สถิตินิสิต NU_AHS


          สถิตินี้ดิฉันได้มาจากกองบริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร  เมื่อปีที่แล้ว 49  กับปีนี้ 50 นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย  เพื่อค้นหาความหมายให้ได้หลายๆ ประการ  ทำตัวเป็นหมอดู จับยามสามตา เอาเลขมาตีเป็นภาพ แล้วทำนายอนาคต.....  ;-)

 

 

หมายเลขบันทึก: 115568เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ไม่ทราบว่าจะดีใจหรือเสียใจดี

น่าจะเสียใจมากกว่าค่ะ ห้องก็ไม่มี อุปกรณ์ก็ไม่มี งบประมาณก็น้อย  จะทำยังไงดีค่ะ

คงต้องสอบถามไปยังผู้กำหนดนโยบาย และถามตัวเราเองก่อนว่าการที่เรารับนิสิตมากขึ้นเราจะสามารถคงคุณภาพของนิสิตได้หรือเปล่า ถ้าได้ก็รับไปเถอะแต่ถ้าไม่ก็ควรกลับมานั่งคิดว่ามันคุ้มหรือเปล่ากับการแลกระหว่างจำนวนนิสิตที่จบเพิ่มแต่คุณภาพด้อยลง

ขอสนับสนุนค่ะ จำนวนนิสิตที่เพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยเกื้อหนุนด้านการเรียนการสอนเท่าเดิม หรือน้อยลง ไม่ทราบว่าผู้กำหนดนโยบาย มีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรดี เพื่อทรัพยากรบุคคลของประเทศชาติค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์เริงวิทย์  คุณกวางและคุณดา ที่มีความเป็นห่วงอนาคตของประเทศ ซึ่งผลิตโดยคณะฯของเราเอง

จากข้อมูล สถิติ ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า

  1. จำนวนนักเรียนที่เลือกเรียนในคณะสหเวชฯ มน. ปี 49 และ 50 มากกว่าแผนที่กำหนด และปี 50 มากกว่าปี 49 เกือบเท่าตัว โดยเป็นนักเรียนที่สอบคัดเลือกแบบ admission มากกว่าประเภทรับตรง
  2. ตัวเลขที่ไม่ได้นำมาแสดง คือจำนวนรับนิสิตที่ต่ำกว่าเป้า ตั้งแต่เปิดหลักสูตร จนถึงปี 48 ซึ่งปรากฎโดยตลอดกับทุกหลักสูตรของคณะ
  3. หลักสูตรนี้ เป็นที่ต้องการของสังคม (พ่อ-แม่ อยากให้ลูกเรียน  ลูกอยากเรียนเอง) ดังนั้น  สถาบันอุดมศึกษา ย่อมต้องตระหนักว่า เป็นหน้าที่ที่เราต้องตอบสนอง
  4. มหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา  ดังนั้น  จึงมีระบบที่ยืด-หด ได้ ดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา  เมื่อมหาวิทยาลัยเห็นว่า  จำนวนรับจริงทุกครั้งต่ำกว่าเป้า  ก็ประกาศจำนวนรับสูงกว่าเป้าเล็กน้อย  เพื่อให้ได้จำนวนใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้มากที่สุด (แต่ก็ไม่เคยถึงเป้า)
  5. ปี 49 และ ปี 50 การณ์กลับไม่เป็นไปดั่งที่เป็นมาในอดีต โดยปรากฎว่า มีนักเรียนสนใจมาสมัครเกินกว่าแผนที่กำหนด  กระทั่งเกินกว่าจำนวนที่ประกาศ
  6. ดังจะเห็นได้จากกราฟเส้นตรงกราฟแรกว่า คณะฯ ไม่ได้ตั้งเป้าสูงกว่าที่เคยตั้งเลย  จำนวนรับนิสิตที่ตั้งไว้คงที่ตลอด ตั้งแต่ ปี 48  49 และ 50
  7. แต่ จำนวนจริงของนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามา สูงขึ้นเป็นลำดับ
  8. สมมุติฐานของปรากฏการดังกล่าว อาจเนื่องจาก
  • ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ซบเซา การหางานยากมากขึ้น  ผู้คนจึงใฝ่หาวิชาชีพที่แน่ใจว่า เมื่อลูกหลานของตน หรือตนเอง เรียนจบแล้วจะไม่ตกงานแน่
  • คณะสหเวชฯ มน. มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์หลากหลายให้เลือกเรียน  และคะแนนก็ไม่สูงมาก  เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ  เป็นที่ยอมรับของสังคม
  • เป็นวิชาชีพที่มีเงินเดือนสูง และมีงานเสริมในวิชาชีพ ที่ช่วยเพิ่มพูนรายได้
  • คุณภาพของบัณฑิตรุ่นที่ผ่านๆ มา ช่วยสร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจในสถาบัน และคณะฯ ว่ามีศักยภาพสูงพอที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
  • ฯลฯ

          ไม่ทราบว่าจะเป็นด้วยเหตุใดข้างต้น  หรืออื่นๆ  แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฎให้เห็นชัดว่า สังคมต้องการ

          ดังนั้น การอ้างเหตุ ของการทำให้ได้คุณภาพ ด้วยการจำกัดจำนวนรับ  ก็ไม่เป็นธรรมกับสังคมเช่นกัน

          คณะฯ จึงมีหน้าที่ที่จะต้อง ผลิตบัณฑิตให้ได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ อย่างเต็มกำลังความสามารถ  ด้วยการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ พร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลากร (อาจารย์) ซึ่งถือเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญที่สุด ไปด้วย

          การดำเนินการจึงกระทำควบคู่กันไป โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พร้อมทุกอย่าง ซึ่งเราทำได้อยู่แล้ว  เช่น

  • รับสมัครอาจารย์ที่มีคุณภาพ
  • ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำลาศึกษาต่อจนถึง ป.เอก
  • ต่อเติมเพิ่มห้องปฏิบัติการที่จำเป็น
  • ให้ทุนนิสิต ป.ตรี ทำงานวิจัย
  • เชิญอาจารย์พิเศษจากภายนอกมาสอนนิสิต
  • ขยายและคัดเลือกแหล่งฝึกงานทั้งในและต่างประเทศ
  • ส่งเสริมงานวิจัยของอาจารย์
  • พัฒนาห้องอ่านหนังสือ
  • จัดหาห้องเรียนที่มีคุณภาพ (ยังไม่ปรากฎนะคะว่า ไม่มีห้องเรียน นิสิตรุ่นแรกต่างหาก ที่ต้องนั่งเรียนกับพื้น ในโรงพยาบาล มน.)
  • จัดหาครุภัณฑ์การศึกษา ให้มากขึ้น ตามจำนวนนิสิตที่เพิ่มมากขึ้น
  • จัดหาและควบคุมคุณภาพของแหล่งฝึกงาน
  • ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนด
  • ฯลฯ

เราต้องช่วยกันนะคะ  อย่าท้อแท้  เราทุกคนต้องทำเพื่อประเทศชาติ  และเพื่ออนาคตของชาติ ด้วยหลักของเศรษฐกิจพอเพียงและอย่างมีวินัย

 

           

 

ขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง

ใช่เลย  โดนใจฉันเลย (เพลงค่ะ) เฮ้อเบื่อตัวเองชอบสนุกเป็นเด็ก ๆ ไปได้

 :  ในความคิดของดิฉัน ผู้บริหารระดับอธิการ คณบดี ทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ มีความคิดที่กว้างไกล และมีวิสัยทัศน์ มาก ถึงมากที่สุด สิ่งใดที่คิดหรือกระทำ ต้องพินิจวิเคราะห์พิจารณาอย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนแล้ว  และสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นย่อมต้องมีเหตุ และผล     ซึ่งทุกวันนี้เรามีชีวิตอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เราก็ต้องร่วมมือร่วมใจกันทำทุกอย่างทุกวิถีทาง ให้ประสบความสำเร็จดังเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่มีมนุษย์ตนใดหรอกค่ะ จะทำร้ายตัวเอง (ยกเว้นมนุษย์ผู้นั้นไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้) เชื่อว่า ปัญหาอุปสรรคทุกอย่างย่อมมีหนทางแก้ไข ค่ะ ขอเป็นกำลังใจ กำลังแรงกาย ให้แก่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ของเราค่ะ

 

คุณภาพบัณฑิตเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดสำหรับสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตของคน เพราะผลิตจะส่งผลสะท้อนต่อสังคม หากบัณฑิตไม่ได้คุณภาพจะส่งผลต่อชีวิตของผู้คนและการสาธารณสุขของไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่สามารถซื้อหายาราคาแพงหรือเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลดี ๆ ได้  การผิดพลาดที่เกิดจากการวินิจฉัยผิดจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ  การดำเนินงานของคณะควรมีหัวใจสำคัญเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต  เมื่อไม่สามารถเลือก Input ได้ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็ต้องมาเน้นที่ process ให้มากยิ่งขึ้น  เคยได้ยินเรื่องเล่าจากนิสิตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ว่า อ.หมอ ที่คณะพูดว่า  แพทย์มีทางแพร่ง 2 ทาง ระหว่างเป็นเทวดากับยมฑูต  หากคุณเอาใจใส่คนไข้ พยายามรักษาอยู่บนพื้นฐานความดี คุณก็จะเป็นเทวดา  หากคุณไม่เอาใจใส่คนไข้ รักษาไปอย่างแกน ๆ ผู้ป่วยอาจตายได้ คุณก็จะเป็นยมฑูต   

        คุณจะเลือกทางเดินอย่างไร..............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท