ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

ผู้รู้


วันนี้สำหรับคนที่ทำงานโดยมากก็ได้หยุดพักผ่อนกายและใจ

เพื่อออมแรงไว้ก้าวต่อไปในหน้าที่กายงาน  แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นวันหยุดเพียงแค่กายเท่านั้น  แต่ทว่าใจกลับเคร่งเครียดกับเรื่องงานที่ผ่านมาหรือพะว้าพะวงกังวลว่าพรุ่งนี้จะทำอย่างไรกับงานที่จะทำ 

พักกายใจเสียบ้างโดยมาอยู่กับครอบครัว

และที่สำคัญอยู่ดูใจตัวเราเองว่า  ณ  ขณะนี้เป็นยังไงบ้าง

เหนื่อยก็พัก  หนักก็ว่าง  วุ่นก็ให้ว่างอย่างมีสติ  แล้วทุกอย่างจะลงตัวเอง

เราทุกคนสามารถเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ได้ด้วยกันทุกคน

บัณฑิต  คือ ผู้รู้ หรือนักปราชญ์(ไม่จำเป็นต้องมีใบปริญญา)

คือ คนฉลาดรู้เท่าทันความจริงและเหตุผล ความประพฤติดี

ตั้งใจศึกษาและใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้จักว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์

เมื่อจะทำ จะคิด จะพูด ก็ใช้ปัญญาพิจารณาดูว่า

การที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิดนั้น ดีหรือชั่ว

เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ แม้นจะชอบใจทำอะไร

ถ้าการนั้นเป็นความชั่ว เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

เพราะจะทำตนให้เป็นคนชั่ว หรือเบียดเบียนผู้อื่น

เพราะจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วยประพฤติของตน

ก็มักจะมีความละอายแก่ใจ และเกรงกลัวต่อผลชั่ว

สามารถกลั้นไว้ไม่ทำลงไป ซึ่งจะเห็นว่าบัณฑิตนั้นจะต้องมีหิริ โอตตัปปะ

 หิริ  ความละอายใจในการประพฤติชั่ว รังเกียจบาป

มีกายสุจริต หรือมีความยำเกรง ไม่ยอมทำบาป

ส่วนโอตตัปปะ  ความเกรงกลัวผลชั่ว ไม่กล้าทำเหตุชั่ว

อันมีประการต่างๆ เช่นเดียวกับคนผู้รักชีวิต

รู้อยู่ย่อมเกรงกลัวไม่กล้าจับเหล็กที่ร้อน หรืออสรพิษ ฉันใด

คนที่มีโอตตัปปะย่อมไม่กล้าแตะต้องความชั่ว

อันเปรียบเสมือนเหล็กที่ร้อน หรืออสรพิษ ฉันนั้น

 เป็นธรรมที่ทำให้ดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

โดยที่กรรมดีเป็นเหตุแห่งสุข กรรมชั่วเป็นเหตุแห่งทุกข์

ผู้ทำกรรมอย่างใดย่อมได้ผลอย่างนั้น

ส่วนการงานที่ดีที่ชอบประกอบด้วยประโยชน์ที่ควรทำทางกาย

 และการใช้สติปัญญาพิจารณาที่ควรทำทางใจ

เป็นการบำรุงกำลังกายและบำรุงปัญญาให้เจริญสถาพรสืบไป

..จงเป็นผู้รู้ในตัวเองให้จงได้..

ธรรมะสวัสดีขอรับ..

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 299119เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2009 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

มาเรียนรู้หลักคิดจาดพระอาจารย์เช่นเดิมครับ

"บัณฑิต คือ ผู้รู้ หรือนักปราชญ์(ไม่จำเป็นต้องมีใบปริญญา)

คือ คนฉลาดรู้เท่าทันความจริงและเหตุผล ความประพฤติดี"

ตรงนี้ ประทับใจมากครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ

หิริโอตัปปะ คือแก่นธรรมมะเลี้ยงใจตั้งแต่เด็กจนโต(แก่)ของพี่นกค่ะ

ทำให้เรารู้ในสิ่งที่ควรและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนค่ะ เป็นการเติบโตด้วยความกลัวความชั่วเท่านั้นเอง

สาธุขอรับ..พี่นก..

นี้แหละเขาเรียก..ธรรมที่ทำให้คนเป็นเทวดาได้อย่างแท้จริง..

อย่างนี้ต้องเรียกว่า..สกุณาอัปสร..แล้วมั้งพี่นก..

ตอนเด็กๆ ข้อธรรมแรกที่ได้เรียนคือ บทนี้แหละ ดูท่าครูคงสอนมากกว่านี้อยู่หรอกมังคะ

แต่สมองความจุน้อย จึงยึดเอาบทนี้มาเลี้ยงใจตน จนโต โตมากับนิทานเจ้าหญิงในหนังสือขวัญเรือน

นี่....คนรุ่นนี้ เขาเป็นแบบนี้กัน......ไม่น่าจะได้เป็นสกุณาอัปสรหรอกค่ะ ยังไม่เนียนปานนั้น

ติดตัวขี้เกียจอยู่ค่ะ เอาไว้แกะตัวออกจากตัวขี้เกียจได้.......จะรับคำชม

Pถ้างั้นพี่นกเอาไปเก็บใส่ตู้ไว้ก่อนละกัน..

ทุกอย่างในครรลองแห่งชีวิตสอนให้เราได้เรียนรู้ทุกลมเข้าออก

เพียงแต่เราจะใส่ใจมันมากน้อยเพียงใด...

สาาาาธุขอรับ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท