Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ลาวศึกษา : โครงการศึกษาดูงานด้านการจัดการประชากรต่างด้าวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว "โครงการ 1"


โครงการศึกษาดูงาน

ด้านการจัดการประชากรต่างด้าวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ของ นักศึกษาภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ 

คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระหว่างวันพุธที่ 3 กันยายน - จันทร์ที่ 8  กันยายน 2551 

ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

ชื่อโครงการ

โครงการศึกษาดูงานด้านการจัดการประชากรต่างด้าวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้รับผิดชอบ

สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ

อาจารย์ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ระยะเวลาดำเนินการ

วันพุธที่ 3 กันยายน  วันจันทร์ที่ 8 กันยายน  2551                     

สถานที่ดำเนินการ

1.        สำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย

2.        สำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

3.        คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

4.        กองทะเบียนราษฎร กองคุ้มครองคนต่างด้าว และ กองสัญชาติ กระทรวงป้องกันความสงบ  สาธารณรัฐประชาชนลาว

5.        กองคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

6.        ศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

7.        สถานเอกอัครราชฑูตไทย ประจำ สปป.ลาว

8.        บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)

9.        เขื่อนผลิตไฟฟ้าน้ำงึม รัฐวิสาหกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

10.    สถานประกอบธุรกิจคาสิโนในเขตพื้นที่ควบคุม (Zoning) ของผู้ประกอบการต่างด้าว ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าน้ำงึม  

จำนวนผู้ร่วมโครงการ

1.   นักศึกษาชั้นปริญญาโท

2.   อาจารย์

3.   เจ้าหน้าที่

4.   มวลมิตร

หลักการและเหตุผล

        ในการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขากฎหมายระหว่างประเทศ  ในสภาพสังคมระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตควรจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการศึกษานิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้อง  ทั้งที่เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเองและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ  ซึ่งในการทำความเข้าใจภาคของการศึกษานิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐนั้น นักศึกษาจะต้องเรียนรู้และค้นคว้าในเรื่องการจัดการประชากรที่มีลักษณะระหว่างประเทศของรัฐไทย  ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีความตระหนักในหลักกฎหมายระหว่างแผนกคดีบุคคลในการจัดการประชากรไทยหรือประชากรต่างด้าวของรัฐอื่นๆ  ซึ่งในโอกาสอันดีที่มีคณาจารย์  ข้าราชการ และนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้ามาศึกษาอยู่ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่อง และโดยที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศหนึ่งที่มีอาณาเขตดินแดนติดต่อกับประเทศไทยเป็นระยะทางยาวทั้งบกและทางน้ำ  หน่วยงานภาครัฐและประชากรภาคประชาชนมีความใกล้ชิด มีความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนระหว่างกันเป็นจำนวนมากและยาวนาน ตลอดจนมีภาษาในการสื่อสารเข้าใจกันได้เป็นอย่างดีกับรัฐไทย  ดังนั้นในการศึกษาด้านการจัดการประชากรต่างด้าวของในทางกฎหมายระหว่างประเทศ  โดยการเปรียบเทียบกับการจัดการประชากรต่างด้าวของรัฐไทย  ทางสาขากฎหมายระหว่างประเทศจึงได้เลือกที่จะศึกษาการจัดการประชากรต่างด้าวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

        โดยในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทางนักศึกษาสาขากฎหมายระหว่างประเทศได้เลือกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลประชากรต่างด้าวต่างๆ คือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงแรงงาน  และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันของภาควิชาการของทั้งสองประเทศ จึงเข้าเยี่ยมชมคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เพื่อฟังคำบรรยายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการจัดการประชากรต่างด้าวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ตลอดจนการจัดการประชากรด้านต่างๆ ตามความตกลงร่วมกันที่มีร่วมกันของทั้งสองรัฐ  อันจะเป็นความรู้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและการทำวิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ในสาขาระหว่างประเทศของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

 วัตถุประสงค์

1.   เพี่อศึกษาและเปรียบเทียบระบบกฎหมาย  กระบวนการวิธีทางปฏิบัติในการจัดการ  ประชากรที่มีลักษณะระหว่างประเทศในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย

2.   เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และกระชับที่ดีในระดับหน่วยงานภาครัฐ  ภาควิชาการ และ ภาคประชาชน ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย

3.   นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในหลักกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น   ตลอดจนเห็นสภาพสถานการณ์สังคมในมุมมองระหว่างประเทศอันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาและนำหลักกฎหมายมาปรับใช้ในสถานการณ์ที่แท้จริงของสังคมได้ต่อไป

4.   นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ต่อไป  

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.   ได้ศึกษาและเปรียบเทียบระบบกฎหมาย กระบวนการวิธีทางปฏิบัติในการ จัดการประชากรที่มีลักษณะระหว่างประเทศในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย

2.   ได้สร้างความสัมพันธ์และกระชับที่ดีในระดับหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และ ภาคประชาชน ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย

3.   นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในหลักกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น ตลอดจนเห็นสภาพสถานการณ์สังคมในมุมมองระหว่างประเทศอันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาและนำหลักกฎหมายมาปรับใช้ในสถานการณ์ที่แท้จริงของสังคมได้ต่อไป

4.   นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์  / สารนิพนธ์ต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.   ปรึกษาคณะกรรมการเพื่อเตรียมการดูงาน

2.   เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะนิติศาสตร์

3.   ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.   ศึกษาดูงานตามกำหนดการที่จัดไว้

5.   สรุปและประเมินผล 

คำสำคัญ (Tags): #ลาวศึกษา
หมายเลขบันทึก: 208060เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ดีจังเลยครับ
  • ได้แลกแปลกความคิดเห็นกับประเทศเพื่อนบ้าน
  • มีนักศึกษาลาวมาเรียนหลายท่านไหมครับ
  • อาจารย์ไปต่างประเทศ(ดูหรูเนอะ)
  • อย่าลืมถ่ายภาพมาให้ดูด้วยนะครับ
  • การไปดูงานในครั้งนี้ ถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เลยค่ะอาจารย์
  • การดูงานครั้งหน้า ล่นเวลามาใกล้ๆ ก็ดีนะค่ะ จะได้ไม่รอนาน
  • คราวหน้าอยากไปจีนค่ะ
  • แต่่ถ้าจะไปหลวงพระบาง ขอเสนอไปเครื่องบินน่าจะไม่เหนื่อยดีนะค่ะ
  • เพราะเห็นน้องบางคนเมารถ ถ้าไปรถแล้วเจอ 3,000 กว่าโค้ง น้องที่เมารถคงไม่รอดแน่
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์แหววนะค่ะ ที่เคี่ยวเข็ญให้ไปลาว
  • ไม่เสียใจ และคิดว่าคิดไม่ผิดที่ไปลาวเลยค่ะ
  • ไปดูงานมาแล้ว หากมีการประชุมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะได้นำปัญหามาหารือกันเพื่อหาทางทำสิ่งที่คิดว่า น่าจะดีที่สุดสำหรับทุกคน
  • และในระยะเวลาอันใกล้นี้ ก็มีงานที่ต้องหารือกับ ธปท.เป็นระยะอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องทองคำที่กำลังฮอตอยู่ในขณะนี้

สวัสดีครับอาจารย์ ไม่รู้ ธนเชษฐ์ วิสัยจร (นายเจย์)   ไปขอคำปรึกษาอาจารย์เรื่องการทำวิจัย คนชายขอบ/คนไร้รัฐ หรือยังนะครับ แต่ผมคุยกะนายเจย์ทาง MSN บอกว่าไม่อยากข้ามหน้าข้ามตาอาจารย์ที่ปรึกษา (เป็นงั้นไป) สงสัยนายเจย์ คงจะเกรงใจไม่ก็อายอาจารย์แหวว (อายครูบ่รู้วิชา) และกลัวอาจารย์ที่ปรึกษาเขม่น เอิ๊กๆ

ตอนนี้นายเจย์เรียน โทที่ มธ. และเรียน โท อักษร ที่ จุฬา ด้วย นายเจย์บ้านอยู่ อุบล รู้จักกับ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ สปป.ลาว เพราะพ่อของนายเจ เป็นทหาร (พล.ต พิเชษฐ์ วิสัยจร) แม่เป็นรองอธิการบดีที่ ม.อุบล เดี๋ยวผมจะพยาม ไซโค ให้นายเจ ไปขอคำปรึกษาจากอาจารย์นะครับ   

ตอบ อ.ขจิต ก่อนค่ะ

เรื่องไปลาวนะคะ น่าสนใจมาก ไปศึกษาด้วยกันไหมคะ ในอนาคต การเปิดเสรตามแนวชายแดน คงต้องการองค์ความรู้อย่างมาก มาช่วยกันทำลาวศึกษาซิคะ ต้องการสหวิทยาการนะคะ

ตอบคุณวันทนา

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเงินตราชัดมากนะคะ คิดว่า จะเขียนบทความลงมติชน หารือกระทรวงการคลังและธนาคารชาติค่ะ

งานเขียนเข้าคิวรอเพียบ

ตอบคุณกวิน

ยังไม่เคยเจอคุณธนเชษฐ์ วิสัยจร (นายเจย์)   เลยค่ะ

ไม่ต้องมาหาก็ได้ค่ะ อยากได้อะไร ก็ลองดูในเว็บไซค์

อ.แหววรู้จักคุณพิเชษฐ์ วิสัยจรค่ะ ถ้าคุณเจย์อยากรู้ด้วยก็ยินดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท