ภาพสะท้อนหนูเค็ม : NUKM จากกระจกเงา


ผลการดำเนินงานนี้ นับได้ว่าเป็บ Best Practice และสามารถเป็นต้นแบบการวางระบบ KM แก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

          สัปดาห์ที่แล้ว น้องตูน (คุณเจนจิต  รังคะอุไร) ผอ.หน่วยประกันคุณภาพ มน. มาขอกระจกเงาส่องหน้าจากดิฉัน  เพื่อสำรวจดูว่าหน่วยประกัน มน. ยังสวยเหมือนเดิมรึปล่าว!! ดิฉันจึงมอบกระจกไปให้ 2 บาน ขนาด A4 ถ้าส่องดูจะพบภาพดังนี้

          1. ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรในรอบปีที่ผ่านมา

          การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรในรอบปีที่ผ่านมา มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับปีแรกที่ดำเนินการ (พ.ศ. 2548) เป็นอย่างดี  กล่าวคือ ต่อจากปีแรกที่หน่วยประกันเป็นแกนหลักในการจัดโครงการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง KM แก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย  โดยเริ่มในกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้าน QA มาแต่เดิมเป็นอย่างดีแล้ว  ในรอบปีที่ผ่านมา หน่วยประกันยังคงเป็นตัวจักรสำคัญ ในการดำเนินการโครงการ / กิจกรรม ต่างๆ เพื่อสร้างคนที่มีความรู้เชิงปฏิบัติด้าน KM  เช่น  โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO / KF  ทั้งกับกลุ่มบุคลากรสายบริหารระดับกลาง และสายปฏิบัติ  นอกจากนี้ยังจัดอบรมการเขียน Blog  จากนั้น  ก็เป็นสื่อกลางในการประสานงานการจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติต่างๆ  เช่น สภากาแฟวิจัย  สภากาแฟการเรียนการสอน  ชุมชนคนเขียน Blog  เป็นต้น  อาจกล่าวได้ว่า  ชุมชนคนเขียน Blog เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง  สามารถเชื่อมโยงกลุ่มคนทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย  และสามารถเชื่อมบุคคลากรทุกระดับ ทุกสายงาน ให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีความสัมพันธ์กันในแนวราบมากขึ้น และสร้างคลังความรู้ ได้เป็นอย่างดี  ผลการดำเนินงานนี้ นับได้ว่าเป็บ Best Practice  และสามารถเป็นต้นแบบการวางระบบ KM  แก่หน่วยงานอื่นๆ ได้  ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ถอดบทเรียน 

  • ต้องมีหน่วยงานที่คอยประสานงาน อย่างเช่นหน่วยประกันคุณภาพ ของมน.
  • ควรเริ่มจากสายสนับสนุนก่อน
  • ต้องเผยแพร่ความรู้ด้าน KMทั้งเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ
  • ต้องอำนวยเวที ทั้ง เวทีจริง และเวทีเสมือน
  • ผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง
  • นำไปเชื่อมโยงกับการประเมิน เช่น กพร. สมศ. จะทำให้เป้าหมายชัดเจนขึ้น
  • เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ชื่นชม ให้รางวัล อย่างพอดี
  • การมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ทำให้ได้ความรู้ต่อยอดรวดเร็ว และเทียบเคียงสมรรถนะได้


          2. เครื่องมือของการจัดการความรู้ที่ท่านประทับใจ และการประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

          เครื่องมือของการจัดการความรู้ที่ประทับใจ คือ  After action Review : AAR  เพราะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับกิจกรรมทุกรูปแบบ  และใช้ได้ทั้งระดับปัจเจก  และกลุ่มคนจำนวนน้อยถึงมากได้  AAR  ช่วยกระตุ้นให้รู้จักคิด  วิเคราะห์  ประเมิน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ “การเรียนรู้ของตนเอง”  ตัวอย่างที่นำไปประยุกต์ใช้  ในหน่วยงาน  ได้แก่

  • AAR  ปิดฉากการจัดเวทีเสวนา  การวิพากษ์แผน  การประชุม  อบรม  สัมมนาต่างๆ
  • การประเมินโครงการ / กิจกรรม ที่จัดในแต่ละเดือน ด้วยวาจาในที่ประชุม กค. ( ให้ผู้บริหาร AAR)
  • การรายงานของบุคลากร หลังการไปฝึกอบรม ดูงาน ในรูปแบบของ AAR
  • การเรียนการสอนนิสิต หลังจบการบรรยาย ( ให้นิสิต AAR)
  • การเขียน Blog  (เขียน e- diary แบบ AAR)


          3. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวร

  • จัดกิจกรรมศึกษาดูงานชุมชนที่มี Best Practice ด้านต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนใจ หรือจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
  • เปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการความรู้  เพื่อสร้างนวัตกรรมด้าน KM


          4. การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อตนเองและหน่วยงานของท่านอย่างไรบ้าง

          ต่อตนเอง  เปลี่ยนแปลงดังนี้ 

  • ทำให้ได้รู้จักและมีกัลยาณมิตร มากมายหลายท่าน 
  • ทำให้ได้โอกาสเรียนรู้  และใกล้ชิด  ผู้ทรงคุณวุฒิและทรงคุณธรรม
  • ทำให้เป็นคนทันสมัย ก้าวทันโลก  ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้
  • ทำให้ได้พัฒนาทักษะในการฟัง  พูด  คิด  เขียน อยู่ตลอดเวลา
  • ทำให้มีความรู้เชิงระบบ  เชิงโครงสร้าง ความเชื่อมโยง และมองภาพรวมได้ดีขึ้น
  • ทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก
  • ทำให้มีโอกาสสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมมากขึ้น 


          ต่อหน่วยงาน (คณะสหเวชศาสตร์)เปลี่ยนแปลงดังนี้  

  • อาจารย์รู้จักประยุกต์เครื่องมือของ KM เข้ากับงานประจำ เช่น การสอน  การประชุม ได้
  • บุคลากรสายสนับสนุน รู้จักประยุกต์เครื่องมือของ KM เข้ากับงานประจำ เช่น การสรุปโครงการ  การประชุม  การพัฒนางานด้านประกันคุณภาพ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดีขึ้น  ฟังกันมากขึ้น ยอมรับกันมากขึ้น
  • ผลการดำเนินงานในงานด้านต่างๆ ตามตัวชี้วัดของ สมศ. ดีขึ้น
  • บุคลากรที่มีความสนใจเรื่อง KM  สามารถเป็นวิทยากร KM แก่หน่วยงานภายนอกได้
  • คณะสหเวชศาสตร์ มน. เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกมากขึ้น

          กระจกเงานี้ สะท้อนภาพจริง โดยเฉพาะจุดเด่น  ยิ่งพิศยิ่งสวย  ส่วนด้อยนั้นย่อมมีเป็นธรรมดา  แต่ทว่าสะท้อนได้ไม่ชัดนัก

 

คำสำคัญ (Tags): #nukm#การประเมิน
หมายเลขบันทึก: 51414เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ถ้าลองได้ขออะไรจากท่านอาจารย์มาลินี  ไม่เคยผิดหวังแม้แต่ซักครั้งเดียวค่ะ
  • ขอนำจุดเด่นส่งต่อความสุขใจให้กับชาว NUKM ทุกท่านด้วยความเคารพ
  • ส่วนด้อย  ขอรับไว้และนำไปปรับปรุงด้วยความขอบพระคุณจากใจดวงน้อยๆ ค่ะ  (เชยซะ)

อ่านด้วยความชื่นชม แกมลุ้นค่ะ ....สัปดาห์หน้านี้ที่ ม.อ.มีนัดทำแผน KM (แผน 3 ปี) จัดช่วงเวลาให้คณะกรรมการ AAR การทำงานของกรรมการชุดนี้ด้วยค่ะ  กรรมการชุดน้มีทั้งหมด 18 คน มีทีมงานพัฒนาและฝึกอบรม ของดิฉันเป็นฝ่ายเลขานุการ 

ผมแวะเข้ามาอ่านรอบที่ 3 ครับ เนื่องจากยังอยากได้ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง อยากให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นให้มาก ๆ ครับ เรากำลังทบทวนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาเพื่อนำไปกำหนดทิศทางและนโยบายการทำงานในรอบปีต่อไป เนื่องจากกำหนดการเดิมที่จะประชุมสรุปผลการติดตามและประเมินผลนี้คือในช่วงเช้าถึงเที่ยงของวันอังคารที่ 26 ก.ย. 49 นั้น ปรากฏว่าหลายคนไม่ว่าง จึงขอเลื่อนเป็นตอนบ่ายของวันพุธที่ 27 ก.ย. 49 แทนครับ ท่านที่ว่างและสนใจอยากที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผน NUKM ขอเชิญนะครับที่ ห้องประชุม QAU ชั้น 6 CITCOMS
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท