บันทึกสนทนากับ EU Watch


ทีม EU Watch จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาชวนเราคุย 'มุมมองของพัฒนาการยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของประเทศไทย', คุยกันที่ ห้อง ๒๒๑ คณะนิติศาสตร์ มธ. ..หุหุ ยังไม่เสร็จนะ blog นี้

from point to potins:
บทเรียนจากยุโรป

  • อาจารย์ของอ.แหวว สอนวิชา International Civil Registration ..(?) เป็นเลขาฯ Council of Europe
  • การสำรวจข้อมูลประชากร เป็นไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงเชิงประชากร จำเป็นต้องเร่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศต้นทางชัดเจน
  • การจัดการปัญหาสถานะบุคคล เป็นเรื่องหนีไม่พ้น เพราะเมื่อรัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากร รัฐต้องเรียนรู้ที่จะจัดการประชากร กฎหมายพื้นฐาน ๓ เรือง ไม่ได้ถูกสอนในคณะนิติศาสตร์ ได้แก่ กม.ทะเบียนราษฎร, กฎหมายสัญชาติและกฎหมายคนเข้าเมือง
  • การจัดการดินแดน ก็ขาดหลักการการจัดการ, อียู บริหารความเสี่ยงในอนาคตยาวมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่น แม่น้ำไรน์ ท่วม) ก็จะไม่มีทางเกิดเรือ่งแบบนี้อีก
  •  เราฝันว่าจะมีความก้าวหน้าเหมือน อียู แต่เราไม่มี input เราผลิตองค์ความรู้เพียงพอหรือยัง หากอยากเหมือน อียู
  • อนุสัญญาฯ แรงงานฯ ที่ไทยยังไม่ได้ลงนาม
    • อ.เห็นอย่างไร อ.เห็นว่า เราคิดออกหรือยัง ว่าลงนามแล้วมีประโยชน์มากน้อย หรืออย่างไร
  • ข้อบทเดียวกัน ไม่ได้ตั้งข้อสงวน, สมช. เมื่อบอกว่ามีการผิดมาตรฐานระหว่างประเทศ ก็จะมีการแก้ไข แต่ก็มีความแปลกก็คือ เขาไม่พูดเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • เราต้องผลิกกม.ปกครอง เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตะแบงกม.
  • วันนี้ หากเราจะเอาประสบการณ์จากอียู หรือที่ไหนก็ตามมาใช้ หากเราไม่เข้าใจอย่างแท้จริงก็จะเหมือนกับ การเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องพิมพ์ดีด 
  • กรณี Education for All กรณีศรีนวล เป็นคนไร้สัญชาติที่รัฐบาลไทย มีนโยบายให้สัญชาติไทยแล้ว ได้รับทุนการศึกษา ไปเรียนต่อต่างประเทศ กรมการกงสุลให้วีซาปีต่อปี มีการกล่าวว่า มติครม.ที่รับรองการศึกษาไปครอบคลุมถึงการไปศึกษาต่างประเทศ!
  • เดิมที่อังกฤษ ไม่รับรองเรื่องสัญชาติ เพราะใช้หลักภูมิลำเนา ตาม common law แต่เมื่อเข้าสู่อียู อังกฤษจึงยอม สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่เข้มแข็งของการจัดการแบบ civil law ในอียู
  • อ.แหวว ใช้แนวคิดที่เรียนหนังสือมา ในการทำงาน อาทิ การยกร่างกม.
  • เมื่อการเมืองระหว่างประเทศ กับกฎหมายมาพบกัน 
  • เราต้องบันทึกใครในทะเบียนราษฎรบ้าง เพราะหากเราไม่บันทึก เขาก็จะกลายเป็น stateless
  • มีปัญหาต่อเนื่องคือ เมื่อเขาไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย เมื่อเขาถูกละเมิด เขาจึงไม่กล้าปรากฎตัว
  • การเมืองภาคองค์การระหว่างประเทศทำให้ อ.แหวว เข้าใจในปีที่ ๒๕ ของการทำงานคือ นักสิทธิมนุษยชน ไม่ค่อยสนใจการสนับสนุนการเข้าเป็นภาคีองค์การระหว่างประเทศ
  • กฎหมายไทย หลายเรื่องคืบหน้าไปแล้ว เช่น สิทธิเด็ก เหลือเพียงกรณีการบังคับใช้กฎหมาย
  • ความมั่นคง มี ๒ อย่างคือ ความมั่นคงเชิงดินแดน หรือความมั่นคงเชิงประชากร
    • ประวัติศาสตร์ในยุโรป คือความพยายามจะสร้างจุดร่วม อาทิ people participation มากกว่าความเป็นประชาธิปไตย
  • ที่หนึ่งระหว่างเยอรมันกับฝรั่งเศส เมื่อทะเลาะกันมากว่า เป็นดินแดนของใคร ก็แก้ปัญหาโดยการเป็นสวนสาธารณะ
  • การเก็บข้อมูลประชากร
    • เหตุผลนิยมสำคัญมาก
    • เหตุผลหนึ่งที่คนกลายเป็น statless คือ ความไร้รากเหง้า ฐานข้อมูลประชากรมีส่วนช่วยได้ ต้องถามก่อนว่า ข้อมูลนั้น เก็บเพื่อใคร เพื่ออะไร
    • บางเรื่องเก็บได้ หรือไม่ได้
    • การรักษา ต้องมีหลักเกณฑ์
    • หากคิดว่าไม่ควรเก็บ ในยุโรป ก็เริ่มคิดแบบกลับมุม เช่น คิดว่า สิทธิในการรักร่วมเพศ เป็นสิทธิมนุษยชน เริ่มมีการบันทึกด้วยซ้ำไปว่า ภรรยา(ชาย)ของสามี(ชาย) ชื่ออะไร
    • การจดทะเบียนสมรสของเพศเดียวกัน หากประเทศเจ้าของสัญชาติ ไม่ห้าม ประเทศไทย ก็ห้ามไม่ได้
    • ปพพ. ห้ามหญิงแต่งงานกับหญิง แต่ในฝรั่งเศส ใช้ "หุ้นส่วนสามัญ"

  • ทำยังไง จึงจะมีเสถียรภาพ judicial security 
    • comparative study เป็นอย่างไร
    • ญี่ปุ่น เอาตำราสำคัญๆ มาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น--ขณะที่บ้านเราไม่เคยคิดถึง
    • conflict of law หรือหลักการเลือกกฎหมาย- (อนุสัญญาว่าด้วย applicable law to contract ซึ่งจะต้องตอบคำตอบเดียวกันทั้งยุโรป)
    • ทำยังไง จะให้ substantive เป็นเรื่องเดียวกัน--ใน function ของ union จะต้องทำให้กม.แพ่งเป็นรูปเดียวกันหรือมีวิธีคิดแบบเดียวกัน (ความสามารถของบุคคลเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ดังนัั้นไม่ว่าจะไปอยู่ตรงไหนของโลก ก็ต้องใช้กม.สัญชาติ) : บุคคล ครอบครัว ทรัพย์และมรดก หากไม่มี convention มากำหนด อาจมีปัญหา
    • การทะเบียนราษฎร ต้องเชื่อมกันหมด เพราะหากไม่เชื่้อมกันหมด เราจะไม่สามารถติดตามตัว หากไปก่อปัญหาอาชญากรรม, ทะเบียนสมรสซ้อน
  • อียู ทำเรื่องสัญชาติทำเสร็จ 1990, เรื่องการทะเบียนราษฎรทำเสร็จก่อนตั้งนานแล้ว, และตัวต่อมาคือการทำ immigration  คือ schengen ถ้าเราจะเชื่อมประเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็น union  ๓ ตัวนี้ต้องมาก่อน และตามด้วยเรื่อง "เงิน"
  • Unification, Harmonizing of money system
  • ค่าแรง, การคุ้มครองแรงงาน เรายังขาด common standard
  • Robert Schuman ฝันจะเห็นอียู (ดู http://europa.eu/abc/history/foundingfathers/schuman/index_en.htm)
  • สิ่งที่ได้จากยุโรป คืองานที่กำลังทำอยู่ คือการนำคนเข้าสู่ทะเบียนราษฎร 
  • ที่เราทำไม่ได้คือ เราไมสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • การจัดการประชากร ของประเทศไทย ยังคงน่ากังวล ดูประเทศลาว เขาส่งนักศึกษามาเรียนที่เมืองไทย
  • กระทรวงต่างประเทศ ต้องเตรียมคน, ฝากไปก็คือ ..ตอนนี้หลายประเทศทำไปหมดแล้ว คนที่มีสัญชาติไทย แต่ไม่เคยเสียภาษี จะให้เขามาผ่าตัด? กลับมารักษาตัวที่เมืองไทย?, มาถอนฟัน โดยเสีย 30 บาท?, หลักประกันสุขภาพมันขึ้นกับ social contribution
    • ถ้าไปลองดูกฎหมายในยุโรป หรืออเมริกา ..เขาเรียกว่า effecitve nationality เช่น ในหลายรัฐของอเมริกา หากไม่อยู่ ไม่จ่ายภาษีติดต่อกัน 5 ปี คุณจะไม่สามารถเลือกตั้งได้นะ คือ แยกระหว่างมีสิทธิกับใช้สิทธิ
  • กระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงทุกหน่วยงาน ต้องเตรียมความเข้าใจ
  • โดยหลักการ เรื่องที่ต้องทำ ก็ต้องทำ เช่น infrastructure ทางกม., ต้องสร้าง common standard, และคนที่พัฒนา โครงสร้าง ต้องพัฒนาอย่างเข้าใจ 
  • วิธีการศึกษาคือ ไปดูปัญหาสังคมก่อน (social need) ก่อนค่อยไปอ่านตำราฝรั่ง
  • องค์ความรู้ หายากพอควร ถามกฎหมายสัญชาติลาว กัมพูชาฯลฯ เราถามจากกระทรวงต่างประเทศ อาจไม่ได้ให้คำตอบ (?)
  • เราหนี unification of law ระหว่างไทยกับ อียู ไม่ได้ เราจึงต้องรู้ เรียนรู้ และมันควรจะเป็นภาษาไทย เพราะถึงจะอ่านภาษาอังกฤษได้ แต่ความลุ่มลึกใน common concept อาจไม่มี อาทิ ง่ายๆ civil right ถูกแปลว่า สิทธิพลเมือง, self-determination ก็คือ สิทธิทางการเมือง แม้เขาจะเลือกตั้งไม่ได้ แต่เขาสามารถกำหนดตัวเองได้
  • ถามถึงการจัดการผู้หนีภัยความตาย (หุหุ อ.แหวว บอกว่า แอบถามเรื่องอื่น) คำถามกลับคือ ประเทศไทย เคารพสิทธิในชีวิตของคนหรือไม่?
    • ถ้าสมช. ฟังชัดว่า กลับไปแล้วตาย ยังไม่เคยมีใครถูกส่งกลับเลยนะ อย่างกรณีก๊กมินตั๋ง ..๑๐ ปีแรกผ่อนผัน, ๑๐ ปีที่สองคือให้สิทธิอาศัยชั่วคราว, ๑๐ ปีต่อมา ก็จัดการเหมือนจีนเยาวราช, คนที่เหลือตอนนี้ คือ คนไม่มีสตางค์ ไม่สามารถแปลงได้, คนที่ขาดความรู้
    • ข้อสังเกตคือ หลายส่วนไม่ใช้กฎหมาย แม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชน
    • ปัญหาอย่างเดียว คือ คุณต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเขาหนีภัยความตาย หรือหากมีสายข่าวรายงานว่า คนที่หนีเข้ามาคือกองกำลังของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหาร คำถามที่ต้องถามต่อเหมือนกัน คือ จะให้อยู่ได้อย่างไร?
    • กรณีค่าย ๙ ค่าย หากจะสามารถพัฒนาสถานะไปสู่การมีสัญชาติไทย คือ ให้ปิดค่าย
    • เอ.. หากจะเกี่ยวกับอียู น่าจะเป็นเพราะ ยุโรป ตอนนี้ อาจลดการสนับสนุนค่ายหรือเปล่า?
  • ทาง EU Watch ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายของ UNDP แล้ว  การสนับสนุนต่อประเทศไทยจะน้อยลง
  • สัญชาติ hotmail, yahoo ..เป็นการจัดการประชากร การรวมกลุ่มคน , สัญชาติคือ นวตกรรมที่สังคมแต่ละยุค ใช้ในการสร้างความมั่นคงให้กับ social member, นวตกรรมที่จะผลักให้คนนับหนึ่งด้วยกัน เดินพร้อมกัน, ตัวที่จะมา unify คนไทย อาเซียน ก็เหมือนกับที่ Robert Schuman คิดว่า อียูคืออะไร European state อธิบายยังไง มันใช้หลายปัจจัยนะ, ต้องทำการบ้านหนักมาก ที่จะทำให้มีการแบ่งตลาดกะหล่ำปลี คำถามคือ คนทำการบ้านแบบนี้ในประเทศไทย มีไหม อยู่ตรงไหน


  • หุหุ ใครช่วยเติมด้วยดีไหมคะ

คำสำคัญ (Tags): #eu#eu watch#monday meeting
หมายเลขบันทึก: 290567เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 02:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท