ลปรร เมื่อโดนตรวจประเมินคุณภาพ..กาลครั้งหนึ่ง..นานมาพอสมควร


พยายามย่อยทั้งเล่ม "ระเบียบปฏิบัติ" หนา ๆทั้งW/I และ W/P ออกมาได้ห้านิ้ว(มือ) , ตรวจรอบเดียวผ่านค่ะ

ไปอ่านบันทึก ผู้ทรงคุณวุฒิ(พี่แอมป์-อาจารย์ดอกไม้ทะเล)
ผู้ทรงคุณวุฒิยากแก่การลอกเลียนแบบ ด้านเขียนเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย
เอ๊ยเป็นเรื่อง ขำ ๆ

ได้พูดคุยไว้บ้างจนนึกได้ว่า เราเองมีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากห้วงเวลาหนึ่งของการทำงาน ซึ่งในตอนนั้นหลาย ๆ คนในหน่วยงาน เกิด

ความเครียด ด ดอย่างรุนแรง เข้าขั้นวิกฤติ

เรา(หัวหน้ากลุ่มงาน)ก็เครียด แต่ต้องทำท่าว่าไม่เครียด

 

จำได้ถึงประสบการณ์ตอนนั้นดังนี้ ค่ะ

 

P

17. ภูสุภา
เมื่อ อา. 08 ก.พ. 2552 @ 10:26
1117648 [ลบ]

หมายเหตุ : 

               เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อจูงใจให้บุคลากร สนใจอยากอ่านระเบียบปฏิบัติ ที่จะมีผลต่อทุกคนในองค์กร    ขอยืนยันว่าเนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ต้นเรื่อง  มิได้พาดพิงถึงผู้ใดทั้งสิ้น........   และ  ขอยืนยันว่าตอนจบ...ก็มิได้พาดพิงถึงบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

                                       ***ข้อเขียนในบันทึกพี่แอมป์***
                                         (ขออนุญาตยกมาบางส่วนค่ะ)

 

ขอสารภาพค่ะ พี่แอมป์ (สวมรอยเป็นน้องแล้วค่ะ)

เป็นคนไม่ชอบอ่านระเบียบปฏิบัติ (แต่เป็นคนปฏิบัติตามระเบียบพอสมควร..น่าน...)
หากเมื่อความจำเป็นบังคับ อาศัยเป็นคนปฎิภาณ(ดี)ปานกลาง มักจะกล้อมแกล้มไปได้น้ำใส ๆ (ปนขลุกขลิก)

สมัยเมื่อหน่วยงานของเราต้องผ่านการประเมินคุณภาพ(ถูกตรวจ) ก็อ่าน อ่าน อ่านและ อ่าน

พยายามย่อยทั้งเล่ม "ระเบียบปฏิบัติ" หนา ๆทั้งW/I และ W/P  ออกมาได้ห้านิ้ว(มือ)

จริง ๆ นะคะ

ต้องใช้ความคิด ค้นหาวิธี ที่จะเล่า อธิบายเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ซึ่งมาจากต่าง ๆ ระดับ ทั้งคุณวุฒิ และความพิเศษเฉพาะของงาน

เริ่มจาก

-น้าแกละ และน้าปรีชา ผู้มีอายุอานามหกสิบกว่า ๆ ทั้งคู่ วุฒิ-ประถมสี่ บรรจุเข้าหน่วยงานของเราก่อนเราเข้าเรียนประถมเสียอีก

น้าสองคนเป็นคนงานเข็นรถ เข็นเปล ผู้ทำหน้าที่ดั่งผู้นำ "ร่าง"กายหยาบของแต่ละผู้ป่วย เมื่อถึงคราวที่จิตละเอียดละร่างไปแล้ว  คืนกลับมาสู่ญาติมิตร

เพื่อนำ"ร่าง"ไปประกอบพิธีตามศาสนา

ค่ะ น้าทั้งสองปฏิบัติงาน ณ ห้องรักษาศพ


-พี่ปุ๋ย พี่ดา พี่สุน พี่เบริ์ด พี่พร พี่เปิ้ล พี่ต้อม พี่นิด พี่น้อย พี่จุ๋ม พี่เชษฐ์ และพี่กุ้ง  

เป็นกลุ่มพี่เจ้าพนักงานวิทย์

พี่กลุ่มนี้ช่วยเราประดิษฐ์งานศิลป ทำสไลด์จากชิ้นเนื้อ จากอวัยวะของคนไข้

ความมากของชิ้นงานต่อวันทำงาน ความหลากหลายของงาน ความไม่ค่อยมีเวลา ตามที่เห็นจริง ๆ และคำพูด(บ่น)ของเจ้าตัว เป็นโจทย์ที่ท้าทายเรา-ผู้นำนาวาลำเล็ก ๆ ลำนี้

โจทย์ที่ว่า

จะสอนเนื้อหาวิชาว่าด้วยคุณภาพ วิชาเฉพาะงาน คำศัพท์เทคนิคเฉพาะในการรับการประเมินคุณภาพ ให้อย่างไร 

และจะทำอย่างไร ให้เขาสอบผ่าน ไม่ตกใจกลัว

ช่วยให้ทุกคนสามารถพูดตอบ ให้สัมภาษณ์อย่างเข้าใจงานของตัวเองจริง ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ตะกุกตะกัก ไม่ตื่นเต้นจนสั่น

เพราะความเป็นจริง

ทุกคน ทำงานเป็น อยู่แล้ว

ทำเป็นอย่างเต็มไปด้วยความชำนาญ ตั้งแต่เราและทุกคนที่ร่วมใจ ร่วมทุกข์-สุข-ยาก กันมาสิบปีก่อน เมื่อเริ่มบุกเบิกงานนี้ จนภาระงานใหญ่ขึ้น หน่วยงานโตขึ้น เราผ่านภาวะสุมหัว ถกเถียงกัน หัวเราะ อำ ขำ ร่ำไห้ก็มี   เรามีกันและกันมาตลอด

จำนวนคนที่มีเพิ่ม มาปีละแค่สองถึงสามคน

จนปัจจุบัน จำนวนคนมิได้งอกเงยทันจำนวนงาน

แต่เราทำงานและอยู่ด้วยกันอย่างสนุกสนาน

ปีใหม่ เราก็เกะ ตรุษจีนเราก็เกะ สารทไทยหรือสารทจีน ทั้งขนม ของไหว้ และเช่นเคย เราก็เกะ คาราโอเกะ ลั่น

หน่วยงานเรานั้น คือผู้ครองแช็มป์ชนะเลิศนักร้องสมัครเล่นของโรงพยาบาลเรามาเกือบตลอด

 

คิด คิด และคิด ในที่สุดออกมาดังนี้


เรานัดทุกคนมาพร้อมกัน พูดคุย ซักถาม ติวเข้มกัน

"นี่ยื่นมือถนัด ออกมาคนละข้าง"

"มีห้านิ้วทุกคน เห็นมั้ย"

  • นิ้วโป้งแทนตัวเรา เรามีหน้าที่หลักอะไร ทำไป
    (พันธกิจ,วิสัยทัศน์หรือ ประเมินตนเอง เรียกอะไรก็ไม่เป็นไร)
  • นิ้วชี้ เอานิ้วชี้ทุกคนขึ้นมา เคาะมาที่สมองของเรา หรือจะปั่น ๆ แบบอิ๊กคิวซังก็ย่อมได้ งานหลักที่เราทำอยู่ทุก ๆ วันนั้น เราอยากทำให้ดี ให้ถูกต้องใช่ไหม (ทำ)
  • นิ้วกลาง เราจึงทำเช่นนี้ทุกวันไป ทำหน้าที่ของเราอย่างดี ทำความดี ประดุจเกลือรักษาความเค็ม (ต่อเนื่อง)
  • นิ้วนาง ความใฝ่ฝันจะได้สวมแหวนกับเขา(ซักที) ฝันได้ ฝันด้วยยิ่งดี ฝันที่จะทำสิ่งที่เราคิดอยากพัฒนา อยากให้งานดีขึ้น เร็วขึ้น ถูกต้องครบถ้วน ทำไปได้เลย น้า ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ (วางแผนงาน)
  • นิ้วก้อย น้องน้อย ดูแลรักษางานของเรา เหมือนดูแลนิ้วก้อยน้องน้อยตรวจสอบตัวเอง หรือ เตรียมพร้อมทุกเมื่อ ให้คนอื่นตรวจเราได้ (ตรวจสอบ) 

 

 

 

 

ทำอย่างนี้กัน ทำพร้อม ๆ กัน ทำไปด้วยกัน

แล้วเปิดเวทีให้แต่ละคน แสดง เสนอ และทำจริง


เราพบปะกันเนือง ๆ อีกหลายครั้ง 

บางทีก็ห้องเรา ห้องประชุมจำเป็น

บางทีก็พื้นที่ทำงานจริง แล้วแต่สะดวก


บ่อย ๆ และอิ อิ คือร้านส้มตำใกล้โรงพยาบาล ประชุมแบบบ้าน ๆ

แบบ พวกเรา 

ผลลัพธ์ หรือคะ

ว่าแล้วจะหาว่าคุย 

ตรวจรอบเดียวผ่านค่ะ

มีใบการบ้านแปะไว้เบาะ ๆ minor รู้สึกจะสองใบ


การบ้านเป็นของหัวหน้านั่นแหละ

(เดาข้อสอบผิดไปนิด)


 

...ได้เฮกันค่ะ.....

 

 

หมายเลขบันทึก: 240667เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2009 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก

โอ้โห..  คุณหมอเล็กคิดได้ไงอ่า !!!! ...

พี่แอมป์วิเคราะห์ไปไม่ถึงหัวใจสำคัญของงานประกันคุณภาพเลยนะคะ  แค่พยายามทำความเข้าใจเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรพี่ก็นั่งร้องเมี้ยวๆอยู่ตั้งหลายวัน  : ) 

ทีมงานที่เข้าใจกันนี่สำคัญ(ต่อหัวใจของเรา)จริงๆนะคะคุณหมอเล็ก  ทีมงานของคุณหมอเล็กน่ารักจัง  : )

หัวใจของงานประกันคุณภาพ คือการทำให้ทุกคนในทีม (ที่เป็นใจเดียวกันอยู่แล้วนั้น) เข้าใจตรงกันก่อนว่าเรากำลังจะประกันอะไร  แปลให้เข้าใจชัดขึ้นอีกว่า เราต้องบอกได้ว่ามาตรฐานของงานเราอยู่ตรงไหน  และมีวิธีทำอย่างไรให้ไปถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้  แล้วก็คุยกันเพื่อหาเบสต์แพร็กสะทิส   แล้วก็อธิบายคนที่มาดู(ประเมิน)ให้ได้ว่าเราทำอย่างไรบ้าง พร้อมหลักฐานที่จับต้องได้เป็นปริมาณ  อนึ่ง  ทั้งหมดนี้ลูกช้างจำเขามา  ให้คิดเองพี่คิดไม่ออกดอกค่ะ อาศัยว่าฟังหลายหน  และหลายหนที่ว่าก็ต้องบอกตรงๆว่าไม่เข้าใจ  ...ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องสร้างตัวชี้วัดที่ไม่เข้ากับงานของเรา แถมยังบังคับให้เราต้องวัดตามเกณฑ์ที่ไม่เข้ากับสภาพงานจริงของเราอีกด้วย  ตกลงว่าประกันอะไรกันแน่อะ

พี่แอมป์เลยชอบวิธีออกแบบการสื่อสารของคุณหมอเล็กจังเลยค่ะ  เพราะเพราะวิธีสื่อสารนั้นเข้ากับธรรมชาติของแต่ละบุคคล   สามารถ"ย่อย"คำฝรั่งโตๆให้กลายเป็นคำไทยอย่างง่าย จำความหมายได้  สื่อสารด้วยความเป็นกัลยาณมิตร    ทุกคนที่ทำงานเป็นและมองเห็นงานของตนอยู่แล้วนั้น  สามารถนำไปปฏิบัติในวงจรการประกันคุณภาพได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ   งานประกันฯของคุณหมอเล็กจึง"ได้ผล"แบบ  ตรวจรอบเดียวผ่าน : )
                           ขอแสดงความยินดีด้วยจากใจจริงค่ะ  : )    : ) 


เก่งมากๆนะคะ ขอปลื้มใจด้วยค่ะ

ชื่นชมค่ะ  แนะนำครูอ้อยบ้าง อยากเก่ง วิเคราะห์เก่งค่ะ

P แฮ่ม แฮ่ม พี่แอมป์

มาเติมมาต่อให้อีก ขอบคุณค่ะ

ความที่ต้องต่อ...นิ้วโป้ง และลูกสมุนนิ้วทั้งหลาย เราต้องมีตัวชี้วัด..ที่จับต้องได้จริง

 

แหม..ขนาดเรา-หมอเล็ก นิ้วนางก็ บ่ มีแหวนใส่กับเขาหรอกค่ะ "ซื้อเอง,เลือกไม่เป็นครับ"..ดูสิคะ

ทักทายสั้น ๆ ก่อนค่ะ

 

P พี่แอมป์คะ(สวมรอยเป็นน้องอีกแล้ว)

วันสองวันที่ผ่านมานี้มีโอกาสดี ๆ ได้พูดคุยกับอาจารย์รุ่นบิ๊ก เพื่อนรุ่นพี่ และน้อง รวมไปถึงเจ้าพนักงานระดับปฎิบัติการ

เรื่อง ประกันคุณภาพ(อันเป็นสิ่งที่น่ากลัว สำหรับหลาย ๆ คน)
บางคนทังกลัว ทั้งรำคาญ จะเอาอะไรกันนักกันหนา..งานเยอะอยู่แล้ว

หลายคนบอกว่า ไม่กลัว แต่ แหยง..อ่าน เขียนภาษาต่างดาวแบบนี้ไม่เป็น

....แรกเริ่มเดิมที ตัวเองก็กลัว ค่ะ
ศัพท์แสงอะไรกันนักกันหนา ดิฉันเรียน จด อ่านก็แล้ว แปลมิเข้าใจ..นัก

จำได้ว่า โชคดีของเรา หน่วยงานเราไม่มีต้นแบบให้ลอก
ต้นสังกัดใหญ่ของเรา เขาไม่ค่อยรู้จักหน่วยงานของเราเท่าไร..ทำเป็นลืมหรือเปล่าหนอ

เราได้ที

เขียนเอาเอง เขียนพระคัมภีร์เอง
เขียนง่ายกว่าลอกเขาเยอะ

ตัวชี้วัดที่ต้องเป็นรูปธรรม..กำหนดเองแบบง่าย ๆ มาตรวจ จับ สิคะ เชิญค่ะ จับต้องได้อยู่แล้ว มีสินค้า(น่าจับอยู่หลาย..) กล้าจับหรือเปล่า

Q-plan, QA, Preventive planฯลฯ

ดิฉันและน้อง ๆ เขียนได้ แต่ตามภาษาง่าย ๆ แบบภาษางานของเราก่อนนะ

คุณ ๆ ที่ศูนย์ตรวจ ช่วยแปลงสารหน่อยแล้วกันค่ะ

(สุดท้ายก็เราเองน่ะแหละ)

 

วันนี้ ที่หน่วยงานหนึ่งซึ่งหย่ายกว่า หน่วยเราเยอะ พูดคุยเรื่องนี้
ได้มีโอกาสนำเสนอ ความคิดเห็นเรื่องนี้นิดหนึ่ง โดยดูจากประสบการณ์ที่หน่วยงานเล็ก ๆ ของเรา

งานคุณภาพ-ใครก็อยากได้ชื่อว่ามีคุณภาพ

งานประกันคุณภาพ-เขา(หรือเราด้วย) ยัง งง ๆ อยู่ในคำ ศัพท์แสงบางคำ ช่างมันก่อน ใช้วิธี หาคำพูด หาวิธีการดำเนินไปเลย เนียน ๆ ทำไปทุก ๆ วันเวลาที่มีช่องทาง

อย่าประกาศตัว ค่ะ Kick of อะไรเนี่ย ดิฉันว่า ไม่ถึงกับจำเป็น

 

แทรกซึม พุดคุย ลงมือทำ ..เนียนและได้ผลกว่า -ความเห็นส่วนตัวค่ะ..พี่แอมป์  

 

 

 

มาจดหลังจากอ่านของคนอื่นมา

Dream

Dialogue

Do

......

P  -ขอบคุณภาพพุทธรักษา??

งามจริง ๆ ค่ะ

ช่วงนี้งานมากสักนิด จึงแวะพูดคุยน้อย แต่คิดถึงมาก ๆ นะคะพี่ศศิ

งานมาก กว่าที่คาดคิด

ดีใจกว่า งานน้อย หรือไม่มีงาน

 

แฮ่ม ไชโย วันศุกร์แล้ว

น่าจะเข้ากลุ่ม (อินเทรนด์) นะ...Digital divide

(ถามน้อง ๆ usable lab ค่ะ)

พี่ ภูสุภา คะ

นำบันทึกนี้เข้าใน list แล้วนะคะ ^_^

  • มาเยี่ยมเยียนจ๊าน้องหมอเล็ก
  • เลยได้แถมเคล็ดลับงานคุณภาพของน้องติดมือกลับไปด้วย
  • ขอบคุณนะค่ะน้อง

Pน้องมะปราง

      Pพี่หมอเจ๊ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

  • โอ้โห เป็นบันทึกพื้นที่แห่งความสุขที่คนทำงานสัมผัสกันด้วยใจจริง ๆ ค่ะ
  • เขียนเรื่องเครียดให้เป็นเรื่องขำ เขียนเรื่องน่าตกใจ เกี่ยวกับอวัยวะคนให้เป็นเรื่องน่ารัก
  • กำลังเตรียมประชุม ๙.๓๐ น. เวลาเมืองไทย เกือบจะไปไม่ทัน ไม่อาจละสายตาจากแต่ละคำในบันทึกได้ ฝากรอยไว้บางส่วนแล้วจะมาเขียนชื่นชมต่อค่ะ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท