MT 10 : หมอติ่งเล่า เวทีสัญจร 3 ที่เวชกรรมฟื้นฟู


ภูมิใจที่ทำให้สังคมดีขึ้น ช่วยให้คนมีความหวัง มีอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Moving theater ครั้งที่ 3 รายงานโดย หมอติ่ง

23 มกราคม 2550

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กริ้ง  ๆๆ เป็นคุณหมอป้อมศิรินิภาโทรมาแจ้งข่าวดี เธอเพิ่งตกลงกับลูกทีมว่าจะเล่าสิ่งดีๆ ให้พวกเราฟังเมื่อวานนี้เอง 1600   หมอหน่อยรีบแจ้งข่าวโดยไวให้ทีมทราบ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> แล้ววันนื้ เราก็ มาฟังข่าวดี กันที่กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู   (วันนี้ หมอหน่อยไปเชียงใหม่ค่า เธอบอกกับพวกเราว่าจะรีบกลับมาให้ทัน ให้จัดการกันไปก่อน พี่เล็กกับน้องอิ๋มไม่ลืมทำหน้าที่เตรียมสถานที่และอุปกรณ์อีกเช่นเคย )</p><p> พอถึงเวลานัดตอนบ่าย 3 โมง เจ้าของพื้นที่ที่เคลียร์งานเสร็จแล้วก็มารวมตัวกันที่ห้องประชุม </p><p>คุณสง่าทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย หมอติ่งรับเป็นคุณลิขิตอีกครั้ง คุณหมอสุภัคก็มารับฟังบรรยากาศแห่งความสุขอีกเช่นเคย พอเริ่มเล่าได้นิดเดียวคุณหมอหน่อยและคุณหมอพัชรีก็มาสมทบ บรรยากาศก็สบายๆเหมือนครั้งก่อนๆ </p><p>เริ่มต้นด้วยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในเจ้าหน้าที่ ซึ่งหัวหน้ากลุ่มงานมีนโยบายที่จะให้ทุกคนได้ออกกำลังกายหลังเคลียร์งานเสร็จประมาณบ่าย 3 โมง ในตอนแรกเล่นเพื่อสุขภาพ แต่ตอนหลังมีเจ้าหน้าที่แข่งปิงปองชนะเลิศระดับจังหวัด ระดับเขต จนเป็น champion ระดับประเทศ 3 ปีซ้อน นอกจากนี้ยังได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาดีเด่นระดับจังหวัด ต้องปรบมือให้เค้าจริงๆ </p><p>หน่วยกายอุปกรณ์ ได้เล่าให้ฟังถึงการดัดแปลงขาเทียมใส่ให้คนไข้ ทำให้ไม่ต้องถูกตัดขามีช่องพิเศษที่ใส่ชาที่ผิดรูปได้พอดี สามารถเดินได้ปกติ กลับไปขายส้มตำและตำมาฝากคนในกลุ่มงานด้วย   ภูมิใจที่ทำให้สังคมดีขึ้น ช่วยให้คนมีความหวัง มีอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  </p><p>สำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กพิเศษต่างๆ เช่น ออทิสติก ก็มีการฝึกอย่างต่อเนื่อง ฝึกจนกว่าจะดี ฝึกจนกว่าผู้ปกครองพอใจ ถ้ามาฝึกไม่ได้ก็มี program สำเร็จในการฝึกเองที่บ้าน ดีใจที่ได้มีส่วนทำให้ผู้ปกครองมีกำลังใจในการดูพัฒนาการของเด็ก มีความสุขที่เด็กดีขึ้น ไปโรงเรียนได้ เล่นกับเพื่อนได้ </p><p>เรื่อง hot hot ของ รพ.ในขณะนี้ก็ไม่พ้นเรื่องความเสี่ยง ทางหน่วยงานได้มีการวางระบบ มีการทำ SOP ในการจัดการกับความเสี่ยง เจ้าหน้าที่ทุกระดับสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดกับผู้ป่วยได้ มีการป้องกันเหตุก่อนเกิด ไม่ว่าจะทำประตูกั้นกันเด็กตก ไม่อยากจะบอกว่าที่นี่ wheel chair ของเค้า มี safety belt นะคะ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่หมดอาลัยตายอยากในชีวิต หลายคนเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่าได้มีส่วนกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการฝึก ทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้ สามารถดูแลตนเองได้แม้ไม่หายสมบูรณ์ เค้ามี trick คือให้ผู้ป่วยเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เจ้าหน้าที่เองก็ต้องใจเย็น รับฟัง และต้องปากหวาน ชมผู้ป่วยถ้าทำได้ดี </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">มีตัวอย่าง case  เช่น case CVA ใช้เวลาประมาณเดือนกว่าในการเปลี่ยนจากคนที่หมดอาลัยตายอยากในชีวิต มาเป็นคนที่มีกำลังใจ ช่วยเหลือตนเองได้ คนไข้บอกว่า ทำได้ทุกอย่างแล้วครับ ขาดแต่เข้าห้องน้ำเองยังไม่ได้เท่านั้น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อีก case เป็นเด็กชั้นม.6 head injury หยุดเรียนมา 2 ปี ช่วยฝึกจนเรียนมหาวิทยาลัย ตอนนี้กำลังจะได้เป็นดีเจ จริงๆแล้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">มีตัวอย่างอีกมากมาย ผู้ป่วยบางคนขอนัดฝึกต่อแม้ว่าจะดีแล้ว ที่ฝึกยาวนานที่สุดก็ปาเข้าไปถึง 16 ปี ถามว่าทำไมถึงติดใจ ทำไมผู้รับบริการขอบ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">หลายคนให้ความเห็นว่าที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากผู้ป่วยได้มาพบเจอเพื่อนที่มีปัญหาคล้ายกัน และที่สำคัญที่อดภาคภูมิใจไม่ได้คือ ความใจดีของเจ้าหน้าที่ที่รับฟังปัญหาทุกอย่างของผู้ป่วย ตือกายภาพรวมบริการด้านจิตใจ และความรู้สึกไปด้วย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p>ช่วงหลังที่ผู้ป่วยมากขึ้นทางหน่วยงานได้จัดทำระบบนัด ใช้ home program ในรายที่บ้านไกล หรือไม่มีคนมาส่ง แต่ทั้งนี้ต้องมีการสอบกันก่อนนำไปใช้จริงที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการประสานกับ PCT ต่างๆเพื่อฝึกผู้ป่วยก่อนกลับบ้านอีกด้วย          </p><p>ความภาคภูมิใจสุดท้ายของวันนี้คือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของรพ. ไม่ว่าจะไปนำผู้สูงอายุออกกำลังกาย จนบางคนบอกว่า อยากแยกร่าง อยากเข้าไปร่วมในทุกกิจกรรมของรพ. ซึ่งหัวหน้าเองก็เปิดไฟเขียวและสนับสนุนในการทำความดีของทุกคนค่ะ  </p><p>        </p><p></p><p></p> <table border="0"><tbody>

        

</tbody></table>

เสร็จแล้วเราก็

มีการทำ AAR

</span><p>สิ่งที่เกินความคาดหมาย-</p><p> มีการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านทุกข์มามาก </p><p>มีทั้งวรรณกรรม นวัตกรรมต่างๆมากมาย-</p><p> เป็นหน่วยงานที่ทำให้ผู้ป่วยมีพลัง ไม่หมดอาลัยตายอยากในชีวิต- </p><p>ได้เรื่องดีๆ ตั้ง 6 เรื่อง- </p><p>ได้ Humanized health care ที่แท้จริง- </p><p>บรรยากาศที่นี่ดีมากๆ- </p><p>ที่นี่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีไม่แพ้หน่วยงานอื่น- </p><p>สมบูรณ์แบบของ Spiritual care และ Humanized health care- เจ้าหน้าที่ร่วมมือและเล่าเรื่องเก่งเกินคาด- </p><p>ดีใจที่มีคนมาฟังและเข้าใจการทำงานของกลุ่มงานมากขึ้น- </p><p>รู้สึกดีที่ได้พูด และมีคนมารับฟัง- </p><p>ดีใจที่ผู้บริหารระดับสูงมาฟัง- </p><p>บรรยากาศผ่อนคลาย ไม่เครียด </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">- มีความสุขที่ได้ฟังการเล่า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p>ต่ำกว่าความคาดหมาย          - </p><p>เวลาน้อยไป          - </p><p>ไม่ได้เข้าฟังกันทุกคน เพราะต้องให้บริการ          - </p><p>น่าจะมีเรื่องมากกว่านี้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: -36pt" class="MsoNormal">- ไม่ได้เตรียมทีม และแบ่งหน้าที่กันก่อนชัดเจน</p><p> อะไรจะทำต่อ- </p><p>เคลื่อนความรู้สึกดีๆต่อ </p><p>ในครั้งต่อไปวันอังคารหน้า 14.30 ไป พรส เวชระเบียน โสต จะเชิญ PCT ด้วย</p><p>อยากให้หมอที่ทำการรักษาผู้ป่วยมาฟัง มาดูผลลัพธ์สุดท้ายของการดูแลว่า การให้ยาการผ่าตัด ช่วยผู้ป่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่มาสมบูรณ์จบก็ที่เวชกรรมฟื้นฟูนี้เอง</p><p> เล่าสู่เพื่อนที่ไม่ได้ฟัง ทุกเรื่องจะสรุปใน intranet รพ. </p><p>จัด story telling วันเกิดรพ. 11 กพ นี้</p><p>ครั้งหน้า อังคารที่ 30 บ่าย 3 เราจะไป พรส </p><p>เชิญทุกท่าน นะตะ</p>

หมายเลขบันทึก: 74159เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท