ahs
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 8 ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 : คณะสหเวชฯ มน.


 

ส่วนสำคัญ

องค์ประกอบที่  8   การเงินและงบประมาณ

หลักการ

การเงินและงบประมาณเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของสถาบันการศึกษา โดยปกติแหล่งเงินทุนของสถาบันการศึกษาได้มาจากงบประมาณแผ่นดิน (สำหรับสถานศึกษาของรัฐ) และเงินรายได้เช่น ค่าเล่าเรียนของนักศึกษา รายได้จากงานวิจัย บริการทางวิชาการ ค่าเช่าทรัพย์สิน ฯลฯ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับการวิเคราะห์ทางการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อจำนวนนักศึกษา ทรัพย์สินถาวรต่อจำนวนนักศึกษา ค่าใช้จ่ายที่สถาบันอุดมศึกษาใช้สำหรับการผลิตบัณฑิตต่อหัว จำแนกตามกลุ่มสาขา รายได้ทั้งหมดของสถาบันการศึกษาภายหลังจากหักงบดำเนินการทั้งหมด งบประมาณในการพัฒนาอาจารย์ ความรวดเร็วในการเบิกจ่าย ร้อยละของงบประมาณที่ประหยัดได้หลังจากที่ปฏิบัติตามภารกิจทุกอย่างครบถ้วน สิ่งเหล่านี้จะเป็นการแสดงศักยภาพเชิงการบริหารจัดการด้านการเงินของสถานศึกษาที่เน้นถึงความโปร่งใส ความถูกต้อง ใช้เม็ดเงินอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. แผนพัฒนาการเงินระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
  2. แผนปฏิบัติราชการของสถานศึกษาประจำปี
  3. มาตรฐานการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  4. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  5. มาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  6. มาตรฐานแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงบประมาณ
  7. รายงานงบประมาณแผ่นดิน (สถานศึกษาของรัฐ) และเงินรายได้


ตัวบ่งชี้ 

          จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย


8.1    มีระบบและกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงินและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ


8.2    มีการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกสถาบันร่วมกัน


 

 

องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 มีระบบและกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงิน และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เกณฑ์มาตรฐาน :  ข้อ

  1. มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันให้เป็นไปตามเป้าหมาย
  2. มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน แผนการจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้
  3. มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลทางการเงินที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจและวิเคราะห์สถานะทางการเงิน
  4. มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  5. มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
  6. มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด
  7. ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

 

ผลการดำเนินงาน 

          ในปีการศึกษา 2550 คณะสหเวชศาสตร์มีผลงานผ่านระดับ 7 ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. คือ

ระดับที่

 ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน
 1 คณะสหเวชศาสตร์มีการกำหนดแผนกลยุทธทางการเงิน  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2549-2553)  8.1.1(1)   8.1.1(2)   8.1.1(3)   8.1.1(4)
8.1.1(1) : นโยบายและแผนที่ยุทธศาสตร์ของคณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรพ.ศ.2549 - 2553
8.1.1(2) : แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2550
8.1.1(3) : เงินงบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2550
8.1.1(4) : เงินงบประมาณรายได้ปีงบประมาณ 2550
 2  คณะสหเวชศาสตร์ได้กำหนดแนวนโยบายในการจัดหาเงินรายได้ ซึ่งเป็นทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยทั้งนี้ได้จัดทำแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมด้วย  8.1.2(1)   8.1.2(2)   8.1.2(3) 

8.1.2(1) : ประกาศคณะสหเวชศาสตร์เรื่องนโยบายการจัดหาแหล่งเงินรายได้ 

8.1.2(2) : ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องหลักเกณฑ์การบริหารเงินรายได้จากค่าตอบแทนการให้บริการทางวิชาการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพคณะสหเวชศาสตร์
8.1.2(3) : ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องกำหนดอัตราค่าบริการของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์
 3 คณะสหเวชศาสตร์นำระบบฐานข้อมูลมาใช้กับงานการเงินและพัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบ ตัดสินใจ ในการบริหารจัดการเงินของคณะ

 8.1.3(1) : ระบบฐานข้อมูล MIS

8.1.3(2) : ระบบบัญชี 3 มิติของมหาวิทยาลัย
8.1.3(3) : ระบบฐานข้อมูลครุภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร
 4 คณะฯ มีการจัดทำสรุปรายงาน การใช้จ่าย งบฐานะการเงิน และงบเดือน ทุกเดือน โดย เสนอ อธิการบดี , ผู้อำนวยการกองคลัง และ คณะกรรมการประจำคณะสหเวชศาสตร์ โดยผ่านคณบดีพิจารณาเข้าเป็นวาระประชุมฯ   8.1.4(1)   8.1.4(2)   8.1.4(3)
8.1.4(1) : รายงานการเบิกจ่ายเงินประจำเดือน. โดยเสนอ อธิการบดี 
 
8.1.4(2) : รายงานฐานะการเงิน โดยเสนอผู้อำนวยการกองคลัง
 
8.1.4(3) : รายงานทางการเงิน เสนอคณะกรรมการประจำคณะ
 5

คณะฯ มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงขององค์กรอย่างต่อเนื่อง 8.1.5(1)   8.1.5(2)   8.1.5(3)  8.1.5(4)

 8.1.5(1) : การคิดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระบบห้องสมุด คอมพิวเตอร์ และศูนย์สารสนเทศ ปีงบประมาณ 2550

8.1.5(2) : เปรียบเทียบรายจ่าย - ภาควิชา คณะสหเวชศาสตร์ ปี งปม. 2550

8.1.5(3) : เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย(ค่าซ่อม)และค่าวัสดุของหน่วยงานคณะสหเวชศาสตร์ ปีงบประมาณ 2550
 
8.1.5(4) : การให้ทุนอุดหนุนพัฒนาบุคลากร ในปี 2550
 6   คณะฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ที่ทำหน้าที่ตรวจ ติดตาม การใช้เงินเป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่คณะ และ มหาวิทยาลัยกำหนด ได้แก่
     1. คณะกรรมการประจำคณะ 
     2. หน่วยตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัย  
8.1.6(1)   8.1.6(2)   8.1.6(3)   8.1.6(4)
8.1.6(1) : ผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ
8.1.6(2) : รายงานรายรับและรายจ่ายของศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ทุกเดือนในรายงานการประชุมคณะกรรมการคณะ
8.1.6(3) : ผลการตรวจสอบด้านบัญชีการเงิน พัสดุ ด้านอื่น ๆ คณะสหเวชศาสตร์ ปีงบประมาณ 2550
8.1.6(4) : แผนการปรับปรุงงานการเงินและพัสดุของคณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2550
 7

มีคณะกรรมการประจำคณะ ติดตามผลการใช้จ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางเงินไปใช้การวางแผนและตัดสินใจ   8.1.7(1)   8.1.7(2)   8.1.7(3)   8.1.7(4)

8.1.7(1) : ผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3 3 3

การบรรลุเป้าหมาย  (1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)    
การมีพัฒนาการ     (1 = มี , 0 = ไม่มี)

การบรรลุเป้าหมาย :

เพราะคณะกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 : มีการกำหนดปรัชญาหรือปณิธาน ตลอดจนมีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์แผนดำเนินงานและมีการกำหนดตัวบ่งชี้เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนให้ครบทุกภารกิจ  ไว้ที่ระดับ 7 ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (หลักฐานค่าเป้าหมายตามแผน)  
พัฒนาการ  เพราะปีที่แล้วคณะได้ผลประเมินของตัวบ่งชี้ที่ 1.1 = 3  (หลักฐานผลประเมินปี50) 

 

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป

  1. หลังกิจกรรมประเมินตรวจสอบคุณภาพประจำปีนี้เสร็จสิ้น  จัดให้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของคณะอีกครั้ง  เพื่อกำหนดนโยบาย / กลยุทธ์ / มาตรการ / ค่าเป้าหมาย  ให้ครอบคลุมตัวบ่งชี้คุณภาพ ที่กำหนดโดย  สมศ.  กพร. และ สกอ. ทุกตัว  แล้วแปลงแผนยุทธศาสตร์  เป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ   2552  โดยจัดกิจกรรมให้บุคลากรทุกคนของคณะมีส่วนร่วมในการกำหนด และตัดสินใจ
  2. เสริมสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของคณะฯในสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอต่อไป

 


ผลการประเมินตรวจสอบ
(กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)
     


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3  3

การบรรลุเป้าหมาย / พัฒนาการ

 - การบรรลุเป้าหมาย :

         

(1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ) 
 - พัฒนาการ :   (1 = มี , 0 = ไม่มี) 

 

 

 

หมายเหตุ / ข้อสังเกต / ข้อเสนอแนะ 

-

-

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ตัวบ่งชี้ที่8-1-51
หมายเลขบันทึก: 163952เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท