After Academic Talk @ Mahidol University + After MJP Interview to an Afterthought


เมื่อวันพุธที่ 17 มิถุนายน เราได้มีโอกาสติดตามอาจารย์พันธุ์ทิพย์เข้าร่วมเสวนาวิชาการเรื่อง คนข้ามชาติ คนไร้รัฐและปัญหาสถานะบุคคล ที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีสถาบันวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะการไร้รัฐเข้าร่วม วิทยากรหลัก 3 คน คือ รศ. พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร ผศ. สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ รศ. กฤตยา อาชวนิจกุล เป็นการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องคนข้ามชาติ แรงงาน คนไร้รัฐ คนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรกับสถานการณ์ปัญหาสถานะบุคคล (Personal Legal Status) รวมถึงฐานข้อมูลคนข้ามชาติและสถานการณ์ชายแดนไทย-ลาว

อาจารย์กฤตยาได้ให้ความรู้แก่เราในเรื่องนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติและฐานข้อมูลประชากรต่างชาติในประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางการจัดระบบแรงงานข้ามชาติจากพม่า กัมพูชา และลาว ตามมติครม. ตั้งแต่ปี 2539 - 2550 อาจารย์ท่านให้ความเห็นว่าการจัดระบบดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบระยะยาว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นนโยบายผ่อนผันที่ให้บุคคลที่มีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายสามารถทำงานได้ชั่วคราวตามมติครม. หรืออีกวิธีหนึ่งคือใช้วิธีคุมยอดจำนวนแรงงานจากยอดรวมของปีที่จดทะเบียนแล้วให้เฉพาะแรงงานที่จดทะเบียนมาต่อทะเบียนในปีถัดไป

ส่วนอาจารย์พันธุ์ทิพย์ได้ให้ความรู้แก่เราว่าด้วยความหมายของประชากร การจัดการประชากร และผลการจัดการประชากรโดยกฎหมายของรัฐ และการนำเสนอความคิด ห้าคูณหก: สูตรคูณความคิดและปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของอาจารย์ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล กรรมการและผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

นอกจากนี้อาจารย์พันธุ์ทิพย์ยังให้ความสำคัญแก่การทำ Asean Citizen ที่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างจุดแข็งทางเศรษฐกิจ การ Legalise แรงงานก็เป็นประเด็นสำคัญเพื่อให้รู้ถึงความมีตัวตนและจำนวนที่แน่นอนของแรงงาน เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงสิทธิต่างๆของตัวแรงงานเอง ลดการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่รัฐทางภาษีและลดการทุจริตของเจ้าหน้าที่เมื่อทำตามกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

อาจารย์สุชาดาอธิบายลักษณะปัญหาสถานะบุคคลของสมาชิกครอบครัวข้ามชาติชายแดนไทย-ลาว ลักษณะปัญหาสถานะบุคคลที่พบในครอบครัวข้ามชาติทุกประเภท เช่น บุคคลที่เกิดในประเทศไทย มีหลักฐานแสดงตนเป็นแรงงานต่างด้าว ทร. 38/1 (เข้าเมืองผิดกฎหมาย) เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นลาวอพยพหรือจากพ่อแม่ที่เป็นแรงงานต่างด้าวซึ่งไม่เคยหรือไม่ต้องการหรือไม่มีเงินเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติลาวของตน พ่อแม่ไม่ได้แจ้งการเกิดของบุตรไว้ในระบบทะเบียนราษฎร์ของประเทศลาว หรือกรณีบุคคลที่เกิดในประเทศไทยถือบัตรแรงงานต่างด้าว แต่มีบุพการีคนใดคนหนึ่งถือสัญชาติไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานไปยืนยันเพราะพ่อหรือแม่ไม่ได้แจ้งเกิดไว้ในระบบทะเบียนราษฎรของไทย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงบุคคลประเภทนี้ต้องได้รับสัญชาติไทยตามหลักการสืบสายโลหิตจากบุพการีคนหนึ่งที่มีสัญชาติไทย อาจเพราะประสบกับความยุ่งยากในการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติไทย คนกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับสัญชาติไทยและตกอยู่ในข่ายคนไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ เป็นต้น

ได้ตั้งข้อสังเกตให้กับตัวเราเองว่ามีคำที่เราต้องทำความเข้าใจ คือคนข้ามชาติ (Transnational persons) และคนต่างด้าว (Aliens) ว่าคนเหล่านี้แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ใช่หรือไม่ว่าคนข้ามชาติอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับหลายรัฐแต่คนต่างด้าวในความหมายเบื้องต้นคือคนที่ไปอยู่ในรัฐที่ไม่ใช่รัฐของตน (Personal State) คนสัญชาติไทยจำนวนไม่น้อยถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย อีกทั้งยังมีกรณีคนที่ไม่เคยข้ามชาติถูกถือเป็นคนข้ามชาติอีกด้วย

ทั้งนี้อาจารย์พันธุ์ทิพย์ยังได้แสดงจุดยืนว่าอยากให้นักประชากรและนักกฎหมายทำงานร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างเสริมความรู้ซึ่งกันและกัน ข้อเท็จจริงต่างๆล้วนมีพลัง และคุณภาพของเครือข่ายคือคุณภาพของคน เพื่อก่อให้เกิดการทำงานในด้านสถานะบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ส่วนอาจารย์กฤตยาได้ให้ความสำคัญของการจัดทำฐานข้อมูลประชากรที่ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงสิทธิต่างๆของบุคคล

After Academic Talk

หลังจากวงเสวนาอาจารย์พันธุ์ทิพย์ พี่ต๋อย  วีรวัฒน์ ตันปิชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงสภาความมั่นคงแห่งชาติ อาจารย์ดรุณี(พี่ด๋าว) กรรมการและผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) พี่แก้ว ผู้จัดการสถาบัน  SWIT พี่มิว พี่โอ๊ตและเราได้มีการคุย ถอดบทเรียนว่าเราได้อะไรจากวงเสวนา พี่ต๋อยได้ให้ข้อสังเกตและคำแนะนำหลายๆอย่าง ตั้งแต่เรื่องประชากรนั้นเป็นเรื่องที่กว้างและครอบคลุมถึงเรื่องวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตด้วย ต้องมีการศึกษาเพื่อจัดองค์ความรู้ มีการเชื่อมโยงระหว่างจริยธรรมและยุทธศาสตร์ การที่นักกฎหมายจะร่วมงานกับนักประชากรนั้น เราควรดูว่านักประชากรคิดอย่างไร วิเคราะห์ความคิด ดูว่านักประชากรสะท้อนความคิดอะไรออกมา เราจะได้อธิบายและแสดงความคิดเห็นในส่วนที่เราจะมาร่วมมือกันกับนักประชากร หรือเรียกง่ายๆว่า พูดในสิ่งที่เค้าอยากฟังรวมทั้งยังให้แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการทำงานในวงเสวนา ได้เป็นสูตรออกมาว่า เตรียมตัว+ รู้จุดประสงค์ของการเสวนา»ฟัง »แสดงความคิดเห็น อาจารย์พันธุ์ทิพย์ยังได้ให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นและประเมินตนเอง การเห็นข้อบกพร่องของตนเองนำไปสู่การพัฒนาตน

นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผน เตรียมงาน Case Management วิธีการดำเนินการกับ case ต่างๆที่มีอยู่ในมือ และส่งต่อ case ไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เราเลยได้สิ่งที่ตัวเองต้องทำความเข้าใจเพิ่มอีกหลายเรื่องคือวัฒนธรรมองค์กร เรื่อง Input/output management การจะทำอะไรต้องมีการวางแผน มีขั้นตอนวิธีดำเนินการ การวางแผนที่ดีนั้นจะทำให้ขั้นตอนการทำงานง่ายขึ้น ไม่ซ้ำซ้อน นำไปสู่ผลงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ได้หลังจาก Academic Talk

After MJP Interview

เมื่อวานนี้ได้ไปสัมภาษณ์งานกับคุณ Andy Hall ซึ่งเป็น Programme Director ในโครงการ MJP: Migrant Justice Programme ของ Human Rights and Development Foundation (HRDF) คุณแอนดี้นัดสัมภาษณ์ที่ร้านกาแฟน่ารักแถวย่านสีลม ลดบรรยากาศตื่นเต้นไปได้ระดับหนึ่ง ด้วยความที่เราทำงาน World Comedy Film Festival มาเป็นเวลา 7 วันติดกันและเลิกดึกทุกคืน การเตรียมตัวสัมภาษณ์ล่วงหน้าจึงมีแค่คืนก่อนสัมภาษณ์ ไม่ได้เตรียมตัวมากนับเป็นข้อบกพร่องของเราเอง

ตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์

ทำไมถึงอยากทำงานนี้

อันนี้เราตอบไปว่าเพราะเราจะได้เพิ่มประสบการณ์ เป็นงานที่ท้าทาย สนใจทำงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันต่อแรงงาน (Discrimination) ประกอบกับเป็นคนจังหวัดสมุทรสาคร จึงได้เห็นและสัมผัสกับแรงงานต่างด้าวค่อยข้างเยอะ

รู้หรือไม่ว่าทำไมแรงงานผิดกฎหมายถึงเป็นคนผิดกฎหมาย

นั่งนึกอยู่ว่าทำไมถึงเป็นคนผิดกฎหมาย (อาจารย์แหววอย่าอ่านบรรทัดนี้เลยนะค่ะ ข้ามๆไปเถอะค่ะ) ตอบไปประมาณว่าแรงงานไม่มีหลักฐานแสดงตน (Undocumented person) และไม่มี work permits นี่ก็เป็นอีกอย่างที่เราต้องทำความเข้าใจ ปรับปรุง พัฒนาในส่วนการตอบสนองของสมอง คืนวานนั่งเรียนโทกับอาจารย์แหวว อาจารย์แหววบอกว่าเด็กไทยเป็นโรคตอบไม่ตรงคำถาม สมองคิดช้า รูปแบบการเรียนไม่ส่งเสริมกระบวนการคิดของสมอง จริงนะ เราเห็นด้วยอย่างยิ่ง

จุดยืนของโครงการนี้กับรัฐบาลไทยนั้นแตกต่างกัน เรามีความคิดเห็นอย่างไร

คุณแอนดี้พูดถึงการทำงานของโครงการนี้ว่า ต้องการช่วยเหลือแรงงานให้ได้รับสิทธิที่เขาพึงจะได้รับ แต่การทำงานค่อนข้างจะมีอุปสรรคเพราะจุดยืนของรัฐบาลไทยไม่ส่งเสริมการมีสิทธิที่เท่าเทียมของแรงงานต่างด้าว ทางโครงการต้องการเปลี่ยนความคิดของรัฐบาล งานนี้จึงเป็นงานที่ท้าทาย อันตราย และยากลำบากเนื่องจากรัฐบาลไทยไม่ให้ความร่วมมือ เรามีความคิดเห็นว่าการทำงานบนพื้นฐานความคิดที่ต่างนั้นย่อมมีอุปสรรคแน่นอน เราสนับสนุนการสร้างชุมชนแรงงานต่างด้าวเข้มแข็งตามที่เขียนในยุทธศาสตร์การทำงานของโครงการนี้ เพราะการเข้าถึงสิทธิเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อแรงงานได้รับความรู้ รู้ว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง ทำให้การกดขี่ข่มเหงนั้นลดลง การใช้ไทยนิยมและเครือข่ายกัลยาณมิตรก็เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานที่ปฏิเสธไม่ได้ ในเมื่อแรงงานมีปัญหา เราต้องทราบถึงตัวปัญหานั้นก่อน แล้วมานั่งตกผลึกทางความคิดว่าเราจะเดินไปหาใคร หน่วยงานไหนรับหน้าที่ช่วยแก้ปัญหา ถ้าเข้าไปอย่างเป็นทางการไม่ได้ก็ใช้วิธี Friendly Visit

แนวทางการแก้ไขปัญหา

Legalise ต้องทำให้แรงงานเหล่านี้ถูกกฎหมาย เราจะได้รู้ถึงความมีตัวตนของคนต่างด้าวในประเทศไทย มีผลดีต่อตัวแรงงานเองที่ได้รับสิทธิที่พึงจะได้รับ ลดการถูกเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงรัฐไทยก็ได้ภาษีจากคนเหล่านี้ด้วย ลดการทุจริตลงไปได้อีก รวมถึงให้การศึกษาแก่บุคคลเหล่านี้ในเรื่องสถานะและสิทธิเบื้องต้นที่พึงได้รับ

Afterthought

กลับมาบ้าน นั่งทบทวนความคิด พยายามทำความเข้าใจ ทำไมสิ่งที่น่าจะตอบได้มากกว่านี้ก็กลับติดขัด ทำอย่างไรดี อาจารย์แหววกกระตุ้นเราเสมอว่า เขียนสิเธอ จะได้คิดออกเราต้องจัดระเบียบความคิด จัดองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในสมองให้เป็นระบบก่อน ถึงจะคิด จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลยนั่งนึกนำสิ่งที่ได้จากวันที่ไปเสวนาวิชาการเรื่อง คนข้ามชาติ คนไร้รัฐและปัญหาสถานะบุคคล ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมาประยุกต์ใช้ (After Academic Talk) จากนั้นก็เขียนเป็นเรื่อง After MJP Interview ว่าเราบกพร่องตรงไหน ต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง สุดท้ายมาจบที่ Afterthought หลังจากที่คิด (เขียน) แล้วเราได้อะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ Organisation Input/output และ management

Input is the resources that we get from environment; time knowledge ideas data etc.

Output describes what the organisation gives back to the environment

Input and output exchange relationship with environment 

สนใจจะทำงานกับเขาเราต้องรู้ว่าเขาต้องการทำอะไร อะไรคือ Primary task ของเขา เรามีคุณสมบัติในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มูลนิธิบรรลุเป้าหมายหลักที่ตั้งไว้หรือไม่

Primary Task: To encourage systematic access to rights and rights violation remedies for Burmese migrant communities in Thailand

เป้าหมายหลักของมูลนิธิ: เพื่อช่วยเหลือชุมชนแรงงานชาวพม่าให้เข้าถึงข้อมูล สิทธิที่พึงได้รับ และการเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดทางกฎหมาย

Input: facts of migrant cases

Input คือข้อเท็จจริงของกรณีปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

Transformation process:

กระบวนการการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของมูลนิธิ

1. Facilitating strategic test case litigation in migrant community identified ‘priority problem

areas’ to stimulate a sustainable change to government policies that currently

discriminatorily and unfairly deny labour and social rights to migrants;

    ทำหน้าที่เกื้อกระบวนการ กำหนดยุทธศาสตร์ในกรณีศึกษาหรือกรณีปัญหาในชุมชนแรงงานข้ามชาติเพื่อระบุพื้นที่ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีซึ่งปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของแรงงานรวมถึงสิทธิทางสังคมต่างๆที่พึงจะได้รับอย่างเป็นธรรม 

2. Empowering migrant communities to generate data on existing systematic rights

violations to inform advocacy campaigns on a domestic, regional and international

level, as well as to promote government/NGO networking and cooperation;

    สร้างชุมชนแรงงานข้ามชาติเพื่อให้กลุ่มบุคคลแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงสิทธิ ข้อมูลที่พึงจะได้รับ และมีการรณรงค์ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันมีการช่วยส่งเสริมการร่วมมือและสร้างเครือข่ายระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานอิสระ 

3. Conducting education and paralegal training of trainer (ToT) programmes with

selected migrant community volunteers who then conduct supervised trainings in

their own communities;

    ให้การศึกษาและการฝึกผู้ช่วยทางกฎหมายต่ออาสาสมัครชุมชนแรงงานเพื่อนำไปฝึกแรงงานคนอื่นๆในชุมชนของตนต่อไป 

4. Providing migrant communities with paralegal assistance in response to rights

violations.

     จัดให้มีการช่วยเหลือทางกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 269224เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่สมัคร

1. Supervision and assistance of the Chiangmai MJP staff team and their related

community project

ให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่โครงการยุติธรรมเพื่อแรงานข้ามชาติในเชียงใหม่และโครงการในชุมชนที่เกี่ยวข้อง

2. Monthly narrative reporting to the Programme Director;

ทำรายงานรายเดือนเสนอต่อผู้อำนวยการโครงการ

3. Networking with Thai labour, migrant, human rights and lawyer groups;

สร้างเครือข่ายกับแรงงานไทยและสภาทนายความที่ดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานและสิทธิมนุษยชน

4. Liaising with government officials at both a provincial and central government level;

ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลาง

5. Assisting in preparation of reports and information to allow MJP’s test cases and

advocacy campaigns to proceed both at a national, regional and international level;

เตรียมเอกสารรายงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับแรงงานและการรณรงค์ต่างๆทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ

6. Networking and building up working relationships with Thai media;

สร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนไทย

7. Assisting to establish and strengthen Thai-Migrant community relations;

ประสานงานในการช่วยสร้างชุมชนแรงงานเข้มแข็ง

8. Translation of materials from Thai to English and English to Thai;

แปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

9. Assisting MJP’s staff team in researching and compiling information on Thai

government systems, rights and knowledge for community distribution.

ประสานงานและให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่โครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติในการหาข้อมูล ทำรายงาน หนังสือเกี่ยวกับกระบวนการของรัฐ สิทธิ และความรู้แจกจ่ายให้แก่ชุมชน

มีวินัยหน่อยนะ อะไรจะดีขึ้น

หัดอ่าน อ.วิจารณ์นะคะ

http://gotoknow.org/profile/vicharnpanich

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท