ตุจโฉโปฏฐิละ : โดย พระโพธิญาณเถระ


ฝึกจิตให้มีกำลัง : พระโพธิญาณเถระ (หลวงปู่ ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

การบำรุงพระพุทธศาสนานั้นมีสองประการ หนึ่ง คืออามิสบูชา คือ ปัจจัย ๔ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช นี่บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบำรุงผู้ที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาให้มีความเป็นอยู่ได้ แล้วถ่ายทอดออกมาถึงการปฏิบัติ ส่วนการปฏิบัติก็ถ่ายทอดออกไปถึงข้อปฏิบัติตามความจริงให้พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง มันมีราก โคน ลำต้น ใบ ใบทุกใบ กิ่งทุกกิ่ง ทั้งลำต้นอาศัยรากดูดกินอาหารส่งขึ้นไปหล่อเลี้ยง ต้นไม้ก็อาศัยรากเป็นเค้ามูลเอาอาหารไปหล่อเลี้ยง

เรานี้ก็เหมือนกัน ทั้งกายทั้งวาจานี้ หรืออายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เปรียบเหมือนกิ่ง ก้าน ลำต้น ใจเปรียบเป็นรากสำหรับดูดกินอาหารแล้วก็แบ่งขึ้นสู่ลำต้น แบ่งไปหากิ่งหาใบ ให้เป็นดอกออกผล จิตของเรานี้ ถ้ามันตั้งอยู่ในสภาพใดเช่นว่ามันตั้งอยู่ในความถูกต้อง หรือว่าตั้งอยู่ในความเห็นผิด ก็แสดงความเห็นผิดไปถึงสุดขีดของมัน ความเห็นถูกก็แสดงออกไปถึงที่สุด คือทางกาย และวาจาของเราเหมือนกัน

ฉะนั้น การบำรุงพระพุทธศาสนานี้ด้วยการปฏิบัติจึงสำคัญมาก โดยตรงเข้าไป ไม่มีอะไร มีแต่ข้อวัตรตรงไปตรงมา เช่นเราสมาทานศีลทุกวัน พระท่านก็บอกสิ่งที่ผิดทุกวัน พระให้พากันสมาทาน แต่ถ้าสมาทานเฉยๆ ไม่ได้ภาวนาไม่ได้พิจารณาตามเหตุผล มันก็เป็นไปได้ยาก หาข้อประพฤติปฏิบัติไม่ได้ การบำรุงพระพุทธศาสนานี้ก็บำรุงอย่างนั้น คือปฏิบัติบูชา คือการปฏิบัติให้มันเป็นศีลจริง ให้เป็นสมาธิจริง ให้เป็นปัญญาจริง มันจึงจะรู้เรื่อง ถ้าไม่รู้โดยการปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องพระพุทธศาสนา ถึงจะเรียนจบพระไตรปิฎกก็ยังไม่รู้จัก

ในสมัยก่อน ครั้งพุทธกาล มีสาวกองค์หนึ่งชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละ ตุจโฉโปฏฐิละนี้มีปัญญามาก แตกฉานในคัมภีร์ แตกฉานในพระไตรปิฎก มีวัดสาขาตั้ง ๑๘ แห่ง เป็นครูเป็นอาจารย์จนประชาชนศิษยานุศิษย์ทั้งหลายนับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใครได้ยินชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียง เมื่อท่านอธิบายธรรมะ กลัวอำนาจที่ท่านได้เรียนมากจนแตกฉานในพระไตรปิฎก ฉะนั้นท่านตุจโฉโปฐิละจึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียน วันหนึ่งท่านไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงสาธุการ พระพุทธองค์ตรัสว่า "มาแล้วหรือ พระใบลานเปล่า?"

...ซึ้งในใจ แล้วก็เลยพูดกันไป พอท่านจบประโยคพอสมควรแล้วจะลาพระพุทธองค์กลับวัด... "กลับอาวาสแล้วหรือพระใบลานเปล่า?" จะกลับก็ "กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า?" ไม่ได้หน้าได้หลัง ท่านเทศน์อยู่เท่านั้น ตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ก็คิดในใจว่า "เอ...ทำไมพระพุทธองค์จึงรับสั่งอย่างนั้น? เป็นอะไรหนอ..." คิดไปคิดมาคิดตามการศึกษาย้อนไปพิจารณาไป จนเห็นว่า "เออ...มันจริงที่พระองค์ว่า พระใบลานเปล่า" คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อมาดูจิตใจของตนก็เหมือนกันกับฆราวาส อยากได้อะไรก็อยากได้เหมือนเขา ฆราวาสยินดีอย่างไรก็ยินดีอย่างเขา ความเป็นสมณะไม่มี ไม่มีธรรมะอันซึ้งบังเกิดขึ้นในใจที่จะมาข่มจิตของตนให้สงบระงับด้วยการอบรมทั้งหลายได้ จึงเกิดความสนใจอยากจะออกปฏิบัติ แต่ว่าการจะออกปฏิบัตินั้นไม่มีทางที่จะไป ไปหาอาจารย์นั่นอาจารย์นี่ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด เขาก็เลยไม่รับ ธรรมดาคนเราเห็นครูบาอาจารย์ก็เคารพเกรงกลัวไม่กล้าพูด ก็เลยไม่กล้ารับให้ท่านมาปฏิบัติด้วย ไปสำนักผู้ใดก็ตามไม่กล้ารับ ท่านมีความรู้มาก มีปัญญามาก ใครๆ ก็ไม่กล้าตักเตือน ไม่กล้าสอน ถึงแม้ว่าท่านนั่งอยู่ที่นั้นจะเทศนาว่ากล่าวก็ยังเกรงกลัวอำนาจของท่าน

ท่านจึงไปหาสามเณรน้อยซึ่งเป็นอริยบุคคล ท่านตุจโฉโปฏฐิละก็ไปขอปฏิบัติกับสามเณรน้อย เณรบอกว่า "พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผมถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้" ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิต สามเณรให้ห่มผ้า เมื่อห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว เผอิญมีหนองอยู่ใกล้ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า "เอ้าให้วิ่งเข้าไปในหนองนี่ วิ่งลงไป ถ้ายังไม่บอกให้หยุดอย่าหยุดนะ ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้นอย่าขึ้นนะ...เอ้า วิ่ง" ตุจโฉโปฏฐิละห่มผ้าดีๆ แล้วก็วิ่งลงไปในหนอง ต่ำลงๆๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุดท่านก็ลงไปจนตัวเปียกหมด เปื้อนตมเลอะขี้เลนหมด สามเณรจึงบอกว่า "เอาล่ะ หยุดได้" ท่านจึงหยุด สามเณรว่า "เอาละขึ้นมา" ท่านจึงขึ้นมา แสดงให้เห็นว่าท่านละทิฐิของท่านแล้ว จึงยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับจะไม่ยอมลงขึ้ตมหรอก คนผู้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าท่านยอมไป สามเณรเห็นแล้วรู้อุปนิสัยแล้ว ว่าตุจโฉโปฏฐิละเอาจริง

เมื่อท่านขึ้นมาแล้วสามเณรจึงสอนให้ โดยใช้วิธีกำหนดอารมณ์จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เณรก็ยกอุบายอันหนึ่งขึ้นมาว่า ให้ใช้วิธีที่บุรุษทั้งหลายจะจับเหี้ย เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดมันไว้ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดไว้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้น ครั้นเหี้ยวิ่งออกก็จับ อันนี้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิด เหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือสำรวมสังวร ให้กำหนดจิตอย่างเดียว

การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย อย่างเราจะกำหนดลมหายใจให้มีสติ สติคือความระมัดระวังรู้อยู่ว่า เดี๋ยวนี้เราทำอะไรอยู่ สัมปชัญญะคือรู้ตัวว่าเรากำลังทำอันนั้นอยู่ ผู้รู้ รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นอยู่ ให้กำหนดลมหายใจเข้าด้วยการมีสติความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว การที่ว่าระลึกได้คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่การที่เราไปศึกษาที่ไหนมา ให้รู้จักแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา จิตมันอยู่เฉยๆ มันก็มีความรู้สึกขึ้นมา อันนี้แหละเป็นความรู้สึก สตินี้ควบคู่กันกับความรู้สึก มีสติอยู่คือความระลึกได้ว่า เราพูดอยู่ หรือเราทำอยู่ หรือเราไปเดินอยู่ หรือเรานั่งอยู่ จะไปจะมาก็รู้ นั่นเรียกว่าสติ ระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัวว่า บัดนี้เรากำลังเดินอยู่ เรานั่งอยู่ เรานอนอยู่ เรารับอารมณ์อะไรอยู่เดี๋ยวนี้ สองอย่างนี้ ทั้งสติความระลึกได้ และสติสัมปชัญญะความรู้ตัว ในการที่เราระลึกได้อยู่เสมอนั้น เราก็จะสามารถรู้ใจของเราว่าในเวลานี้มันคิดอย่างไร เมื่อถูกอารมณ์ชนิดนั้นมามันคิดอย่างไร อันนี้เราจะรู้จัก

ผู้ที่รับรู้อารมณ์นั้นคือตัวจิต อารมณ์คือสภาวะที่มันจรเข้ามาเช่นว่ามีเสียง เช่นเสียงเขาไสกบอยู่นี่ มันเข้าทางหูแล้ว จิตก็รับรู้ว่าเสียงกบนั่น ผู้ที่รับอารมณ์รับรู้เสียงกบนั้นเรียกว่าจิต ที่นี่ จิตที่รับรู้นี่เป็นจิตที่หยาบๆเป็นจิตที่ปกติของจิต บางทีเรานั่งฟังเสียงกบอยู่รำคาญ ในความรู้สึกของผู้ที่รับรู้ เราจะต้องอบรมผู้ที่รับรู้นั้นให้มันรู้ตามเป็นจริงอีกทีหนึ่ง ที่เรียกว่าพุทโธ ถ้าหากว่าเราไม่รู้แจ้งตามเป็นจริงเราอาจจะรำคาญในเสียงคนหรือเสียงรถ หรือเสียงกบ มีแต่จิตเฉยๆ รับรู้ว่ารำคาญ รู้ตามสัญญา ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง เราจะต้องให้มันรู้ในญาณทัสนะ คืออำนาจของจิตที่ละเอียด ให้รู้ว่าเสียงกบที่ดังอยู่นั้น ก็สักแต่ว่าเสียงเฉยๆ ถ้าหากว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่รำคาญอะไร เสียงก็ดังของมันไป เราก็นั่งรับรู้ไป อันนั้นก็เรียกว่ารู้ถึงอารมณ์ขึ้นมา นี่ถ้าหากว่าเราภาวนาพุทโธ มีความรู้แจ้งในเสียงกบ เสียงกบนั้นไม่ได้มากวนใคร มันก็ดังอยู่ตามสภาวะ เสียงนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวคนเราเขา เรียกว่าเสียงเท่านั้น มันก็ทิ้งไป วางไป

ถ้ารู้อย่างนี้คือจิตรู้โดยสภาวะที่เรียกว่า พุทโธ คือความรู้แจ้งตลอดเบิกบาน รู้ตามความเป็นจริง เสียงก็ปล่อยไปตามเรื่องของเสียง ไม่ได้รบกวนใคร นอกจากเราจะไปยึดมั่นว่า "เออ...เรารำคาญ" ก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นมา นี่เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา เหตุที่มีทุกข์ขึ้นมาก็เพราะอะไร ก็เพราะเราไม่รู้จักเรื่องตามความจริง ยังไม่ได้ภาวนาพุทโธ ยังไม่เบิกบาน ยังไม่ตื่น ยังไม่รู้จัก มีแต่เฉพาะจิตล้วนๆ ที่ยังไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ใช้การงานอะไรยังไม่ได้เต็มที่

ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกหัด ฝึกจิตนี้ให้มีกำลัง การทำจิตให้มีกำลัง การทำกายให้มีกำลัง มีลักษณะอันเดียวกันแต่มีวิธีการต่างกัน การฝึกกำลังกายเราย่อมเคลื่อนไหวอวัยวะ มีการนวดกายเหยียดกาย เช่นวิ่งตอนเช้าตอนเย็นเป็นต้น นี่เรียกว่าออกกำลังกาย กายนั้นก็จะมีกำลังขึ้นมา จะคล่องแคล่วขึ้นมา เลือดลมจะมีกำลังวิ่งไปมาสะดวกตามเส้นประสาทต่างๆ ได้ กายจะมีกำลังดีกว่าเมื่อไม่ได้ฝึก แต่การฝึกจิตให้มีกำลังไม่ใช่ให้มันวิ่งให้มันเคลื่อนไหวอย่างกับการออกกำลังกาย คือทำจิตให้มันหยุด ทำจิตให้พักผ่อน เช่นเราทำสมาธิยกอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เช่นว่าอานาปานสติ ลมหายใจเข้าออกอันนี้เป็นรากฐาน เป็นเป้าหมายในการเพ่งในการพิจารณา เราก็กำหนดลมหายใจ การกำหนดก็คือการรู้ตามลมนั่นเอง กำหนดลมเข้าแล้วก็กำหนดลมออก กำหนดให้รู้ระยะของลม ให้มีความรู้อยู่ในลม ตามรู้ลมเข้าออกสบาย แล้วพยายามปล่อยสิ่งทั้งหลายออกจิตของเรา ก็จะมีกำลังเพราะว่ามีอารมณ์เดียว ถ้าหากว่าเราปล่อยให้จิตคิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัด มีหลายอารมณ์ มันไม่รวมเป็นอารมณ์เดียว จิตเราก็จะหยุดไม่ได้ ที่ว่าจิตหยุดได้นั้นก็คือหยุดในความรู้สึก ไม่คิดแล่นไปทั่ว เช่นว่าเรามีมีดเล่มหนึ่งที่เราลับไว้ดีแล้ว แล้วมัวแต่ฟันหินฟันอิฐฟันหญ้าไปทั่ว ถ้าเราฟันไม่เลือกอย่างนี้ มีดของเราก็จะหมดความคม เราจึงต้องฟันแต่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราปล่อยให้จิตแล่นไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์ จิตนั้นจะไม่มีกำลัง ไม่ได้พักผ่อน ถ้าจิตไม่มีกำลัง ปัญญามันก็ไม่เกิด จิตไม่มีกำลังคือจิตที่ไม่มีสมาธิเลย

ถ้าจิตไม่ได้หยุดจะเห็นอารมณ์นั้นไม่ได้ชัดเจน ถ้าเรารู้จักว่าจิตนี้เป็นจิต อารมณ์เป็นอารมณ์ นี่คือหัวข้อแรกที่จะตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นมาได้ นี้คือตัวศาสนา เราบำรุงให้จิตนี้เกิดขึ้นเป็นลักษณะของการปฏิบัติให้เป็นสมถะ ให้เป็นวิปัสสนารวมกันเข้าเป็นสมถะวิปัสสนา เป็นข้อปฏิบัติมาบำรุงจิตใจให้มีศีลมีธรรม ให้จิตได้หยุด ให้จิตได้เกิดปัญญา ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของมัน

ถ้าพูดตามความเป็นจริง อย่างที่ว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ กิริยาที่เราอยู่ กิริยาที่เรากิน กิริยาที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้ เราก็เหมือนกันกับเด็กน้อย เด็กน้อยมันไม่รู้เรื่องอะไร ถ้าผู้ใหญ่มามองดูกิริยาของเด็ก การเล่นการกระโดดนั้น มันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร จิตเราที่ไม่ได้ฝึกก็เหมือนกัน เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง จะพูดก็ไม่มีสติ การกระทำก็ไม่มีปัญญา เสื่อมไม่รู้จักว่ามันเสื่อม เสียก็ไม่รู้จักว่ามันเสีย ไม่รู้เรื่อง เล่นไปตามประสาเด็ก จิตเราที่ไม่รู้จักจะเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นจึงควรฝึกจิตของเรา พระพุทธเจ้าตรัสว่าฝึกจิตอันนี้อบรมจิตอันนี้ให้มาก ถึงแม้ว่าเราบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔ ปัจจัยลาภทั้งหลายก็จริง ก็เป็นเพียงสิ่งที่ผิวเผิน เป็นแต่เศษเปลือกๆ เป็นแต่กระพี้ การบำรุงพระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นคือการปฏิบัตินี่เอง ไม่มีอันอื่นไกลอะไร ที่เราฝึกอยู่นี่ ฝึกกายฝึกวาจาฝึกจิตของเรานี้เรียกว่าข้อประพฤติปฏิบัติ แล้วมันจะถ่ายทอดไปหลายๆ แห่ง ถ้าหากว่าคนเรามีความซื่อสัตย์มีความสุจริต มีศีลธรรม การประพฤติปฏิบัติในกาลอนาคตมันก็เจริญทั้งนั้นแหละ ไม่มีเรื่องอิจฉา ไม่มีเรื่องพยาบาท ศาสนาก็สอนให้เป็นอย่างนั้น ให้เข้าใจอย่างนั้น เหมือนกับพวกเราทั้งหลายสมาทานศีลกันนี่เองไม่ใช่โดยลักษณะที่ทำตามประเพณีรับศีลเฉยๆ สิ่งที่ท่านแนะนำสั่งสอนนั้น มันเป็นเรื่องจริง ถึงพูดเราก็พูดได้ ถึงเรียนเราก็เรียนได้ ถึงว่าเราก็ว่าได้ ยังเหลือแต่การปฏิบัติเท่านั้น เราจึงยังไม่รู้เรื่อง

ถ้าหากว่าการปฏิบัติ คือการปฏิบัติบูชานี้ไม่เกิดขึ้นเมื่อไร มันก็จะทำให้เราไม่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดชีวิตหลายๆ ชีวิตก็ได้ หรือจะพูดง่ายๆ ว่าจะไม่รู้เรื่องหลักพระพุทธศาสนานี้เลยก็ได้ คล้ายกับผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่เขาเล่าว่ามันหวานหรือเปรี้ยวหรือมัน เมื่อไม่ได้กินจะยังไม่เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นพันธุ์ที่ดีก็ตามเถอะเราไม่รู้เรื่อง ถ้าเราไม่รู้จักผลไม้ตามความเป็นจริง เรื่องพระพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราขาดจากการภาวนาเราจะไม่รู้เรื่องทาน ไม่รู้เรื่องศีลไม่รู้เรื่องภาวนา ฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงเป็นกุญแจ กุญแจภาวนา แม่กุญแจนั้นจะเป็นอะไรก็ช่างเถอะ เราถือลูกกุญแจมันไว้ในมือเรา ถึงมันจะปิดแน่นเท่าไรก็ช่าง ถ้าเราเอาลูกกุญแจไปเปิดเมื่อไรก็สำเร็จประโยชน์เมื่อนั้น ถ้าหากว่ากุญแจไม่มีลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร ของอยู่ภายในลังเราก็เอาไม่ได้ อันนี้เหมือนกันฉันนั้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้เรียนรู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้

ความรู้มีอยู่สองอย่าง คนที่รู้จักธรรมะนั้น ท่านไม่ได้เอาความจำมาพูด แต่ท่านเอาความจริงมาพูด คนทางโลกก็เอาความจำมาพูดกัน และก็พูดในแง่ที่ว่ายกหูชูหางขึ้นไป เช่นว่า เราพรากกันมานานแล้วไปอยู่ต่างประเทศกันหรืออยู่ต่างจังหวัดกันมานาน อีกวันหนึ่งขึ้นรถก็บังเอิญพบกันเข้า "แหม ผมดีใจเหลือเกิน ผมนึกว่าจะไปเยี่ยมคุณอยู่เร็วๆ นี้" อันนี้ไม่ใช่ความเป็นจริง ไม่เคยนึกเลย แต่ไปปรุงขึ้นในเดี๋ยวนั้น คือพูดด้วยความดีใจในปัจจุปัน ก็เป็นเรื่องโกหกขึ้นมา โกหกอย่างนั้นแหละแต่ไม่รู้ตัว ความจริงไม่ได้คิดว่าจะไปเยี่ยม ไม่เคยได้คิดสักที มันมีความรู้สึกเกิดขึ้นในเวลานั้น จึงพูดขึ้นในเวลานั้น นี่โกหก โดยที่ไม่รู้จักตัวเอง อย่างนี้ก็มี นี่เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง คือไม่ได้เป็นความจริงในคำที่เราพูดในเวลานั้น แต่มันปรุงแต่งขึ้นให้ทำได้ นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างละเอียด และคนเราชอบพูดกันอย่างนั้น ชอบพูดอย่างนั้น ชอบว่าอย่างนั้น

ฉะนั้นเรื่องจิตใจนี้ พระตุจโฉโปฏฐิละก็ทำตามที่สามเณรว่า...หายใจเข้าหายใจออก พิจารณามีสติ มีสัมปชัญญะ มีความรู้รอบคอบอยู่จึงเห็นความโกหกของมัน โกหกเรื่องจิตใจของตัวเอง เห็นกิเลสทั้งหลายเมื่อมันออกมา เหมือนกับเหี้ยออกมาจากโพรง พอโผล่ขึ้นมาก็เห็นทันทีจบเรื่องมันเลย เดี๋ยวมันก็เกิดปรุงขึ้นมา เดี๋ยวมันก็เกิดแต่งขึ้นมา เกิดปรุงโดยวิธีนั้น เกิดแต่งโดยวิธีอันนี้ ความคิดของเรานั้นเป็นสังขตะธรรม คือปัจจัยมันปรุงได้แต่งได้ ไม่ได้เป็นอสังขตะธรรม คือสิ่งที่ปัจจัยไม่ได้ปรุงไม่ได้แต่ง จิตที่อบรมดีแล้ว มีความรู้สึกดีแล้ว อารมณ์มันปรุงไม่ได้แต่งไม่ได้ ไม่ได้เชื่อใคร ตรัสรู้ตามความเป็นจริง เรียกว่าอริยสัจ รู้ตามอริยสัจคือรู้ตามความเป็นจริง อารมณ์มันจะบิดพลิ้วว่าอันนั้นดีอันนั้นงาม อันนั้นอย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่ามีพุธโธในใจก็โกหกไม่ได้ คือรู้จิตตามเป็นจริงของมันแล้ว อารมณ์จะปรุงแต่งไม่ได้ เห็นอารมณ์ก็เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง อารมณ์นี้มันเป็นทุกข์ ผู้ไปยึดอารมณ์นั้นก็จะเป็นทุกข์เพราะอารมณ์นั้นมันไม่เที่ยงอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้น จะไปอยู่ในทิศไหนก็ตามผู้รู้เป็นอย่างนั้นตุจโฉโปฏฐิละก็มารู้อย่างนั้น ดูอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นกับจิต ดูเรื่องจิตมันเป็นโกหกหลายอย่าง ท่านก็รู้เรื่องของมัน จับตัวของมันได้ว่า "เออ...อันนี้ตัวโกหก มันเป็นตัวสำคัญนะ อันนี้มันพาให้เราดีใจจนเกินพอดี พาให้เราเสียใจจนเกินพอดี ให้เราวนเวีนนอยู่ในวัฏฏะสงสารนี้ ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งดีทั้งชั่ว ตลอดเวลาก็เพราะตัวนี่เอง" ตุจโฉโปฏฐิละรู้เรื่องของมันแล้ว ท่านก็จับตัวมันได้ เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ยได้ คือจับตัวการมันได้

เรานี่ก็เหมือนกัน มีจิตตัวเดียวนี่แหละเป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นท่านจึงให้อบรมจิต จิตก็เรียกว่าจิต จะเอาอะไรมาอบรมมันอีกล่ะ จิตนี้? ถ้าเรามีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เสมอแล้วเราก็รู้จักจิต ผู้รู้นั้นคือรู้เหนือกว่าจิตขึ้นไปอีก คือผู้รู้สภาวะของจิตนั้น จิตนี้ก็เป็นจิต ผู้ที่รู้ว่าจิตนี้สักแต่ว่าจิต นั่นแหละเรียกว่าผู้รู้ ผู้รู้เหนือกว่าจิตของเราไปอีก จึงได้ตามรักษาจิตของตน จึงสอนจิตของตนให้รู้ว่าอันนี้ผิดอันนี้ถูกได้ ในที่สุดพูดตามธรรมชาติแล้วมันก็สุดแต่จิตเท่านั้นมนุษย์เรา มันสุดแต่จิตที่มันเพียงแต่แต่งไปแต่งมา ถ้ามันแต่งไปแต่งมา และไม่มีสิ่งที่รู้ยิ่งไปกว่านั้นอีก จิตของเราก็เป็นหมัน ฉะนั้นอาศัยจิตอันนี้เป็นผู้รับฟัง ท่านจึงเรียกว่าภาวนาพุทโธ คือความรู้แจ้งรู้เบิกบานตลอด รู้ถึงที่สุด รู้เหนือกว่าจิตของเราอีก รู้เรื่องของจิตทุกอย่าง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้อบรบ คือ การภาวนาเอาพุทโธนั้นไปบริกรรมให้มันรู้จิต ให้มันรู้เหนือกว่าจิต ให้เห็นแต่จิตนี้จะคิดดีก็ตาม คิดชั่วก็ตาม จนกว่าผู้รู้นั้นรู้ว่าจิตนี้สักแต่ว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่บุคคลตัวตน เราเขา นี้เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ถ้าเห็นอย่างนี้แล้วจิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตอันนั้นยังไม่เป็นของเราอีก ยังโกหกเราได้อีก

สรุปความได้ว่า จิตก็เป็นผู้รับรู้อารมณ์ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตนี้ก็เรียกว่าจิต ผู้รู้ทั้งจิตทั้งอารมณ์นั้นมันเหนือกว่าจิตเหนือกว่าอารมณ์ไปอีก มันเป็นของมันอย่างนั้น แล้วมันก็มีสิ่งที่มันซับซ้อนอยู่เสมอ ท่านเรียกว่าสติ สตินี้ก็มีทุกคน แมวมันก็มีเวลาที่ตะครุบหนูกิน สุนัขมันก็มีสติเวลามันจะเห่าคน กัดคน อันนั้นก็เรียกว่าสติเหมือนกัน แต่ไม่ใช่สติโดยธรรมะ คนทุกคนก็มีสติเหมือนกัน ก็เหมือนกันกับกาย ให้เราพิจารณากายของเรา "จะพิจารณาอะไรกายนี่ ใครจะไม่เห็นมัน เกศาก็เห็น โลมาก็เห็น นขาก็เห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นหมดแล้วจะให้มันรู้อะไรอีก" แน่ะ มันก็เป็นอย่างนี้คนเรา เห็นอยู่แต่ว่าไม่เห็นถึงที่สุดของความเห็น ไม่เห็นโดยพุทโธ ผู้รู้แล้วตื่นแล้ว เห็นตามธรรมชาติ คือเห็นกายเป็นกาย เห็นกายเฉยๆ ก็ยังไม่พอ ถ้าเห็นกายเฉยๆมันเสียหาย ให้เห็นภายในกายเข้าไปอีกทีหนึ่ง มันจึงจะชัดเจนเข้าไป ถ้าเห็นแต่กายส่วนเดียวมันก็หลงกาย ก็ยังรักสวยรักงาม ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นกามฉันทะ ยังติดอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ผู้เห็นกายก้อนนี้คือตาเนื้อธรรมดาเห็นแต่รักคนนั้นเกลียดคนนี้ อันนั้นสวยอันนั้นไม่สวย พระพุทธเจ้าสอนว่าอันนั้นยังไม่พอ ต้องรู้ด้วยตาของจิตอีกทีหนี่ง ให้เห็นกายในกาย ถ้าเห็นกายในกาย มองเข้าไปในกายมันมีอะไรบ้าง อ้อ มันไม่น่าดูเลยนะ ของวันนี้ก็มี ของแต่เมื่อวานนี้ก็มีอยู่ในนั้น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างนี้มันจะเห็นแจ้งเหนือขึ้นไป พิจารณาให้เห็นด้วยตาจิตด้วยปัญญาจักษุ เห็นด้วยปัญญา

ไอ้ความเห็นมันต่างกันอย่างนั้น บางคนถ้าสอนให้พิจารณา เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ไม่รู้จะพิจารณาอะไร ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เห็นอยู่แล้ว แต่มันไม่เห็นนะ เห็นด้วยตาเท่านั้น ตาผีบ้านี่มันดูแต่สิ่งที่น่าดู สิ่งใดไม่น่าดูก็ไม่ได้ดูสิ่งเหล่านั้น มันเลือกอย่างนั้นนะ คำว่าเห็นกายในกาย คือเห็นให้มันแจ้งกว่านั้น ดังนั้นให้พิจารณากาย แล้วพิจารณาเห็นกายในกาย มันก็เห็นชัดเข้าไปอีก มันละเอียดกว่ากันเท่านั้น

ตัวนี้เป็นตัวพิจารณาถอนความยึดมั่นในขันธ์ห้าได้ ถ้าถอนความยึดมั่นถือมั่น มันก็เหมือนกันกับถอนทุกข์ออกด้วย ก็เพราะสิ่งทั้งหลายนั้นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าทุกข์เกิดมันจะเกิดในที่นี้ คืออุปาทานขันธ์ห้า ไม่ใช่ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์นะ ตัวอุปาทานขันธ์ห้า ยึดมั่นขันธ์ห้าว่าเป็นเรานั่นแหละเป็นทุกข์ ถ้าเราเห็นเช่นนั้นตามความเป็นจริง คือการภาวนามันก็จะคลายออกเหมือนเกลียว เหมือนน๊อต หมุนทางซ้ายเรื่อยๆ มันก็ถอนออกมาเรื่อยๆ มันไม่แน่น มันไม่หนา มันไม่ตึง ไม่เหมือนเรา หมุนเข้าทางขวา มันถอย มันวาง มันละ ไม่ตึงในความดีในความชั่ว ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ สุขทุกข์นินทาประการใด ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็หมุนเข้าไปเรื่อยๆ หันเข้าไปบีบตัวเองเรื่อยๆ ก็เป็นทุกข์หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรารู้เรื่องเหล่านี้มันก็เหมือนกับคลายเกลียวออกมา ในทางธรรมะท่านเรียกว่าเกิดนิพพาน คือความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็คลายความกำหนัดรักใคร่ ความยึดมั่นถือมั่น ถ้าหากเราคลายความยึดมั่นถือมั่นมันแล้ว มันก็สบายล่ะ

ยกตัวอย่าง เช่น ศีรษะของเรา ในเมืองไทยเราหัวนี้เป็นสิ่งที่สำคัญแท้ๆ แตะมันไม่ได้ จะไปจับหัวก้นกลางทางก็ตีกันเลย คือมันยังไม่ยอม ถ้ายอมเหมือนนายพล นายพันทั้งหลายที่มาหาอาตมาให้เป่าศีรษะก็ไม่เป็นไร จับศีรษะได้สบาย เขากลับมีกำลังใจอีกด้วยซ้ำ แต่ว่าเขายอมเสียสละคราวหนึ่ง ถ้าเจอกันตามทาง ไปจับศีรษะอย่างนั้นตีกันเลย นี่มันเกิดทุกข์ตรงตัวนี้ มันยึดมั่นถือมั่นตัวนี้ อาตมาเคยไปในประเทศต่างๆ เขาจับหัวกันเลย ผู้หญิงก็ตามผู้ชายก็ตามจับหัวกันเลย มันก็จริงของเขานะนี่ ถ้าไม่ยึดมั่นมากมันก็ผาสุกจริงๆ ถ้ามาในเมืองไทยนี้ จะจับหัวเข่านี่ก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้ถือมัน ถ้าจับหัวก็ถือกันจริงๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นี่คือความยึดความหมายมั่น ที่จริงทุกๆ ส่วนในร่างกายนี้มันก็เท่าๆ กัน แต่ส่วนที่เรายึดแท้ๆนี่คนเราก็ผูกพันไว้ซึ่งความยึดมั่นถือมั่น

อันนั้นแหละเป็นเหตุ ที่นั้นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ฉะนั้นเราดับเหตุเสียไม่ให้มันมีรากฐาน อย่าให้มันมีพื้นฐานที่ทุกข์จะเกิด เช่นว่า เราพิจารณาร่างกายของเรา มันก็เสมอกันทั้งนั้น ทางล่างทางหัวมันก็พอปานกัน ข้างๆ กับทางหัวมันก็พอปานกัน มันก็พอปานเก่าอยู่ ถ้าเราคิดให้ดีๆ เขามาตบตัวเรามันก็พอปานเก่าอยู่ไม่เป็นไร นี่คือผู้ที่ละเหตุได้ มันมีเรื่องเท่านี้แหละมนุษย์เรานี้ มีความยึดมั่นรูปเดียวเท่านี้ อาศัยรูปเดียวเท่านี้ก็ฆ่ากันเลย มันก็เรื่องเท่านี้เอง ไม่มีเรื่องมาก พูดถึงส่วนบุคคลก็เป็นเรื่องเท่านั้น เรื่องครอบครัวก็เรื่องเท่านี้ เรื่องประเทศชาติก็ไม่มีอะไรมีเท่านี้ ไม่มีใครได้เลย เลยรบกัน ฆ่ากันเลย ไม่มีใครได้อะไรสักคน ไม่รู้เป็นอะไร ฆ่ากันเฉยๆ

มีอำนาจ มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุข มีทุกข์ มันเป็นโลกธรรม ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ สัตว์โลกจึงเป็นไปตามโลกธรรม มีนินทาหนึ่ง มีสุขหนึ่ง มีทุกข์หนึ่ง ท่านเรียกว่าโลกธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ชั่ว เป็นธรรมที่นำความทุกข์มาให้ถ้าไม่ภาวนา ถ้าไม่พิจารณารู้เท่ามันก็เป็นทุกข์ ฆ่ากันได้ ทำอะไรก็ได้ เรื่องลาภ เรื่องยศ เรื่องอำนาจนี่ เพราะอะไร เพราะถ้าไม่ได้ภาวนา ไม่ได้พิจารณามันไม่สม่ำเสมอกัน เดี๋ยวเขาตั้งเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมา เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นกำนันขึ้น เป็นนั่นเป็นนี่เป็นขึ้นเลย แต่ก่อนเคยมีผู้เฒ่าเล่าเรื่องผู้ใหญ่บ้านชั่วให้ฟัง พอเขาให้ยศเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านขึ้นมา ก็หลงอำนาจตน เพื่อนเก่าก็เล่นด้วยไม่ได้เหมือนเก่านี่ละ มาแล้วก็ว่า "อย่ามาใกล้กันนะ มันไม่เหมือนเก่าแล้วนะ"

มีลาภก็ดี มียศก็ดี มีสรรเสริญก็ดี มีสุข มีทุกข์ก็ดี พระพุทธองค์ก็ให้รู้มันเสีย ให้มันพอปานเก่าเท่านั้นแหละ เอาไว้เพื่อใช้ในการงาน แล้วก็วางไว้พอปานเก่า เป็นคนผู้เดียวกับผู้เก่า ถ้าไม่รู้เท่าลาภยศสรรเสริญนินทาก็ฆ่ากันเลย หลงอำนาจของตนหลงลูกหลานหลงหมดทุกคน ถ้ารู้จักดีแล้วก็เห็นว่าเป็นพวกเดียวกันเถอะ เรื่องนี้เป็นเรื่องสมมติแท้ๆ แต่มันเป็นกิเลสมาก ท่านเรียกว่าโลกธรรม สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนี้ มีคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า เรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาทีหลัง เมื่อเกิดมาแรกๆ ก็มีรูปกับนามเกิดขึ้นมาเฉยๆ ครั้นเอานาย "ก" เข้ามาใส่ นี่เป็นไปด้วยสมมติ ต่อมาก็มีเรื่องนายพล นายพันขึ้นมา ถ้าไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นของจริง ก็เลยแบกไว้ แบกลาภไว้ แบกชื่อไว้ แบกเสียงไว้ มีอำนาจ ชี้นกให้เป็นนก ชี้หนูให้เป็นหนูหมดทุกอย่างก็ได้ เกิดอำนาจขึ้นมาเอาคนนั้นไปฆ่าเสีย เอาคนนี้ไปติดคุกเสียอย่างนี้แหละ จึงมีอำนาจขึ้นมาเพราะเกียรติ คำว่าเกียรตินั้นตรงนั้นแหละมันเป็นอุปาทาน พอมีเกียรติขึ้นมาเป็นต้นก็สั่งเลย ผิดๆ ขัดๆ ก็ทำไปด้วยอำนาจตน ทำไปตามอารมณ์ของตน ก็เลยไปตามความผิดอันนั้นเรื่อย มันจึงขาดจากธรรมะ นี่เรื่องข้อปฏิบัติ ถ้ารู้แล้วก็ไม่ทำอย่างนั้น ความดีความชั่วมันมีแต่ไหนแต่ไรมา ลาภยศมันก็มีขึ้นมาก็ให้มันมีแต่เฉพาะลาภนั้นเฉพาะยศนั้น อย่าให้มันมีมาถึงเรา เอามาใช้เฉยๆ ตามการงานแล้วก็ทิ้งไป เราก็พอปานเก่า ถ้าเราได้ภาวนาเรื่องสิ่งเหล่านี้แล้ว ถึงมันจะได้อะไรขึ้นมาก็ดีก็ไม่หลงทาง สบายอยู่เหมือนเก่า มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งหมดไม่มีอะไร เรื่องนี้พระพุทธเจ้าให้พิจารณาอย่างนี้จึงจะรู้เรื่องมันตามเป็นจริง ถ้าเราได้อะไรขึ้นมาไม่มีอะไรจะปรุงได้แต่งได้ เขาตั้งให้เป็นกำนัน เป็นแต่ไม่เป็น เขาจะให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็เป็นอยู่แต่ไม่เป็น เขาให้เป็นอันนั้นอันนี้ ก็เป็นอยู่แต่ไม่เป็น เบื้องปลายเราจะเป็นอะไร? มันก็ตายเหมือนเก่าเท่านั้นแหละ เขาจะให้เป็นกำนันเป็นผู้ใหญ่บ้านมันก็เหมือนเก่าจะให้ว่าอย่างไร ถ้าเราคิดอย่างนั้นแล้วมันก็ดี แน่นหนาดีมันก็พอปานเก่าเท่านั้นแหละ นี่เรียกว่าคนไม่หลง จะเอาอะไรมาให้มันก็ยังเป็นอย่างนั้นแหละ มันสักแต่ว่าสังขาร ไม่มีอะไรจะมาปรุงจะมาแต่งจิตใจให้เกิด ราคะ โทษะ โมหะ ไม่มี อันนี้แหละเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาให้ผู้ที่ถูกบำรุงก็ดี ผู้ที่ตั้งใจบำรุงก็ดี ให้คิดในแง่นี้ให้มาก ให้มีศีลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจของตน

นี่สรุปได้ว่า การบำรุงพระพุทธศาสนาที่แน่นอนต้องบำรุงอย่างนี้ บำรุงให้อาหารให้การขบการฉัน ให้ที่อยู่อาศัย ให้ยาบำบัด โรคก็เหมือนกัน แต่มันถูกแต่กระพื้ของมัน ฉะนั้นทายกทายิกาทั้งหลายที่ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมบำเพ็ญกุศลนั้น อย่าลืมอันนี้ ไม้มันก็มีเปลือกมีกระพี้ มีแก่น สิ่งทั้งสามนี้อาศัยซึ่งกันและกัน จะมีแก่นได้ก็เพราะเปลือก จะมีเปลือกได้ก็เพราะกระพี้ จะมีกระพี้ได้ก็เพราะแก่น มันรวมกันเหมือนกับศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือการตั้งกาย วาจาให้เรียบร้อย สมาธิก็คือการตั้งใจมั่น ปัญญาคือการรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายให้เรียนกันอย่างนี้ ให้ปฏิบัติอย่างนี้เป็นปฏิบัติบูชาจึงจะเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง

ถ้าหากว่าเราไม่ได้เอาสิ่งทั้งหลายนี้มาปฏิบัติที่ใจ ที่มีลาภมากก็หลง มียศก็หลง จะมีอะไรก็หลงหมด ทุกอย่างมันเป็นเรื่องอย่างนั้น ถ้าหากว่าเราบำรุงแต่สิ่งทั้งหลายภายนอก เรื่องทะเลาะขัดแย้งกันไม่มีหยุด เรื่องผู้นั้นก่อกรรมกับคนนี้ก็ไม่หยุด เรื่องการแทงมีดกัน ยิงปืนกัน ก็ไม่มีหยุด ก่อนจะหยุดได้ต้องพิจารณาเรื่อง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา พิจารณาข้อประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นศีลธรรม ให้ระลึกว่าชาวโลกเรานี้ก็เป็นก้อนเดียวกัน เห็นว่าเราก็เหมือนเขา เห็นเขาก็เหมือนเรา เขาสุขเราก็สุข เขาทุกข์เราก็ทุกข์เหมือนกัน มันก็พอปานกัน พิจารณาอย่างนี้ก็จะเกิดความสบายเกิดธรรมะขึ้นมา นี่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนา ก็บำรุงศีล บำรุงสมาธิ บำรุงปัญญา ให้เกิดขึ้นสม่ำเสมอได้จึงจะเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันนี้ให้เราไปคิดดู

โอกาสที่บรรยายธรรมะแก่ญาติโยมทั้งหลายก็สมควรแล้ว ท้ายที่สุดนี้ก็ ขอให้จงพากันตั้งอกตั้งใจจำข้อความเหล่านี้ไปพินิจพิจารณา ให้บำรุงด้วยการปฏิบัติอย่างแท้จริงทุกๆ คน ขอให้จงเป็นสุขเป็นสุขกันทุกๆ คนเถิด

คำสำคัญ (Tags): #ตุจโฉโปฏฐิละ
หมายเลขบันทึก: 183294เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

สาธุค่ะ...อ่านเหนื่อยเลย แต่อ่านจบแล้วคุ้มค่าเหนื่อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีคุณแจ๋ว...พยามแก้ไขคำผิดถ้าเจอ บอกด้วยนะคุณแจ๋ว ปวดตาตุบๆ ไปนอนดีกว่า..

สาธุ เข้ามาอ่านด้วยคน ดีจัง ขอบคุณมาก

เจอพิมพ์ผิดหลายที่อ่ะ ทำงัยดี ส่งที่ปรู๊ฟกลับไปให้ที่อีเมล์ได้ไหมคะ

  • คุณ อั่งซิ่วย้ง ขอบคุณมากๆ ครับ ส่งทางเมลก็ได้หรือจะโพสที่นี่ก็ได้นะครับ

ฝึกจิตให้มีกำลัง : พระโพธิญาณเถระ (หลวงปู่ ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

การบำรุงพระพุทธศาสนานั้นมีสองประการ หนึ่ง คืออามิสบูชา คือ ปัจจัย ๔ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช นี่บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบำรุงผู้ที่จะปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาให้มีความเป็นอยู่ได้ แล้วถ่ายทอดออกมาถึงการปฏิบัติ ส่วนการปฏิบัติก็ถ่ายทอดออกไปถึงข้อปฏิบัติตามความจริงให้พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง มันมีราก โคน ลำต้น ใบ ใบทุกใบ กิ่งทุกกิ่ง ทั้งลำต้นอาศัยรากดูดกินอาหารส่งขึ้นไปหล่อเลี้ยง ต้นไม้ก็อาศัยรากเป็นเค้ามูลเอาอาหารไปหล่อเลี้ยง

เรานี้ก็เหมือนกัน ทั้งกายทั้งวาจานี้ หรืออายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เปรียบเหมือนกิ่ง ก้าน ลำต้น ใจเปรียบเป็นรากสำหรับดูดกินอาหารแล้วก็แบ่งขึ้นสู่ลำต้น แบ่งไปหากิ่งหาใบ ให้เป็นดอกออกผล จิตของเรานี้ ถ้ามันตั้งอยู่ในสภาพใดเช่นว่ามันตั้งอยู่ในความถูกต้อง หรือว่าตั้งอยู่ในความเห็นผิด ก็แสดงความเห็นผิดไปถึงสุดขีดของมัน ความเห็นถูกก็แสดงออกไปถึงที่สุด คือทางกาย และวาจาของเราเหมือนกัน

ฉะนั้น การบำรุงพระพุทธศาสนานี้ด้วยการปฏิบัติจึงสำคัญมาก โดยตรงเข้าไป ไม่มีอะไร มีแต่ข้อวัตรตรงไปตรงมา เช่นเราสมาทานศีลทุกวัน พระท่านก็บอกสิ่งที่ผิดทุกวัน พระให้พากันสมาทาน แต่ถ้าสมาทานเฉยๆ ไม่ได้ภาวนาไม่ได้พิจารณาตามเหตุผล มันก็เป็นไปได้ยาก หาข้อประพฤติปฏิบัติไม่ได้ การบำรุงพระพุทธศาสนานี้ก็บำรุงอย่างนั้น คือปฏิบัติบูชา คือการปฏิบัติให้มันเป็นศีลจริง ให้เป็นสมาธิจริง ให้เป็นปัญญาจริง มันจึงจะรู้เรื่อง ถ้าไม่รู้โดยการปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องพระพุทธศาสนา ถึงจะเรียนจบพระไตรปิฎกก็ยังไม่รู้จัก

ในสมัยก่อน ครั้งพุทธกาล มีสาวกองค์หนึ่งชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละ ตุจโฉโปฏฐิละนี้มีปัญญามาก แตกฉานในคัมภีร์ แตกฉานในพระไตรปิฎก มีวัดสาขาตั้ง ๑๘ แห่ง เป็นครูเป็นอาจารย์จนประชาชนศิษยานุศิษย์ทั้งหลายนับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใครได้ยินชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียง เมื่อท่านอธิบายธรรมะ กลัวอำนาจที่ท่านได้เรียนมากจนแตกฉานในพระไตรปิฎก ฉะนั้นท่านตุจโฉโปฐิละจึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียน วันหนึ่งท่านไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงสาธุการ พระพุทธองค์ตรัสว่า "มาแล้วหรือ พระใบลานเปล่า?"

...ซึ้งในใจ แล้วก็เลยพูดกันไป พอท่านจบประโยคพอสมควรแล้วจะลาพระพุทธองค์กลับวัด... "กลับอาวาสแล้วหรือพระใบลานเปล่า?" จะกลับก็ "กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า?" ไม่ได้หน้าได้หลัง ท่านเทศน์อยู่เท่านั้น ตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ก็คิดในใจว่า "เอ...ทำไมพระพุทธองค์จึงรับสั่งอย่างนั้น? เป็นอะไรหนอ..." คิดไปคิดมาคิดตามการศึกษาย้อนไปพิจารณาไป จนเห็นว่า "เออ...มันจริงที่พระองค์ว่า พระใบลานเปล่า" คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อมาดูจิตใจของตนก็เหมือนกันกับฆราวาส อยากได้อะไรก็อยากได้เหมือนเขา ฆราวาสยินดีอย่างไรก็ยินดีอย่างเขา ความเป็นสมณะไม่มี ไม่มีธรรมะอันซึ้งบังเกิดขึ้นในใจที่จะมาข่มจิตของตนให้สงบระงับด้วยการอบรมทั้งหลายได้ จึงเกิดความสนใจอยากจะออกปฏิบัติ แต่ว่าการจะออกปฏิบัตินั้นไม่มีทางที่จะไป ไปหาอาจารย์นั่นอาจารย์นี่ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด เขาก็เลยไม่รับ ธรรมดาคนเราเห็นครูบาอาจารย์ก็เคารพเกรงกลัวไม่กล้าพูด ก็เลยไม่กล้ารับให้ท่านมาปฏิบัติด้วย ไปสำนักผู้ใดก็ตามไม่กล้ารับ ท่านมีความรู้มาก มีปัญญามาก ใครๆ ก็ไม่กล้าตักเตือน ไม่กล้าสอน ถึงแม้ว่าท่านนั่งอยู่ที่นั้นจะเทศนาว่ากล่าวก็ยังเกรงกลัวอำนาจของท่าน

ท่านจึงไปหาสามเณรน้อยซึ่งเป็นอริยบุคคล ท่านตุจโฉโปฏฐิละก็ไปขอปฏิบัติกับสามเณรน้อย เณรบอกว่า "พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผมถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้" ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิต สามเณรให้ห่มผ้า เมื่อห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว เผอิญมีหนองอยู่ใกล้ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า "เอ้าให้วิ่งเข้าไปในหนองนี่ วิ่งลงไป ถ้ายังไม่บอกให้หยุดอย่าหยุดนะ ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้นอย่าขึ้นนะ...เอ้า วิ่ง" ตุจโฉโปฏฐิละห่มผ้าดีๆ แล้วก็วิ่งลงไปในหนอง ต่ำลงๆๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุดท่านก็ลงไปจนตัวเปียกหมด เปื้อนตมเลอะขี้เลนหมด สามเณรจึงบอกว่า "เอาล่ะ หยุดได้" ท่านจึงหยุด สามเณรว่า "เอาละขึ้นมา" ท่านจึงขึ้นมา แสดงให้เห็นว่าท่านละทิฐิของท่านแล้ว จึงยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับจะไม่ยอมลงขึ้ตมหรอก คนผู้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าท่านยอมไป สามเณรเห็นแล้วรู้อุปนิสัยแล้ว ว่าตุจโฉโปฏฐิละเอาจริง

เมื่อท่านขึ้นมาแล้วสามเณรจึงสอนให้ โดยใช้วิธีกำหนดอารมณ์จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เณรก็ยกอุบายอันหนึ่งขึ้นมาว่า ให้ใช้วิธีที่บุรุษทั้งหลายจะจับเหี้ย เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดมันไว้ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดไว้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้น ครั้นเหี้ยวิ่งออกก็จับ อันนี้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิด เหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือสำรวมสังวร ให้กำหนดจิตอย่างเดียว

การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย อย่างเราจะกำหนดลมหายใจให้มีสติ สติคือความระมัดระวังรู้อยู่ว่า เดี๋ยวนี้เราทำอะไรอยู่ สัมปชัญญะคือรู้ตัวว่าเรากำลังทำอันนั้นอยู่ ผู้รู้ รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นอยู่ ให้กำหนดลมหายใจเข้าด้วยการมีสติความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว การที่ว่าระลึกได้คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่การที่เราไปศึกษาที่ไหนมา ให้รู้จักแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา จิตมันอยู่เฉยๆ มันก็มีความรู้สึกขึ้นมา อันนี้แหละเป็นความรู้สึก สตินี้ควบคู่กันกับความรู้สึก มีสติอยู่คือความระลึกได้ว่า เราพูดอยู่ หรือเราทำอยู่ หรือเราไปเดินอยู่ หรือเรานั่งอยู่ จะไปจะมาก็รู้ นั่นเรียกว่าสติ ระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัวว่า บัดนี้เรากำลังเดินอยู่ เรานั่งอยู่ เรานอนอยู่ เรารับอารมณ์อะไรอยู่เดี๋ยวนี้ สองอย่างนี้ ทั้งสติความระลึกได้ และสติสัมปชัญญะความรู้ตัว ในการที่เราระลึกได้อยู่เสมอนั้น เราก็จะสามารถรู้ใจของเราว่าในเวลานี้มันคิดอย่างไร เมื่อถูกอารมณ์ชนิดนั้นมามันคิดอย่างไร อันนี้เราจะรู้จัก

ผู้ที่รับรู้อารมณ์นั้นคือตัวจิต อารมณ์คือสภาวะที่มันจรเข้ามาเช่นว่ามีเสียง เช่นเสียงเขาไสกบอยู่นี่ มันเข้าทางหูแล้ว จิตก็รับรู้ว่าเสียงกบนั่น ผู้ที่รับอารมณ์รับรู้เสียงกบนั้นเรียกว่าจิต ที่นี่ จิตที่รับรู้นี่เป็นจิตที่หยาบๆเป็นจิตที่ปกติของจิต บางทีเรานั่งฟังเสียงกบอยู่รำคาญ ในความรู้สึกของผู้ที่รับรู้ เราจะต้องอบรมผู้ที่รับรู้นั้นให้มันรู้ตามเป็นจริงอีกทีหนึ่ง ที่เรียกว่าพุทโธ ถ้าหากว่าเราไม่รู้แจ้งตามเป็นจริงเราอาจจะรำคาญในเสียงคนหรือเสียงรถ หรือเสียงกบ มีแต่จิตเฉยๆ รับรู้ว่ารำคาญ รู้ตามสัญญา ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง เราจะต้องให้มันรู้ในญาณทัสนะ คืออำนาจของจิตที่ละเอียด ให้รู้ว่าเสียงกบที่ดังอยู่นั้น ก็สักแต่ว่าเสียงเฉยๆ ถ้าหากว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่รำคาญอะไร เสียงก็ดังของมันไป เราก็นั่งรับรู้ไป อันนั้นก็เรียกว่ารู้ถึงอารมณ์ขึ้นมา นี่ถ้าหากว่าเราภาวนาพุทโธ มีความรู้แจ้งในเสียงกบ เสียงกบนั้นไม่ได้มากวนใคร มันก็ดังอยู่ตามสภาวะ เสียงนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวคนเราเขา เรียกว่าเสียงเท่านั้น มันก็ทิ้งไป วางไป

ถ้ารู้อย่างนี้คือจิตรู้โดยสภาวะที่เรียกว่า พุทโธ คือความรู้แจ้งตลอดเบิกบาน รู้ตามความเป็นจริง เสียงก็ปล่อยไปตามเรื่องของเสียง ไม่ได้รบกวนใคร นอกจากเราจะไปยึดมั่นว่า "เออ...เรารำคาญ" ก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นมา นี่เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา เหตุที่มีทุกข์ขึ้นมาก็เพราะอะไร ก็เพราะเราไม่รู้จักเรื่องตามความจริง ยังไม่ได้ภาวนาพุทโธ ยังไม่เบิกบาน ยังไม่ตื่น ยังไม่รู้จัก มีแต่เฉพาะจิตล้วนๆ ที่ยังไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ใช้การงานอะไรยังไม่ได้เต็มที่

ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกหัด ฝึกจิตนี้ให้มีกำลัง การทำจิตให้มีกำลัง การทำกายให้มีกำลัง มีลักษณะอันเดียวกันแต่มีวิธีการต่างกัน การฝึกกำลังกายเราย่อมเคลื่อนไหวอวัยวะ มีการนวดกายเหยียดกาย เช่นวิ่งตอนเช้าตอนเย็นเป็นต้น นี่เรียกว่าออกกำลังกาย กายนั้นก็จะมีกำลังขึ้นมา จะคล่องแคล่วขึ้นมา เลือดลมจะมีกำลังวิ่งไปมาสะดวกตามเส้นประสาทต่างๆ ได้ กายจะมีกำลังดีกว่าเมื่อไม่ได้ฝึก แต่การฝึกจิตให้มีกำลังไม่ใช่ให้มันวิ่งให้มันเคลื่อนไหวอย่างกับการออกกำลังกาย คือทำจิตให้มันหยุด ทำจิตให้พักผ่อน เช่นเราทำสมาธิยกอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เช่นว่าอานาปานสติ ลมหายใจเข้าออกอันนี้เป็นรากฐาน เป็นเป้าหมายในการเพ่งในการพิจารณา เราก็กำหนดลมหายใจ การกำหนดก็คือการรู้ตามลมนั่นเอง กำหนดลมเข้าแล้วก็กำหนดลมออก กำหนดให้รู้ระยะของลม ให้มีความรู้อยู่ในลม ตามรู้ลมเข้าออกสบาย แล้วพยายามปล่อยสิ่งทั้งหลายออกจิตของเรา ก็จะมีกำลังเพราะว่ามีอารมณ์เดียว ถ้าหากว่าเราปล่อยให้จิตคิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัด มีหลายอารมณ์ มันไม่รวมเป็นอารมณ์เดียว จิตเราก็จะหยุดไม่ได้ ที่ว่าจิตหยุดได้นั้นก็คือหยุดในความรู้สึก ไม่คิดแล่นไปทั่ว เช่นว่าเรามีมีดเล่มหนึ่งที่เราลับไว้ดีแล้ว แล้วมัวแต่ฟันหินฟันอิฐฟันหญ้าไปทั่ว ถ้าเราฟันไม่เลือกอย่างนี้ มีดของเราก็จะหมดความคม เราจึงต้องฟันแต่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราปล่อยให้จิตแล่นไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์ จิตนั้นจะไม่มีกำลัง ไม่ได้พักผ่อน ถ้าจิตไม่มีกำลัง ปัญญามันก็ไม่เกิด จิตไม่มีกำลังคือจิตที่ไม่มีสมาธิเลย

ถ้าจิตไม่ได้หยุดจะเห็นอารมณ์นั้นไม่ได้ชัดเจน ถ้าเรารู้จักว่าจิตนี้เป็นจิต อารมณ์เป็นอารมณ์ นี่คือหัวข้อแรกที่จะตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นมาได้ นี้คือตัวศาสนา เราบำรุงให้จิตนี้เกิดขึ้นเป็นลักษณะของการปฏิบัติให้เป็นสมถะ ให้เป็นวิปัสสนารวมกันเข้าเป็นสมถะวิปัสสนา เป็นข้อปฏิบัติมาบำรุงจิตใจให้มีศีลมีธรรม ให้จิตได้หยุด ให้จิตได้เกิดปัญญา ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของมัน

ถ้าพูดตามความเป็นจริง อย่างที่ว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ กิริยาที่เราอยู่ กิริยาที่เรากิน กิริยาที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้ เราก็เหมือนกันกับเด็กน้อย เด็กน้อยมันไม่รู้เรื่องอะไร ถ้าผู้ใหญ่มามองดูกิริยาของเด็ก การเล่นการกระโดดนั้น มันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร จิตเราที่ไม่ได้ฝึกก็เหมือนกัน เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง จะพูดก็ไม่มีสติ การกระทำก็ไม่มีปัญญา เสื่อมไม่รู้จักว่ามันเสื่อม เสียก็ไม่รู้จักว่ามันเสีย ไม่รู้เรื่อง เล่นไปตามประสาเด็ก จิตเราที่ไม่รู้จักจะเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้นจึงควรฝึกจิตของเรา พระพุทธเจ้าตรัสว่าฝึกจิตอันนี้อบรมจิตอันนี้ให้มาก ถึงแม้ว่าเราบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔ ปัจจัยลาภทั้งหลายก็จริง ก็เป็นเพียงสิ่งที่ผิวเผิน เป็นแต่เศษเปลือกๆ เป็นแต่กระพี้ การบำรุงพระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นคือการปฏิบัตินี่เอง ไม่มีอันอื่นไกลอะไร ที่เราฝึกอยู่นี่ ฝึกกายฝึกวาจาฝึกจิตของเรานี้เรียกว่าข้อประพฤติปฏิบัติ แล้วมันจะถ่ายทอดไปหลายๆ แห่ง ถ้าหากว่าคนเรามีความซื่อสัตย์มีความสุจริต มีศีลธรรม การประพฤติปฏิบัติในกาลอนาคตมันก็เจริญทั้งนั้นแหละ ไม่มีเรื่องอิจฉา ไม่มีเรื่องพยาบาท ศาสนาก็สอนให้เป็นอย่างนั้น ให้เข้าใจอย่างนั้น เหมือนกับพวกเราทั้งหลายสมาทานศีลกันนี่เองไม่ใช่โดยลักษณะที่ทำตามประเพณีรับศีลเฉยๆ สิ่งที่ท่านแนะนำสั่งสอนนั้น มันเป็นเรื่องจริง ถึงพูดเราก็พูดได้ ถึงเรียนเราก็เรียนได้ ถึงว่าเราก็ว่าได้ ยังเหลือแต่การปฏิบัติเท่านั้น เราจึงยังไม่รู้เรื่อง

ถ้าหากว่าการปฏิบัติ คือการปฏิบัติบูชานี้ไม่เกิดขึ้นเมื่อไร มันก็จะทำให้เราไม่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดชีวิตหลายๆ ชีวิตก็ได้ หรือจะพูดง่ายๆ ว่าจะไม่รู้เรื่องหลักพระพุทธศาสนานี้เลยก็ได้ คล้ายกับผลไม้ชนิดหนึ่ง ที่เขาเล่าว่ามันหวานหรือเปรี้ยวหรือมัน เมื่อไม่ได้กินจะยังไม่เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นพันธุ์ที่ดีก็ตามเถอะเราไม่รู้เรื่อง ถ้าเราไม่รู้จักผลไม้ตามความเป็นจริง เรื่องพระพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราขาดจากการภาวนาเราจะไม่รู้เรื่องทาน ไม่รู้เรื่องศีลไม่รู้เรื่องภาวนา ฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงเป็นกุญแจ กุญแจภาวนา แม่กุญแจนั้นจะเป็นอะไรก็ช่างเถอะ เราถือลูกกุญแจมันไว้ในมือเรา ถึงมันจะปิดแน่นเท่าไรก็ช่าง ถ้าเราเอาลูกกุญแจไปเปิดเมื่อไรก็สำเร็จประโยชน์เมื่อนั้น ถ้าหากว่ากุญแจไม่มีลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไร ของอยู่ภายในลังเราก็เอาไม่ได้ อันนี้เหมือนกันฉันนั้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้เรียนรู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้

ความรู้มีอยู่สองอย่าง คนที่รู้จักธรรมะนั้น ท่านไม่ได้เอาความจำมาพูด แต่ท่านเอาความจริงมาพูด คนทางโลกก็เอาความจำมาพูดกัน และก็พูดในแง่ที่ว่ายกหูชูหางขึ้นไป เช่นว่า เราพรากกันมานานแล้วไปอยู่ต่างประเทศกันหรืออยู่ต่างจังหวัดกันมานาน อีกวันหนึ่งขึ้นรถก็บังเอิญพบกันเข้า "แหม ผมดีใจเหลือเกิน ผมนึกว่าจะไปเยี่ยมคุณอยู่เร็วๆ นี้" อันนี้ไม่ใช่ความเป็นจริง ไม่เคยนึกเลย แต่ไปปรุงขึ้นในเดี๋ยวนั้น คือพูดด้วยความดีใจในปัจจุปัน ก็เป็นเรื่องโกหกขึ้นมา โกหกอย่างนั้นแหละแต่ไม่รู้ตัว ความจริงไม่ได้คิดว่าจะไปเยี่ยม ไม่เคยได้คิดสักที มันมีความรู้สึกเกิดขึ้นในเวลานั้น จึงพูดขึ้นในเวลานั้น นี่โกหก โดยที่ไม่รู้จักตัวเอง อย่างนี้ก็มี นี่เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง คือไม่ได้เป็นความจริงในคำที่เราพูดในเวลานั้น แต่มันปรุงแต่งขึ้นให้ทำได้ นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างละเอียด และคนเราชอบพูดกันอย่างนั้น ชอบพูดอย่างนั้น ชอบว่าอย่างนั้น

ฉะนั้นเรื่องจิตใจนี้ พระตุจโฉโปฏฐิละก็ทำตามที่สามเณรว่า...หายใจเข้าหายใจออก พิจารณามีสติ มีสัมปชัญญะ มีความรู้รอบคอบอยู่จึงเห็นความโกหกของมัน โกหกเรื่องจิตใจของตัวเอง เห็นกิเลสทั้งหลายเมื่อมันออกมา เหมือนกับเหี้ยออกมาจากโพรง พอโผล่ขึ้นมาก็เห็นทันทีจบเรื่องมันเลย เดี๋ยวมันก็เกิดปรุงขึ้นมา เดี๋ยวมันก็เกิดแต่งขึ้นมา เกิดปรุงโดยวิธีนั้น เกิดแต่งโดยวิธีอันนี้ ความคิดของเรานั้นเป็นสังขตะธรรม คือปัจจัยมันปรุงได้แต่งได้ ไม่ได้เป็นอสังขตะธรรม คือสิ่งที่ปัจจัยไม่ได้ปรุงไม่ได้แต่ง จิตที่อบรมดีแล้ว มีความรู้สึกดีแล้ว อารมณ์มันปรุงไม่ได้แต่งไม่ได้ ไม่ได้เชื่อใคร ตรัสรู้ตามความเป็นจริง เรียกว่าอริยสัจ รู้ตามอริยสัจคือรู้ตามความเป็นจริง อารมณ์มันจะบิดพริ้วว่าอันนั้นดีอันนั้นงาม อันนั้นอย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่ามีพุธโธในใจก็โกหกไม่ได้ คือรู้จิตตามเป็นจริงของมันแล้ว อารมณ์จะปรุงแต่งไม่ได้ เห็นอารมณ์ก็เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง อารมณ์นี้มันเป็นทุกข์ ผู้ไปยึดอารมณ์นั้นก็จะเป็นทุกข์เพราะอารมณ์นั้นมันไม่เที่ยงอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้น จะไปอยู่ในทิศไหนก็ตามผู้รู้เป็นอย่างนั้นตุจโฉโปฏฐิละก็มารู้อย่างนั้น ดูอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นกับจิต ดูเรื่องจิตมันเป็นโกหกหลายอย่าง ท่านก็รู้เรื่องของมัน จับตัวของมันได้ว่า "เออ...อันนี้ตัวโกหก มันเป็นตัวสำคัญนะ อันนี้มันพาให้เราดีใจจนเกินพอดี พาให้เราเสียใจจนเกินพอดี ให้เราวนเวีนนอยู่ในวัฏฏะสงสารนี้ ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งดีทั้งชั่ว ตลอดเวลาก็เพราะตัวนี่เอง" ตุจโฉโปฏฐิละรู้เรื่องของมันแล้ว ท่านก็จับตัวมันได้ เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ยได้ คือจับตัวการมันได้

เรานี่ก็เหมือนกัน มีจิตตัวเดียวนี่แหละเป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นท่านจึงให้อบรมจิต จิตก็เรียกว่าจิต จะเอาอะไรมาอบรมมันอีกล่ะ จิตนี้? ถ้าเรามีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เสมอแล้วเราก็รู้จักจิต ผู้รู้นั้นคือรู้เหนือกว่าจิตขึ้นไปอีก คือผู้รู้สภาวะของจิตนั้น จิตนี้ก็เป็นจิต ผู้ที่รู้ว่าจิตนี้สักแต่ว่าจิต นั่นแหละเรียกว่าผู้รู้ ผู้รู้เหนือกว่าจิตของเราไปอีก จึงได้ตามรักษาจิตของตน จึงสอนจิตของตนให้รู้ว่าอันนี้ผิดอันนี้ถูกได้ ในที่สุดพูดตามธรรมชาติแล้วมันก็สุดแต่จิตเท่านั้นมนุษย์เรา มันสุดแต่จิตที่มันเพียงแต่แต่งไปแต่งมา ถ้ามันแต่งไปแต่งมา และไม่มีสิ่งที่รู้ยิ่งไปกว่านั้นอีก จิตของเราก็เป็นหมัน ฉะนั้นอาศัยจิตอันนี้เป็นผู้รับฟัง ท่านจึงเรียกว่าภาวนาพุทโธ คือความรู้แจ้งรู้เบิกบานตลอด รู้ถึงที่สุด รู้เหนือกว่าจิตของเราอีก รู้เรื่องของจิตทุกอย่าง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้อบรบ คือ การภาวนาเอาพุทโธนั้นไปบริกรรมให้มันรู้จิต ให้มันรู้เหนือกว่าจิต ให้เห็นแต่จิตนี้จะคิดดีก็ตาม คิดชั่วก็ตาม จนกว่าผู้รู้นั้นรู้ว่าจิตนี้สักแต่ว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่บุคคลตัวตน เราเขา นี้เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ถ้าเห็นอย่างนี้แล้วจิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตอันนั้นยังไม่เป็นของเราอีก ยังโกหกเราได้อีก

สรุปความได้ว่า จิตก็เป็นผู้รับรู้อารมณ์ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตนี้ก็เรียกว่าจิต ผู้รู้ทั้งจิตทั้งอารมณ์นั้นมันเหนือกว่าจิตเหนือกว่าอารมณ์ไปอีก มันเป็นของมันอย่างนั้น แล้วมันก็มีสิ่งที่มันซับซ้อนอยู่เสมอ ท่านเรียกว่าสติ สตินี้ก็มีทุกคน แมวมันก็มีเวลาที่ตะครุบหนูกิน สุนัขมันก็มีสติเวลามันจะเห่าคน กัดคน อันนั้นก็เรียกว่าสติเหมือนกัน แต่ไม่ใช่สติโดยธรรมะ คนทุกคนก็มีสติเหมือนกัน ก็เหมือนกันกับกาย ให้เราพิจารณากายของเรา "จะพิจารณาอะไรกายนี่ ใครจะไม่เห็นมัน เกศาก็เห็น โลมาก็เห็น นขาก็เห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นหมดแล้วจะให้มันรู้อะไรอีก" แน่ะ มันก็เป็นอย่างนี้คนเรา เห็นอยู่แต่ว่าไม่เห็นถึงที่สุดของความเห็น ไม่เห็นโดยพุทโธ ผู้รู้แล้วตื่นแล้ว เห็นตามธรรมชาติ คือเห็นกายเป็นกาย เห็นกายเฉยๆ ก็ยังไม่พอ ถ้าเห็นกายเฉยๆมันเสียหาย ให้เห็นภายในกายเข้าไปอีกทีหนึ่ง มันจึงจะชัดเจนเข้าไป ถ้าเห็นแต่กายส่วนเดียวมันก็หลงกาย ก็ยังรักสวยรักงาม ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นกามฉันทะ ยังติดอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ผู้เห็นกายก้อนนี้คือตาเนื้อธรรมดาเห็นแต่รักคนนั้นเกลียดคนนี้ อันนั้นสวยอันนั้นไม่สวย พระพุทธเจ้าสอนว่าอันนั้นยังไม่พอ ต้องรู้ด้วยตาของจิตอีกทีหนี่ง ให้เห็นกายในกาย ถ้าเห็นกายในกาย มองเข้าไปในกายมันมีอะไรบ้าง อ้อ มันไม่น่าดูเลยนะ ของวันนี้ก็มี ของแต่เมื่อวานนี้ก็มีอยู่ในนั้น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างนี้มันจะเห็นแจ้งเหนือขึ้นไป พิจารณาให้เห็นด้วยตาจิตด้วยปัญญาจักษุ เห็นด้วยปัญญา

ไอ้ความเห็นมันต่างกันอย่างนั้น บางคนถ้าสอนให้พิจารณา เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ไม่รู้จะพิจารณาอะไร ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เห็นอยู่แล้ว แต่มันไม่เห็นนะ เห็นด้วยตาเท่านั้น ตาผีบ้านี่มันดูแต่สิ่งที่น่าดู สิ่งใดไม่น่าดูก็ไม่ได้ดูสิ่งเหล่านั้น มันเลือกอย่างนั้นนะ คำว่าเห็นกายในกาย คือเห็นให้มันแจ้งกว่านั้น ดังนั้นให้พิจารณากาย แล้วพิจารณาเห็นกายในกาย มันก็เห็นชัดเข้าไปอีก มันละเอียดกว่ากันเท่านั้น

ตัวนี้เป็นตัวพิจารณาถอนความยึดมั่นในขันธ์ห้าได้ ถ้าถอนความยึดมั่นถือมั่น มันก็เหมือนกันกับถอนทุกข์ออกด้วย ก็เพราะสิ่งทั้งหลายนั้นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าทุกข์เกิดมันจะเกิดในที่นี้ คืออุปาทานขันธ์ห้า ไม่ใช่ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์นะ ตัวอุปาทานขันธ์ห้า ยึดมั่นขันธ์ห้าว่าเป็นเรานั่นแหละเป็นทุกข์ ถ้าเราเห็นเช่นนั้นตามความเป็นจริง คือการภาวนามันก็จะคลายออกเหมือนเกลียว เหมือนน๊อต หมุนทางซ้ายเรื่อยๆ มันก็ถอนออกมาเรื่อยๆ มันไม่แน่น มันไม่หนา มันไม่ตึง ไม่เหมือนเรา หมุนเข้าทางขวา มันถอย มันวาง มันละ ไม่ตึงในความดีในความชั่ว ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ สุขทุกข์นินทาประการใด ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็หมุนเข้าไปเรื่อยๆ หันเข้าไปบีบตัวเองเรื่อยๆ ก็เป็นทุกข์หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรารู้เรื่องเหล่านี้มันก็เหมือนกับคลายเกลียวออกมา ในทางธรรมะท่านเรียกว่าเกิดนิพพาน คือความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็คลายความกำหนัดรักใคร่ ความยึดมั่นถือมั่น ถ้าหากเราคลายความยึดมั่นถือมั่นมันแล้ว มันก็สบายล่ะ

ยกตัวอย่าง เช่น ศีรษะของเรา ในเมืองไทยเราหัวนี้เป็นสิ่งที่สำคัญแท้ๆ แตะมันไม่ได้ จะไปจับหัวก้นกลางทางก็ตีกันเลย คือมันยังไม่ยอม ถ้ายอมเหมือนนายพล นายพันทั้งหลายที่มาหาอาตมาให้เป่าศีรษะก็ไม่เป็นไร จับศีรษะได้สบาย เขากลับมีกำลังใจอีกด้วยซ้ำ แต่ว่าเขายอมเสียสละคราวหนึ่ง ถ้าเจอกันตามทาง ไปจับศีรษะอย่างนั้นตีกันเลย นี่มันเกิดทุกข์ตรงตัวนี้ มันยึดมั่นถือมั่นตัวนี้ อาตมาเคยไปในประเทศต่างๆ เขาจับหัวกันเลย ผู้หญิงก็ตามผู้ชายก็ตามจับหัวกันเลย มันก็จริงของเขานะนี่ ถ้าไม่ยึดมั่นมากมันก็ผาสุกจริงๆ ถ้ามาในเมืองไทยนี้ จะจับหัวเข่านี่ก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้ถือมัน ถ้าจับหัวก็ถือกันจริงๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นี่คือความยึดความหมายมั่น ที่จริงทุกๆ ส่วนในร่างกายนี้มันก็เท่าๆ กัน แต่ส่วนที่เรายึดแท้ๆนี่คนเราก็ผูกพันไว้ซึ่งความยึดมั่นถือมั่น

อันนั้นแหละเป็นเหตุ ที่นั้นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ฉะนั้นเราดับเหตุเสียไม่ให้มันมีรากฐาน อย่าให้มันมีพื้นฐานที่ทุกข์จะเกิด เช่นว่า เราพิจารณาร่างกายของเรา มันก็เสมอกันทั้งนั้น ทางล่างทางหัวมันก็พอปานกัน ข้างๆ กับทางหัวมันก็พอปานกัน มันก็พอปานเก่าอยู่ ถ้าเราคิดให้ดีๆ เขามาตบตัวเรามันก็พอปานเก่าอยู่ไม่เป็นไร นี่คือผู้ที่ละเหตุได้ มันมีเรื่องเท่านี้แหละมนุษย์เรานี้ มีความยึดมั่นรูปเดียวเท่านี้ อาศัยรูปเดียวเท่านี้ก็ฆ่ากันเลย มันก็เรื่องเท่านี้เอง ไม่มีเรื่องมาก พูดถึงส่วนบุคคลก็เป็นเรื่องเท่านั้น เรื่องครอบครัวก็เรื่องเท่านี้ เรื่องประเทศชาติก็ไม่มีอะไรมีเท่านี้ ไม่มีใครได้เลย เลยรบกัน ฆ่ากันเลย ไม่มีใครได้อะไรสักคน ไม่รู้เป็นอะไร ฆ่ากันเฉยๆ

มีอำนาจ มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุข มีทุกข์ มันเป็นโลกธรรม ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ สัตว์โลกจึงเป็นไปตามโลกธรรม มีนินทาหนึ่ง มีสุขหนึ่ง มีทุกข์หนึ่ง ท่านเรียกว่าโลกธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ชั่ว เป็นธรรมที่นำความทุกข์มาให้ถ้าไม่ภาวนา ถ้าไม่พิจารณารู้เท่ามันก็เป็นทุกข์ ฆ่ากันได้ ทำอะไรก็ได้ เรื่องลาภ เรื่องยศ เรื่องอำนาจนี่ เพราะอะไร เพราะถ้าไม่ได้ภาวนา ไม่ได้พิจารณามันไม่สม่ำเสมอกัน เดี๋ยวเขาตั้งเป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมา เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นกำนันขึ้น เป็นนั่นเป็นนี่เป็นขึ้นเลย แต่ก่อนเคยมีผู้เฒ่าเล่าเรื่องผู้ใหญ่บ้านชั่วให้ฟัง พอเขาให้ยศเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านขึ้นมา ก็หลงอำนาจตน เพื่อนเก่าก็เล่นด้วยไม่ได้เหมือนเก่านี่ละ มาแล้วก็ว่า "อย่ามาใกล้กันนะ มันไม่เหมือนเก่าแล้วนะ"

มีลาภก็ดี มียศก็ดี มีสรรเสริญก็ดี มีสุข มีทุกข์ก็ดี พระพุทธองค์ก็ให้รู้มันเสีย ให้มันพอปานเก่าเท่านั้นแหละ เอาไว้เพื่อใช้ในการงาน แล้วก็วางไว้พอปานเก่า เป็นคนผู้เดียวกับผู้เก่า ถ้าไม่รู้เท่าลาภยศสรรเสริญนินทาก็ฆ่ากันเลย หลงอำนาจของตนหลงลูกหลานหลงหมดทุกคน ถ้ารู้จักดีแล้วก็เห็นว่าเป็นพวกเดียวกันเถอะ เรื่องนี้เป็นเรื่องสมมติแท้ๆ แต่มันเป็นกิเลสมาก ท่านเรียกว่าโลกธรรม สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนี้ มีคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า เรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาทีหลัง เมื่อเกิดมาแรกๆ ก็มีรูปกับนามเกิดขึ้นมาเฉยๆ ครั้นเอานาย "ก" เข้ามาใส่ นี่เป็นไปด้วยสมมติ ต่อมาก็มีเรื่องนายพล นายพันขึ้นมา ถ้าไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นของจริง ก็เลยแบกไว้ แบกลาภไว้ แบกชื่อไว้ แบกเสียงไว้ มีอำนาจ ชี้นกให้เป็นนก ชี้หนูให้เป็นหนูหมดทุกอย่างก็ได้ เกิดอำนาจขึ้นมาเอาคนนั้นไปฆ่าเสีย เอาคนนี้ไปติดคุกเสียอย่างนี้แหละ จึงมีอำนาจขึ้นมาเพราะเกียรติ คำว่าเกียรตินั้นตรงนั้นแหละมันเป็นอุปาทาน พอมีเกียรติขึ้นมาเป็นต้นก็สั่งเลย ผิดๆ ขัดๆ ก็ทำไปด้วยอำนาจตน ทำไปตามอารมณ์ของตน ก็เลยไปตามความผิดอันนั้นเรื่อย มันจึงขาดจากธรรมะ นี่เรื่องข้อปฏิบัติ ถ้ารู้แล้วก็ไม่ทำอย่างนั้น ความดีความชั่วมันมีแต่ไหนแต่ไรมา ลาภยศมันก็มีขึ้นมาก็ให้มันมีแต่เฉพาะลาภนั้นเฉพาะยศนั้น อย่าให้มันมีมาถึงเรา เอามาใช้เฉยๆ ตามการงานแล้วก็ทิ้งไป เราก็พอปานเก่า ถ้าเราได้ภาวนาเรื่องสิ่งเหล่านี้แล้ว ถึงมันจะได้อะไรขึ้นมาก็ดีก็ไม่หลงทาง สบายอยู่เหมือนเก่า มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งหมดไม่มีอะไร เรื่องนี้พระพุทธเจ้าให้พิจารณาอย่างนี้จึงจะรู้เรื่องมันตามเป็นจริง ถ้าเราได้อะไรขึ้นมาไม่มีอะไรจะปรุงได้แต่งได้ เขาตั้งให้เป็นกำนัน เป็นแต่ไม่เป็น เขาจะให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็เป็นอยู่แต่ไม่เป็น เขาให้เป็นอันนั้นอันนี้ ก็เป็นอยู่แต่ไม่เป็น เบื้องปลายเราจะเป็นอะไร? มันก็ตายเหมือนเก่าเท่านั้นแหละ เขาจะให้เป็นกำนันเป็นผู้ใหญ่บ้านมันก็เหมือนเก่าจะให้ว่าอย่างไร ถ้าเราคิดอย่างนั้นแล้วมันก็ดี แน่นหนาดีมันก็พอปานเก่าเท่านั้นแหละ นี่เรียกว่าคนไม่หลง จะเอาอะไรมาให้มันก็ยังเป็นอย่างนั้นแหละ มันสักแต่ว่าสังขาร ไม่มีอะไรจะมาปรุงจะมาแต่งจิตใจให้เกิด ราคะ โทษะ โมหะ ไม่มี อันนี้แหละเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาให้ผู้ที่ถูกบำรุงก็ดี ผู้ที่ตั้งใจบำรุงก็ดี ให้คิดในแง่นี้ให้มาก ให้มีศีลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจของตน

นี่สรุปได้ว่า การบำรุงพระพุทธศาสนาที่แน่นอนต้องบำรุงอย่างนี้ บำรุงให้อาหารให้การขบการฉัน ให้ที่อยู่อาศัย ให้ยาบำบัด โรคก็เหมือนกัน แต่มันถูกแต่กระพื้ของมัน ฉะนั้นทายกทายิกาทั้งหลายที่ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมบำเพ็ญกุศลนั้น อย่าลืมอันนี้ ไม้มันก็มีเปลือกมีกระพี้ มีแก่น สิ่งทั้งสามนี้อาศัยซึ่งกันและกัน จะมีแก่นได้ก็เพราะเปลือก จะมีเปลือกได้ก็เพราะกระพี้ จะมีกระพี้ได้ก็เพราะแก่น มันรวมกันเหมือนกับศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือการตั้งกาย วาจาให้เรียบร้อย สมาธิก็คือการตั้งใจมั่น ปัญญาคือการรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายให้เรียนกันอย่างนี้ ให้ปฏิบัติอย่างนี้เป็นปฏิบัติบูชาจึงจะเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง

ถ้าหากว่าเราไม่ได้เอาสิ่งทั้งหลายนี้มาปฏิบัติที่ใจ ที่มีลาภมากก็หลง มียศก็หลง จะมีอะไรก็หลงหมด ทุกอย่างมันเป็นเรื่องอย่างนั้น ถ้าหากว่าเราบำรุงแต่สิ่งทั้งหลายภายนอก เรื่องทะเลาะขัดแย้งกันไม่มีหยุด เรื่องผู้นั้นก่อกรรมกับคนนี้ก็ไม่หยุด เรื่องการแทงมีดกัน ยิงปืนกัน ก็ไม่มีหยุด ก่อนจะหยุดได้ต้องพิจารณาเรื่อง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา พิจารณาข้อประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นศีลธรรม ให้ระลึกว่าชาวโลกเรานี้ก็เป็นก้อนเดียวกัน เห็นว่าเราก็เหมือนเขา เห็นเขาก็เหมือนเรา เขาสุขเราก็สุข เขาทุกข์เราก็ทุกข์เหมือนกัน มันก็พอปานกัน พิจารณาอย่างนี้ก็จะเกิดความสบายเกิดธรรมะขึ้นมา นี่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนา ก็บำรุงศีล บำรุงสมาธิ บำรุงปัญญา ให้เกิดขึ้นสม่ำเสมอได้จึงจะเป็นผู้ที่บำรุงพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันนี้ให้เราไปคิดดู

โอกาสที่บรรยายธรรมะแก่ญาติโยมทั้งหลายก็สมควรแล้ว ท้ายที่สุดนี้ก็ ขอให้จงพากันตั้งอกตั้งใจจำข้อความเหล่านี้ไปพินิจพิจารณา ให้บำรุงด้วยการปฏิบัติอย่างแท้จริงทุกๆ คน ขอให้จงเป็นสุขเป็นสุขกันทุกๆ คนเถิด

คุณกวิน...

  • ตาลายเลยค่ะ ยังอ่านไม่จบนะคะ
  • ขอติดไว้ก่อนนะคะ

สวัสดีครับ น้องกวิน

  • แวะมาทักทายครับ
  • สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยเด้อ
  • อืม..คุณกวินมักนำเรื่องราวทางธรรมมาเตือนสติตนเองตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
  • เมื่อนำมาลงในบันทึก ทำให้คนอ่านได้รับอานิสงฆ์ไปด้วย ได้เรียนรู้ไปด้วย
  • ขอบคุณในความอุตส่าหะของคุณกวิน..^_^

 

  • จุ๊..จุ๊.. จะบอกอะไรให้นะคุณกวิน คุณอั่งซิ่วย้งเป็นพิสูจน์อักษรมืออาชีพเลยนะ แหม..มาช่วยด้วยใจจริง ๆ เลย
  • เมื่อคุณอั่งซิวย้งเป็น Proof 1 งั้นใบไม้ขอเป็น Proof 2 ให้ก็แล้วกันนะคะ ปกติที่เคยเห็นเขาจะตรวจกัน 3 Proof ค่ะ
  • Proof 2 : ประมาณย่อหน้าที่ 17-18 ขึ้นต้นย่อหน้าว่า "ฉะนั้นเรื่องจิตใจนี้..." บรรทัดที่ 7 คำว่า "บิดพริ้ว" แก้เป็น "บิดพลิ้ว"
  • ถ้าขี้เกียจหาให้ตาลาย ให้กด Ctrl+F แล้วพิมพ์ว่า บิดพริ้ว ลงไป คอมฯจะหาให้ว่าคำนี้อยู่ที่ไหน แล้วแก้เป็น "บิดพลิ้ว" ค่ะ

 

  • ขอให้คุณกวินประสบความสำเร็จในการฝึกจิตให้มีกำลังนะคะ ^_^

 

สวัสดีค่ะ คุณกวิน

  • กลับมารายงานตัวค่ะ...^_^
  • นำภาพฝีมือตัวเองมาฝากตามที่เคยสัญญาไว้ค่ะ

  • ขอโทษทีค่ะ  มือมันกดบันทึกแล้ว ยังไม่ได้บอกรายละเอียดภาพเลย
  • ภาพนี้ถ่ายใน ทะเลทรายทางเหนือของเมือง Perth Australia ได้ภาพที่มีสีแปลกมาก...ทึ่งตัวเองเลย แต่งสีนิดหน่อยให้สว่างขึ้นค่ะ
  • หวังว่าคงชอบนะคะ...^_^
  • ขอบคุณคุณ อั่งซิ่วย้ง ที่ช่วยตรวจแก้คำผิดให้นะครับ ขอบคุณมากๆ   แสดงว่าต้องอ่านจบหลายรอบแน่เชียว ปวดตามั้ยครับ :)  อ่านจบหลายๆรอบ ก็ย่อมได้ธรรมะและหลักประฏิบัติไปด้วยเรียกได้ว่า ได้อานิสงส์ทันตาเห็นเลย..
  • ผมได้คัดลอก ฉบับที่ตรวจทานคำผิดแล้วนำไป ใส่แทนที่ฉบับเดิม ด้านบน แล้วนะครับ ขอบคุณสำหรับน้ำใจไมตรีครับว่าแต่ อั่งซิ่วย้ง แปลว่าอะไร ครับ
  • สวัสดีคุณ jaewjingjing สบายดีนะครับ ได้ครับอ่านเมื่อไรที่ว่างๆก็ได้ครับ แต่เอ
  • สวัสดีครับคุณพี่ ครูโย่ง ไปแอบถ่ายแอบขึ้นปกมาตั้งแต่เมื่อไรเท่มากๆ เลย รักษาสุขภาพเช่นกันนะครับ
  • พอดีเวปมันชอบแฮงค์พิมพ์ๆ หรือเปิดๆเยอะๆ เลยไม่ได้กด รีเฟรส กลัวแฮงค์ พอไม่ได้กดก็เลยไม่รู้ว่าใครเข้ามาตอบล่าสุด
  • ใบไม้ย้อนแสง อั่งซิ่วย้ง ขอบคุณครับสำหรับน้ำใจอันใสเย็นเฉกเช่น แม่น้ำทั้ง 5 สายในอินเดีย ก็มิปาน 
  •  คนไม่มีราก มาแล้ว...เที่ยวสนุกมั้ยครับ ขอบคุณสำหรับภาพทะเลทราย แสงสวยจัง
  • ท้องฟ้าตัดกับสีพื้นทราย เจอพายุทะเลาทรายบ้างมั้ยครับ แล้วได้ทาซันบล็อกหรือป่าวแต่ผิวสีแทนก็น่ารัก เก๋ดี..
  • คุณกวิน
  • ไปฟังเพลงเพราะ ๆ บ้านคุณแจ๋วหรือยังคะ..ไปกัน..^_^
  • ที่นี่ ค่ะ
  • สวัสดีครับ คนไม่มีราก
  • ไปฟังมาแล้วครับผมขอบคุณมากๆ ครับ
  • อั่งซิ่วย้ง เป็นชื่อจีนแต้จิ๋วที่ปาป๊าตั้งให้มาแต่อ้อนแต่ออกค่ะ
  • อั่ง (อั๊ง) แปลว่าอะไรไม่รู้ (ป๊าเคยบอกแต่จำไม่ได้ ถ้าจำได้คงไม่ได้เป็นประธาน CNR Club)ออกเสียงจีนกลางจะเป็น หง (หงสกุล - นามสกุลนางงาม ก็อันเดียวกันนี้ แต่เรามิอาจเทียบความสวย..เฮอ..เฮอ)
  • ซิ่ว เป็นคำบ่งบอกว่าเป็นผู้หญิง ใส่ตรงกลางระหว่างแซ่กับชื่อ ผู้ชายไม่ต้องมี
  • ย้ง แปลว่าผู้หญิง อันนี้ปาป๊าก็เทียบมาจากชื่อไทยที่พระตั้งให้อ่ะ
  • วิชาการไปหน่อยรึเปล่า

 

  • ขออนุโมทนา ที่หาธรรมมาให้เตือนสติ จะคอยเป็นลูกตาให้เมื่อมีโอกาส
  • ขอเปลี่ยนแม่น้ำอินเดีย เป็นแถวอียิปต์ได้ป่าว ก..ลั..ว..ม..า..ก..เล..ย อินเดียเนี่ย
  • แว๊บ แล้วเน้อ
  • อั่งซิ่วย้ง ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องชื่อภาษาจีนครับผมก็มีเชื้อจีน (จีนแคะ/ฮากกา)
  • รูปงามนามเพราะ ..แท้ๆน้อ
  • มาตอบช้าไปหน่อยอย่าว่ากันนะครับ
  • ช่วงนี้พยามหันหน้าหาธรรมะ ครับ หันหลังให้อธรรม
  • แต่.แม่น้ำแถวอิยิปต์ มีงู อนาคอนด้า นะครับไม่กลัวหรือ
  • ทำใมถึงกลัวอินเดียครับ เล่าให้ฟังได้มั้ย
  • สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์ ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะครับผม
  • ธรรมสวัสดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท