทั้งหมดมีแค่นี้

สวัสดีค่ะ มาหาความรู้ค่ะ

อย่างอี่นมีหรือเปล่าค่ะ

 

มีรูปดอกไม้ไหมครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท