ahs
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 : คณะสหเวชฯ มน.


องค์ประกอบที่  4   การวิจัย

หลักการ

สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งอาจมีจุดเน้นในเรื่องการวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อมและความพร้อมของแต่ละสถาบัน อย่างไรก็ตามทุกสถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีพันธกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจสถาบัน ดังนั้น จึงต้องมีระบบและกลไกควบคุมให้สามารถดำเนินการในพันธกิจด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้จุดเน้นเฉพาะของแต่ละสถาบัน เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ การวิจัยจะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญสามประการ คือ 1) สถาบันต้องมีแผนการวิจัย มีระบบและกลไกตลอดจนมีการสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน 2) คณาจารย์มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเข้มแข็งโดยบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนและพันธกิจด้านอื่น ๆ ของสถาบัน 3) ผลงานวิจัยมีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์ของชาติและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  2. มาตรฐานการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  3. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  4. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  5. แนวทางปฏิบัติจรรยาบรรณนักวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ตัวบ่งชี้ 

          จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย

4.1    มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์


4.2    มีระบบบริหารจัดการความรู้จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์


4.3    เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำ


4.4    ร้อยละของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรืออนุสิทธิบัตร หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

4.5     ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน refereed journal หรือในฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ (เฉพาะสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย)


  

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

  1. มีการจัดทำระบบบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนของสถาบันและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
  2. มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
  3. มีการจัดสรรทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล แหล่งค้นคว้าต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
  4. มีระบบและกลไกพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการวิจัย
  5. มีระบบสร้างขวัญและกำลังใจและยกย่องนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
  6. มีระบบและกลไกส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐเอกชนและภาคอุตสาหกรรม

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อ  มีการดำเนินการ 3-4 ข้อ มีการดำเนินการอย่างน้อย 5 ข้อ

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เบอร์โทรภายใน: 6230  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: สิริภัสณ์ ศิระนุภาพ  เบอร์โทรภายใน :  6224  E-mail :  

[email protected]   

 

 ผลการดำเนินงาน 

          ในปีงบประมาณ 2551 คณะสหเวชศาสตร์มีผลงานผ่านระดับ 7 ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. คือ

ระดับที่

 ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน

 1. มีการจัดทำระบบบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนของสถาบันและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

     คณะสหเวชศาสตร์มีระบบบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยเป็นไปในแนวเดียวกันกับมหาวิทยาลัย คือ มีแผนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และมีการจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการวิจัย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4.1.1(1)  4.1.1(2)  ทั้งนี้มีคณะกรรมการบริหารงานวิจัยของคณะเป็นผู้กำกับดูแล 4.1.1(3)

4.1.1(1)  นโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2551

4.1.1(3)  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานวิจัย คณะสหเวชศาสตร์ปี 2551และ 2552

 4.1.1(2)  นโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2552

 2. มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
  •      คณะสหเวชศาสตร์มีระบบฐานข้อมูล MIS เพื่อรวบรวมข้อมูลตามภารกิจด้านต่าง ๆ ของคณะ  ซึ่งครอบคลุมงานด้านวิจัย   ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อโครงการวิจัย นักวิจัย  แหล่งทุน และงบประมาณที่ได้รับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา  รายงานประจำปีและถือเป็นฐานข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร 4.1.2(1) นอกจากนี้ยังได้ทำเว็บลิงค์ไปยังเว๊บไซด์ของแหล่งทุนภายนอกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คณาจารย์ในการขอทุนวิจัย   4.1.2(2)

 

  •      คณะอาศัยระบบ e-office ของคณะในการเผยแพร่  ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยให้คณาจารย์ในคณะรับทราบ

4.1.2(1)  ระบบฐานข้อมูล MIS ด้านการวิจัย  

4.1.2(2)  เว็บไซต์แหล่งทุนภายนอก

 

 3. มีการจัดสรรทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล แหล่งค้นคว้าต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

คณะสหเวชศาสตร์มีการจัดสรรงบประมาณรายได้เพื่อเป็นทุนอุดหนุนงานวิจัยและพัฒนางานวิจัยของบุคลากรในคณะเป็นประจำทุกปี

  • ในปีงบประมาณ 2551 คณะได้จัดสรรงบประมาณรายได้เป็นจำนวน 1,166,900 บาท  แบ่งเป็นทุนอุดหนุนงานวิจัย 933,520 บาท เพื่อเป็นปัจจัยในการดำเนินงานวิจัยแก่คณาจารย์ บุคลากรและนิสิต  และทุนสำหรับพัฒนางานวิจัย 233,380 บาท เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัย  4.1.3(1)

 

  •     ในปีงบประมาณ 2552 คณะได้จัดสรรงบประมาณรายได้เป็นจำนวน 1,300,000 บาท  แบ่งเป็นทุนอุดหนุนงานวิจัย 1,135,000 บาท เพื่อเป็นปัจจัยในการดำเนินงานวิจัยแก่คณาจารย์ บุคลากรและนิสิต  และทุนสำหรับพัฒนางานวิจัย 165,000 บาท เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัย    4.1.3(2)


     คณะมีผู้ประสานงานวิจัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ในการยื่นขอทุนวิจัยและประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยเป็นสื่อกลางระหว่างคณาจารย์ในคณะและสถาบันบริหารการวิจัยของมหาวิทยาลัย


      คณะฯ มีห้องอ่านหนังสือ ห้องคอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูลสนับสนุนการทำงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ 

 

4.1.3(1)  นโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2551

 


4.1.3(3) เวบไซด์สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

4.1.3(2)  นโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2552
 4. มีระบบและกลไกพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการวิจัย   

     คณะสหเวชศาสตร์มีการจัดสรรเงินงบประมาณรายได้เพื่อจัดโครงการด้านพัฒนางานวิจัย โดย มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวิจัย ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

  • กิจกรรม journal club สำหรับคณาจารย์ 4.1.4(1)  

 

  • กิจกรรมนิทรรศการโครงงานภาคโปสเตอร์ของนิสิตประจำปีการศึกษา 2551 4.1.4 (2) 

 

  • กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน  4.1.4(3)

     ทั้งนี้ มี คณะกรรมการบริหารงานวิจัยของคณะจะเป็นผู้กำกับดูแลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

4.1.4(1บันทึกของคุณสิริภัสณ์  ศิระนุภาพ “กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 1/2552”

4.1.4(2)  บันทึกของคุณสิริภัสณ์  ศิระนุภาพ โครงการนิทรรศการโครงงานภาคโปสเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2551

4.1.4(3) บันทึกของคุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์ เรื่อง อบรม SPSS

 

 

 

 

 5. มีระบบสร้างขวัญและกำลังใจและยกย่องนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

     ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา คณะสหเวชศาสตร์มีการสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยที่มีผลงานด้านการวิจัยดีเด่น โดยจัดกิจกรรมมอบรางวัลดีเด่นด้านการวิจัยในแต่ละรอบปีการศึกษา  ให้แก่บุคลากรที่มีผลงานดังนี้ 1. นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากที่สุด 2. นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีค่า impact factor สูงที่สุด 3. นักวิจัยที่สามารถขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสูงสุด 4. นักวิจัยที่มีผลงานได้รับการอ้างอิง (Citation) มากที่สุด 5. รางวัลสำหรับบุคลากรที่มีผลงานวิจัยดีเด่น  6. รางวัลภาควิชาที่มีผลการดำเนินงานด้านการวิจัยดีเด่น  4.1.5 (1) 


     คณะสหเวชศาสตร์มีประกาศการให้รางวัลนักวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีค่า impact factor ได้โดยให้รางวัล top up จากมหาวิทยาลัยอีก 5,000 บาท 4.1.5(2)  ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนนั้นมีประกาศการให้รางวัลสำหรับผู้ที่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารวิชาการหรือการไปนำเสนอผลงานวิจัยโดยให้เพิ่มเติมจากที่มหาวิทยาลัยจัดสรร  4.1.5(3)

4.1.5 (1)  บันทึกของคุณสิริภัสณ์  ศิระนุภาพ “สรุปผลรางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี  2551 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร”


4.1.5(2)  ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาให้รางวัลการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีค่า impact factor คณะสหเวชศาสตร์
4.1.5(3)  ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาให้รางวัลการเผยแพร่ผลงานวิจัยสถาบันคณะสหเวชศาสตร์

  6. มีระบบและกลไกส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐเอกชนและภาคอุตสาหกรรม

     คณะสหเวชศาสตร์มีระบบและกลไกส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับองค์กรภายนอก โดยในปีการศึกษา 2551 นี้ ทางคณะได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยประจำปี ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2552 ณ โรงเรียนจ่าการบุญพิษณุโลก    ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการบริการวิชาการและวิจัย  ส่งเสริมให้มีผลงานศึกษาวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ หรือการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจาก การบูรณาการงาน บริการวิชาการแก่สังคมของคณาจารย์และนิสิตคณะสหเวชศาสตร์    4.1.6 (1)

      คณะสหเวชศาสตร์อาศัยการให้ทุน IPUS (Industrial Projects for Undergraduate Students) ของ สกว.  เป็นระบบของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประกอบการเสนอขอรับทุนผ่านคณะไปยัง สกว.  ทั้งนี้หน่วยสนับสนุนงานวิจัยของคณะถือเป็นกลไกเชื่อมความร่วมมือนี้  4.1.6 (2)  และผู้ประกอบการได้ให้เกียรติมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมการรายงานความก้าวหน้าของการได้รับทุน IPUS ที่คณะสหเวชศาสตร์จัดขึ้น  4.1.6 (3)

     นอกจากนี้คณะยังได้มีการจัดทำเอกสารรายนามขององค์กรภายนอกทั้งภาครัฐเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่เคยประสานงานกับคณะไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานหรือทำความร่วมมือด้านการวิจัย

      คณะสหเวชศาสตร์ได้ทำความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์จัดตั้งศูนย์วิจัยสัญญาณชีวภาพและเครื่องมือทางการแพทย์ และอาศัยการจัดกิจกรรมJournal Club เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณาจารย์ทั้ง 2 คณะในการดำเนินงานของศูนย์ฯดังกล่าว 4.1.6 (4) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยสัญญาณชีวภาพและเครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย  4.1.6 (5)  4.1.6(6)


 
       คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านสุขภาพกับชุมชนโดยมีการเชิญผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้ชุมชน และได้มีงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 4.1.6(7)

4.1.6(1) บันทึกของคุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยประจำปี


4.1.6(2) โครงการวิจัยที่ได้รับทุน IPUS ประจำปีการศึกษา 2551


4.1.6(3) กิจกรรรมรายงานความก้าวหน้า IPUS


4.1.6(4) บันทึกของคุณสิริภัสณ์  ศิระนุภาพ “กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 3 /2551”

 

 

4.1.6(6) โครงการวิจัยเรื่องระบบแขนกลเพื่อการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (ดร.อรอุมา บุณยารมย์)

4.1.6 (7) โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาภาวะกระดูกพรุนในเพศชายวัยผู้ใหญ่ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยใช้ค่าความหนาแน่นกระดูก สารชีวเคมีในเลือดและสารบ่งชี้ภาวะกระดูก (อ.ศุภวิทู สุขเพ็ง)

4.1.6(5) โครงการวิจัยเรื่อง เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดตีบส่วนปลายแบบไม่รุกล้ำ  (อ.ปิยะนุช ฐิติวุฒิเกียรติ)


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3 3 3

การบรรลุเป้าหมาย  (1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)    
การมีพัฒนาการ     (1 = มี , 0 = ไม่มี)

การบรรลุเป้าหมาย :

 เพราะคณะกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 : มีการพัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  ไว้ที่ 6 ข้อ ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (หลักฐานค่าเป้าหมายตามแผน)    
พัฒนาการ  เพราะปีที่แล้วคณะได้ผลประเมินของตัวบ่งชี้ที่ 4.1 = 3  (หลักฐานผลประเมินรอบปีการศึกษา 50) 

 

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ตัวบ่งชี้ที่4-1-51
หมายเลขบันทึก: 261077เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล

ผลการประเมินตรวจสอบ

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป

3 3

ข้อเสนอแนะ:

มีกระบวนการและกลไกที่ชัดเจน ขอเสนอว่าในรายละเอียดงานวิจัยควรจะแยกให้เห็นชัดเจนระหว่างสายวิชาการและสายบริการ นอกจากนี้ด้านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยในระดับประเทศดีแล้ว ควรสร้างกลไกการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างงานวิจัยกับต่างประเทศแก่คณาจารย์เพื่อนำชื่อเสียงของคณะสู่สากลด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท