ร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์ พื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่และเชียงราย : ตอนที่ ๑ เป้าหมายและกิจกรรมในการเดินทาง


การเดินทางเพื่อเตรียมโครงการวิจัยและพัฒนาสื่อไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย หรือ ICT4Society โดยครั้งนี้เป็นการเตรียมแผนงานด้านการพัฒนาพ้นที่ในการเข้าถึงและบริโภคสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือเรียกง่ายๆว่า ร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่พื้นที่ภาคเหนือ

ทางชุดโครงการวิจัยและพัฒนา ภายใต้ชื่อ ICT 4 Society ได้เตรียมการจัดทำแผนงานวิจัยและพัฒนาด้านพื้นที่ในการเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยได้ขึ้นไปเตรียมงานในพื้นที่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ถึง วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ผ่านมา

 

เป้าหมายของการเดินทาง :

 

      ในการเดินทางครั้งนี้ เรามีเป้าหมายหลักของการเดินทางอยู่ ๔ ข้อ

     ข้อแรก            เพื่อเตรียมการจัดทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในพื้นที่นำร่องภาคเหนือ ก็คือ จังหวัดเชียงใหม่ และ แสวงหาความเป็นไปได้ในการเตรียมทำพื้นที่นำร่องในจังหวัดเชียงรายเพิ่มเติมด้วย ข้อนี้เป็นการเตรียมการทำงานของคณะนักวิจัย[1]และคณะที่ปรึกษา[2]ภายใต้โครงการ ICT4Society ที่กำลังทำงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์หลักเกี่ยวกับการพัฒนาให้เกิดพื้นที่ในการเข้าถึงและบริโภคสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ นอกเหนือไปจาก การพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเด็ก เยาวชน ครอบครัว การพัฒนาเนื้อหาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การส่งเสริมศักยภาพผู้ผลิต และ การปฏิรูปกฎหมายและนโยบาย

     ข้อที่สอง          เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดยได้ร่วมมือกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคนโยบาย เครือข่ายภาคเด็ก เยาวชน ในการจัดทำห้องทดลองเขิงปฏิบัติการกับกลุ่ม (๑) นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๒) ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ เครือข่ายภาครัฐ เช่น สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาสังคมจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด และ (๓) กลุ่มเยาวชนที่ติดเกมในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับ มูลนิธิกระจกเงา จังหวัดเชียงรายในการจัดทำ(๔) ห้องทดลองกับเครือข่ายเยาวชนอาสาสมัครไอซีทีที่จังหวัดเชียงราย

     ข้อที่สาม          เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ โดยได้ร่วมมือกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำห้องทดลองเชิงปฎิบัติการกับ (๑) กลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ (๒) กลุ่มเครือข่ายเยาวชน เช่น NDR และ เครือข่ายเยาวชน ที่จังหวัดเชียงใหม่

     ข้อที่สี่   เพื่อเยี่ยมเยี่ยนและแสวงหาเครือข่ายในการทำงานเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในภาคเหนือ ที่จะเป็นเครือข่ายบพันธมิตรในการทำงานในพื้นที่ต่อไป ข้อนี้เป็นจุดที่ดีที่จะได้เริ่มต้นการทำงานด้วยการ “ผูกมิตร” ที่มีเป้าหมายเดียวกัน รวมไปถึงการปรับแนวคิดร่วมกันเบื้องต้นก่อนที่จะเข้ามาพูดคุยกันในเวทีสาธารณะเพื่อเตรียมการขั้นอื่นต่อไป

 

กิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบเป้าหมายของการทำงาน :

 

     กำหนดการของการเดินทางลงพื้นที่ครั้งนี้ เราวางแผนไว้เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายใน ๔ ข้อ ดังนี้

     วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ทีมงานเดินทางลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในจังหวัดเชียงใหม่

     วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ คณะนักวิจัยและคณะที่ปรึกษาเดินทางเพื่อเยี่ยมเยียนเชิงกัลยาณมิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัด และ วัฒนธรรมจังหวัด

    วันเสาร์ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดเขียงราย เพื่อจัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเกมคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายเยาวชนในมูลนิธิกระจกเงา และ เยี่ยมเยียนเชิงกัลยาณมิตรกับเครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

     วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ จัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการภาพยนตร์ กับ กลุ่มเยาวชน ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เยี่ยมเยียนเชิงกัลยาณมิตรกลุ่มเครือข่ายเยาวชน NDR และ คนดีศรีเชียงใหม่

     วันจันทร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ จัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการภาพยนตร์ กับ กลุ่มนักศึกษาของมหาวทิยาลัยเชียงใหม่ และ จัดทำห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเกมคอมพิวเตอร์ กับ เครือข่ายผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ และ เครือข่ายภาคนโยบาย เครือข่ายภาควิชาการ และ เครือข่ายเยาวชน

              วันอังคารที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ จัดทำเวทีวิชาการเพื่อเตรียมการทำโครงการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่  และ เวทีวิชาการเพื่อเตรียมการจัดตั้งกรรมการชุมชนในการบริหารจัดการร้านเกมคาเฟ่ และ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์



[1] ประกอบด้วย (๑) อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ (๒) คุณอารยา ชินวรโกมล (๓) คุณสุรวดี รักดี (๔) คุณทิพย์ลักษณ์ โมลวณิช (๕) คุณวัชระ พรมศรี และ (๖) คุณปริญญา จันทร์ทองรัก จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

[2] ประกอบด้วย (๑) รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล (๒) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (๓) คุณลัดดา ตั้งสุภาชัย จากกระทรวงวัฒนธรรม (๔) พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล

หมายเลขบันทึก: 175551เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2008 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท