ห้องเรียน AI ตอน..."มองด้วยใจ..."


Appreciative Coaching

ในทฤษฎีที่เป็นรากฐานของ Appreciative Inquiry มีทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจคือ The Pygmalion Effect โดย Rosenthal and Jacobson (1968/1992) ทฤษฎีนี้เป็นการทดลอง คือ นักวิจัยลองให้ข้อมูลกับครูระดับประถม โดยบอกกับครูว่ามีเด็กบางคนฉลาดกว่าอีกบางคน..ปรากฏว่า..เมื่อเวลาผ่านไป เด็กที่ครูเชื่อว่าฉลาด มี IQ สูงกว่าเพื่อน (ซึ่งเดิมมี IQ เท่ากัน) จริงๆ...นักวิจัยคนพบว่า..ครู โดยผ่านจิตใต้สำนึก..จะขวนขวายค้นหาวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กฉลาด..ที่เขาคิดว่าฉลาด แถมยังอำนวยความสะดวกให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทำอะไรที่ฉลาดอีก...เด็กเลยฉลาดขึ้นจริงๆ

.......

เรื่องนี้หลายคนฟังแล้วอาจไม่เชื่อ..ไม่เห็นจะเป็นจริง...

แต่ผมอยากบอกคุณว่า ถ้าคุณนึกดีๆ คุณอาจเคยเจอปรากฏการณ์นี้กับตัวเองมาแล้ว..

ลองนึกดูสิครับ..เคยเจอใครที่เขาเชื่อคุณ เช่นเพื่อน พ่อ แม่ พี่ น้อง...ครูไหมครับ..

คุณจะเห็นว่า พออยู่กับคนที่เชื่อในตัวคุณอย่างไม่มีเงื่อนไข...คุณจะแสดงออกมากขึ้น..คุณจะพยายามช่วยคนอื่น ทำงานมากขึ้น...และเป็นที่มาของความฉลาดที่เพิ่มขึ้นในบางสถานการณ์ กับคนบางกลุ่ม

..

ในทางตรงข้าม..ลองนึกถึงสถานการณ์ เมื่อคุณต้องเจอกับคนที่คุณรู้สึกว่า..เขาเป็นคนแปลกหน้า ไม่ค่อยเชื่อคุณ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคุณ

..คุณมีแนวโน้มว่าจะสงวนท่าที...ทำนองว่าพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง..

คุณก็จะไม่ได้แสดงความสามารถอะไรออกมาง่ายๆ...เพราะไม่รู้จะทำไปทำไม

และถ้าที่ทำงาน เพื่อน คนรัก คนรอบตัวคุณแสดงท่าทีอย่างนี้ ก็ยากครับที่คุณจะได้ทำอะไรต่างออกไป...

ทำให้ในบางสถานการณ์ คุณอาจดูโง่ไปเลย...ไม่สามารถแสดงอะไรดีๆ มี Performance ดีๆ ได้...อย่างง่ายๆ..ถึงขั้นอยากไปเริ่มต้นใหม่ที่อื่น..ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย...

บอกว่าทำได้ไหม...ก็เรียกว่าดิ้นรน ค้นหาตนเอง..ถ้าไม่เข้มแข็งพอก็เสียจริต ติดแอลกอฮอล์ไปก็มี

......

ครับ ผมว่าเรื่องนี้มีมูลความจริง...มาเชื่อมั่น มาเห็นคุณค่า เห็นเรื่องดีๆ ในตัวคนอื่นกันเถอะครับ...เราจะได้คนที่ฉลาดขึ้นอีกจมเลยครับ..

..

ตอนนี้มีหนังสือเล่มใหม่ ที่พูดเรื่องนี้ไว้ดีมากๆ คือเล่มข้างล่างนี้ครับ..อ่านแล้วจะฝึกคุณเรื่องนี้เลยครับ...และเรื่องนี้เราไม่น่าจะแปลกแยกกับเรื่องนี้เท่าไหร่นัก ตามมุมมองของผม เรื่อง Pygmalion Effect เปรียบได้กับคือคำว่า มุฑิตาจิต ในศาสนาพุทธนั่นเอง...

คุณล่ะคิดอย่างไร...

หมายเลขบันทึก: 389825เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ.ครับ

     บ้านเรา เมืองเรา มีคนเก่งมากมายเลยนะครับ   แต่ความเก่งมักถูก "สกัด"  เพราะเราไม่ชอบให้ใคร "ได้ดี" ครับ

     เชื่อไหมครับว่า คุณครูบางคน ก็ไม่อยากให้นักเรียนเก่งครับ  เพราะจะเกินหน้าเกินตาครู

     ผู้บริหาร ก็ไม่อยากให้ลูกน้องเก่ง เพราะจะเกินหน้าเกินตา

     ผมว่าหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา  ก็น่าจะอยู่ที่การ "มองที่ใจ" นี่แหละครับ

     สำหรับผม ผมเชื่อครับว่าแต่ละคน มองอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น  และที่ผ่านมาก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ 

     แต่ที่เป็นอย่างนั้นจริงๆ มักจะมองในแง่ลบกันเสียมากครับ  ที่มองบวกมักไม่ค่อยจะมองกัน

      เด็กที่ครูบางคนบอก "ไม่ได้เรื่อง"  เขาก็ไม่ได้เรื่องจริงๆ   แต่ขณะเดียวกัน มีครูอีกคนเข้ามาเปลี่ยนมุมมองใหม่ เด็กคนนี้  พัฒนาขึ้นผิดหูผิดตาครับ  นี่เป็นเรื่องจริง

     ที่สำคัญ  ต้องมองตัวเองด้วยครับ   มองตัวเองอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

                         ขอบคุณบันทึกดีๆครับ

เข้ามาอีกรอบครับ

   หนังสือเล่มนี้ ผมอ่านแล้วครับ  รู้ว่าดีมากแต่อ่านแล้ว ลืมแล้ว  จะหยิบมาอ่านทบทวนใหม่ครับ

สวัสดีครับท่านอจารย์ Small Man

ผมจะกลับไปอ่านอีกรอบครับ...เป็นอะไรที่ผมขอแนะนำมากๆครับ...

และเป็นเรื่องจริงครับ..

ถ้าเราคนไทยสัก 1 ล้านคน เห็นคุณค่า เชื่อมั่นคน (ต่อคน 20 คน) จะมีคนที่มีคุณค่ามากขึ้น 20 ล้านคน...แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศบ้าง น่าคิดนะครับ...

ขอบคุณท่านอาจารย์มากที่กรุณาให้ความรู้ และจุดประกายให้ผมอยู่บ่อยๆนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผมเชื่อแนวคิดของอ.ภิญโญที่เชื่อมั่นว่าคนเป็นเวไนยสัตว์ บางทีครูที่เราเรียกteacherอาจต้องพลิกแพลงวิธีการเรียนการสอน ไปเป็น Facilitator หรือ Coacher อาจจะเกิดประสิทธิผลมากขึ้นครับ ผมชอบ Coacher มากที่สุดเพราะดูเป็นการสอนที่บริสุทธและเจตนาให้ลูกศิษย์ไปให้สูงสุดแม้จะไปให้ได้สูงกว่าที่ Coacher เคยเป็นมาครับ

ได้ความรู้ใหม่ ๆ จากท่านอาจารย์อีกแล้วครับ

สวัสดีครับคุณลุงตุ๋ยครับ

ผมว่าแนวคิด Coacher นี้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากๆครับ...

จะว่าไปแล้วผมเคยได้ยินแนวคิดที่สนับสนุนแนวคิดคุณลุงคือ

"ศาสตราจารย์ที่ดี คือศาสตราจารย์ที่มีลูกศิษย์เป็นศาสตราจารย์ครับ"

ขอบพระคุณคุณลุงสำหรับข้อคิด ที่ทำให้เกิดการจุดประกายต่อได้เรื่อยๆครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

อ.โย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท