กลุ่ม "ทองหลาง"
นศ.มรภ.พระนคร ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี

แปรรูปมะพร้าว


จัดการอย่างง่าย ๆ ได้เงินเพิ่ม

  กลุ่ม  "ทองหลาง"  ขอนำวิธีการจัดการผลผลิตในท้องถิ่นเพิ่มรายได้ให้คุ้มค่า

มะพร้าว   มะพร้าวเข้ามาอยู่ในการครองชีพและวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านานโดยเฉพาะภาคใต้และภาคกลาง กล่าวได้ว่ามะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจปลูกมากที่สุดในภาคใต้เพราะสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศร้อนชื้นและอยู่ใกล้ทะเลเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมะพร้าวตำบลคลองน้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่เหมาะสมแก่การทำสวนมะพร้าว ชาวบ้านจึงทำสวนมะพร้าวกันทุกครัวเรือนรายได้หลักมาจากสวนมะพร้าว พี่พรทิพย์  ยศเมฆ อายุ  54  ปีอยู่บ้านเลขที่  86 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อาชีพหลักทำสวนมะพร้าว   ปลูกไม้ผล  พืชผักต่าง    ๆ  โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเพื่อขายเป็นรายได้รองจากการทำสวนมะพร้าว เนื่องจากมะพร้าวจะเก็บได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนต่อรอบ ๆ หนึ่งจะเก็บได้ประมาณ 1,500 – 3,000  ลูก ซึ่งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล ราคาขายก็ไม่แน่นอนเช่นกันขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ด้วยความไม่แน่นอนของราคามะพร้าว ซึ่งมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคาตามท้องตลาดต่ำผลมะพร้าวลูกเล็กไม่ได้ขนาดตามความต้องการของผู้ซื้อ(ซึ่งเป็นผู้ให้ราคา) ปริมาณน้ำน้อย-สภาพน้ำเค็ม  ทำให้ผลมะพร้าวเล็ก ราคาจะตกมาก  จากราคา 5  บาท อาจจะเหลือเพียง1.50 – 2 บาทเท่านั้น ซึ่งถ้าขายออกไปก็ยิ่งทำให้ขาดทุนค่าแรงขึ้นเก็บมะพร้าวอีก จะทิ้งไว้เฉย ๆ   ก็เน่าเสียเปล่า ๆ  จึงได้คิดวิธีแปรรูป    มะพร้าวคัด (มะพร้าวคัด คือ ผลมะพร้าวที่ไม่ได้ขนาด)เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการทำเป็นมะพร้าวแห้งขาย ได้ราคาเพิ่มเป็นเท่าตัว   และยังได้ประโยชน์จากกะลามะพร้าวก็คือ     การเผาถ่านใช้ในครัวเรือน หรือไว้ขายเพิ่มรายได้อีกต่อหนึ่ง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. เสียมปอกมะพร้าว
2. โรงเรือนสำหรับย่างมะพร้าว , ตะแกรงเหล็ก
3. มีดสำหรับผ่ามะพร้าวออกเป็นซีก
4. เกรียงหรือมีดเล็ก ๆ ใช้สำหรับงัดมะพร้าวที่ย่างจนแห้งออกจากกะลา
5. เปลือกมะพร้าวหรือเรียกว่าพดพร้าว  สำหรับใช้สุมไฟ             
ขั้นตอนวิธีการทำ 
1. ปอกเปลือกมะพร้าว
2. ผ่าลูกมะพร้าวแบ่งเป็น 2 ซีก
3. จัดเรียงมะพร้าวบนตะแกรงเหล็ก  เรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบคว่ำหน้าลงสลับกับการหงายขึ้นเพื่อให้มีการกระจายความร้อนอย่างทั่วถึง
4. สุมไฟด้วยเปลือกมะพร้าวใต้ตะแกรงเหล็ก  โดยกระจายไฟให้สม่ำเสมอทั่วกัน
5. ย่างมะพร้าวด้วยไฟที่คุอ่อน ๆ  ประมาณ  3  ชั่วโมง
6. มะพร้าวจะแห้ง  สังเกตว่ามีสีเหลืองเข้ม  ซึ่งจะง่ายต่อการคัดออกจากกะลา
7. นำมะพร้าวที่ได้ที่แล้ว  ทยอยออกมาคัดเนื้อออกจากกะลา
8. เนื้อที่คัดออกแล้ว  นำมาตัดแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนเท่าๆ กัน  เพื่อเตรียมชั่งกิโลขายต่อไป   

                     

                     

ระยะเวลาการผลิต   
  ประมาณ  3  วัน  (ทำคนเดียว)  มะพร้าว  500-800  ลูก ได้เนื้อมะพร้าวเฉลี่ยแล้ว  100  ลูก/ต่อ  30  กิโลกรัม ราคาขายกิโลละ 11-12  บาทโดยจะนำมาขายในตลาดบ้านดอนซึ่งมีร้านรับซื้ออยู่ทั่วไปจะเห็นได้ว่าวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ  ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดเตรียมเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้งานนาน เป็นปี  ๆ  เพียงแค่เราใช้เวลาในการลงทุนแรงงานเท่านั้นแต่สามารถเพิ่มรายได้ถึงเป็นเท่าตัวทีเดียว 
พี่พรทิพย์ มีบุตร  3  คน  ทำงานแล้ว  2  คน  กำลังศึกษา  1  คน  สำหรับคู่ชีวิตคุณสมชาย  ยศเมฆ ก็ทำงานรับจ้างขึ้นมะพร้าวถ้ามีเวลาว่างจะออกหาปลากุ้งในแม่น้ำไว้กินเองทั้งคู่ขยันทำงานในการหาเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัว และเก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาของบุตรที่กำลังเรียน รวมไปถึงงานสังคมของชุมชนในท้องถิ่น เช่น  งานแต่ง  งานบวช  งานศพ  ฯลฯ 

เจ้าจ๋อ  คือ  แรงงานตัวจริงในการปีนขึ้นไปเก็บมะพร้าวให้กับชาวสวน

                                              จัดทำโดย 

                    นางสาวชนิตา  ช่วยส่ง                           

           

         

หมายเลขบันทึก: 121886เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

    เรื่องการแปรของมะพร้าวในส่วนของกะลาของมพร้าวที่ไม่ได้ขนาดเราว่านะจะเอามาทำงาน

หัตถกรรมงานฝีมือ  เพื่อเพิ่มมูลค่าและจะได้เป็นเอกลักษณ์ ของชุมชนด้วยจ๊ะ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท