Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

งานธรรมจักรบูชา อินเดีย ตอนที่ ๒


อนุโมทนาสาธุการ งานธรรมจักรบูชา วันที่ ๑-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ณ สังเวชนียสถาน พุทธคยา อินเดีย

สำหรับประเด็นในเรื่องของภาษาที่ใช้ในการสอน  อาตมามีลูกศิษย์ทางเมืองนาคปุระ  รัฐมหาราษฎร์  มาช่วยแปลเป็นภาษาฮินดีและภาษามารตี  แม้จะเตรียมเอกสารเป็นภาษาอังกฤษไปบ้าง  แต่พอถึงเวลาสอนจริงกลับไม่ได้ใช้  อาตมาต้องใช้ทักษะที่มีอยู่มาสอนมาพูดคุยผ่านผู้แปลเป็นภาษาท้องถิ่น (ฮินดี, มารตี) ไปตามลำดับขั้น  วันแรก (๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓)  อาตมาสอนตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง  มีภาคบ่าย  เย็นและตอนค่ำ  รวมแล้วหลายรอบ  พอวันที่ 2  (๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓)  ในตอนกลางวันก็สอนแยกกลุ่มคนไทยออกไปจากกลุ่มนานาชาติ  ตอนค่ำเป็นพวกเวียดนามคณะหนึ่งที่ติดต่อมาขอเรียนเฉพาะกลุ่มของเขาโดยได้ล่ามเป็นพระเวียดนามที่พูดไทยได้ดี  เป็นเจ้าอาวาสของวัดเวียดนามในแคลิฟอร์เนีย  สหรัฐอเมริกามาช่วยแปลจากภาษาไทยเป็นเวียดนามโดยตรง  ศรัทธาของกลุ่มเวียดนามนั้นสูงมาก  พวกเวียดนาม  เกาหลีและทิเบตนั้นเป็นมหายาน  ส่วนไทย  พม่า ศรีลังกาเป็นเถรวาท

ในวันสุดท้าย (๕ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓)  ได้พระลูกศิษย์พระพิมลธรรมหรือสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์  จากวัดมหาธาตุพระมหาเถระที่ทรงคุณธรรมจากในอดีตซึ่งได้ละสังขารไปหลายสิบปีแล้ว  โดยพระอินเดียองค์นี้อยู่เมืองไทยมา ๑๘ ปี  ซึ่งพระพุทธปาโลท่านเดินทางมาจากรัฐมหาราษฎร์  โดยมากับผู้ช่วยรัฐมนตรีที่กำกับดูแลรัฐมหาราษฎร์  ชื่อ ดร.คัมเบล  ซึ่งเดินทางมากราบเยี่ยมอาตมาพร้อมกัน  โดยอาตมาได้มอบหมายให้ดร.คัมเบลไปกำกับดูแลงานมาฆบูชาที่รัฐมหาราษฎร์  กลายเป็นว่าได้มีบุคคลระดับสูงมารองรับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยความเคารพน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนักกับพุทธานุภาพ  ธัมมานุภาพ  สังฆานุภาพ ซึ่งดร.คัมเบลได้นิมนต์พระลูกศิษย์ของพระพิมลธรรม  ซึ่งท่านเป็นพระระดับสูง  (Highest monks) ของรัฐมหาราษฎร์มาด้วย  ซึ่งท่านมีวัดอยู่ที่ออรังบากาด  ใกล้กับถ้ำอชันตา (Ajanta) และแอลโลร่า  (Ellora) ท่านพูดไทยชัดเจนมาก  เข้าใจภาษาไทยและหลักธรรมได้ดี  เพราะเป็นผลผลิตจากพระสงฆ์ไทยเรา  โดยเฉพาะจากหลวงปู่ใหญ่  (พระพิมลธรรม)

วันสุดท้ายเลยสบายกับการให้ความรู้ในธรรมชั้นสูง (วิปัสสนากรรมฐาน)  ซึ่งโดยประสบการณ์การสอนธรรมะเรื่องภาษานั้นสำคัญอย่างยิ่ง  เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก  หากต้องแปลไปสู่ภาษาท้องถิ่น  แม้จะมีความสามารถทางภาษาอังกฤษดีแต่ก็มีปัญหา  หากไม่เข้าใจหลักธรรมในพระศาสนา  อาตมาไม่สามารถพูดแล้วให้พระหรือคนไทยที่ติดตามไปเหล่านี้แปลเป็นภาษาอังกฤษได้เลย  ในกรณีธรรมชั้นสูง  เพราะจิตหรือความเข้าใจในพระธรรมชั้นประณีตละเอียดแยบคาย  ยังไม่ถึงขั้นที่จะสามารถใช้ศัพท์ได้ตรงกับที่อาตมาต้องการสื่อธรรมออกไปจากจิตขั้นความรู้ในกระบวนการของวิปัสสนา  ซึ่งในเรื่องสมถะนั้นไม่ยาก  เพราะมันเป็นทีละขั้นๆของลำดับจิตไม่ซับซ้อนมากนักเป็นหลักธรรมขั้นปกติ  ซึ่งสามารถสอนให้ปฏิบัติได้ผลได้ไม่ยากตามที่ปรากฎ  แต่ในเรื่องวิปัสสนากรรมฐานนั้นจะต้องใช้ภาษาธรรมชั้นสูงขึ้นรวมกับความเข้าใจทางจิตใจในด้านพระธรรมวินัยที่ต้องมีศักยภาพระดับสูง  จึงจะสื่อความหมายออกไปได้ตามประสงค์  เพื่อให้ผู้รับการสอนเข้าใจในความหมายธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง  จึงต้องมีผู้แปลสู่ภาษาท้องถิ่นที่ต้องเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธสาสนาด้วยนี้คือเหตุผล

สำหรับพระท้องถิ่นและพระนานาชาติที่เข้ามาปฏิบัติเหล่านี้  จำนวนมากไม่เคยปฏิบัติมาก่อน  ครั้งนี้จึงเป็นการปฏิบัติครั้งแรกของพวกเขา  แต่ก็สามารถปฏิบัติได้ผลในขั้นของสมถกรรมฐานจนเกิดปีติและเกิดสมาธิ  ทำได้ทั้งการนั่ง ยืน เดิน  มีบุคคลผู้มีความรู้ระดับดอกเตอร์  มานั่งสังเกตการณืและกล่าวสรุปในวันสุดท้าย  ซึ่งในเวลา ๕ วันที่ให้ความรู้ทางด้านจิตภาวนานั้นได้มีการวัดผล  โดยมีบุคคลกรจากศรีลังกา  จากมหาโพธิสมาคมมาติดตามประเมินผลด้วย  การสอนคนที่ไม่รู้เรื่องให้เข้ามาปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยาก  แต่ไม่ยากกับ ๕ วันที่เกิดขึ้น  สรุปได้ว่าปีแรกนี้แระสบความสำเร็จจนเขาอยากให้มีการจัดอย่างนี้ต่อไปในปีหน้า  ที่เรียกว่า “งานธรรมจักรบูชา”  เขาจึงขออารธนานิมนต์ล่วงหน้า  โดยขอให้อาตมามาช่วยต่อไป  โดยเฉพาะเขาชอบใจเรื่องการใช้เทคนิคการสอนให้เข้าใจได้ไม่ยากและสามารถทำได้จริง  มีพลังและมีวิธีการอันเหมาะควรต้องตรงตามจริตของผู้เรียน

สิ่งที่อาตมามีความยินดีอย่างยิ่งคือ  การที่อาตมาได้สั่งสอนพระนานาชาติและคนโดยทั่วไปที่ศรัทธาศาสนา  โดยได้รับการอาราธนาจากมหาโพธิสมาคมของอินเดีย  มีการจัดเตรียมสถานที่อย่างเหมาะสมในเขตโพธิมณฑลสถาน (พระศรีมหาโพธิ์  สถานที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) มีเครื่องเสียงที่กระจายเสียงสวดมนต์และบรรยายธรรมเทศนาดังไปทั่วพุทธมณฑล  จึงเป็นการไปสั่งสอนอย่างสมภาคภูมิของความเป็นครูในพระพุทธศาสนา ๒  ประการ  สำคัญคือ  การได้มาบุชาพระพุทธเจ้าตรงตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นถือว่าเป็นอานิสงฆ์ยิ่งนัก  และอาตมาได้ให้ธรรมที่ยิ่งและถูกต้องตรงตามพระพุทธวจนะด้วย  ที่สำคัย คือ ผู้รับสามารถรับได้ด้วย  ทั้งที่พื้นฐานความรู้การปฏิบัติมีน้อยและไม่มีเลย  อาตมาจึงมีความสุขกับการให้ธรรมะในครั้งนี้ยิ่งนัก  และเชื่อมั่นว่าเป็นมหามงคล  มหาบุญกุศลที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เข้าสู่พระพุทธศาสนาในฐานะสมณอารยบุคคลในชาตินี้  เพื่อให้ถึงที่สุด  หมดสิ้นภพสิ้นชาติ  ตามจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา

ในจำนวนคนที่มาฟังอาตมาสอนบรรยายธรรมนั้น  มีคนหนึ่งเป็นดอกเตอร์จากรัฐอุตตรประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของอินเดียมาจากสมาคมชาวพุทธ  เดิมเป็นฮินดี  จากวรรณะราชปุตตะ  ต่อมาเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา  ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นฆราวาส  บรรยายศาสนาได้ดี  มีความรู้และศึกษาพระไตรปิฎกมาเป็นอย่างดี  เขาได้มานั่งฟังบรรยายและติดตามประเมินการสอนมาโดยตลอด  บุคคลผู้นี้ได้พูดสรุปเป็นภาษาอังกฤษว่า  งานธรรมจักรบูชานั้นได้ผลยิ่ง  และควรจัดให้มีโครงการนี้ในปีต่อไป  ผู้ฟังที่เป็นผู้รู้ดอกเตอร์ดังกล่าว  ได้พูดสรุปในตอนหนึ่งว่า “การสอนของกูรูยีนั้นเป็นเหมือนกับการสร้างประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้  เพราะกูรูยีสอนตามแนวพระพุทธเจ้าที่สอนให้เรื่องยากเป็นไม่ยาก  สามารถอธิบายธรรมวิปัสสนาอันเป็นเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องธรรม  ให้คนทั่วไปสามารถรับฟังและเข้าใจได้อย่างน่าอัศจรรย์  ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยทรงรอยบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างแท้จริง” พวกเขาเชื่อว่า  หากอาตมายังคงช่วยเหลือเขาต่อไป  พระพุทธศาสนาจะต้องหันกลับเข้มแข็งอย่างแน่นอนในชมพูทวีป 

ท่านสีวลีของมหาโพธิสมาคมก็พูดสรุปประเมินผลอย่างยาว  ซึ่งจะได้มีการถอดเทปต่อไป  อันมีนัยยะคำกล่าวคล้ายๆกัน  งานธรรมจักรบูชาในปีนี้  แม้เป็นปีแรก  จึงถือว่าเป็นที่น่าสนใจมากประสบความสำเร็จ  คุ้มค่าต่อการเดินทางไปประกอบศาสนกิจในครั้งนี้

 

พระอาจารย์อารยะวังโส

 

มีต่อตอนต่อไปค่ะ

 

 อ่านงานธรรมจักรบูชา อินเดีย ตอนที่ ๑  ได้ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/arayawangso/344722 

 

อ่านลิขิตธรรมของหลวงพ่ออารยะวังโส  ได้ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/arayawangso/344511

 

 
หมายเลขบันทึก: 344805เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไปอินเดียเมื่อวันที่ 16-19 มีนาคน53เห็นกลอนบทหนึ่งที่ เขาตงคสิริ มีคำว่า พระอาจารย์ อารยะวังโส กลอนนี้มีว่า

ที่สุดของที่สุดเส้นทางมรรค

ที่สุดของที่สุดปรากฏผล

ที่สุดของที่สุดพ้นบ่วงกล

ปรากฏผลเมื่อพ้นที่สุดจริง

กราบนมัสการพระอาจารย์

และกราบอนุโมทนาสาธุ

นับเป็นบุญของชาวพุทธอินเดียแล้วครับ

ขอบคุณญาติธรรมทุกท่านที่ติดตามอ่านบันทึกบุญนี้ค่ะ

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

บุญรักษา ธรรมคุ้มครองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท