แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ IT ในงานสุขภาวะชุมชน (๓)


แบ่งกลุ่มย่อยตามเรื่องดีที่แต่ละคนจะนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน

ตอนที่

วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ (ต่อ)

โครงการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพ จังหวัดสงขลา
เริ่มการนำเสนออีกครั้งตอน ๑๓ น. คุณภาณุมาศ นนทพันธ์หรือคุณหมี จากสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ จังหวัดสงขลา เล่าว่าแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาเกิดมา ๓-๔ ปีแล้ว มีการทำ MOU ๓ ฝ่ายว่าจะทำอะไรไปในทางเดียวกัน ทำงาน ๑๔ ประเด็น แต่ละประเด็นทำงานอิสระกันไป ข้อมูลกระจัดกระจาย จึงลองทำ Mapping ข้อมูลภาคประชาชน ข้อมูลภาครัฐ

ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นความรู้ในการทำงาน มาคิดกันว่าจะเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ต่ออย่างไร จึงมีโครงการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลาขึ้นมา มีนักวิชาการเข้ามา ดึงข้อมูล ๑๘ แฟ้มจาก สสจ. ๑๒ แฟ้มจาก สปสช. ข้อมูลอื่นๆ เช่น องค์กรเครือข่าย และจะมีการทำ Mapping-GIS ว่าใครอยู่ตรงไหน

การออกแบบต้องการ support คนทั่วไป ข้อมูลเชิงวิเคราะห์สำหรับคนทำงาน ข้อมูลนำเสนอผู้บริหารใช้ในเชิงนโยบาย และคนทำงานเกี่ยวกับข้อมูล

เป้าหมายพยายามทำให้เกิดการประสานกัน โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง เพิ่งเริ่มทำมาไม่นาน ยังมีข้อมูลโชว์ไม่เยอะ GIS จะทำบน Google Map

ระบบฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนเทศบาลตำบลปริก
น้องเชอรี่ สิงคาระเป็นผู้นำเสนอ เริ่มด้วยโชว์เว็บไซต์ของเทศบาล โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เดิมคิดว่าระบบนี้เป็นนวัตกรรม พอมาฟังวันนี้พบว่าของทุกที่มีความน่าสนใจ ฐานข้อมูลของปริกเป็นระบบตัวชี้วัดสุขภาวะชุมชน แบ่งตัวชี้วัดเป็น ๕ ตัวคือกาย (๒๕) อารมณ์และจิตใจ (๙) สังคม (๑๘) สิ่งแวดล้อม (๑๐) เครือข่าย (๒) รวม ๖๔ ตัวชี้วัด

ต่างจาก FAP คือของปริกเป็นผลสรุปภาพรวม ใช้เกณฑ์ของชุมชน แต่บางตัวก็เอาเกณฑ์ของประเทศ เช่น เด็กวัยเรียนต้องผ่านเกณฑ์ ๑๐๐% แสดงเป็นมาตราวัดก็ได้ ทำให้รู้จุดบกพร่องของชุมชน นำไปสู่การแก้ไข

อีกส่วนเป็นเรื่องของชุมชนปฏิบัติเล่าสู่กันฟัง เกิดจากความต้องการ check rating จึงมีการประกวดการเล่าเรื่องของชุมชน เช่น เรื่อง “สาวน้อยกาแฟดำ” สาวอายุ ๘๔ ปีที่มีผมดำหมด ไปถามแล้วมาเขียนเล่า บางทีชาวบ้านก็มาเล่าเอง (ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน)

เดิมเก็บข้อมูล DM, HT ชาวบ้านไม่มีโอกาสรู้ เดี๋ยวนี้เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ก็เอาข้อมูลมาใส่แล้วพริ้นไปติดประกาศ พร้อมกับออกเสียงตามสายทางวิทยุ

หลังการนำเสนอเป็นช่วงเวลาเข้ากลุ่มย่อย เราแบ่งกลุ่มย่อยตามเรื่องดีที่แต่ละคนจะนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนได้ ๓ กลุ่ม คือการจัดเก็บข้อมูลและบันทึก การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และการพัฒนาโปรแกรม มีอาจารย์อุไรรับผิดชอบดูแลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

กลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม

ดิฉันมีการประชุมเพื่อเตรียมการจัดประชุม UKM 16 ในเวลา ๑๕ น. เดิมตั้งใจว่าจะเดินทางออกจากโรงแรมราวๆ ๑๔.๑๕ น. แต่เนื่องจากมีฝนตกหนักมาก มองเห็นน้ำท่วมถนนหน้าโรงแรม เลยเปลี่ยนใจรีบออกเดินทางกลับมหาวิทยาลัย เพราะเกรงว่าถ้าช้าน้ำจะยิ่งท่วมมาก บริเวณที่จอดรถเริ่มมีน้ำขังเกือบเข้ารองเท้าแล้ว ได้น้องแตง พนักงานธุรการนั่งรถกลับมาเป็นเพื่อนช่วยบอกทางที่หลีกเลี่ยงจุดที่มีน้ำท่วมเยอะๆ ได้

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 308511เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2009 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท