Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

วิทยานิพนธ์ที่สนองตอบต่อความต้องการของสังคม : ทำอย่างไร ? ยากเกินไปไหม ?


โดยสรุป เมื่อวิทยานิพนธ์หนึ่งสร้างหัวข้อและเป้า่หมายการศึกษาจากเรื่องจริง (True Story) ที่เป็นประเด็นในสังคม (Social Issues) และใช้วิธีการศึกษาที่อยู่ในสายตาของสังคม การยอมรับผลการศึกษาโดยสังคมจึงเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่า สังคมจะยอมรับและใช้ประโยชน์การศึกษาในลักษณะนี้ได้จริง

            ในประการแรก ต้องเริ่มต้นจาก "หัวข้อศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการของสังคม"

             ในช่วง ๗ ปีหลังมานี้ มีคนมาหารือบ่อยครั้งว่า อยากทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่สังคมยอมรับได้ ? ซึ่งทุกครั้ง อ.แหววก็จะตอบว่า ก็ศึกษาถึงเรื่องที่สนองตอบต่อความต้องการของสังคม (Social Need) ซิคะ  แล้วผู้ถามก็จะถามต่อไปว่า แล้วเราจะรู้อย่างไรว่า สังคมต้องการรู้เรื่องอะไร ? ซึ่ง อ.แหววก็จะตอบว่า สังคมก็คือคนหลายๆ คน ผู้ทำวิทยานิพนธ์หรือผู้วิจัยก็ควรจะไปฟังหรือไปคุยกับคนหลายๆ คน เคล็ดลับ ก็คือ ต้องคุยกับคนที่มีชีวิต หรือถ้าจะอ่าน ก็ต้องอ่านจากงานเขียนที่เพิ่งเขียน การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากหนังสือหรือบทความที่เขียนมานานแล้ว จะนำเราไปสู่หัวข้อเก่าที่อาจมิใช่เรื่องที่สังคมต้องการในยุคปัจจุบัน

           ในประการที่สอง เมื่อได้มาซึ่งหัวข้อศึกษาที่เราคาดว่า สนองตอบต่อความต้องการของสังคมแล้ว เราก็จะต้องกำหนดวิธีการศึกษาที่ทำให้เราอาจได้องค์ความรู้ที่ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งอาจจะเริ่มต้นก่อนจากวิจัยเชิงเอกสาร หรือวิจัยเชิงประสบการณ์ก็ได้ หรือแม้จะทำไปอย่างคู่ขนานกันก็ได้

            ที่สำคัญที่ผู้ศึกษาจะต้องตระหนัก โดยเฉพาะในงานวิจัยด้านนิติศาสตร์ ก็คือ องค์ความรู้ที่ผู้ศึกษาจะต้องแสวงหาและทบทวนนั้นมีอยู่ใน ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) องค์ความรู้ด้านข้อเท็จจริงของรัฐ (๒) องค์ความรู้ด้านข้อกฎหมายและนโยบายของรัฐ และ (๓) องค์ความรู้ด้านประสิทธิภาพของกฎหมายและนโยบายต่อข้อเท็จจริง ซึ่งหากผู้ศึกษาไม่มีองค์ความรู้อย่างเพียงพอในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ศึกษาก็แทบจะไม่สามารถวิเคราะห์ถึงผลของเรื่องทั้งในอดีตที่ผ่านมา ในปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่ และในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

          ในประการที่สาม ด้วยโอกาสของโลกปัจจุบันที่เราอาจจะศึกษาร่วมกับสังคมโดยการเขียนงานบนอินเทอร์เน็ต หากผู้ศึกษาใช้วิธีการระดมสมองในอินเทอร์เน็ต เราอาจจะถามสิ่งที่เราสงสัยในกระดานข่าวของเว็บไซค์หรือเว็บบล็อกต่างๆ หรือเราอาจจะเผยแพร่ "ข้อค้นพบ (Finding)" ในเว็บบล็อกที่มีมวลชนที่คาดว่า จะสนใจหัวข้อการศึกษาของเรามาชุมนุมอยู่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเว็บไซค์หรือเว็บบล็อกจัดเป็นส่วนหนึ่งของ "วิธีวิจัย" ได้ค่ะ จัดเป็น "การระดมสมอง"

           ในเบื้องแรกของการทำงาน ผู้ศึกษามักจะเสียกำลังใจที่จะลงเผยแพร่งานเขียนในเว็บบล็อก ไม่มีใครมาอ่านหรือแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนของเรา ทั้งนี้ เพราะยังไม่มีใครมากนักทราบถึงความมีอยู่ของงานเขียนของเรา  แต่ด้วยกลไกการค้นบนอินเทอร์เน็ต อาทิ google ก็อาจจะมีคนทยอยเข้ามาอ่านงานเขียนตามสมควร แต่ถ้าเราอยากให้การเผยแพร่งานเขียนเป็นไปเร็วมากขึ้น เราอาจจะต้องส่งอีเมลล์แจ้งความมีอยู่ของงานเขียนของเราไปยังบางท่านที่สนใจในหัวข้อที่เราศึกษา ขอให้ตระหนักว่า การเผยแพร่งานเขียนบนอินเทอร์เน็ตในระหว่างการศึกษาวิจัย เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย แต่มีประโยชน์มาก เพราะความรู้จะไม่เกิดระหว่างคนสองคน แต่จะเกิดขึ้นในคนหมู่มาก

             คู่ขนานกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต เราก็อาจจะสร้าง "เวทีระดมสมองบนโลกแห่งความเป็นจริง" ขอให้ตระหนักว่า การระดมสมองนั้นจะทำให้งานเขียนมีคุณค่ามากขึ้น เพราะเกิดจากความรู้ของคนจำนวนมาก เป็นงานศึกษาที่ทำร่วมกับสังคม

             โดยสรุป เมื่อวิทยานิพนธ์หนึ่งสร้างหัวข้อและเป้า่หมายการศึกษาจากเรื่องจริง (True Story) ที่เป็นประเด็นในสังคม (Social Issues)  และใช้วิธีการศึกษาที่อยู่ในสายตาของสังคม การยอมรับผลการศึกษาโดยสังคมจึงเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่า สังคมจะยอมรับและใช้ประโยชน์การศึกษาในลักษณะนี้ได้จริง

-------------------------------------------------------------

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

----------------------------------------------------------------------- 

หมายเลขบันทึก: 167180เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาเชียร์อาจารย์
  • อยากเห็นงานวิจัยแบบที่อาจารย์เสนอ
  • ดีกว่าผลงานวิจัยที่เสร็จแล้ว
  • ไปอยู่บนหิ้ง
  • คนไปอยู่บนหอคอยงาช้างครับ
  • ขอบคุณครับ

         อ.แหววกำลังพยายามสร้างทีมวิจัยด้านนิติศาสตร์ในเรื่องใหม่ๆ ที่จำเป็น
ลองไปเสวนากับทีม Health4Stateless นะคะ ถ้ามีเวลา
         สิ่งที่ อ.แหววต้องทำให้สำเร็จ ก็คือ เชื่อมประชาคมวิจัยดั่งเดิมทางนิติศาสตร์ และประชาคมวิจัยแนวคิดใหม่เข้าหากัน
         องค์ความรู้ใหม่และเก่าน่าจะสร้างสรรค์ความลุ่มลึกและความร่ำรวยทางสติปัญญาให้สังคมไทยได้ค่ะ จริงไหมคะ

         ลองศึกษาไหมคะ คลิก URL ดังต่อไปนี้ค่ะ
 
http://gotoknow.org/planet/rdm-meeting-room-on-health4stateless
 
หรือ
 
http://gotoknow.org/planet/team-on-health4stateless

 

อ่านหลักการของอาจารย์เริ่มมองเห็นแนวทางแต่จะถูกจะผิดขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยครับ

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะที่ชี้แนวทางในการทำงานวิจัยแบบตอบโจทย์ social need คราวนี้ก็ตาเราบ้างล่ะที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชาวนิติศาสตร์ไซเบอร์  แต่คงต้องใช้เวลาปรับตัวและสมองอันมีอยู่น้อยนิด สักระยะนะคะ 

ยืนยันค่ะว่าจะเกาะเกี่ยวกับสังคมวิจัยทางไซเบอร์นี้ไม่มากก็น้อยต่อไป  

ขอบคุณสำหรับความรู้ และแนวทางที่เป็นประโยชน์ค่ะ

แจ๋วค่ะ

อ.แหวว ค่ะ อี๋เข้าไปอ่านเื่รื่อง "น้องออยแห่งแม่อาย" มันเกิดบางอย่างขึ้นมาในหัวสมองน้อยๆอันแสนจะคิดช้าของอี๋ ว่า อี๋ควรรีบจบเร็วๆ ไม่เอามันอย่างเดียว..แล้วทำอะไรบางอย่างกับชีวิตบ้างล่ะ

อย่างน้อย : ก็คงมองปํญหารอบตัวอย่างใส่ใจมากขึ้น

ขอบคุณนะคะ

 

ถ้าจะไม่ยอมให้โศกนาฏกรรมดังที่น้องออยประสบเกิดขึ้นแก่เด็กที่ห้วยสะคาม การไปอุบลคราวหน้า อี๋ก็ต้องคิดที่จะทำอะไรบ้างล่ะ เพื่อเริ่มต้น

จริงไหม ?

ปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ

ขอบพระคุณมากครับสำหรับการที่ช่วยแนะนำการเขียนวิทยานิพนธ์ที่ผมสงสัยมากนานมากว่า ทำอย่างไรที่วิทยานิพนธ์ของเราจะไม่อยู่แต่บนหิ้งและไม่มีใครเหลียวแลเลย

อ่านข้อแนะนำของอาจารย์แล้วครับ.....เป็นแนวทางให้ผมได้เห็นหนทางที่จะเริ่มต้น

กับงานของตัวเองเสียที.......แต่ก้อ....อีกนั่นแหละยังไม่รู้หัวข้อเลย.......

ทำไงดีครับ......อาจารย์แหววครับ........ช่วยผมด้วยนะครับ...........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท