กระจ้อยร่อยเปลี่ยนโลก


เปลี่ยนไปแล้วนะ..จะยอมรับได้รึป่าว?

 

นายขวัญกับปลาช่อนที่ขุดได้ในโคลนใกล้ขอบบ่อ

------------------------------

ความสุขเดิม ๆ ของชาวนา

ไม่ได้มีโอกาสไปดูชาวนาหาปลามานานแล้ว

เมื่อ 2  ปีที่ผ่านมาผมเคยไปร่วมกิจกรรมอย่างนี้อยู่ครั้งหนึ่ง 

ซึ่งในครั้งนั้นจะสนุกมากเพราะได้ลงลุยจับปลาด้วยตัวเอง

เป็นการหาความสุข ที่พอมีอยู่ในแถบพื้นที่ชนบท

ไปทีไรจะรู้สึกผ่อนคลาย อดที่จะนึกถึงบรรยากาศสมัยเป็นเด็กไม่ได้

เมื่อราว ๆ 20 กว่าปีให้หลัง การหาปลาของชาวนาผื่นที่ทางภาคอีสานตอนบน

ถือได้ว่าเป็นการหาอาหารมาเพื่อเลี้ยงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว

ชาวนาจะหาอาหารตามท้องไร่ท้องนา

เงินไม่มีสักบาทก็ยังสามารถอยู่ได้โดยไม่อดไม่อยาก

ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย  มีข้าวเต็มนา  มีปลาร้าหลายไห

ในธรรมชาติก็อุดมสมบรูณ์ไปด้วยของกินต่าง ๆ  ที่นำมาปรุงเป็นอาหารตามฤดูกาล

 แหล่งหาปลาไม่ใช้มีแค่ห้วย หนอง คลอง บึง ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น

แต่มีบ่อเก็บน้ำที่ชาวนาขุดขึ้นไว้ดักปลาหน้าแล้ง

เพราะหน้าแล้งเวลาน้ำแห้งขอดปลาก็จะมารวมกันในบ่อที่ขุดไว้

เมื่อได้เวลาชาวนาก็จะพาสมาชิกในครอบครัวมาวิดน้ำออกจากบ่อ

เพื่อจับปลามาทำอาหารกินกัน ปรุงกินกันสดๆ ริมขอบบ่อ

ถ้าเหลือก็นำมาแปรรูปเป็นปลาแห้ง ปลาส้ม  ปลาร้า ปลาจ่อมเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ

ความสุขที่ได้ตั้งวงกินข้าวนอกบ้านกับครอบครัว  เป็นปิคนิคของชาวนาไ ทย

แกงปลาร้อน ๆ น้ำพริกง่าย ๆ ผักสดปรอดสารพิษจากสวนผักของลุงเสมอ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเปลี่ยนแปลงบนความสุขเดิม ๆ ของชาวนา

วิธีการในปัจจุบันใช้วิธีสูบน้ำออกจากบ่อโดยเครื่องยนต์สูบน้ำ  เมื่อสมัย 20 ปีกว่า ๆ ชาวนาจะวิดน้ำด้วยคันโช่(โชงโลง)อุปกรณ์ที่มีด้ามยาวๆ สานด้วยไม้ไผ่ และมีโครงสร้างเป็นไม้ไผ่  ใช่วิดน้ำเข้านา

ภาพคันโซ่ที่ถูกเก็บไว้ใต้ถุน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วมันเปลี่ยนแปลงไปยังไง

 

           ผมไม่ได้บันทึกภาพในขณะที่เขาใช้เครื่องยนต์สูบน้ำออกจากบ่อ  เห็นแล้วทำใจที่จะไม่ให้คิดถึง Opec ไม่ได้   ไม่ใช้ว่าผมจะปฏิเสธเทคโนโลยีที่คนเรานำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต   น้ำมันเป็นสินค้าที่ถูกส่งข้ามน้ำข้ามทะเลมาขายให้เรากระทั้งเกิดเป็นเครือข่ายการค้าที่เชื่อมโยงกันไปทั่วโลก  เหมือนเราได้แบ่งปั่นต้นทุนความสุขเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเรา   ส่งไปให้ผู้ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน  ส่งให้เสียนานนมจนกระทั้งเขามีความสมบรูณ์พูนสุข สร้างความร่ำรวยมั่งคั่งให้เขาชนิดอย่างที่ช่วยไม่ได้ 

             ธรรมชาติของคน  มักจะมีนิสัยเหมือนกันทั่วโลก   ชอบความสะดวกสบาย แล้วยังชอบปฏิเสธความผิดของตนเอง โยนคนผิดให้แก่คนอื่น (ตีเหมาแบบตรรกะ)  

              จากเมื่อก่อนใช้แรงกายวิดน้ำ  ใช้แรงวัวแรงควายทำไร่ทำนา   ใช้ม้า  ใช้ช้างสำหรับการเดินทาง    แต่เดียวนี้พวกเราได้เปลี่ยนวิถีชีวิตนั้นไปจนหมดสิ้นแล้ว  นำพาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับวิถีชีวิตใหม่     จากที่เคยมีชีวิตสบาย ๆ  แต่เดียวนี้กับมีแต่ความเร่งรีบ  แข่งขันกับเวลา  แข่งขันกันทำมาหากิน   หากว่าเรายังคงใช้แรงงานเหมือนอย่างเมื่อก่อน  เราก็คงไม่ทันกินคนอื่นเขา 

             ฤดูกาลเปลี่ยนไป  อากาศเปลี่ยน โลกร้อนขึ้น  น้ำท่วม  พายุถล่ม  ทุกอย่างเลวร้ายขึ้น คราวนี้เราคงจะไปโทษใครไม่ได้แล้ว  เพราะเราทุกคนต่างก็รู้ตัวดีว่า  นิสัยที่เหมือนกันของพวกเรามันแก้ไม่หายเสียแล้วหละ..

เพราะพวกเราเดินทางมาไกลเกินที่จะถอยหลังกลับเสียแล้ว    คุณว่ามั้ย ? ? ?        

 ลุงเสมอปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินที่เหลือกินก็เก็บไปขาย

 

กับพาหนะขนส่งสินค้าแบบพอเพียงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิถีชาวนา
หมายเลขบันทึก: 231503เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท