อตัมยตา : กูไม่เอากะมึงอีกแล้วโว้ย!!


ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "อตัมยตาที่ควรรู้จักกันไว้บ้าง" ของท่านพุทธทาสภิกขุ (อตัมยตา เป็นคำที่ท่านพุทธทาสค้นพบในพระไตรปิฎกและนำมาเผยแพร่ เป็นคำบอกตัดขาดไม่เอาอีกแล้วกับกิเลสทำนองว่า "กูไม่เอากะมึงอีกแล้วโว้ย")

ทำไมต้องรู้เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อย เกี่ยวกับเรื่องธรรมะที่สูง ซึ่งมักจะถูกถือกันว่า ไม่ควรเอามาพูดกับคนทั่วไป หรือว่าคนแรกศึกษา ก็มีคนเขาคัดค้าน แม้ที่สุดแต่เรื่อง อนัตตา สุญญตา เขาก็ยังว่าไม่ควรจะเอามาพูดกับคนแรกศึกษา เคยถูกคัดค้านมาแล้ว แต่เราก็ไม่ถือเอาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ามันเป็นเรื่องชั้นหัวใจ ก็ควรจะทราบไว้บ้าง แล้วมันก็เป็นเรื่องสูงสุด ถึงขนาดที่ว่า ถ้าไม่มีเรื่องนี้ก็ไม่มีพุทธศานา ไม่มีศาสนาอื่นที่สอนสูงขึ้นมาจนถึงนี้ นี้มันมาสอนสูงสุดแล้ว ไม่มีใครจะสอนให้สูงไปกว่านี้ได้อีกต่อไป พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เที่ยวศึกษาในสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆ คนสุดท้ายก็สอนเรื่อง เนวสัญญานาสัญญายตนะ พระพุทธเจ้า (พระสิทธัตถะ ยังไม่พอใจ ก็จึงบอกลา แล้วก็ไปหาเอง ก็พบสูงถึงเรื่อง "อตัมมยตา" คือระงับเสียซึ่งภพทั้งปวง มันสูงกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ และก็ไม่ปรากฏว่าใครจะสอนไปได้มากกว่านี้อีก

เราก็ควรจะทราบไว้ในฐานะเป็นหลักหัวใจ เป็นเนื้อเป็นตัวด้วย เป็นหัวใจด้วย ของพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้นมันก็มีทางที่จะนำมาใช้ได้ แม้แต่คนธรรมดาสามัญ คนทำไร่ ทำนา ทำสวน ใช้อตัมมยตา ได้ตามสมควรแก่อัตตภาพความหมายของ อตัมมยตาตามตัวหนังสือก็แปลว่า "ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งนั้นๆ" มันยังฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่องก็คือ ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยที่เข้ามาปรุงแต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หมายความว่า ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ถ้าปัจจัยปรุงแต่งได้ จิตมันก็เป็นไปตามที่ปัจจัยปรุงแต่ง มันผิดจากจิตเดิม มันก็ต้องเป็นทุกข์ จิตเดิมแท้ไม่มีกิเลส ตามปกติไม่มีกิเลส แต่ถ้ามีอะไรมาเป็นปัจจัยปรุงแต่ง มันก็กลายผิดจากจิตเดิม ก็คือใจที่ใหม่ขึ้นมา มันเป็นไปตามปัจจัยที่ปรุงแต่ง คือเป็นทุกข์นั่นเอง

ภาวะที่เรียกว่า "อตัมมยตา" คือภาวะที่อะไรเข้ามาปรุงแต่งไม่ได้ เป็นจิตที่ไม่ถูกปรุงแต่ง คือจิตเดิมแท้จิตเดิมแท้นั้นประภัสสรหลักสำคัญที่สุดมันมีว่า จิตแท้ๆ หรือ จิตที่ไม่มีอะไรเข้าไปปรุงด้วยนั้น มันไม่มีความทุกข์ เรียกว่า จิตประภัสสร มันไม่มีความทุกข์ แต่ถ้าว่าไปเกิดอะไรขึ้น มันก็ไม่ประภัสสร มันเป็นไปตามสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องปรุงแต่ง มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่มีอะไรมาปรุงแต่ง มันคงเป็นประภัสสร ไม่มีทุกข์ ถ้าไม่ให้มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งได้ ก็ต้องมีอตัมมยตาที่ว่านี้

สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิตปัจจัยปรุงแต่งจากภายใน ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า

"ตัณหา" คือความอยาก,
"มานะ" สำคัญหมายมั่นว่าอย่างนั้นอย่างนี้คือ ดีกว่า เลวกว่า เสมอกัน,
"ทิฏฐิ" คือความคิดเห็นว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ถ้า "ตัณหา" มาปรุงแต่ง มันก็คือ "อุปาทาน" แล้วก็เป็น "ทุกข์"
ถ้า "มานะ" มาปรุงแต่ง มันก็เกิด "ตัวตน" ยกหูชูหาง
ถ้า "ทิฏฐิ" มาปรุงแต่ง มันก็เป็น "มิจฉาทิฏฐิ"

คำว่าทิฏฐินี่หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ นี่มี ๒ ชนิด ถ้าเป็น "สัมมาทิฏฐิ" มันปรุงแต่งที่จะไปสู่นิพพาน ก็แปลว่ามันก็ต้องละสภาพเดิมด้วยเหมือนกันแต่ว่ามันเป็นไปในทางที่ดีปัจจัยปรุงแต่งจากภายนอก ที่เป็นรูปธรรม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตลอดเวลา คนธรรมดาถูกปัจจัย 5 อย่างนี้ ปรุงอยู่เสมอ

บางเวลาก็เป็นปัจจัยภายในปรุงแต่ง ทั้งนี้เพราะเรามีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย ถ้าไม่มีอายตนะเหล่านี้ มันก็ไม่รู้สึกอะไรได้ไม่ถูกปรุงแต่งเพราะเห็นเป็น ตถตา "เช่นนั้นเอง" สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติที่เกิดเป็นอุบัติเหตุขึ้น น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุร้าย ที่ทำให้ตายกันมากๆ สิ่งเหล่านี้ก็มีอำนาจปรุงแต่งจิตเหมือนกัน ให้โกรธ ให้กลัว ให้สะดุ้ง หวาดเสียว ถ้ามี "อตัมมยตา" ก็ไม่หวั่นไหว "มันเป็นเช่นนั้นเอง" "มันเป็นเช่นนั้นเอง" จะมีอย่างแปลกประหลาด อย่างไรก็ไม่หวั่น เวทนาเป็นจุดเริ่มการปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งมันมาสรุปอยู่ที่เวทนา มันจะมีอะไรก็ตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อะไรก็ตาม มันจะเกิดเป็นเวทนา แล้วเวทนานั้นมันปรุงแต่งตัวกู ของกู ก็เป็นทุกข์ ถ้าเวทนาปรุงแต่งไม่ได้ ก็เท่านั้นล่ะ จบหมด

เวทนาคำนี้มันมีความหมายเหลือประมาณ เวทนานี่มันเป็นนายเหนือสัตว์ทุกตัว และคนทุกคนในโลก รวมทั้งเราด้วย เราทำอะไรๆ ต่างๆ มันก็ทำไปเพื่อสุขเวทนา จะหาเงิน หาทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง บุตรภรรยาสามีอะไร มันก็เวทนาทั้งนั้น ต้องการเวทนานี่แหละ อุตส่าห์เล่าเรียน ทำการงาน อุตส่าห์สะสมเงิน ทำอะไรต่างๆ สิ่งที่มุ่งหมายแท้จริงคือสุขเวทนา เวทนาเป็นตัวร้ายที่จะปรุงให้เป็นอะไรก็ได้ เวทนาที่พอใจก็ปรุงไปอย่างหนึ่ง เวทนาที่ไม่พอใจก็ปรุงไปอย่างหนึ่ง ที่ยังไม่รู้ว่าพอใจหรือไม่พอใจ ก็ให้สงสัย ให้โง่ ให้หลงอยู่นั่นแหละ ติดอยู่นั่นเอง

ถ้ามีเวทนาแล้ว มันก็เกิดตัณหา มันก็เกิดกิเลสนานาชนิด กามตัณหาก็เกิดราคะ ภวตัณหาก็เหมือนกัน ให้เกิดโลภะ วิภวตัณหาก็ให้โทสะ หรือโกธะ มันปนๆ กันมันก็เกิดโมหะ มีเวทนาเกิดก็มีตัณหาครบถ้วน เกิดตัณหาแล้วก็เกิดอุปาทานครบถ้วน มีอุปาทานก็เกิดภพ มีความที่จะต้องปรุงแต่งเป็นตัวกูครบถ้วน ก็เกิดชาติออกมาเป็นตัวกู

วันหนึ่งเกิดกันกี่หนกี่ครั้งลองสังเกตดู ที่จริงพูดได้เลยว่า มันเกิดใหม่ทุกคราวที่ได้รับอารมณ์ถ้ามีสติปัญญาพอ ก็มีอตัมมยตาได้จิตของเราจะอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งที่มันจะปรุง สิ่งที่มันมีอำนาจในการปรุงเต็มไปหมด ไม่ว่าที่ไหน มีอตัมมยตาคอยป้องกันได้ รักษาอตัมมยตาไว้ได้ ป้องกันไม่ให้เกิดการปรุงขึ้นมา สตินั่นแหละเป็นเครื่องป้องกัน เอาสติปัญญามาเป็นอาวุธ ตัดมันออกไปเสียอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็ไม่ปรุง ไม่มีโอกาสที่จะปรุง จิตนั้นก็สบาย ก็ไม่มีความทุกข์ ใช้อตัมมยตาเป็นเหมือนกับมนต์คาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ขับไล่ผีคือกิเลสนั้นออกไป สิ่งที่เป็นเสน่ห์ ที่จะเข้ามาครอบงำจิตใจให้หลงไปนั้น มันก็เป็นผีชนิดหนึ่งเหมือนกัน

อตัมมยตาสามารถขับไล่ผีได้ทุกชนิดเราต้องสนใจมันไว้บ้าง เกิดมานานแล้ว หลายปีแล้ว ก็ควรเห็นอะไรเป็นอะไร มันหลอกอย่างไร มันหลงได้โดยวิธีใด ก็รู้เท่ารู้ทันมันไว้ ศึกษาเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เสมอ มันก็หลงไม่ได้ เห็นว่า โอ้ธรรมดานี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นเอง เห็นสุญญตา ว่างจากตัวตน เป็น ตถาตา เป็นเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง สนใจศึกษาไว้เถิด เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นจะช่วยให้เกิดอตัมมยตาได้โดยง่ายอยู่ในโลก แต่เหนือโลกไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้ นั้นแหละโลกุตตระ เหนือโลกเป็นโลกุตตระ ถ้ายังปรุงแต่งได้ก็อยู่ในโลก หรือเป็นโลกียะ คืออยู่ใต้วิสัยโลก อยู่กับโลกก็อย่าอยู่ใต้โลก อยู่เหนือโลกดีกว่า ไหนๆ ก็ต้องอยู่ในโลกแล้ว มีอตัมมยตาสำหรับจะไม่ให้จมไปในโลก แต่จะอยู่เหนือโลกกันเถิด

คำสำคัญ (Tags): #อตัมยตา
หมายเลขบันทึก: 183942เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2008 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • นำธรรมะมาบำรุงสติปัญญาอีกแล้วนะคะคุณกวิน
  • ขอบคุณที่นำความรู้ทางธรรมมาแบ่งปันค่ะ
  • คุณกวินนี่อ่านหนังสือเยอะมากจริง ๆ เลยนะคะ
  • ชื่นชม ๆ ผู้มากความรู้.. ^_^
  • อืม..ว่าแต่น้องแพทเงียบหายไปเลยเนอะ..
  • ธรรมชาติ
  • ที่งดงาม
  • เข้าใจเข้าถึง
  • มันก็ไม่มีอะไรทั้งนั้น
  • อยู่เหนือโลกในสภาวะธรรมชาติ
  • ถ้าฉลาดเท่าทันและเข้าใจ
  •  ใบไม้ย้อนแสง สวัสดีตอนเย็นครับ พอดีผมไม่มีเบอร์โทรของน้องแพท ก็เลยไม่ทราบข่าวคราวของน้องเขา
  • เป็นห่วงอยู่เหมือนกัน...ไม่รู้จะทำงัย...
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบ่อยๆ..นะครับ...
  • จริงๆ กะจะใช้หลักอตัมยตามาใช้กะ เรื่องความรัก ฉันจะไม่ยุ่งกะเธอแล้วโว้ย..อะไรทำนองนี้..
  • เดี๋ยวขอแก้โคลงนิดนึงก่อนนะครับ
  •  สวัสดีครับอาจารย์ Lin Hui
  • ผมก็คิดว่างั้น จริงๆ (แต่ขอเปลี่ยนจากคำว่าธรรมชาติ เป็นคำว่าความรักเธอ..อิๆ)
  • ความรัก
  • ที่งดงาม
  • เข้าใจเข้าถึง
  • มันก็ไม่มีอะไรทั้งนั้น
  • อยู่เหนือโลกในสภาวะความรัก
  • ถ้าฉลาดเท่าทันและเข้าใจ เก๋จัง..
  • สวัสดีค่ะคุณกวิน
  • มาอ่านแล้วก็ได้รับธรรมะ..ใจสงบดีค่ะ
  • ถ้าเราสามารถทำให้อยู่ในภาวะ อตัมมยตา ได้แล้ว ความทุกข์ในโลกนี้คงน้อยลงมากนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องดี ๆ ค่ะ
  • อ๋อทิงนองนอย ชอบก็ให้แม่มาขอ อย่ารอให้มันนานแล?? ...ร้องเพลงน่ะครับ แซวเล่นๆๆ
  • คนไม่มีราก ผมอ่านมานานแล้ว กลับไปอ่านก็ทีก็ได้ฉุกคิด สักพักก็ ลืม ต้องหยิบมาอ่านเตือนสติบ่อยๆๆๆ  เห็นว่าเป็นบทความที่ดีก็เลยนำมาลงไว้ ดีใจที่คนไม่มีรากชอบอ่าน..นะครับ

หลงเข้ามาค่ะ มาเจอเวปของคุณกวิน ขออนุโมทนาด้วยนะคะ ที่ให้ธรรมะเป็นธรรมทาน

เป็นบทความที่ดีมากๆ เลยค่ะ คงต้องพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิตให้ได้

ถ้าทำได้คงวิเศษน่าดูเลยนะคะ :)

คุณกวิน

ต้องย้อนกลับมาอ่านบ่อย ๆ นะคะ

เผื่อจะได้คิดตาม...ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

.....^_^.....

คำว่า”กูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย” น่าจะเป็นคำพูดของสัตตานังพูดกับขันธ์ห้าหรือเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท