"ทางลัด" "แมว" และ "AI"


Double-loop Learning

ลูกพึ่งย้ายโรงเรียนครับ สาวน้อยของผมย้ายไปเรียนป. 1 ในเมือง

 

สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงกับพ่อแม่ ที่แต่ก่อน..นอนจนอืด..ตื่นสายเป็นประจำ...เพราะโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน

 

ปู่ย่าถึงกับบอกว่า..อย่าย้ายเลย..เดี๋ยวไปไม่ทัน...จะจัดการชีวิตได้เหรอ...

 

ในที่สุดเราก็ย้ายครับ...โรงเรียนนี้ห่างจากบ้านไปหลายกิโล..ต้องผ่านถนนหลายสาย..ซึ่งจอแจ..เราไม่กลัวหรอก...เพราะแถวบ้านมีคนไปแถวนั้นประจำ...เขาคือน้องเรา.แฟนเขาทำงานอยู่ตรงข้ามโรงเรียนสาวน้อยของผมนั่นเอง...เลยไปถาม..ไปโรงเรียนลูกสาวพี่ นี่ไปเส้นทางไหนดี....น้องบอกว่า.."พี่ๆ ไปทางนี้นะพี่..สรุปไปทางลัด..มันจะไม่ติดนะพี่..พี่ต้องอ้อมไปทางนั้น...อย่าไปทางตรง...เชื่อผมเฮอะพี่..ผมไปรับส่งแฟนมาหลายปีแล้ว..ผมใช้ทางนี้ประจำ..."

 

ครับ..ไม่กลัวแระ..ไปตามเส้นทางที่น้องบอก..รับรองไปทันแน่นอน...รับส่งแฟนกันมาหลายปีนี่....

 

จะว่าไปถ้าเราไม่เชื่อ Expert เราจะไปเชื่อ แมว..ที่ไหน

 

.........................................................................

เปิดเทอม..มาซักพักหนึ่ง..ลองไปตามเส้นทางที่น้องเขาว่า..เออ..ติดหน่อยนะ..มีผ่านโรงเรียนด้วย....แต่วันนั้นติดเยอะ..เพราะทางมันแคบ....

 

แต่เราก็ไปทัน ลูกไม่สาย เสียเวลามากกว่าเดิมก็จริง..แต่จะเอายังไงล่ะ..นี่คือหนทางที่ดีที่สุดแระ....

..................................................................................................................

วันนั้น..นั่งคิดใคร่ครวญ..ระหว่างรถติด..รู้สึกว่า..ไอ้ทางตรงนี่น่าจะเร็วกว่า...นะ...เพราะทางลัด..ดูเร็วจริง..แต่สายๆมักติด..จากทางแคบๆที่รถทุกคันในเมือง...หนีทางตรงมา..เป็นไปได้ไหม..ไอ้ทางตรงที่น้องว่า..ช้า..จริงๆอาจเร็วกว่า...ปู่ย่า (ที่อยู่ต่างจังหวัด) ที่เคยไปก็บอกว่าดูมาหลายทางแล้ว..ทางตรงนี่แหละดีสุด....

...................................................................................

ในที่สุด..เราหันกลับมาทางตรงครับ...สองสัปดาห์ผ่านไป...เราลองไปทางตรงที่ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าช้า..กลับเร็วกว่าครับ..เพราะมันติดจริง แต่ชอบเปิดไฟเขียวนาน...พร้อมกัน..ทำให้วิ่งทะลุไปเร็วมาก..ตลอดสองสัปดาห์ถึงที่ทำงานเร็วกว่าทางลัดโดยเฉลี่ย 15 นาที.....

................................................................................................................

คุณคงถามผมว่า..ผมกำลังจะบอกอะไรครับ..ผมกำลังโยงมาถึงเรื่อง Single-Loop Learning กับ Double-Loop Learning ครับ ซึ่งเป็นหัวใจของ Learning Organization…..

………………………………….

ตอนแรก..ผมก็ทำตามผู้เชี่ยวชาญ...และงานวิจัยที่ทำไว้ดีแล้ว..ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่...นี่เราเรียกว่า Single-loop Learning ประมาณว่าเดินตาม..สิ่งที่เขาบอกว่าดีอยู่แล้ว...ไม่เสียหายอะไรที่จะทำตาม...ผู้เชี่ยวชาญนี่...”

.............................................................................................

แต่มาวันหนึ่ง ถ้าคุณเริ่มต้นตั้งคำถามว่า “...มีอะไรดีกว่านี้ไหม...” นี่แหละครับคุณกำลังเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “Double-Loop Learning”

 

จากการตั้งคำถาม..ทำให้ผมค้นพบเส้นทาง...ที่ต่างจากที่ผู้เชี่ยวชาญว่าไว้ครับ...

....................................................................................

ย้อนกลับมาที่ Appreciative Inquiry….ถ้าคุณทำตาม..ที่คุณเรียนมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา...เรียกว่าคุณทำแบบ Single-loop Learning ครับ

...เผลอๆ อาจไม่ได้อะไรครับ...คุณอาจเจอทางลัด..ที่ไม่ลัดจริง...ที่น่าสงสารสุด..คือหลงทาง..แล้วคิดว่ามาถูกทาง...

แต่ถ้าคุณเริ่มถามว่า AI แบบไหน work ทำ Discovery แบบไหน work ไม่ work ทำ Dream, Design, Destiny แบบไหน work ไม่ work ..อันนี้แหละครับ..อาจทำให้คุณเจอทางลัด...ที่เป็นทางจริง...

 ................................................................................

Appreciative Inquiry แบบ Double-Loop Learning ดีกว่า....ครับ...อย่าติดอยู่กับ Single-Loop learning นะครับ...ไม่งั้นคุณอาจทำสิ่งที่ไม่ใช่ AI อยู่ก็ได้..แต่คิดว่า..เป็น AI...หรือทำ AI เป็นแต่ไปไม่ถึงศักยภาพของมันจริงๆ...

.....................................................

คุณล่ะ..คิดยังไง

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#double-loop learning
หมายเลขบันทึก: 362310เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • หลายหน่วยงานจะมีที่ปรึกษา คอยให้คำแนะนำ พนักงานเลยคิดไม่เป็น เพราะทำตามที่ปรึกษาตลอด
  • ที่ปรึกษาบางท่านก็แปลกนะคะ ทำไม ไม่ให้เขาคิดเอง เหมือนที่อาจารย์แนะนำไว้บ้าง
  • --
  • ในชีวิตส่วนตัว ป้าแดงไม่ชอบทางลัดค่ะ แต่ชีวิตงาน ชอบทางลัดตามที่ปรึกษาบอก "ปลอดภัยดี" อิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับป้าแดง

ที่ป้าแดง..พูดนี่ครับ..เป็นปัญหาโลกแตก..ที่คนไม่ค่อยตระหนักครับ...

เราจึงกลายเป็นประเทศของคนบ้างาน..ทำงานมากแต่จน..ลง..

โดยเฉพาะ..เวลา...

ประเทศเราขนาดเท่าฝรั่งเศส..แต่คนของเขาหยุดได้ปีละ 53 วัน...

เป็หนึ่งในมหาอำนาจของโลก...

เราลาบวช.. 7 วัน..ยังแทบไม่ได้

ผมว่าเรามาหัดคนของเราให้คิดแบบ Double-loop เถอะครับ...

เอาตั้งแต่เด็กๆ...

ผมเริ่มรวมเข้ากับ IS, Thesis การสอนในห้องมาเทอมนึงแล้วครับ..เทอมหน้่้าจะทำให้ดีกว่าเดิม...

จะทำไปเรื่อยๆทั้งชีวิต....

สักวัน...ถ้าฝันเป็นจริง..เราจะได้ลาบวชกันสามเดือน..โดยไม่ต้องลาออก...

คนทำงานน้อย แต่ได้ผลมาก

ฝัน...ฝัน...

อาจารย์ครับ อ่านเรื่องนี้แล้วถูกใจครับ โดยเฉพาะในวงการศึกา

ในวงการศึกษา เรามักเห่อ "นวัตกรรม" ครับ มีนวัตกรรมใดเข้ามา เราก็หลงตามกันไป โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ไม่ต้องไปคิดอะไรใหม่เพิ่มเติม ให้ทำตามอย่างเคร่งครัด แล้วเราก็จะพัฒนาและก้าวหน้า

จนกว่า จะมีนวัตกรรมใหม่เข้ามา จึงค่อยเปลี่ยน และ ตามก้นนวัตกรรมใหม่ ไปอีก

โดยไม่ต้องคิดออกนอกกรอบนวัตกรรมด้วยตัวเอง

เป็นโรคติดนวัตกรรมครับ จึงดีที่สุด แค่นั้น

ไม่พบแนวทางใหม่ๆ หรือ ไม่คิดค้นเส้นทางใหม่ๆ ด้วยตัวเอง คิดว่า นวัตกรรม ดีที่สุดแล้ว

ทั้งๆที่ นวัตกรรมที่หลงเข้าไป อาจ ไม่ใช่ก็ได้

และ ที่ผ่านมาหลายครั้ง ก็พบว่า "ไม่ใช่" จริงๆ

จริงเลยครับ ท่านอาจารย์ Small Man เรียกรวมๆได้เลยว่าโรคติดนวัตกรรม ครับ

ผมว่าเป็นอะไรที่ต้องทบทวนกันมากๆนะครับ

ติดยังพอทน เสพติดแบบไม่ลืมหูลืมตา นี่ก็มีมากครับ

ขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์แวะมาครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมบันทึกการสนทนา

อันที่จริง ก่อนเขียนบันทึกนั้น ดิฉันชั่งใจอยู่ค่ะ ว่าสมควรเขียนหรือไม่ จะกลายเป็นอ้างชื่อพระคุณเจ้าเพื่อประโยชน์ตนหรือเปล่า แต่เมื่อสอบจิตดูอีกที พบว่าอาจมีบางท่านที่หาคำตอบเหมือนกับที่ดิฉันหา เมื่อดิฉันพบคำตอบแล้ว คงไม่ผิดที่จะเผื่อแผ่คำตอบออกไปค่ะ

ทุกอย่างอยู่ที่เจตนานะคะ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ..มาติดตามความรู้..แต่คนทำงานส่วนใหญ่ก็ยังติดกับสิ่งที่เรียนมา รู้มา กับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าทำอย่างนั้นดี อย่างนี้ดี ทำตามถึงแม้ไม่ค่อยคิดก็ยังดีกว่า ยึดติดกับสิ่งที่เรียนรู้มาจนแน่น..

ผมว่าเรามาหัดคนของเราให้คิดแบบ Double-loop เถอะครับ...

อาจารย์มีกลวิธีอย่างไรค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ภิญโญ

ชอบบทความนี้มากค่ะ นึกถึงตอนเรียนพยาบาลที่ต้องบันทึกกราฟการเจ็บครรภ์คลอด

อาจารย์ถามว่า : มนัสดาทำไมกราฟเธอเป็นแบบนี้ ทำไมระยะเจ็บ 3 นาทีจึงนานนัก

มนัสดา : นี่เป็นการเฝ้าคลอดตามจริงค่ะอาจารย์ ทฤษฎีมีไว้ให้อ้างอิง แต่ความจริงอาจไม่ใช่ทั้งหมด บางทีกฎอาจมีข้อยกเว้นค่ะ

จากท่าทีที่พร้อมจะซักไซร้จนถึงที่สุด อาจารย์มองหน้าดิฉันและยิ้มอย่างผ่อนคลาย "ครูเชื่อเธอ" ไปได้แล้ว...

ตอบคุณเจษฎา ผมจะเขียนต่อในตอนถัดไป

Dialogue, AAR, KM, AI และ Experiential Learning ครับ แูละลองเรียนรู้อะไรในหมวด Learning Organization ดูครับ

ตอบคุณยาย ที่คุณยายทำ คล้าย Experiential Learning ครับ ขอบคุณที่แวะมาให้ความเห็นทรงคุณค่าครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มีอะไรดีกว่านี้ไหม?

เป็นคำถามที่ชวนคิดให้พัฒางานนะค่ะ บางทีเราก็ทำเพราะเรียนรู้มาว่าต้องทำแบบนี้ ผู้เชี่ยวชาญเขาบอกมาอย่างนี้

ขอบคุณค่ะ

ตอบคุณถาวร เรียกว่ากาลามสูตรเลยครับ ประมาณนั้น

ตอบคุณณัฐรดา ขอบคุณที่แวะมาครัล ข้อเขียนของคุณสร้างแรงบันดาลใจเสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท