ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์


การทำงานในครั้งนี้หลายคนมองว่าไม่ได้เป็นงานทางวิชาการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำงานเพื่อสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ในแบบฉบับของสังคมไทย ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และเก็บเกี่ยวข้อมูลจากสังคม โดยฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ ประกอบกับความรู้พื้นฐานทางวิชาการของนักพัฒนาการมนุษย์ จิตแพทย์ ประสาทวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย จะทำให้เราได้เกณฑ์ในการพิจารณาเรตติ้งที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยมากที่สุด

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทีมนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ได้เดินทางลงพื้นที่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่  ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับโจทย์ของการทำงานใน วันที่ ๒ ของการเดินทางลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงไปเพื่อแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ (ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี่ >>>)

ทางทีมวิจัยได้วางรูปแบบกิจกรรมในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการไว้เป็น ๖ ช่วง

ช่วงที่หนึ่ง กระบวนการขาว เทา ดำ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมทดลองดูเกมคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑๐ เกม โดยแบ่งเป็นเกมแบบออนไลน์จำนวน ๕ เกม และ เกมแบบออฟไลน์จำนวน ๕ เกม โดยพิจารณาจากเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในร้านเกมคาเฟ่ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองพิจารณาให้ระดับความเข้มของสีเป็น ๓ สี ก็คือ สีขาว มีเทา และ สีดำ โดยไม่ได้มีการให้นิยามของสีไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกของผู้เล่น โดยไม่มีกรอบแนวคิดของผู้นำกระบวนการมาชี้นำ

ช่วงที่สอง กระบวนการให้นิยามสี เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดของการให้คำนิยามของระดับสีทั้งสามสี ว่า สีขาว สีเทา และ สีดำ หมายถึงอะไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการกำหนดนิยามสีระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ

ช่วงต่อมา นำเสนอผลการจัดระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเสนอผลการพิจารณาระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ทั้ง ๑๐ เกม โดยเรียงลำดับจากสีขาวไปยังสีดำ ว่าแต่ละเกมมีระดับสีเป็นอย่างไร แล้วพิจารณาเลือกเกมที่มีระดับสีที่มี่ความชัดที่สุดในแต่ละสีออกมาพิจารณาในช่วงต่อไป

ช่วงที่สี่   กระบวนการสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดยทีมวิจัยจะแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อเขียนเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของเกมอีกครั้งหนึ่ง โดยเขียนแผ่นละหนึ่งประเด็น โดยทีมงานจะนำกระดาษไปติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้องโดยจัดกลุ่มและระดับความเข้มของประเด็น

ช่วงที่ห้า หลังจากผ่านช่วงที่ ๔ แล้ว ห้องทดลองก็จะมีเกณฑ์ร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาสมของเกมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ภายใต้ เกณฑ์ที่สร้างให้ห้องทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูเกมในรอบแรกอีกครั้งหนึ่ง แล้วทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกม โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเชิงปฎิบัติการ ในครั้งนี้ ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ๓ สี ก็คือ สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูทีละเกม และ นำสติ๊กเกอร์ไปแปะที่กระดานหน้าห้องที่รายชื่อเกม และ เกณฑ์ในการพิจาณณาระดับความเหมาะสมของเกมใน ๓ กลุ่ม ก็คือ เพศ ภาษา และความรุนแรง

ช่วงที่หก การสรุปผลการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดย เชื่อมความรู้ระหว่างพัฒนาการมนุษย์และเกณฑ์ที่ได้จากห้องทดลอง หลังจากผู้เข้าร่วมห้องทดลองได้ทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะให้นักวิชาการด้านจิตวิทยา จิตแพทย์ นักพัฒนาการมนุษย์ หรือ นักประสาทวิทยา ร่วมสรุปผล โดยวิเคราะห์จากผลการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการจัดในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาจาก ระดับความเข้มข้นของเกณฑ์ และ เรื่องของช่วงอายุของผู้เล่นเกม

         รายชื่อตัวอย่างเกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในกระบวนการทดลอง

     

     เกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการมีจำนวน ๑๐ เกม โดยแบ่งเป็นเกมในระบบออนไลน์ จำนวน ๕ เกม ก็คือ (๑) Special force (๒)   Tales Runner (๓)  Audition (๔)  Pangya และ (๕) Cabal เกมในระบบออฟไลน์ จำนวน ๕ เกม ดังนี้ (๑) GTA (๒)  Winning (๓) Guitar hero (๔) Counter strike (๕) Need for Speed

 

        เครือข่ายที่เข้าร่วมกระบวนการทดลองเชิงปฏิบัติการ

ในการทำห้องทดลองครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกระบวนการทดลองจำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเด็ก และ เยาวชน เครือข่ายนักวิชาการ

          ผลการทำงานในห้องทดลอง

  ผลการทำงานในช่วงที่ ๑ และ ๓     ผลการจัดระดับความเหมาะสมของเกมโดยทฤษฎีสามัญสำนึก : ขาว เทา และ ดำ พบว่า

อันดับที่

ชื่อเกม

ระดับความเหมาะสมของเกม

ค่าเฉลี่ยคะแนน

1

GTA

สีดำระดับ 2

277

2

COURTER STIKE

สีดำระดับ 1

221

3

SPECAIL FORCE

สีเทาระดับ 3

189

4

NEED FOR SPEED

สีเทาระดับ 1

135

5

CABAL

สีเทาระดับ 1

127

6

GUITAR HERO

สีเทาระดับ 1

108

7

PANGYA

สีขาวระดับ 2

62

8

WINNING 2008

สีขาวระดับ 2

53

9

TALES RUNNER

สีขาวระดับ 2

44

10

AUDITION

สีขาวระดับ 2

43

 

ผลการทำงานในช่วงที่ ๒   ผลการให้คำนิยามเรื่องสี ขาว เทา และ ดำ

ขาว หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีผลต่อจินตนาการ มีประโยชน์ในการฝึกความไว มีการฝึกการทำงานเป็นทีม มีผลทางบวกต่ออารมณ์ เช่น คลายเครียด สนุกสนาน ฝึกสมาธิ และเป็นเกมที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย โดยไม่มีลกระทบเชิงลบในทางอารมณ์ ไม่มีภาพของการใช้ความรุนแรง ไม่มีเรื่องของพฤติกรรมที่เลยนแบบแล้วเกิดอันตรายสำหรับเด็ก

เทา หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ในลักษณะเดียวกับกลุ่มสีขาว แต่ในส่วนของเนื้อหาของเกมจะเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า ๑๓ ปีซึ่งจำเป็นทีจะต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ เพราะมีเนื้อหามีส่วนดีกับส่วนไม่ดี มีความรุนแรง สามารถสร้างความเครียดให้กับเด็กได้

ดำ หมายถึง เนื้อหาของเกมมีรุนแรงมาก เช่น มีการฆ่าคน มีการทำร้ายคนอื่น มีการใช้อาวุธ มีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย

ผลการทำงานในช่วงที่ ๔    การร่วมสร้างเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมห้องทดลองเชิงปฏิบัติการได้ร่วมกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ความรุนแรง

·         เป็นการปลูกฝังสิ่งไม่ดี  ไม่ยินยอม/ต้องชนะ การใช้อารมณ์ จิตใจแข็งกระด้าง ทำให้เด็กซึมซับสิ่งไม่ดีโดยไม่รู้ตัว

·         การใช้กำลังทำร้าย การต่อสู้ การขโมยรถคนอื่น ปล้นรถ ไล่ยิง การฆ่าและการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายตำรวจ การใช้อุปกรณ์ทำร้าย การฆ่าคนอื่น การกระทำต่อคนอื่นป่าเถื่อน ความทารุณโหดร้าย อาชญากรรม การละเมิดร่างกายและทรัพย์สินผู้อื่น

หมายเลขบันทึก: 169157เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อ. โก๋ ที่รักและนับถือ

ผมมองว่า งานที่ทำไปแล้วยังไม่ใช่งานทางวิชาการในระดับที่จะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นงาน "วิจัย"   แต่ถ้ามีการทบทวนทฤษฎี นำมาคิดทฤษฎีใหม่  ตั้งโจทย์วิจัยที่ชัดเจน   แล้วออกแบบการทดลอง การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลใน้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการได้    ก็จะเป็นผลงานทางวิชาการที่ยอดเยี่ยมได้    น่าจะพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างประเทศได้ด้วยซ้ำ

 

input ที่น่าจะได้เพิ่ม คือ จากนักพฤติกรรมศาสตร์ นักจิตวิทยาวัยรุ่น

วิจารณ์

ขอบคุณอาจารย์วิจารณ์มากครับ ตอนนี้ ผมกับอาจารย์เหม่งกำลังทบทวนทฤษฎีด้านจิตวิทยา พฤติกรรม พัฒนาการมนุษย์ แล้วก็เตรียมจัดเวทีกับนักวิชาการโดยใช้กระบวนการทดลองเรตติ้งแล็บเป็นเครื่องมือครับ

อ.วิจารณ์คะ อ.เหม่ง และ อ.โก๋คะ

รูปแบบที่ของ Rating System ที่ อ.โก๋พัฒนามาหลายปีในการประเมิน "คุณภาพ" ของสือหลายชนิด อาทิ เริ่มจากเว็บไซค์ รายการทีวี ต่อมาเกมคอมพิวเตอร์ แล้วก็ภาพยนตร์ อ.แหววยืนยันว่า "เป็นการค้นคว้า" และนำผลการค้นคว้ามาวิเคราะห์ในแต่ละครั้งหลังจากการให้สีโดยคนแต่ละคนที่ร่วมเวที และการสังเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญก็ทำให้เกิด "องค์ความรู้ร่วม" ของคนกลุ่มหนึ่ง ตรงนี้ อาจเรียกว่า "ทฤษฎี" ก็ได้มังคะ

อ.แหวว เหมือนว่า คนทำงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์สังคมจะเรียก "งานวิจัย" ในทิศทางนี้ว่า "Development&Research" หรือ "D&R" เริ่มต้นจาก "การพัฒนา" และจบลงโดยการวิจัย

คนทำงานในทิศทางนี้ไม่เชื่อว่า ทฤษฎีเก่าเป็นศาสนา จึงรื้อถอนได้ ปรับให้สอดคล้องกับ social need"ได้ตลอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท