วิจัยเรื่อง "การศึกษาการสร้างชุดกิจกรรมนิทานประกอบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อการนำเสนอที่มีอยู่ อย่างแพร่หลายในรูปแบบนอกเหนือจากการใช้งานทั่วไป


วิจัยเด็กปฐมวัย

ชื่อเรื่องการวิจัย    :   รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานประกอบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะ

      พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์

      เพื่อการนำเสนอที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ในรูปแบบนอกเหนือจากการใช้งาน

      ทั่วไป

ผู้วิจัย                      :   นางสาวอนงค์  ลิ้มสกุล

               

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานประกอบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลการใช้และประเมินความพึงพอใจของครูระดับชั้นอนุบาล                      ที่มีต่อชุดกิจกรรมนิทาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบผลการใช้   ชุดกิจกรรมนิทาน ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2  ภาคเรียนที่ 1                      ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมนิทาน ได้แก่ ครูที่สอนในระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน  20 คน

การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสร้างชุดการสอนและหาประสิทธิภาพของ                         ชุดกิจกรรมนิทานจำนวน 9 ชุดกิจกรรมและหาประสิทธิภาพแบบฝึก โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน     ตรวจสอบความเหมาะสม  พบว่าแบบฝึกมีความเหมาะสมโดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนน การพิจารณา อยู่ในระดับมากและเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า แบบฝึกมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80  โดยมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ  86.15/84.90  ขั้นตอนที่ 2  เป็นการเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมนิทานประกอบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง              มีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของครูระดับ                 ชั้นอนุบาล โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ   พบว่าด้านปัจจัยนำเข้ามีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.72  ด้านกระบวนการมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 และด้านผลผลิตมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.74 และความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73   

หมายเลขบันทึก: 258742เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยินดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท