เหมือง ฝาย เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไต


เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไต

ชาวไตในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้อพยพโยกย้ายมาจากรัฐฉาน เข้ามาสู่พื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่อดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อน เนื่องจากการแสวงหาที่ทำกิน การหลบหลี้ภัยสงครามและการค้าไม้ กลุ่มชนเหล่านี้มักเลือกทำเลที่ราบลุ่มนำที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อทำเกษตรกรรมเป็นทำเลสร้างชุมชน แล้วขยายตัวออกไปเป็นกลุ่มบ้าน หย่อมบ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอปายซึ่งมีลุ่มนำปาย อำเภอปางมะผ้าอาศัยลุ่มนำลาง ลุ่มนำของ อำเภอเมืองอาศัยลุ่มนำปาย นำแม่สะงา นำแม่สะงี นำสอย นำแม่สะมาด นำแม่จ๋า และอำเภอขุนยวมอาศัยลุ่มนำยวม นำปอน แม่นำเหล่านี้คอยหล่อเลี้ยงพืชผลทางการเกษตร ผู้คนเหล่านั้นก็ได้นำเอาเทคโนโลยีชาวบ้านที่สั่งสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มาจัดการวิถีการดำเนินชีวิตของตนเองและชุมชนเพื่อความอยู่รอด ให้มีกินมีใช้ ไม่อดอยาก นั่นก็คือภูมิปัญญาแบบชาวบ้านที่เรียกว่า การทำเหมืองฝาย รวมทั้งการจัดการเหมืองฝาย

เหมืองฝาย จึงเป็นภูมืปัญญาของกลุ่มชนในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ พบทั้งวิถีการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ชาวไต และชาวเขาเผ่าต่างๆ หากแต่ว่าเหมืองฝายและการจัดการเหมืองฝายนั้นฝังแน่นอยู่ในวิถีชีวิตของชาวไตที่มีอาชีพทางเกษตรกรรมโดยแท้ ในวิถีชีวิตของชาวไต เหมืองฝายและการจัดการเหมืองฝาย มีรูปแบบเฉพาะตัวที่ฝังลึกอยู่ในวิถีชุมชนอย่างแนบแน่น มีรูปแบบและกระบวนการจัดการเฉพาะที่ต่างกับชุมชนอื่น ดังนี้

คำว่า เหมืองฝาย เป็นคำเรียกรวมกัน มาจากคำว่า เหมือง ซึ่งหมายถึงลำเหมืองหรือร่องนำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นทางนำไหล ชาวไตเรียกว่า "ฮ่อง" และคำว่าฝาย ซึ่งหมายถึงที่กั้นนำเพื่อทดนำเข้าสู่ลำเหมือง คำสองคำนี้คู่กัน เมื่อมีลำเหมืองก็ต้องมีฝายจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เมื่อกล่าวถึงฝาย ฝายในภูมิปัญญาไตมี 3 ประเภทด้วยกันคือ

ประเภทที่ ๑ เรียกว่า ฝายม้า เป็นการเรียกตามลักษณะการสร้างฝายที่ต้องใช้ม้าเป็นตัวคำยัน ซึ่งหมายถึงขาคำยันสามขาเป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างฝาย และม้าในภูมิปัญญาไตก็มี 2 รูปแบบ รูปแบบที่หนึ่งเรียกว่า ม้าหัวควาย ทำจากไม้ลำเขื่อง ใหญ่ เล็กขึ้นอยู่กับความแรงและความลึกของนำ ใช้ไม้ท่อนสั้นสองท่อนขนาดเท่ากันสูงพอโผล่พ้นนำสักสองศอก และไม้ท่อนยาวหนึ่งท่อนทำหน้าที่เป็นหางม้า เรียกว่า "หางแลน" โดยการนำไม้ท่อนสั้นเจาะรูด้านหัวท่อนหนึ่ง อีกท่อนหนึ่งถากด้านหัวให้เป็นลิ่มสอดเข้าไปในไม้ท่อนแรก เมื่อทำการสอดแล้วจะมีลักษณะคล้ายเขาควาย ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า "ม้าหัวควาย" กางขาไม้ทั้งสองท่อนออกพอคำยันได้ แล้วนำไม้ท่อนสั้นตีประกบที่คอไม้ทั้งสองท่อนเพื่อยึดไว้ให้แน่นหนา จะเกิดช่องสามเหลี่ยมพอสอดหางม้าหรือหางแลนได้ แล้วช่วยกันหามลงไปตั้งไว้ในนำทำเลที่จะสร้างฝาย ใช้ไม้ท่อนยาวที่เรียกว่าหางแลนสอดเข้าที่มุมสามเหลี่ยมระหว่างหัวม้า ให้ปลายไม้ชี้ยาวลงไปตามลำนำเพื่อทำหน้าที่คำยัน ก็จะได้ม้าหนึ่งตัวยันสามขาอยู่กลางนำ หลังจากนั้นก็ทำม้าอีกหลายๆตัววางเรียงต่อๆกันไปจนเต็มลำนำ รูปแบบที่สองเรียกว่า "ม้าสามสุม" ซึ่งสร้างง่ายกว่าม้าหัวควาย แต่ความคงทนแข็งแรงน้อยกว่า วิธีทำก็ไปตัดไม้ขนาดพอเหมาะให้มีง่ามด้านปลาย 3 ต้น นำมาสุมกันเป็นสามขากลางนำโดยใช้ง่ามสอดขัดกัน หลังจากนั้นใช้ไม้ลำเล็กผูกยึดโยงในลักษณะสามเหลี่ยมที่คอไม้ตำกว่าง่ามสอดประมาณหนึ่งศอก แล้วใช้ไม้ลำเล็กปูด้านบนสามเหลี่ยมใช้ตอกผูกยึดแบบไขว้ ชาวไตเรียกว่า "มัดไขว่ขาเป๋"ให้แน่นหนา แล้วนำหินก้อนใหญ่มาวางบนไม้ที่ปูเพื่อถ่วงนำหนักให้ม้ามั่นคง ม้าชนิดนี้นิยมทำเป็นฝายชั่วคราว เช่นฝายดักปลาที่ชาวไตเรียกว่า "ค้างปลา"

ไม่ว่าจะเป็นม้าหัวควาย หรือม้าสามสุม ต่างก็ทำหน้าที่คำยันวัสดุที่จะทำเป็นฝาย ซึ่งเมื่อทำการตั้งม้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะใช้ท่อนซุงขนาดใหญ่ เล็ก ตามความต้องการ ชาวไตเรียกว่า "มอง" วางปูไปที่ขาม้าด้านบนเรียงกันจนเต็มลำนำ อาจจะปูมองถึงสองชั้นสามชั้นขึ้นอยู่กับความแรงและความต้องการนำ หลังจากนั้น หลังจากนั้นก็ใช้ไม้ไผ่สานปูขวางลำนำแบบตั้งโดยอาศัยการคำยันของม้า แล้วนำกิ่งไม้ ใบไม้มาปูด้านบนอีกครั้งหนึ่งเพื่อทดนำหน้าฝายให้สูงขึ้น บางครั้งอาจมีการนำหินมาทิ้งลงที่หน้าฝายเพื่อความแข็งแรง ฝายม้านิยมสร้างในลำนำขนาดกลาง เช่น ลำนำแม่สะงา ที่ชาวบ้านเรียกว่า ฝายปางหมูและฝายตึงยาวนั่นเอง

ประเภทที่ ๒ เรียกว่าฝายคอกหมู ฝายชนืดนี้มักสร้างในลำนำที่ใหญ่และมีความแรงขแงนำสูง เช่น ลำนำปาย เป็นฝายที่ใช้ไม้ซุงยาวประมาณ 4 คูณ 6 ศอกประกบกันในลักษณะคอกหมู ยึดหัวมุมด้วยลิ่มที่แข็งแรง ทำหลายๆคอกแล้วช่วยกันหามลงไปวางขวางไว้ในลำนำบริเวณที่จะสร้างฝาย วางเรียงต่อๆกันจนเต็มลำนำ หลังจากนั้นก็นำไปวางทับซ้อนกันให้สูงขึ้น โดยใช้สว่านเจาะรูยึดคอกไว้ด้วยลิ่มเหล็กให้ติดกันอย่างมั่นคง ต่อจากนั้นก็นำหินมาถ่วงื้งลงตรงกลางคอกเพื่อความแข็งแรง ปีแรกอาจสร้างเพียงแถวเดียว ปีต่อไปก็สร้างเพิ่มอีกหนึ่งแถวหรือสองแถวด้านบน จนกว่าจะมั่นใจในความแข็งแรง ฝายคอกหมูจะทำหน้าที่ทดนำให้เอ่อสูงขึ้น การสร้างจะวางทับซ้อนให้จมห่างผิวนำประมาณหนึ่งศอก เช่น ฝายทุ่งนาไม้ขี้บ้านปางหมู เป็นต้น

ประเภทที่ ๓ เรียกว่า ฝายหัวล้าน นิยมสร้างในลำนำเล็กๆเช่น ลำนำสอย ลำนำแม่สะงี สร้างเป็นฝายส่วนตัว หรือเจ้าของนากลุ่มเล็กๆช่วยกันสร้าง ฝายชนิดนี้ทำจากไม้ซุง (มอง) โดยเจาะรูด้านหัวท้าย และตรงกลางนำไปวางขวางลำนำ ใช้ลิ่มไม้ขนาดใหญ่ (หลักหลอ)ตอกยึดกับพื้นนำ ปูขึ้นด้านบนหลายๆแถว อาจถึงแปดแถวเพื่อความแข็งแรง ตอกยึดด้วยหลักหลอเรียงรายไปหมด แล้วนำหินมาถ่วงทิ้งให้มั่นคงแข็งแรง

ฝายทุกชนิดนิยมสร้างในหน้าแล้ง เพราะนำน้อย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีการขุดลำเหมืองจากหัวฝายด้านใดด้านหนึ่งไปสู่ที่นา ที่ทำกิน เป็นลำเหมืองขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้นำ ลำเหมืองเหล่านี้จะทิ้งนำกลับคืนสู่ลำนำในด้านใต้ เป็นการผันนำผ่านที่ทำกินเท่านั้นเอง

การจัดการเหมืองฝาย เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเหมืองฝายเป็นสมบัติของส่วนรวม เป็นสมบัติเจ้าของที่นาที่ร่วมกันสร้าง ผู้เป็นเจ้าของจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนที่นา ผมเติบโตมาในบ้านปางหมู ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน 7 กิโลเมตร บรรพบุรุษมีที่นาอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน อาศัยนำแม่สะงามาหล่อเลี้ยงพืชผลเรียกว่า นาตกปาย มีเหมืองฝายที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานหลายชั่วอายุคน ชาวบ้านเรียกว่าฝายปางหมู ในอดีตเป็นฝายม้าเพราะนำลีกแต่ไม่เชี่ยวมาก ปัจจุบันนำตื้นเขินจึงกลับกลายมาเป็นฝายหัวล้านประจวบกับฝายเดิมถูกนำท่วมทำลายลงเมื่อปี 2516 คราวนำท่วใหญ่ ปัจจุบันมีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ มีลำเหมืองขนาดใหญ่กว้างประมาณเมตรครึ่งคอยลำเลียงส่งผ่านนำไปเลี้ยงพืชผลยังทุ่งนาตกปายที่มีเจ้านาเกือบร้อยเจ้า ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเฉยงเหนือของหมู่บ้านก็มีฝายนาปายโก๊ง เป็นสมบัติของเจ้าของที่นา 20กว่าราย ด้านเหนือขึ้นไปก็มีเหมืองฝายทุ่งนาไม้ขี้ เป็นสมบัติเจ้าของที่นา 7 รายที่ร่วมกันสร้างด้วยความยากลำบากโดยใช้เวลาร่วมสองเดือน

ทั้งนาปายโก๊ง และทุ่งนาไม้ขี้ ต่างก็มีการจัดการเหมืองฝายเป็นกลุ่มเล็กๆมีการคัดเลือกหัวหน้าที่ทำหน้าที่ เก่ฮ่อง กลุ่มละหนึ่งคน ไม่หวือหวาเหมือนนาตกปาย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการกลุ่มใหญ่เกือบร้อยเจ้า

ในสมัยที่ผมยังเป็นหนุ่มน้อย กลุ่มนาตกปายมีลุงอิ่งต๊ะเป็นเก่ฮ่อง แกมีอุปกรณ์ประจำตัวสองอย่างคือ ฆ้องใบเล็กสำหรับตีให้สัญญาณในการระดมสรรพกำลัง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมเหมืองฝาย การเรียกประชุมเพื่อขอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆ กับสมุดบัญชีรายชื่อเจ้าของที่นาที่ตนทำหน้าที่ปกครองดูแล มีการบันทึกเป็นภาษาไทยใหญ่เนื่องจากลุงอิ่งต๊ะไม่ได้เรียนหนังสือไทย แต่เรียนรู้ภาษาต และยังทำหน้าที่จเรฮอลีก (อ่านหนังสือธรรมะไทยใหญ่) ประจำหมู่บ้านปางหมูอีกด้วย

เนื่องจากคุณพ่อมีที่นา 3 แปลง เมื่อเสียงฆ้องดังขึ้น มอง มอง มอง ด้วยการตีแบบยาวเป็นจังหวะ เสียงดังแหลมมาจากด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้านในตอนเย็น นั่นคือเสียงฆ้องของลุงอิ่งต๊ะ เก่ฮ่องนาตกปาย พ่อก็ต้องเดือดร้อนทุกที เพราะนั่นแสดงว่ามีการระดมพลเพื่อการเหมืองการฝายแน่นอน อาจมีการซ่อมแซมเหมืองฝายเพื่อรองรับฤดูทำนา เนื่องจากสมัยก่อนมีการทำนาสองครั้งทั้งนาปีและนาปรัง นาปีเรียกว่า "นาข้าวโหลง" นาปรังเรียกว่า "นาข้าวเจ๊า" เมื่อพ่อมีที่นา 3 แปลง แรงงานที่จะต้องไปลงแขกกับกลุ่มก็ต้องเป็นสามคน บางครั้งพ่อต้องสอนหนังสือ หรือมีธุระด้านอื่นก็จะมอบหมายให้พี่ชายไปเหมืองฝาย รวมทั้งผมด้วยถ้าตรงกับวันหยุด ที่เหลืออีกหนึ่งคนพ่อก็จะจ่ายเป็นเงินชดเชยป สมัยนั้นค่าชดเชยการขาดเหมืองฝายเท่ากับค่าแรงคือวันละ 5 บาท ลุงอิ่งต๊ะก็ใจดีอนุญาตให้ผมเข้าร่วมทำงานกับผู้ใหญ่ได้ เพราะมีงานสำหรับแรงงานอายุน้อยรออยู่แล้ว นั่นก็คือการพายเรือขนหิน ขนกิ่งไม้ที่ผู้ใหญ่เตรียมไว้ให้ในกรณีที่ซ่อมแซมฝาย และขนดินในกรณีที่ซ่อมแซมเหมือง เด็กทำงานเร็วไม่รู้จักเหนื่อยไม่มีมายาสาไถย ไม่เอาเปรียบใคร ต่างกับผู้ใหญ่บางคนที่ชอบกินแรงเด็กแล้วนำผลงานไปเป็นประโยขน์ของตัวเองซึ่งมีให้เห็นอยู่ในสังคมนี้อยู่เป็นประจำ ในช่วงพักผมมักขอร้องให้ลุงอิ่งต๊ะเฮดกวามไตทำนองล่องคงให้ฟัง เพราะชอบมาก เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวันผู้ใหญ่บางคนที่จับปลาได้ในขณะทำงานก็จะก่อไฟปิ้งปลาทำนำพริกน้อกถั่วเน่าจิ้มผักกูดสดที่เก็บเอาแถวนั้น การกินข้าวกินด้วยกันเป็นกลุ่มๆอยู่กลางลานดิน มีใบไม้ปูรองพื้นหยาบๆอยู่ที่ย่านหัวฝายนั่นเอง โดยมีเงาจากต้นมะเดื่อใหญ่คแยปิดบังแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ในหน้าแล้ง

เวลาผ่านไปหลายปี นับแต่ช่วงสมัยนั้นจนถึงปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนไป ลุงอิ่งต๊ะซึ่งมีนาผืนเล็กๆทำหน้าที่เก่ฮ่องได้รับสินนำใจค่าตอบแทนเป็นข้าวเปลือกจากเจ้าของที่นาคนละเล็กละน้อย ซึ่งต่างก็เต็มใจหยิบยื่นให้ อย่างน้อยเมื่อนำมารวมกันแล้วก็เพียงพอสำหรับการยังชีพในครอบครัวตลอดหนึ่งปี ปัจจุบันลุงอิ่งต๊ะละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว "ส่างเลา" เป็นผู้ถูกคัดเลือกจากกลุ่มให้ทำหน้าที่เก่ฮ่องแทนลุงอิ่งต๊ะจนถึงปัจจุบัน การซ่อมแซมเหมืองฝายมีการจัดการโดยใช้เทคโนโลยี วิทยาการและการจัดการสมัยใหม่เข้าทาแทนที่ เช่น สร้างเป็นฝายนำล้น ท้องถิ่นออกงบประมาณสำหรับขุดลอกลำเหมือง และเสริมลำเหมืองด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จ้างเหมารถสิบล้อขนหินทิ้งหน้าฝาย ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา บทบาทของผู้คนในสังคมแบบเอื้ออาทรจึงลดน้อยลง คุณค่าความรักความสามัคคีเริ่มจางหาย แต่เหมืองฝายก็ยังอยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวปางหมู เพียงแต่คุณค่าดังกล่าวคงเหลือเพียงเหมืองฝายเพื่อความอยู่รอด มากกว่าเป็นเหมืองฝายเพื่อชีวิตและสังคมเช่นอดีต ที่ไม่อาจเรียกให้หานคืนกลับมาได้อีก

หมายเหตุ

เก่ฮ่อง   หมายถึง หัวหน้ากลุ่มที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเหมืองฝาย

มอง   หมายถึง ท่อนซุงสำหรับขวางกั้นลำนำ

ม้า   หมายถึง   หลักสามขาสำหรับตั้งคำยันไว้ในนำ

อาจารย์เก

 

หมายเลขบันทึก: 168786เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไหว้สาอาจารย์เก.....ครับ

แว่มาแอ่วหาครับเลยเตื่อมแถ้งแถมหน้อยว่า..

เก่ฮ่อง  ทางล้านนาเรียกว่า   แก่ฝายครับ

ลูกจะเข้  เป็นการนำเอาหินก้อนใหญ่ใส่ในซองไม้ไผ่ขวางลำน้ำคล้ายๆกับ   "มอง" ของพี่น้องชาวไตครับ..

คนที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเหมืองฝายล้านนาเรียกว่า   ล่ามฝาย...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน......พรหมมา

ขอบพระคุณพ่ออาจารย์ ที่เติมเต็มให้ผม ผมช่วยผอ. ประสิทธิ์ จันทร์ดา เขียนลงในสยามรัฐรายสัปดาห์ครับ ตอนต่อไปจะเขียนเรื่อง "การเลี้ยงฝาย" (เลี้ยงผี) ชาวไตเขาทำอย่างไร พ่ออาจารย์ช่วยตืดตามและเปรียบเทียบกัลทางล้านนาบ้างนะครับ ผมจะนำมาลงในบล็อคของเราด้วย

ด้วยความเคารพ

อาจารย์เก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท