ลาวโซ่ง


ชาวไทยด้วยกัน

 

 

 

 

ลาวโซ่งหรือผู้ไทย เป็นชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกกันต่าง ๆ นานาว่าไทยดำ ผู้ไทดำ ไทซงดำ ผู้ไทซงดำ ผู้ไททรงดำ ลาวทรงดำ ลาวซ่วง ลาวซ่วงดำ ลาวโซ่ง ไทโซ่ง อันมีข้อสันนิษฐานว่า ที่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อนั้นก็เนื่องมาจากคำว่า "โซ่ง ซ่วง หรือส้วง" ในภาษาลาวโซ่งแปลว่ากางเกง คำว่าลาวโซ่งหรือลาวซ่วง จึงหมายถึงลาวนุ่งกางเกง หรือหมายถึงผู้ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดำนั้นเอง และมีประวัติเล่าสืบทอดกันว่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ต่อมาได้อพยพย้ายจากถิ่นฐานเดิมลงมา สู่ดินแดนทางตอนใต้ กับตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมา และกระจายกันอยู่บริเวณมณทลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไทย โดยมีเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู เป็นศูนย์กลางการปกครองตนเองอย่างอิสระ ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจาย กันอยู่ในที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก (พนิดา เย็นสมุทร ๒๕๒๔:๒๕-๒๗)

 

ลาวโซ่งหรือผู้ไทดำ ได้อพยพลงมาจากถิ่นฐานเดิม คือ แถบบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย และเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวคือการอพยพครั้งแรกได้เริ่มขึ้นราว พ.ศ.๒๓๒๒ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯให้ยกกองทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมด้วยนำครอบครัวลาวโซ่งในเขตเมืองญวนลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก และโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก เนื่องจากเมืองเพชรบุรี มีภูมิประเทศเป็นป่าเขามากมาย และภูมิประเทศคล้ายกับบ้านเมืองเดิม คือ เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทย ต่อจากนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการนำครอบครัวลาวโซ่ง จากเมืองแถงลงมาถวายที่กรุงเทพฯ อีกหลายครั้งได้แก่ รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่งเข้ามากรุงเทพฯ เป็นรุ่นสุดท้ายในราว พ.ศ.๒๔๓๐

 

 

ทุกครั้งที่อพยพครอบครัวลาวโซ่งต่างก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีอีกเช่นกัน แต่ต่อมาบรรดาลาวโซ่งเหล่านี้ได้กระจายกันอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกลาวโซ่งรุ่นเก่า มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกลับไปยังถิ่นฐานเดิมของตนที่เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทยอีกครั้ง จึงพยายามเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปทางเหนือเรื่อยไป ครั้นถึงฤดูฝนก็หยุดพักทำนาเพื่อหาเสบียงไว้เดินทางจนสิ้นฤดูฝนจึงเดินทางต่อไป กระทั่งบรรดาคนแก่ซึ่งเป็นผู้นำทางได้ตายจากไปในระหว่างการเดินทาง บรรดาลูกหลานก็ไม่สามารถเดินทางต่อไปให้ถึงที่หมายได้ จึงพากันตั้งหลักแหล่งไปตามระยะทางเป็นแห่ง ๆ ไป ทำให้มีกลุ่มลาวโซ่งกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งได้แก่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร เลย รวมทั้งลาวโซ่งที่กระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพรและสุราษฏร์ธานีเป็นต้น

 

สำหรับชาวลาวโซ่งในจังหวัดสมุทรสาครนั้นพบว่า มีชาวลาวโซ่งได้เข้ามาตั้งรกรากและกระจายกันอยู่เฉพาะในบริเวณตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว เพียงแห่งเดียวเท่านั้นด้วยมีหลักฐาน จากการสืบค้นด้านการติดต่อ และความสัมพันธ์ของบรรพบุรุษ และจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชาวลาวโซ่ง ทำให้ได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของลาวโซ่งได้ว่า บรรพบุรุษของพวกตนแยกย้ายมาจากจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเสาะหาแหล่งทำมาหากินแห่งใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ และได้พากันตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แต่จนทุกวันนี้และในปัจจุบันก็ยังคงติดต่อไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ระหว่างญาติพี่น้องกลุ่มลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี

************************************************************************

สมัยเป็นเด็ก ผมจำได้ทางบ้านได้ติดต่อค้าขายกับพี่น้องลาวโซ่ง พี่น้องลาวโซ่งจะนุ่งผ้าใส่เสื้อดำลายขาวดังภาพที่ปรากฎข้างบนนี้ แล้วเกล้าผมมวยดูงดงามธรรมชาติมาก เวลามาตลอดก็สวมใส่ชุดดังกล่าว เหมือนกันกับที่เราเห็นชาวเขาแม้วสวมใส่ขุดชาวเขาเข้ามายังตัวเมืองในภาคเหนือ

ผมอยากให้รักษาเอกลักษณ์ประเพณีและวัฒณธรรมของชนเผ่าไทยกลุ่มต่างๆให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป

ท่านละครับในชุมชนรอบบ้านในท้องถิ่นของท่าน ยังมีเอกลักษณ์ของชนเผ่าไทยกลุ่มต่างๆ เห็นเป็นชีวิตประจำวันหรือไม่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #คนไทย
หมายเลขบันทึก: 248180เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

เพิ่งเคยได้ยินนี่แหล่ะ ให้ความรู้ดีมากเลยค่ะ

ดีมากครับที่นำเรื่องนี้ขึ้นมาเสนอเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมของคนไทยชนเผ่าต่างๆ
เป็นการอนุลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรแก่การถนอมรักษาไว้

แถวบ้านผมที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
ไทยทรงดำยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีได้ดีอย่างเหนียวแน่นครับ

1.ขอบคุณ sudarut kai doungken มากครับ ทางบ้านผมคุ้นเคยไทยทรงดำมากครับ ทุกวันนี้ก็ให้ความนับถือติดต่อกันมาตลอดเวลา ถือว่าเป็นชนเผ่าไทยด้วยกันครับ

2. ครับคุณพิชัย คนไทยด้วยกัน ต้องรักใคร่สามัคคีกลมเกลียวกันครับ วัฒนธรรมประเพณีต้องรักษาไว้ให้มั่นคงครับ

ขอบคุณคะที่แวะไปเยี่ยมบ้าน

งานเขียนคุณก็อนุรักษ์ดีนะคะ ชอบคะ เพราะไม่เคยทราบมาก่อน

ขอบคุณคุณ รัชดาวัลย์ สว่างรัตน์ ที่ให้เกียรติแวะมาอ่าน
เราคนไทยด้วยกันก็ช่วยกันอนุรักษ์และช่วยกันสนันสนุนครับ
ไทยทรงดำมีมากครับ ภูมิใจครับที่ได้นำเสนอ

ผมได้ทำเรื่องนี้ต่อดูได้ที่นี่ครับ

http://gotoknow.org/blog/allthai/249033

อ้อย ลาวไทดำสุโขทัย

เฮาเปนคนลาวโซ่ง ต้องรัก

ประเพณีลาวของเรา

ดีใจ!!ที่เกิดเป็นลูกหลานลาวโซ่ง

น่าเสียใจ!!ที่ลูกหลานลาวโซ่งลืมภาษาพูดของตัวเอง

ยินดีต้อนรับคนไทยด้วยกัน คุณ อ้อย ลาวไทดำสุโขทัย [IP: 114.128.7.192]

ลาวโซ่งหมู่เฮาแถบเพชรบุรี นครปฐมยังเหนียวแน่นมากครับ ยังรักษาประเพณีดีงามไว้จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไป

 

คุณ 8. เอ๋ ไผ่รอบ(พิจิตร) [IP: 115.67.13.187] และ คุณ9. เอ๋ 'โซ่งตัวจริง' [IP: 115.67.13.187]

ความภูมิใจมีอยู่ในใจชาวลาวโซ่งทุกคน

ลาวโซ่งภาคกลางยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดอย่างมั่นคงครับ


  • เคยอ่านประวัติวิถีชีวิตลาวโซ่ง
  • น่าสนใจค่ะ ขอบคุณค่ะ

ชื่นชมความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน เพราะกว่าจะมาถึงวันนี้ ชนรุ่นแรก ขุดดิน แบกหิน ขุดบ่อ ขุดตอสร้างนากันมาอย่างยาวนาน ประวัติศาสตร์ชุมชนต้องนำมาเรียนรู้กันครับ

ตูลสาวลาวโซ่งตัวจริง

เราก็เป็นลาวโซ่งจากสุราษฎร์ธานี ภูมิใจในวัฒนธรรมมาก ๆ ปัจจุบันก็ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงแม้จะมาอยู่บางกอก แต่เสนเฮือนทีไรต้องกลับไปทุกครั้ง

ขอบคุณเจ้าของเว็บบอร์ดนะค่ะ

ที่ได้นำเสนอผลงานเขียนชิ้นนี้

ดูจากภาพเก่า ด้านบนนั้น ขนลุกเลยค่ะ

เพราะว่าจะนานแค่ไหนเราก็ยังรักษาวัฒนธรรมไว้ได้จนถึงทุกวันนี้

ท่ายาง มีชาวโซ่งเยอะมัย เคยไปแต่หนองปรงค่ะ

สุราษยังไม่เคยไปเลย เคยไปแค่แถวชุมพรเอง มีคนโซ่งกลุ่มหนึ่ง

ดิฉัน คนนครปฐมค่ะ...

เป็นคนโซ่ง คือ กัน

ลูกหลานซ่ง ต.ห้วยแก้ว

เปนซ่งเหมือนกัน

มาจากดอนมะนาว อ สองพี่น้อง จ สุพรรณบุรี

ตระกูล ทองเชื้อ นะคะ

"ลาวโซ่ง" สอบถามข้อมูลทำวิจัยเอนิเมชั่นเพื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นอัตลักษณ์ของลาวโซ่ง

ดีคับผม

ผมชื่อเก่งนะคับ

เป็นนักศึกษาในสาขา innovative media design "การออกแบบสื่อนวัตกรรม"

อยากทราบข้อมูลเพื่อนำมาทำวิจัย เอนิเมชั่นประชาสัมพันธ์ความเป็นอัตลักษณ์ของลาวโซ่ง

ขณะนี้ผมได้ศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับลาวโซ่งแล้ว และด้วยตัวผมเองก็เป็นลาวโซ่ง แต่มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งกับลาวโซ่งน้อยมาก

จึงอยากทราบว่า การที่คนลาวโซ่งมีการพัฒนาตัวเองไปสู่อาชีพปกติสากลทั่วไป และต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพไปในสถานที่ต่างๆ

เช่น การเข้าเมืองหลวง หรือตามหัวเมืองใหญ่ๆ เราจะทราบได้อย่างไรว่า คนๆนั้นคือกลุ่มชนของลาวโซ่ง มีอะไรที่บ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์

ที่ "นอกเหนือจากเรื่องของ ภาษา การแต่งกาย วัฒนธรรมประเพณี ที่เราคุ้นเคยเมื่อเรากลับบ้าน"

//อย่างเช่นว่า คนจีน หรือญี่ปุ่น ที่เขามีลากฐานวัฒนธรรมที่แข็งแรง แต่พอเขาจากบ้านเมืองตนเองมา เราก็ยังมองเขาออกว่าเป็นคนจีน หรือญี่ปุ่น

แล้วคนลาวละคับ

เมื่อเข้ามาอยู่ในตัวเมืองประกอบอาชีพเหมือนคนทั่วไป เราจะมองออก หรือมีสัญญาลักษณ์อะไรไม๊คับที่สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าเค้าคือ ลาวโซ่ง

อยากทรายถึง moment ของการจำแนกลาวโซ่งอ่ะคับ มีลักษณะเด่นทางด้านสังคมมมืองอย่างไรอ่ะคับ

ไงรบกวนช่วยตอบคำถามให้หายคร่องใจ และเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิจัยด้วยนะคับผม

ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับลาวโซ่งนี้เพราะ ผมมีความรู้สึกว่าถ้ำกลางกระแสวัฒนธรรมอื่น ที่กำลังแข็งแรง แต่ลาวโซ่งกลับมีกะแสวัฒนธรรมที่อ่อนแอลงจึงอยากเรียนรู้และสืบทอด

สุดท้ายนี้ จึงขอความอนุเคราะห์ และขอบคุญมา ณ ที่นี้ด้วยนะคับผม

รบกวนช่วยทีนะคับ

เป็นโซ่งเหมือนกันอยู่ไผ่รอบสงกรานต์ปีนี้ไม่ได้กลับบ้านเสียดายมากเพราะน้องบอกว่าจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อโชติยังหงำฮอดเฮือน

นครปฐม มีโซ่งอยู่ทุกอำเภอนะเพียงแต่ว่าอยู่กันกระจายกันออกไป ดีใจมากเลยที่พวกเรายังรักษาประเพณีอย่างเหนียวแน่วคงเข้ามาคุยได้ทุกวันพ่อเคยเป็นหมอเสนเรื่อน สนใจมากอยู่

เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ที่บ้านเสนเรือน ตั้งแต่โตมาก็พึ่งใกล้ชิดที่สุดก็ครั้งนี้

คนบ้านสระ ลาวโซ่งทั้งหมดเลยครับ ^^ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม  โชคดีทุกคนนะครับ

ดีใจที่ได้เกิดเป็นลูกหลานไทยทรงดำ ( ลาวโซ่ง ) คนไผ่รอบ จ.พิืจิตร

ลาวโซ่งคือไทยแท้ พวกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พวกไทยกลางคือพวกเขมร

ผมรักความเป็นเอกลักษณ์ของลาวโซ่งคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท