มน.เป็น ม.กลุ่ม ง ที่อยากก้าวไปให้ถึง ม.วิจัยแห่งชาติ ด้วย


          จะว่าไปแล้ว  มน.  ก็เลือกเป็น ม. กลุ่ม ง มาตั้งนานแล้ว  เลือกมาตั้งแต่ตอนที่ สมศ. ให้เลือกว่าจะอยู่กลุ่มสถาบันแบบไหน  จากทั้งหมด 4  แบบ คือ

  1. แบบเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย 
  2. แบบเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม 
  3. แบบเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม
  4. แบบเน้นการผลิตบัณฑิต (อย่างเดียว)

          ซึ่ง มน. ก็เลือกแบบ เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย  มาตั้งแต่ต้น  ทั้งยังได้กำหนดสัดส่วนภารกิจหลัก 4 ด้านไว้อย่างชัดเจนด้วย คือ สอน35%,  วิจัย35%,  บริการวิชาการ20%,  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม10%

          นับเป็นการตัดสินใจของท่านผู้นำมหาวิทยาลัยในขณะนั้นที่ถูกต้องที่สุด  แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์เฉียบคม ถ้าเป็นหมอดูก็ต้องขนานนามว่า แม่นยังกะมีตาทิพย์.............

          เมื่อผู้นำกำหนดทิศทางให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเช่นนี้  ทุกคณะวิชาที่มีหลักสูตรในความรับผิดชอบ ของ มน.  ต่างก็ต้องขวนขวาย ดิ้นรน แทบทุกวิถีทางที่จะต้องพัฒนางานวิจัย ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ตามตัวบ่งชี้ของ สมศ.  และ สกอ. เพื่อให้ได้รับการรับรอง

          จน มน. ก็ได้รับการรับรอง จาก สมศ. มา 2 ครั้งแล้ว.....และสอบผ่านด้วยพัฒนาการที่ดีเป็นลำดับ

          แต่......ไม่.....ยังไม่จบเพียงเท่านี้ !! 

          นั่นเป็นการสร้างความพร้อม worm up เท่านั้น !!

          ของจริง....มาแล้ว....ปีนี้ (52)  นั่นก็คือ  สกอ. เริ่มแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ เป็นแบบ ก  ข  ค   

ก =  วิทยาลัยชุมชน / ข =  สถาบันเน้นระดับปริญญาตรี / ค =  สถาบันเฉพาะทาง / ง =  สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะระดับปริญญาเอก

          พอแบ่งเสร็จ  ก็มีมาตรการขับเคลื่อนให้เป็นจริงให้ได้ทันที  โดยการจัดโครงการ "พัฒนามหาวิทยาลับวิจัยแห่งชาติ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕" ขึ้น  ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมที่สำคัญ 2 อย่าง คือ

  1. การพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ   ใช้งบ  9,450 ล้านบาท
  2. การส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา        ใช้งบ  2,752 ล้านบาท

                                                   รวมเป็นเงิน  12,202 ล้านบาท

          สรุปให้ฟังง่ายๆ พอสังเขป นะคะ ว่า

          กิจกรรมแรก  เป็นกิจกรรมรับสมัครมหาวิทยาลัยกลุ่ม ง สัก 7 - 10 มหาวิทยาลัย  โดยจะคัดเฉพาะที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ให้รับทุนเป็น "มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ"  โดย สกอ. จะให้งบประมาณสนับสนุน  แห่งละ 100 - 500 ล้านบาทต่อปี  เป็นระยะเวลา 3 ปี  ตลอดระยะเวลาดังกล่าว  จะมีการติดตามประเมินผลอย่างเข้มงวด  ถ้าทำไม่ได้ตามเป้าหมาย  มหาวิทยาลัยต้องส่งครุภัณฑ์ที่จัดซื้อตามโครงการนี้  คืนให้กับ สกอ. ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และอื่นๆ  ฯลฯ   เป็นต้น

          กิจกรรมที่สอง  เป็นกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยในมหาวิทยาลัย  ได้แก่ การจัดสรรทุนผลิตอาจารย์ระดับ ป.เอก    ทุนพัฒนาอาจารย์ให้เป็นนักวิจัยอาชีพ  ทุนพัฒนาอัตลักษณ์และเสริมสร้างความพร้อมด้านการวิจัย และทุนส่งเสริมสมรรถนะด้านวิชาชีพของบุคลากร  ใช้ระยะเวลา 3 ปี เช่นกัน

         


          คราวนี้...จะถามไหมคะว่า  มน. สมัครรับทุนในกิจกรรมแรกหรือเปล่า ??

          แน่เสียยิ่งกว่าแน่.....ค่ะ.....สมัครแน่ๆ  (จะได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องนึง....!!!)

          เพราะ---มน. มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ทุกยุค ทุกสมัย...... 

          เพราะ---เราเตรียมตัวกันมาตั้งนานแล้ว.... 

          เพราะ---พวกเราได้รับการฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีแล้ว.....

          ถ้าถอย.....ไม่กล้าสู้

          ก็เท่ากับว่า....   เราทิ้งผลงานทุกอย่างที่ร่วมสร้างสรรค์กันมากลางคัน.........

       และเราทำให้ท่านผู้นำของเราทั้งท่านที่ผ่านมา และท่านที่กำลังจูงเราก้าวรุดไปข้างหน้า...ต้องผิดหวัง.....หมดกำลังใจ.....

         

หมายเลขบันทึก: 278554เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท