โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรม


ผมคิดโครงการจุดต่อไอเดียไว้ แต่ไม่มีโอกาสได้ลงมือทำ ผมพยายามผลักส่วนหนึ่่งเข้าเป็นโครงการของที่ืทำงานแต่ก้อโดนตีตกจากแผน ถูกตัดงบประมาณ สรุปแล้วไม่ได้ทำและไม่ให้ทำ เลยลองร่างเป็นข้อเสนอโครงการเล่นๆ อีกสัก 3 เดือนจะรวมเพื่อนๆ มาช่วยกันทำ มาช่วยกันเป็นที่ปรึกษา

 


 

โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรม

ที่มา

โครงการซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนอยู่เสมอซึ่งการพัฒนาต่อยอดโดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาและการร่วมพัฒนาอย่างแท้จริงกับโครงการต้นน้ำ จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในโครงการนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และด้วยข้อเสียเปรียบในในด้านภาษา ด้านเครื่องมือ ความรู้ และเทคโนโลยี จึงทำให้นักพัฒนาอาสาสมัครตลอดจนนักพัฒนาอิสระในประเทศไทยพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้ล่าช้าและกลายเป็นผู้ใช้ที่มีความสามารถแทนการเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรม ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงริเริ่มโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แนวทาง แนวความคิด ด้านนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมความรู้ที่จะใช้ในการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์นั้นอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นพื้นที่แสดงแนวคิดนวัตกรรมใหม่
2. เพื่อเป็นแหล่งรวมแนวคิดนวัตกรรมใหม่
3. เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
4. เพื่อเป็นแหล่งรวมโครงการซอฟต์แวร์นวัตกรรมใหม่

ประโยชน์

1. บ่มเพาะนักพัฒนาอิสระ/นักพัฒนาอาสามัครให้เข้าใจกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
2. เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในโครงการซอฟต์แวร์
3. เกิดนวัตกรรมใหม่ในโครงการซอฟต์แวร์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง ใช้งาน พัฒนาต่อยอดได้อย่างเสรี

ขั้นตอนและวิธีการ

เว็บไซต์โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ http://www.ideaconnect.co.cc ซึ่งจะมีคำอธิบายโครงการซอฟต์แวร์ในแต่ละโครงการไว้พร้อมเพื่อรอนักพัฒนาอิสระเข้ามาร่วมพัฒนา ต่อยอดแนวความคิด เพื่อร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) ให้เกิดขึ้นโครงการซอฟต์แวร์นั้นๆ เนื่องจากโครงการนี้ไม่มีทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เช่น Google Apps, Google Project Hosting, SVN, Wiki เป็นต้น โครงการซอฟต์แวร์ทุกตัวจะถูกโปรโมทผ่าน Open Source Network อย่าง FreshMeat, Ohloh และ SoftPedia เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและการประชาสัมพันธ์โครงการซอฟต์แวร์และนักพัฒนาที่อยู่ในทีม

โครงการซอฟต์แวร์ที่จะมีอยู่ในโครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ จะถูกกำหนดโดยทีมงานเป็นโครงการตั้งต้นซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูลของซอฟต์แวร์ คุณลักษณะ การออกแบบ ไอเดียและเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการพัฒนาได้ ซึ่งจะจัดเก็บอยู่ในรูปแบบเอกสาร โปรโตไทป์งานเพื่อใช้ในการศึกษาตั้งต้นการพัฒนาต่อยอดของนักพัฒนาได้ สำหรับโครงการซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้โครงการตั้งต้นโดยทีมงาน สามารถลงทะเบียนโครงการซอฟต์แวร์ร่วมกับโครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เช่นกัน ซึ่งโครงการซอฟต์แวร์นั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์สเท่านั้นและใช้เครื่องมือในการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ร่วมกันได้ เช่น SourceForge.Net, Google Project Hosting, Launchpad เป็นต้น

ขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการ

1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
2. ทำความเข้าใจเรื่องซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส วิธีการพัฒนา และเครื่องมือพัฒนา
3. ค้นหาโครงการซอฟต์แวร์ที่คุณสนใจ ศึกษาและแสดงแนวคิดใหม่ในการพัฒนาต่อยอด
4. สมัครเข้าร่วมโครงการซอฟต์แวร์นั้น และดำเนินการพัฒนา

คำถามที่พบบ่อย

ถาม : ประเภทโครงการซอฟต์แวร์
ตอบ : กำหนดโดยทีมงาน สามารถเพิ่มโครงการได้ตามความต้องการคุณเอง

ถาม : ต้องการเพิ่มโครงการซอฟต์แวร์ได้หรือไม่ ?
ตอบ : ได้ โดยโครงการซอฟต์แวร์นั้นใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส

ถาม : ซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้โครงการ จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส ?
ตอบ : ใช่

ถาม : ทำไมซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้โครงการต้องใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส ?
ตอบ : เพื่อให้สิทธิ์ในการใช้ พัฒนา ดัดแปลง แก้ไข แจกจ่ายได้อย่างเสรี

ถาม : ซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้โครงการ ใครเป็นเจ้าของ (Copyright) ?
ตอบ : ตัวนักพัฒนาเอง แต่ต้องใช้สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส (Open Source License)

ถาม : รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส (Open Source License) ?
ตอบ : อ่านเพิ่มเติมที่ OSI

ถาม : สัญญาอนุญาติในไลบรารีที่เกิดขัดแย้งกับสัญญาอนุญาติของโครงการซอฟต์แวร์ แก้ไขอย่างไร ?
ตอบ : ศึกษาและพัฒนาไลบรารีชุดนั้น ขึ้นมาทดแทนแล้วใช้สัญญาอนุญาติที่ไม่ขัดแย้งกับสัญญาอนุญาติของโครงการซอฟต์แวร์ หรือ เปลี่ยนสัญญาอนุญาติของโครงการซอฟต์แวร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งกับสัญญาอนุญาติของไลบรารีชุดนั้น และยังคงเป็นสัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส

ถาม : ตัวอย่างสัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส ?
ตอบ : GNU/GPL, GNU/AGPL, BSD License เป็นต้น

ถาม : สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์สที่แนะนำให้ใช้มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : GNU/GPL, GNU/AGPL

ถาม : โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นโครงการของซอฟต์แวร์เฮาส์ ?
ตอบ : ไม่ใช่

ถาม : โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นโครงการของรัฐ ?
ตอบ : ไม่ใช่

ถาม : โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นโครงการของเอกชน ?
ตอบ : ไม่ใช่

ถาม : โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมมีแหล่งทุนสนับสนุนโครงการจากภาครัฐ ?
ตอบ : ไม่มี

ถาม : โครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมมีแหล่งทุนสนับสนุนจากที่ใดบ้าง ?
ตอบ : การบริจาค

ถาม : จะช่วยสนับสนุนโครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไร ?
ตอบ : บริจาคเป็นเงินทุน สิ่งของ หรือการบริการพิเศษ เช่น โฮสติ้ง โดเมน ที่ใช้ในโครงการซอฟต์แวร์ ฯลฯ

ถาม : ทีมงานในโครงการจุดต่อไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมมีใครบ้าง ?
ตอบ : Senior Software Engineer, Software Architect, Valunteer Project Manager, Valunteer Software & Technology Consaltant, Valunteer IT Consaltant

ถาม : เอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้มีที่ใดบ้าง ?
ตอบ : RedLine Software ??!!

คำสำคัญ (Tags): #innovation#opensource#software#ideaconnect
หมายเลขบันทึก: 219889เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมว่าเป็นโครงการที่ดีนะครับ Open Source พัฒนามันขึ้นมา แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์เท่าไร (แต่ต้องเคารพสิทธิ์ของที่พัฒนาด้วย) ผมเรียน IT แล้วก็อยากทราบเหมือนกันว่า คำว่า Open Source มันให้เราพัฒนาโปรแกรมต่อยังไงครับ จะดู Code ของโปรแกรมยังไง

สนใจทำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไหมครับ ผมมีโครงการเก่าๆ อยากหยิบมาทำใหม่

สัญญาอนุญาติแบบโอเพนซอร์ส มีฉบับภาษาไทยป่าวครับ จะได้อ่านทำความเข้าใจได้เร็วขึ้นครับ

สวัสดีค่ะ

***ลูกสาวสนใจทำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาก ...อยากทำหนังสือกราฟฟิกด้วยโอเพนซอร์สค่ะ

***อยากขอคำแนะนำและความเห็น

***ขอบคุณค่ะ

ดีครับ ตอนนี้หนังสือด้าน graphic ที่เป็น oss ยังน้อยมากครับ (ภาษาไทยนะครับ) เท่าที่เดินดู ยังขาด Inkscape, Blender, Scribbus ครับ

มีโครงการหนังสือโอเพนซอร์สแบบ online น่าจะอยู่ที่ wiki book นะครับ ลองเข้าไปเขียนเพิ่มเติมได้ครับ

น่าสนใจมากครับ และที่สำคัญสอดคล้องกับงานที่ผมกำลังทำอยู่ คือผมกำลังจัดทำหลักสูตร วทบ.เทคโนโลยีนวัตกรรรม มีสาขาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ อยู่ด้วย ได้อ่านวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ตรงมากจึงอยากมีส่วนร่วมสนับสนุนครับ

ผมเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลีราชมงคลล้านนา(เชียงใหม่ครับ)

ดีเลยครับ ผมกำลังหากำลังคน (ปรึกษาโครงการ+นักพัฒนา) อยู่พอดี ถ้ายังไงอาจได้ไปเที่ยวเชียงใหม่นะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท