ฟุตบอล นักขับรถแข่ง และ LO


เมื่อไร คนไทยจะ เข้า "ใจ" และ เรียนรู้การเล่นกีฬาที่ถูกต้อง

1) วันก่อน อ่านข่าว นักขับรถแข่งระดับโลก  ชูมัคเกอร์   ซึ่งไป ร่วมแจม บอลโลก ที่ เยอรมัน 2006 ครั้งนี้ 

เผอิญ นักข่าวเห็นมาเชียร์บอล  ก็เข้าไปถาม

คำตอบที่น่าประทับใจ คือ ชูมัคเกอร์  เขาบอกว่า อย่าไปสนใจผลแพ้ชนะเลย   มาบอลโลกคราวนี้ มา happy กับบรรยากาศครับ

คนที่ใจงดงาม  ใจแบบ LO  จึงพูดออกมาแบบนี้ได้นะครับ และ นี่แหละ การเล่นกีฬาที่ถูกต้อง คือ การฟอกใจตนเอง  ส่วนร่างกายแข็งแรงก็เป็น ของแถม  (output)    การยกระดับจิตใจเป็น outcome

บอลไทย  ถ้าไม่ตีกัน ก็พนัน 

เห็นแข่งทีไรบอกว่าเพื่อสามัคคี แต่ โดยพฤติกรรม  ก็ไม่เป็นเช่นนั้น

การทำ Hansei หลังการแข่งกีฬาจึงสำคัญมากๆ  และ hansei นี้เองที่เป็น hi-light ของการทำ AAR และ การทำ TQM

2) เรื่องนี้ พออ่านแล้ว   ทำให้ผม นึกถึงการทำ LO  ก็เหมือนการเล่นกีฬา

อย่าหวัง ผล results มากไป  เน้น  ชนะใจตนเองดีที่สุด

จิตของเราเกิดไหม ถ้าเห็นคู่แข่งชนะเรา  ตอนแพ้นี่แหละครับ  จะเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา  จะเห็นความคิดอกุศล ที่เป็นผลผลิตของจิตที่เป็นอกุศล

ที่ว่าแพ้เป็นพระ  เพราะ เราจะเห็นตัวเอง เลวแค่ไหน เอาแต่โทษโน่น นี่ อยู่ร่ำไป

โค้ช ชาวเยอรมันคนหนึ่ง  เคยมาคุมทีมชาติไทย   เขาให้นักเตะไทยที่เป็นเด็กหน้าใหม่วิ่งระยะไกลทุกวัน แม้วันแข่ง ตอนเช้าก็ให้วิ่ง   ปรากฏว่ทีมไทยแพ้  

ผู้นำสมาคมฟุตบอลไทย จึงปลดโค้ชออก  แค่ นัดเดียวที่มาเป็นโค้ชเท่านั้นเอง 

ผมอ่านข่าวแล้ว  ก็พอจะเข้าใจนะครับว่า   โค้ชเยอรมันเขา กำลังเน้นกระบวนการ ไม่ได้เน้นผล

3) พวกเราหลายคนทำ LO ถ้ายังเน้นผล  ผมว่า "ใจ" ยังไม่เป็น LO

พวกเราทำ LO & KM ถ้าไม่ทำ Hansei หรือ reflection ก็ยากที่ จะเข้า Show &share แบบ ปิยวาจากันได้

การทำ Dialogue ต้องการคนที่เข้าร่วมแบบจิตว่าง หรือ อย่างน้อยก็จิตปกติ

 

4) การที่ให้ learner เข้า ค่าย Constructionism learning   ผมเน้นไปที่ เห็นจิตใจตนเอง  เห็นความคิดตนเอง 

ยิ่ง แก้เกมไม่ได้ แพ้เกม  หงุดหงิด ฯลฯ จะ สะท้อน (reflection) ตนเองได้ดียิ่งนัก

5) จิตเกิดอาการ  ก็เพราะ ความคิดไปแหย่ ไปปรุง

จิตเกิดอาการแล้ว  จะผลิตความคิดแย่ๆออกมา เชื่อถือไม่ได้  ดังนั้น เมื่อจิตเกิด ก็ต้อง "หยุดคิด" (เรื่องนั้น ต่อไป) และ โอปนยิโก หรือ reflection นั่นเอง  (ย้อนมาดูจิตตนเอง   มาปลงไตรลักษณ์ ) 

จนกว่าจิตจะโล่งๆ  ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง   จึงคิดต่อได้ครับ

ขอเอาคำสอน ของ หลวงปู่ดูลย์  วัดบูรพาราม สุรินทร์  มา ขยายความว่า

"ผู้รู้ไม่คิด"  คือ คนมีสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน กังวล สงสัย  แค้น เบื่อ ติดสุข"

"ผู้คิดไม่รู้" คือ คนที่ยังคิดต่อ คิดขณะจิตเกิดอาการ  คือ คนขาดสติ"

"หยุดคิดก็จะรู้ "  คือ เมื่อหยุดคิด ก็จะรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดในตัวของเราเอง   รู้ความคิดที่เป็นตัวปรุงแต่ง  "

"ไม่คิดไม่รู้"   คือ  ที่อธิบายมาทั้งหมด ถ้าไม่คิด ก็จะไม่รู้"

คนเราถ้าไม่คิดก็จะเป็นแบบก้อนหิน   คนเราต้องคิดครับ แต่ คิดตอนที่จิตปกติ เท่านั้น

6) ใน U Theory นั้น  เจ้า VOJ หรือ ย่อมาจาก  voice of judgement ก็คือ ความคิดปรุงแต่ง สังขารการปรุงแต่ง ความคิดแบบวิตก วิจารณ์

หากรู้เท่าทัน  VOJ   ก็เรียกว่า สติครับ

รู้ทัน VOJ บ่อยๆ  ก็จะควบคุมจิตได้  

ตัวรู้เท่าทันนี่แหละ คือ "สติ"

หมายเลขบันทึก: 34180เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ดีใจที่ได้อ่านเรื่องของอาจารย์ครับผม
 ไม่แน่ใจว่าเป็นVOJ หรือเปล่าค่ะ บางครั้งเวลาที่จิตเกิดอกุศล ใจหนึ่งก็บอกอย่าคิดอย่างนั้น อีกใจหนึ่งก็ให้ดูมันไป บางครั้งเวลาที่ดูจิตอกุศลนั้นมันอ่อนกำลังลงจะรู้สึกไม่ชอบตัวเองที่คิดไม่ดี มันเหมือนวงล้อที่ไม่สิ้นสุด อย่างนี้ต้องทำสมาธิ ด้วยมั้ยค่ะ (ไม่ค่อยได้ฝึกสมาธิค่ะ)

1) VOJ คือ ความคิดที่ทำให้จิตเกิดอาการ  พวกเรานักวิชาการ รู้มากคิดมาก  ก็จะ "วิตก" "วิจารณ์"มาก

โดยเฉพาะ "กังวล" มาก   เรียนมาก ก็คิดมาก

"จิต สติ ความคิด"  เป็นคนละตัวกันครับ 

2) จิตเกิดอาการแรงมากๆ  ก็ให้ หยุดคิด  หรือ จะใช้ สมถะ  (หายใจเข้า กำหนด ว่า Put สิ่งดีๆเข้าไป และ หายใจออก กำหนดว่า Throw สิ่งไม่ดีออกมา) เข้าช่วย   หรือ เดินจงกรม  หมุนนิ้ว ดูการเคลื่อนไหวของกาย (แบบ หลวงพ่อเทียน สอนไว้ก็ได้)

ถ้าจิตไม่แรงแล้ว เบาบางลงแล้ว  ก็ตามดูจิตไปครับ

สรุปแล้ว มี สองเฟส  คือ เฟสแรกจิตแรงมาก ใช้ สมถะตบจิตให้สงบลง   เฟสสอง จิตเกิดไม่แรง  ก็ตามดูจิต ดูความคิด

3) คนเรามักจะเข้าใจผิด มองแบบมุมเดียวว่า สมาธิ คือ การดูลมหายใจ เพียงอย่างเดียว

จริงๆแล้ว สมาธิที่ถูกต้อง คือ สมาธิในการทำจิตให้ว่าง   ซึ่ง ไม่จำเป็นต้อง นั่งปิดตาดูลมหายใจเสมอไป

การมีสมาธิ คือ การตามรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้นในตัวเราครับ

สมาธิในการตามดูจิต ดูความคิด นี่แหละ เป็น ความเห็นชอบ  เป็นสัมมาสมาธิครับ

การนั่งปิดตาม เป็นสมาธิแบบหัวตอนั้น  มีมาก่อนสมัยพุทธกาล  และ ฝึกสมถะมากๆ มากเกินไป  อาจจะทำให้ กลายเป็น ฤษี   เป็นพรหมชั้นสูงเกินไป

4) การที่เราดูจิต  เราใช้ สมาธิขั้นต้นๆ ขั้นชั่วขณะ (ขณิกะ) เท่านั้นเอง   สมาธิในระดับง่ายๆนี้ เราใช้ เรียนหนังสือ สนทนา ฟังเพลง เล่นกีฬา ดนตรี ฯลฯ กันอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่เคยเอามาดู กาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเลย  น่าเสียดายไหมละครับ

พวกสมาธิดีๆ อย่าง ไทเกอร์ วู๊ด   อย่างโชแปง ชูเบริต ไอน์สไตน์  ฯลฯ ถ้าเปลี่ยนมามีสมาธิในการดู กาย เวทนา จิต ธรรม   ผมคิดว่า บรรลุธรรมได้ง่ายมากๆ

 

 

สมมติว่า จิตของเรากำลังสบาย โล่ง  จู่ๆ มีความคิด เข้ามากระแทก   เจ้าความคิดพวกนี้แหละ คือ VOJ   ส่วนใหญ่ เป็น

ความคิดที่เป็นขบวน(แบบ ขบวนรถไฟ) ความคิดอดีต

ขบวนความคิดอนาคต

ความคิดอคติ  

ความคิดลำเอียง

ความคิดวิตก ( คิดไป ในอนาคต)

ความคิดวิจารณ์ ( อคติ เพ่งโทษ  หลงตนเอง ตัดสินผิดถูก๗

ฯลฯ

ความคิดแรกๆที่เข้ามากระแทกจิต  เป็น VOJ ซึ่งเรามักจะดูไม่ค่อยทัน

เรามักจะไปรู้ตัว  ก็ตอนจิตเกิดอาการไปแล้ว  และ ผลิตความคิดขยะออกมา (ไม่ใช่ VOJ)

กรณีที่เรา จะ ลงสู่  ฐานราก ของ ตัวยู  ใน U Theory เราต้อง ดีด VOJ ออกไปเป็นแล้ว   ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนครับ   ใหม่ๆ คงไม่ทัน  เพราะ VOJ วิ่งเข้ามาเร็วเป็น nano วินาที เลยครับ

 

ถ้าดีด voj ได้จริง  นั่นแหละ จะ Presensing  จริง

เกิด Letting go ./ Letting come   และ ปิ๊งแวบ ตกผลึก  ได้จริงๆ

 

หรือ Presence คือ สภาวะจิตว่างๆ   นั่นเองครับ  ไม่มี ลำเอียง ไม่มีอคติ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์  ไม่มี นิวรณ์    

นี่แหละ Open heart, open mind, open will อย่างแท้จริงครับ

ว่างๆ ไปฝึกกับผมที่ ขอนแก่น  ก็ได้ครับ

กลางเดือน กรกฏานี้  คืนที่ 18 - บ่าย ที่ 21   ผมจะอยู่วัดป่าธรรมอุทยาน

พาพวก ปูนฯ มา เรียนรู้  "ตนเอง" ครับ

มีช่วงไหนที่อ.จะไปวัดป่าธรรมอุทยานอีกบ้างคะเพราะช่วง18-21 กค.ไม่ว่างค่ะ ติดจัดอบรม

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ  อาจารย์ช่วยบอกCEOหน่อยซิคะ(ภาครัฐ) เพราะท่านจะเอาแต่ outcome ไม่ดูเหตุปัจจัย ไม่ระวังคำพูดจนลูกน้องเหี่ยวและหมดไฟไปตามๆกัน

บางครั้งก็ไม่รู้จะเอาธรรมะข้อไหนเข้าข่มเหมือนกันเพราะโดนกระทบกระแทกกันไปเป็นทอดๆ

เรื่อง CEO ของรัฐ   มันแก้ยากนะ

ระบบของเรา  ส่งเสริมให้ ท่านต้องการ Quick win

คงต้องบอก กพร และ Tris ให้ประเมิน  ดัชนี KPI & BSC   ที่เป็น  "กระบวนการเรียนรู้"  ด้วย

 

การเมืองของเรายังไม่นิ่ง   บรรดา คนที่ รักชาติและเข้าใจเรื่อง LO & KM  พร้อมกันสองอย่างนี้มีน้อยมากๆ

การแก้ปัญหาแบบที่ ชุมชน  เช่น  มหาชีวาลัย  โรงเรียนชาวนา  แพรกหนามแดง ฯลฯ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง  แต่ ถ้าแกนนำ ครูบา  พี่เดชา คุณปัญญา คุณสมบูรณ์ ฯลฯ  ไม่อยู่แล้ว    ก็คงแย่อีกเหมือนเดิม

สุดท้าย คงต้อง เปลี่ยนวิธีคิด  ปฏิรูป  เรื่องระบบการศึกษาให้ได้

วันก่อน ผมไปที่มหา ฯ ของรัฐแห่งหนึ่ง  กำลัง ประเมิน QA กันอยู่

ดูๆแล้ว  ก็อีหรอบเดิมๆ

คุยกันให้ห้องประชุม   เชิญคนมาถามบ้าง  ถามนักศึกษาไม่กี่คน   ดูเอกสาร  ฯลฯ

ก็ยังแบบเดิมๆ  แต่ ก็ดีขึ้น กว่าเมื่อก่อน

ยังไปเน้นที่ outcome อีกเหมือนเดิมๆ

เน้น ความคิดของคนตรวจอีกเหมือนเดิม

ตรวจแบบ คนบนหอคอยงาช้าง

หวังว่า คงเป็นเฉพาะ ที่ๆ ผมเจอ เท่านั้นนะครับ เพราะ คนตรวจมีเยอะเหลือเกน

 

 

 

ขอบคุณค่ะอ. ช่วยให้มองอะไรด้วยความเข้าใจมากขึ้น ได้แง่คิดหลายอย่างที่จะนำไปปรับในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ยังไม่ท้อค่ะ ช่วงอ่อนแรงได้อาศัยเติมพลังจากครูอาจารย์ที่เป็นแกนนำทางปัญญา เช่นอ.วรภัทร์ นี่แหละค่ะ ขออนุโมทนาบุญ กับทานปัญญาที่อาจารย์ให้เสมอมาด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท