2.การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณ


การดูแลในมิติจิตวิญญาณ

การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมถือเป็นมาตรฐานการดูแลระดับโลกที่ทีมการพยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความตระหนัก การดูแลแบบองค์รวมไม่ว่าจะเป็นมิติใดล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยทั้งสิ้น นับตั้งเเต่ด้านร่างกาย ด้านจิตใจอารมณ์ จิตสังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว การให้การช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ หากเราได้ช่วยเหลือในการจัดการกับปัญหาทางด้านร่างกายการจัดการอาการต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น ความปวด ภาวะเลือดออกง่าย การหายใจที่ผิดปกติ สิ่งที่ต้องช่วยเหลือต่อไปก็คือปัญหาและความต้องการด้านจิตใจและด้านจิตวิญญาณในที่นี้จะขอกล่าวในเรื่องการช่วยเหลือดูแลในมิติจิตวิญญาณ ทำไมมิตินี้จึงมีความสำคัญไม่แพ้มิติอื่นขององค์รวม ด้วยจิตวิญญาณคือแกนกลางของชีวิต คือจิตส่วนลึกเป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากการกระทบระหว่างสิ่งแวดล้อมกับจิต  ภาวะทางจิตวิญญาณจึงเป็นภาวะที่ทำให้บุคคลมีสติและปัญญาอันละเอียด ประณีต จิตวิญญาณจึงเป็นเสมือน ขุมพลังชีวิต เมื่อเอ่ยถึงคำว่าจิตวิญญาณ บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเพียงเรื่องของศาสนา

จริงอยู่ว่าศาสนาเป็นสิ่งที่ทำให้จิตวิญญาณมีที่ยึดเหนี่ยวและพึ่งพิง เป็นความต้องการด้านจิตวิญญาณด้านหนึ่งในหลายๆด้านซึ่งนักปรัชญา นักสังคมศาสตร์ได้ให้ความหมายของความต้องการด้านจิตวิญญาณ(spiritual need)ไว้ว่า ความต้องการด้านจิตวิญญาณประกอบด้วย

  1. ความต้องการความรักความผูกพัน

  2. ความต้องการมีความหวัง

  3. ความต้องการให้อภัย

  4. ความต้องการความหมายและเป้าหมายสูงสุดในชีวิต

  5. ความต้องการมีที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ

จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานในหอผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ทีมต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ ผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายที่รับทราบผลการรักษาที่มีแนวโน้มจะไม่ดีเช่น โรคมีการกลับซ้ำหลายครั้ง หรือมีการลุกลามไปในอวัยวะสำคัญ แพทย์และ ทีมการดูแลสหสาขาวิชาชีพจะพูดคุยและบอกความจริงโดยถ้าเป็นเด็กโต หากผู้ปกครองอนุญาตให้บอกเด็กได้เราจะบอก เเต่ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องบอกเด็กทุกคน ในบริบทอีสานครอบครัวโดยส่วนใหญ่จะไม่บอก

หมายเลขบันทึก: 246917เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การผสมผสานระหว่างการแพทย์และความเชื่อซึ่งเป็นมิติจิตวิญญาณ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ค่ะ

น้องสุธีราจ๋า

การดูแลเด็กนี่ยากนะคะ เพราะพี่ดูแลเด็กวัยรุ่นที่มารับยาเคมี เธอร้องไห้กลับบ้านทุกวัน

ช่วยบอกพี่ที ว่าพี่จะทำอย่างไรดีคะ

บอกอย่างเดียวเลยว่า.............

หมอคะ...หนูทนไม่ไหวแล้ว หนูอยากกลับบ้าน

พีเเก้วคะในเด็กวัยรุ่น เราอาจจะต้องค่อยๆคุยกับเขาค่ะ บางทีต้องหาคนที่อยู่ในวัยเดียวกันกับเขา เช่นพยาบาลน้องๆ ที่วัยใกล้เคียงกันซึ่งเขาจะสื่อสารกันได้ดีทีเดียวค่ะ อาจจะให้เวลาในการพูดคุยหรือสร้างสัมพันธภาพ เคยเจอ case เด็กวัยรุ่นที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้วเขาสามารถ cope กับความตายที่กำลังจะมาถึงได้อย่างน่าทึ่ง สำคัญคือครอบครัวมีส่วนช่วยได้มากเลยค่ะ case นี้คุณแม่เขาเก่งมาก เก่งในลักษณะที่ว่าเขาจะพูดไม่ให้ลูกกลัว ไม่แสดงออกถึงความท้อเเท้ให้ลูกเห็นคิดในเชิงบวกอยู่ตลอดเวลา

วัยรุ่นเขาจะมีฝันค่ะ เราอาจจะเข้าทางนี้ก็ได้ค่ะ Case นี้น้องเขาฝันอยากเป็นนักดนตรี เราก็จัดกิจกรรมมินิคอนเสิร์ต ให้เขา และที่สำคัญเขาขอบริจาคร่างกายให้กับโรงพยาบาลซึ่งเป็นสิ่งที่เขาคิดว่า ชีวิตนี้ไม่เคยทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ เขาขอทำสิ่งนี้คือเป็นอาจารย์ใหญ่ เราก็ช่วยเขาในการจัดการก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ในเรื่องการตอบสนอง

spiritual need การได้ให้เขาได้ค้นหาความฝันและคุณค่าเเห่งชีวิตในช่วงที่เจ็บป่วยก็ทำให้เขามีความผาสุกทางด้านจิตวิญญาณ คือถ้าเข้าถึงเขาได้ถึงจิตวิญญาณ

ทุกสิ่งทุกอย่าง อาจจะง่ายขึ้นค่ะ ขอบคุณพี่เเก้วนะคะที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้กับน้องใหม่

G2K

  • ความต้องการด้านจิตใจ และจิตวิญญาณของคนไข้
  • บางครั้งมันมากกว่าความต้องการทางกายที่กำลังเจ็บปวด
  • ทำอย่างไร ให้จิตสงบ ไปสบาย ขึ้นกับปัจจัยและองค์ประกอบหลายๆ อย่าง
  • ทั้ง ความพร้อมของผู้ป่วย ครอบครัว ทีมสุขภาพ ต้องช่วยกัน ปรึกษา ร่วมมือกัน วางแผนร่วมกัน
  • ให้จากไปสงบตามวิถีทางที่ควรจะเป็นที่คิดว่าดีที่สุด ภายใต้บริบทนั้นๆ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะกุ้ง พี่แดงส่ง mail ตั้งแต่วันแรกแล้ว ได้รับหรือยัง... สำหรับกำลังใจและรางวัลคนเก่ง ขอมอบกล้วยไม้สวยๆให้กุ้ง

สวัสดีคะ น้องกุ้ง

น้องกุ้งเขียนบันทึกได้ดีแล้วนะคะ พีชอบอ่าน

ขอแนะนำเพิ่มเติมคะ ทำตัวหนังสือ ให้ใหญ่กว่านี้ จะทำให้อ่านง่ายนะคะ

ขอบคุณกล้วยไม้สวยๆค่ะพี่เเดง

สีสันสดใสเชียวนะคะ

อ่อ...มีแอบส่งรูปเด็กๆมาด้วย

แล้วก็ขอบคุณพี่ไก่ค่ะที่เข้ามาเป็นกำลังใจอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีค่ะ

สวัสดีพี่ไก่ด้วยค่ะ

ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยม

และให้กำลังใจ อย่างนี้สู้ตายค่ะ

จะพยายามฝึกนะคะ อยากเก่งเหมือนพี่ไก่

น้องสุธีราคะ

คนที่ขอนแก่นนี่ ทำไมมีแต่คนชื่อ  ก.  อาจจะเป้นคนเก่งนะคะ

เช่น น้องแก้ว  น้องไก่ และยังมาน้องกุ้งอีกคะ

น้องกุ้งคะ แม่ต้อยชอบบทความของน้องมาก

อาจจะเชิญกุ้งมาร่วมอภิปรายสักวันนะคะ ทางด้าน spiritual care

ตอนนี้ฝากให้รวมประสบการณ์ และบันทึกไว้มากๆ

ดีคะ ดีมากๆคะ

 

วิเศษที่สุดเลยค่ะเเม่ต้อย อยากไปค่ะ

วันไหนคะ อิ อิ ดีใจออกนอกหน้าแล้ว

กุ้งจะรอข่าวดีวันที่แม่ต้อยเชิญไปแลกเปลี่ยนนะคะ

เรื่อง spiritual  ผมมีแนวคำถามที่ผมใช้ เพราะจำง่าย คือ HOPE

  • H: source of hope: ที่พึ่งทางใจ

อะไรที่เป็นที่พึ่งทางใจ อย่างเวลามีเรื่องร้ายๆผ่านเข้ามาในชีวิต

  • O: organization: กลุ่มทางจิตวิญญาณ

นับถือศาสนาหรือเป็นสมาชิกของกลุ่มอะไรหรือเปล่า  สิ่งนั้นช่วยอะไรบ้างหรือไม่ อย่างไร

  • P: practice: ปฏิบัติ

กิจกรรมอะไรคิดว่ามีประโยชน์มากที่สุด  เช่น การอ่านพระคัมภีร์ การทำสมาธิ การเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ การฟังเพลง การเดินทาง การอยู่กับธรรมชาติ

  • E: effect on health : ผลกระทบ

ความเจ็บป่วย(สภาพความเป็นอยู่)ขณะนี้ ทำให้ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ว่าหรือไม่

ที่มา: GOWRI ANANDARAJAH, ELLEN HIGHT 
Spirituality and Medical Practice: Using the HOPE Questions as a Practical Tool for Spiritual Assessment 
American Family Physician  Volume 63 • Number 1 • January 1, 2001

ไม่ทราบว่ามีวิธีประเมินแบบอื่นอีกบ้างมั๊ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท