เทคนิคการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน: พระสนิมแดง (ภาค ๒)


การเกิดสนิมแดงที่ถ้าเป็นชั้นในสุดจะเป็นเม็ดไขปลาเรียงเป็นแถวๆ เต็มไปหมด แต่ถ้าเป็นชั้นสองจะเป็นจุดๆ ชั้นสามจะไม่เหลือลักษณะไข่ปลาให้เห็น ต้องดูสีของสนิมแดงแทน ที่จะมีสีเข้มตามอายุ ตามลำดับ ห้ามย้อนศร หรือปะปนกัน

หลังจากผมบรรยายไปในภาคแรก เกี่ยวกับการดูพระสนิมแดง ก็มีเสียงตอบรับจากผู้สนใจมากมายเกินความคาดหมาย ทำให้ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกระดับ จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจพระสนิมแดงโดยทั่วไป ดังนี้

ลักษณะที่ควรให้ความสำคัญของพระสนิมแดงแท้ ก็คือ

  1. ใยแมลงมุมที่เป็นรอยปริตามธรรมชาติของพระได้อายุ แต่บางครั้งก็จะมีคราบกรุ หรือดินบดบังอยู่ ทำให้ดูได้ยาก ต้องเล็งดูดีๆ ว่ามีการแตกหรือไม่ ถ้าไม่แตก น่าจะเป็นพระที่อายุไม่ถึงยุคลพบุรี อาจอยู่ในยุคสุโขทัยลงมา
  2. การเกิดสนิมแดงที่ถ้าเป็นชั้นในสุดจะเป็นเม็ดไขปลาเรียงเป็นแถวๆ เต็มไปหมด แต่ถ้าเป็นชั้นสองจะเป็นจุดๆ ชั้นสามจะไม่เหลือลักษณะไข่ปลาให้เห็น ต้องดูสีของสนิมแดงแทน ที่จะมีสีเข้มตามอายุ ตามลำดับ ห้ามย้อนศร หรือปะปนกัน
  3. ถ้าสนิมแดงกร่อนไปบ้าง จะต้องมีสนิมเกิดใหม่บนเนื้อไขชุ่มๆแบบเดิมๆ เป็นจุดๆ หรือลายๆ อย่างเป็นลำดับความเข้มของสี

ดังนั้น

ถ้าสนิมเป็นสีเดียว หรือไม่เป็นลำดับ หรือด้านๆ แห้งๆ

ให้รีบวางพระเก๊ทันที

ตัวอย่างพระสนิมแดงเนื้อครู

พระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย
สนิมผดชัดเจน ที่เป็นเนื้อครูที่ดีมากๆ องค์หนึ่ง
 
เมื่อสังเกตด้านหลังจะยิ่งเห็นความหลากหลายมาก
ทั้งสนิมไข่ปลา ไขชุ่ม และสนิมสีแดงใหม่ ที่เกิดใหม่บนไขเป็นจุดๆ

สิ่งที่พระโรงงานทำพระปลอม ก็คือ

ใช้สีน้ำตาลแดง ทาแทนสนิม พอสีแห้งก็อาจบิดองค์พระให้สนิมร้าวเลียนแบบใยแมลงมุม

แต่ยังน่าจะทำไม่ได้ หรือไม่ดีพอ ก็คือ

  1. การทำให้เกิดไขชุ่มใต้สนิม หรือบนสนิมแบบหลากสี แบบเป็นระบบ และตามลำดับ ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง
  2. การเกิดลายใยแมลงมุมที่ละเอียดยิบ ไขว้กันหลายทิศทาง
  3. การทำสนิมแดงให้เป็นเม็ดไข่ปลาเรียงเป็นแถวทั้งองค์ และ
  4. ความนุ่มนวลของผิวสนิมแดง ทั้งผิวและความแวววาวอย่างเป็นธรรมชาติ

เมื่อท่านได้พิจารณาอย่างนี้แล้วไซร้ ท่านจะมีโอกาสหยิบได้แต่พระแท้ ปลอดภัยจากพระโรงงาน และนักหลอกขายพระเก๊ในตลาดพระเครื่องครับ

ขอให้โชคดีทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 361423เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2010 02:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2013 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาคารวะท่าน ด้วยพระใหญ่ เมือง นรา ครับ

ขอให้ธรรมะนี้จงได้แก่ท่านด้วยเช่นกัน

อมิตพุทธ

นายอลงกรณ์ โอฆะพนม

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ที่ให้ความรู้มากมาก

ภาพไม่ชัดนัก แต่ดูแล้วเนื้อไม่เป็นระบบ ศิลปะไม่มีที่ลง ยังหาคะแนนบวกยังไม่ได้ครับ


 

อาจารย์ครับผมสงสัยอยู่เรื่องนึง  ถ้านำก้อนตะกั่วที่มีสนิมแดงมาหลอมเทใหม่ มันจะเป็นยังไงครับ สนิมจะหลุดไปกับความร้อนไหมครับหรือปนอยู่ในเนื้อ ผมเห็นมีคนขายก้อนตะกั่วสนิมแดงในเวปด้วยครับ http://bangkoknoi25.blogspot.com/2012/07/blog-post_19.html

โลหะหลอมใหม่ก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ รออีก1000 ปี สนิมก็จะเหมือนวันนี้แหละครับ อิอิอิอิอิ

ถ้าครบก็น่าจะแท้ครับ ลองดูตามหลักการเลยครับ

สนิมแดง เกิดจากเนิ้อชินเงินได้ไหมครับ

ได้ ถ้ามีตะกั่วผสม

ที่จริงสนิมแดงมีทุกเนื้อที่ผสมตะกั่วครับ

และสนิมดำ (ตีนกา) มีทุกเนื้อที่มีเงินผสมครับ

ชินเงินเป็นโลหะผสมหลายชนิด ไม่แน่นอน สนิมจะหลากหลายมากครับ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท