บทเรียนจากสนามพระเครื่อง: พระกรุเดียวกันมีลักษณะองค์พระและพิมพ์แตกต่างกันได้


การพิจารณาพระกรุนั้น ต้องอาศัย “Pattern analysis” ดูเป็นรูปแบบโดยรวม มากกว่าการ “จำรายละเอียด”

อนุสนธิจากการวิพากษ์เรื่องพิมพ์ของพระกรุที่แต่ละองค์มีพิมพ์และรายละเอียดที่ผิวพระแตกต่างกัน

และยังไม่พบพระองค์ใดที่ “เหมือนกัน” กับองค์อื่นในทุกรายละเอียด

ทำให้ผู้เข้ามาเรียนรู้ใหม่ในสนามพระเครื่องเกิดความสับสนได้ง่าย ว่าควรจะจับจุดใดเป็นหลักในการแบ่งแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน

หลังจากการวิพากษ์ในหลายรูปแบบและขั้นตอนจึงได้ข้อสรุปมาว่า

  • การสร้างพระในสมัยโบราณจะมีการทำพิมพ์พระจำนวนมาก เพื่อความรวดเร็วในการสร้างพระชุดหนึ่งๆ

Molding002

การหล่อพระเป็นช่อ

ที่แต่ละองค์จะมีรายละอียดของพิมพ์แตกต่างกัน เนื้อแต่ละองค์ก็ต่างกัน

  • เทคนิคที่ใช้น่าจะคล้ายๆกับสมัยไม่นานมานี้ ก่อนยุคคอมพิวเตอร์
    • ที่ใช้วิธีการทำพิมพ์หลักขึ้นมาจำนวนหนึ่ง
    • ด้วยวัสดุที่แกะสลักได้ง่าย เช่น หิน ไม้ งา กระดูก เขาสัตว์ เงิน หรือตะกั่ว ฯลฯ
    • มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่จะสร้างทั้งหมด
    • โดยช่างฝีมือระดับสูง หรือระดับช่างหลวงเป็นส่วนใหญ่
    • หลังจากนั้นก็ใช้พิมพ์หลัก ไปสร้างพิมพ์จริงในการกดพิมพ์ (กรณีพระเนื้อดิน) หรือหล่อ (กรณีพระเนื้อชิน) ตามจำนวนที่ต้องการ
    • พิมพ์ที่ใช้กด และพิมพ์หล่อแบบประกบน่าจะใช้ซ้ำได้ จนกว่าพิมพ์จะชำรุดเสียหาย
    • พิมพ์หล่อที่ทำเป็นช่อชุดละหลายๆองค์ น่าจะใช้เพียงครั้งเดียว แล้วทุบทำลายเพื่อนำพระออกจากพิมพ์
      • ทำให้พระบางองค์มีพิม์เหมือนกันบ้าง ต่างไปบ้าง แล้วแต่กรณี
        • แต่นัก"พุทธพานิช" จะ
          • นำเสนอเฉพาะพระพิมพ์ที่เขามีสำรองไว้มาก เพื่อกระตุ้นกิเลสของนักสะสมรุ่นใหม่ให้ชอบของเขา (ภายใต้คำ "การเล่นพระแบบสากล") และ
          • กีดกันพระพิมพ์อื่นจากกรุหรือยุคเดียวกันไม่ให้เข้ามาแข่งราคาในตลาด
    • วัสดุที่ใช้ในการสร้างก็อาจมีการเตรียมไว้ หรือผสมไว้แล้วแต่กรณี แต่ก็มักไม่ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ด้วยระดับของความสามารถ เทคโนโลยี และความจำเป็นในการสร้าง
      • ทำให้มีเนื้อพระที่หลากหลาย ในกรุเดียวกัน และแม้ในองค์เดียวกัน

จากข้อสรุปข้างต้น

ทำให้เห็นประเด็นของความหลากหลายทั้งพิมพ์และเนื้อ ที่จะเกิดขึ้นในการสร้างพระแต่ละครั้ง

ด้วยความเป็นธรรมชาติของการสร้างพระแบบโบราณ ด้วยมือและวัสดุที่หลากหลาย ที่ทำให้เกิดความหลากหลาย ทั้งพิมพ์และเนื้อ

จึงทำให้ไม่สามารถฟันธงแบบ ๑๐๐ % ว่าตำหนิใด หรือลักษณะใด เป็นจุดตัดสินของลักษณะพระกรุแท้ๆได้

จึงทำให้ต้องใช้เทคนิคของ Pattern analysis ในการพิจารณา ดังนี้

  • ศิลปะโดยรวม (อย่าเพิ่งลงรายละเอียด)
    • พระกรุจะมีศิลปะและความงามตามกลุ่มของศิลปะ แต่จะไม่เหมือนกันในรายละเอียด
    • พระโรงงานจะพยายามเลียนแบบ “พิมพ์นิยม” ตามความรู้ของวิศวกรโรงงาน ที่ศึกษามาจากตำรา และความรู้ ความเห็นของ “เซียนใหญ่ระดับชาติ”
      • ที่มักจะไม่หลากหลายมากเท่าพระกรุ
      • ยกเว้นที่มาจากหลายโรงงาน
      • แต่ก็จะมี “Pattern” หรือ “รูปแบบ” ของตนเอง
      • ที่ควรจะลองส่องดูบ่อยๆ ให้จำได้ว่า พระโรงงานเขานิยมทำพิมพ์แบบไหน และทำได้ขนาดไหนแล้ว
      • มีจุดตำหนิเฉพาะของแต่ละโรงงานตรงไหนบ้าง

     

    • เนื้อโดยรวม

      • พระกรุจะมีเอกลักษณ์ของเนื้อแบบโบราณเดิมๆ ที่มีส่วนผสมเฉพาะของแต่ละกรุ
      • พระโรงงานจะพยายามเลียนแบบวัสดุ ในเชิงมวลสาร แต่ก็จะเพี้ยนๆ ที่ต้องจับ “Pattern” ให้ได้

     

    • สภาพองค์พระโดยรวม

      • พระกรุจะมีสภาพ "ทำด้วยมือ" และความเก่าแบบธรรมชาติทั้งองค์ จึงต้องสอดคล้องกันทุกมุม ไม่ควรจะมีอะไรขัดแย้งกัน
      • พระโรงงานมัก "ทำด้วยเครื่อง" และจะพยายามทำให้เก่า โดยการขัดแต่ง โปะมวลสารหลากสี ให้เกิดความหลากหลายของผิว แต่มักจะไม่กลมกลืนกัน จะมีบางจุดที่ขัดแย้งกัน ที่ตำรวจชอบพูดว่า “ไม่มีอาชญากรรมใดที่ไร้ร่องรอย”

     

    • ร่องรอยการใช้

      • พระกรุจะมีการใช้ตามสภาพของเจ้าของเก่า (อาจหลายท่านเสียด้วย) อาจเลี่ยมเปิดหน้าหลัง ถักเชือก ถักลวด ห่อผ้า ห่อสำลี วางบนหิ้ง พรมแป้ง ลงรัก เคลือบยางไม้ ปิดทอง ฯลฯ มาก่อน จึงอาจมีร่องรอยธรรมชาติของพระแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน
      • พระโรงงานจะพยายามเลียนแบบ “สภาพนิยม” และพยายามทำให้ “ดูเก่า” จึงมักไม่สอดคล้องกัน และไม่เป็นธรรมชาติของสภาพการใช้จริงๆ
        • มักมีร่องรอยการเดินทางตามแผงพระ กร่อนตามขอบ ผ่านการล้างและแต่ง มากกว่าร่องรอยการใช้
      • ข้อนี้ต้องอาศัยการเห็นบ่อยๆ จึงจะพิจารณาได้ดี

     

    • การพัฒนาของผิวพระ
      • พระกรุจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามอายุของวัสดุ
        • เนื้อดินจะมีขุยยุ่ยผุไปเรื่อยๆ
        • เนื้อชินจะมีสนิมหลากหลาย หลายแบบ หลายชั้น และ/หรือ กร่อนไปตามประเภทของโลหะ
          • ทำให้ผิวและพิมพ์ผิดเพี้ยนไปได้อีก โดยเฉพาะการเกิดสนิมที่หลากหลายชั้นและแบบ ทำให้ศิลปะและตำหนิเดิมเปลี่ยนแปลงไปได้มากทีเดียว
      • พระโรงงานจะใช้วิธีการโปะด้วยมวลสารที่คล้ายสนิม และการสร้างสนิมใหม่ ทำให้เนื้อดูกระด้าง กร่อนบ้างไม่กร่อนบ้าง และมักมี “ผิวปิด” เพื่อซ่อน “ความใหม่” ผิวสด ไว้ภายใน

จากประเด็นสำคัญที่วิพากษ์มา ทำให้พระกรุ มีทั้งพิมพ์และเนื้อที่หลากหลาย แม้แต่กรุเดียวกัน

ยิ่งต่างกรุต่างยุคแล้ว ยิ่งหลากหลายมาก

ทำให้การพิจารณาพระกรุนั้น ต้องอาศัย “Pattern analysis” ดูเป็นรูปแบบโดยรวม มากกว่าการ “จำรายละเอียด”

เพราะรายละเอียดนั้น

 วิศวกรโรงงานผลิตพระ เขาน่าจะศึกษามามากและน่าจะทราบดีกว่าเราด้วยซ้ำ

นี่คืออีกบทหนึ่งจากการเรียนรู้ในสนามพระเครื่อง

ยังไงก็ยังเป็น Tacit knowledge แบบเกินครึ่ง

ผมพยายามเต็มที่แล้วก็ทำให้เป็น Explicit knowledge ได้แค่นี้

จนด้วยเกล้าจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 387070เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พิมพ์นิยมน่าจะหมายถึง พิมพ์ที่ตูมีเยอะซึ่งเป็นความเห็นของเซียนที่ไม่ใช่เซียน พวกนี้เป็นแค่เสี้ยนในวงการเท่านั้น เซียนพระสามารถกลายร่างจากเซียนมาเป็นเสี้ยนได้ในพริบตาเมื่อความโลภเข้ามาบังตา อยู่ในวงการมานานพอสมควร รู้เห็นแต่ไม่เป็นใจก็หลายครั้ง ได้แต่เตือนคนเล่นพระด้วยกันว่า อย่าเล่นพระด้วยหู ให้ใช้หลักกาลามสูตร

อย่าใช้กล้องส่องพระ ยามปะหมู

อย่าใช้หูดูพระ จะสับสน

อย่าหลงเชื่อคำเชียร์ จะเสียคน

อย่าหลงกลคนเขาหลอก บอกว่าดี

อิอิอิอิอิอิ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท