พย.สสส. : Workshop แนวคิดและเครื่องมือการจัดการความรู้ (๑)


ปริศนา KM “ไม่ลงมือทำ ยากที่จะเข้าใจ”

วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ เครือข่าย พย.สสส.ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับทีมคณะกรรมการบริหารแผนงานและอาจารย์ที่สอนในรายวิชาด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสถาบันเครือข่าย จำนวน ๓๐ กว่าคน ณ ห้องประชุม ๑ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ โดยมีคุณธวัช หมัดเต๊ะ CEO (Change & Empowering Officer) ของ สคส.ทำหน้าที่เป็นวิทยากรหลัก และดิฉันเป็นผู้ช่วยเล็กๆ น้อยๆ

 

คุณธวัช หมัดเต๊ะ

เราเริ่มประชุมเวลาประมาณ ๐๙.๐๕ น. เพราะรอผู้ที่มาจากต่างจังหวัด คุณธวัชเริ่มต้นการประชุมโดยให้ทุกคนแนะนำตัวว่าเป็นใคร มาจากไหน หยุดงานมาวันนี้มีความคาดหวังอะไร ความคาดหวังของแต่ละคนมีทั้งในเรื่องของ KM และการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ
- หวังว่าจะเอาความรู้ไปใช้ปรับในการเรียนการสอนและเอาไปใช้
- อยากรู้ว่า KM ทำอย่างไร
- มา share ประสบการณ์ในการเรียนการสอน และมีจุดประสงค์แอบแฝงอยากจะเปิดใจเรียนรู้จากท่านอื่นๆ เพื่อเอาไปปรับใช้ในงานให้ดีขึ้น
- มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรื่องการเรียนการสอน
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้เครื่องมือ KM เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการทำงาน
- มาฟังเรื่องที่คนอื่นจะเล่าให้ฟัง
- อยากรู้การทำงาน KM แลกเปลี่ยนการทำงาน อยากได้เครือข่ายคนทำงาน HP
- หาวิธีการอย่างไรที่จะดึง KM ออกมาจากงานวิจัย และเอาไปใช้ในการเรียนการสอน
- อยากทำ KM เป็น
- คาดหวังเรื่องการทำ KM อยากมาฟังว่าจริงๆ KM คืออะไรและอยากได้ความรู้และประสบการณ์โดยตรง
- อยากมาดูว่า KM เป็นอย่างไร สาระของ KM คืออะไร จะได้เอาไปใช้เองบ้าง
- คาดหวังเรียนรู้ KM ได้เคยอบรมเรื่อง KM มาหลายครั้งและเป็นประธาน KM ของคณะด้วย ไปอบรมแต่ละครั้งได้เป็นบางส่วน เช่น อบรม weblog ที่มหาวิทยาลัยก็เคยจัดอบรมหลายครั้ง บ่ายๆ คนก็หายกันเกือบหมด
- ฯลฯ
สรุปได้ในภาพรวมว่าผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เคยได้ยินชื่อ KM แต่ยังไม่รู้จัก KM ดี

หลังจากนั้น คุณธวัชให้ผู้เข้าประชุมประมวลความคาดหวังที่พูดสักครู่ให้เหลือ ๑ วลีหรือ ๑ ประโยค เขียนบน  Flipchart เอาไว้ดูตอนเย็นว่าอะไรที่ได้หรือยังไม่ได้ และจะได้รู้ความคาดหวังของเพื่อนที่เราอาจจะนึกไม่ถึง และเป็นการ warm up ให้ได้ลุกเดิน

 

ผู้เข้าประชุมเขียนความคาดหวังบน Flipchart  <p style="text-align: center;">  </p><table border="0"><tbody><tr>

</tr></tbody></table> ส่วนหนึ่งของความคาดหวัง

คุณธวัชบอกต่อว่า เข้าใจว่าเรื่อง KM มีหลายค่ายหลายสำนักมาก ชื่อมาจากต่างประเทศ วิธีการข้างในอาจแตกต่างกันไป วันนี้จะนำรูปแบบ KM ที่ สคส.เชื่อและใช้มา ปริศนา KM “ไม่ลงมือทำ ยากที่จะเข้าใจ” อาจารย์วิจารณ์เปรียบเทียบว่าเหมือนการปั่นจักรยาน การให้ความรู้โดยการบรรยาย ไม่ work ฟังบรรยายเหมือนเข้าใจ แต่ถ้าไม่ลงมือทำจะไม่เข้าใจ สคส.จึงประยุกต์ใช้หลายๆ วิธี

คำว่าการจัดการความรู้ คนมักจะนึกถึงตัวความรู้ และกระโดดไปที่ตัวความรู้ตั้งแต่ต้นๆ จริงๆ มีเรื่องของการเรียนรู้อยู่เยอะ ยกภาพของ Learning pyramid ประสิทธิผลของการบรรยายน้อย ส่วนล่างๆ ที่เป็นการปฏิบัติ การสอนผู้อื่น คนจะรู้สึกว่าตนเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น สคส.จึงพยายามประยุกต์หลายๆ วิธีการมาใช้

ขอยกการจัดการความรู้ที่ รพ.บ้านตากน่าสนใจ เขาคิดรูปแบบที่เหมาะกับบริบทของเขา และ sustain ได้ เป็น case เรื่องเล่า ให้ดู VCD ไม่ให้โจทย์ก่อน เพราะเดี๋ยวจะไม่สนุก จะมัวพะวงกับโจทย์

เมื่อดู VCD การจัดการความรู้ รพ.บ้านตากจบ คุณธวัชถามผู้เข้าประชุมว่าใครรู้สึกประทับใจฉากตอนไหนบ้าง ความประทับใจของคนดูมีดังนี้
- ฉากสุดท้ายที่ จนท.รู้สึกว่างานที่ทำมีคุณค่า มีความสุข
- เภสัชกรเข้าไปอธิบายผู้สูงอายุเรื่องการใช้ยา พยาบาลก็เข้าไป
- ที่หมอพิเษฐ์พูด
- วิสัยทัศน์ของผู้นำ
- KM คือ relationship management
- ถ้าเราเริ่มต้นจากความคิดบวก ให้คุณค่ากับคนกับงาน ฯลฯ


ใครดูแล้วมีคำถาม ก็มีคำถามดีๆ เช่น
- การที่จะทำได้ถึงตรงนี้ มีอะไรหลายอย่าง แล้วเราจะไปเริ่มตรงไหน อยากให้เป็นแบบของเขา
- คนแต่ละคนในเรื่องเขาพัฒนามาได้อย่างไร
- คนในองค์กรต้านไหม มีคนต้านไหม
- คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณอำนวยน้อย ใครเป็นคนมอบหมายให้เขาเป็น ฯลฯ

คุณธวัชบอกว่าจะค่อยๆ ตอบคำถามตามสไลด์ แล้วเริ่มด้วย Knowledge iceberg ชนิดของความรู้
การจัดการความรู้อาจมีอยู่บ้างในบางหน่วยงาน แต่ท่านไม่รู้จัก จึงไม่ได้เรียก เปรียบเทียบ explicit-tacit knowledge  ยกตัวอย่างการแทงน้ำเกลือเด็กใน VDO พี่พยาบาลมี tacit เป็นเทคนิค ทักษะเฉพาะ คล้ายกับที่เขาพูดว่าชั่วโมงบินเยอะ คนที่ชั่วโมงบินเยอะ มี tacit เยอะ

วัลลา ตันตโยทัย

๑๖ กันยายน ๒๕๕๑

หมายเลขบันทึก: 208982เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 06:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท