"การออกแบบเพื่อทุกคน" Universal Design


บทบาทหน้าที่หนึ่งของนักออกแบบ ที่เสนอความเท่าเทียมแก่ผู้บริโภค

"การออกแบบทุกคน"   Universal Design   

   บทบาทหน้าที่หนึ่งของนักออกแบบ   ที่เสนอความเท่าเทียมแก่ผู้บริโภค

               ความหมาย ของ Universal Design หรือ UD   อาจจะอธิบายความ ออกมาหลากหลาย แต่มีนัยคล้ายกัน     คือผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค / ผลิตภัณฑ์เพื่อทุกคน / การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อบุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย / Universal Design มีความมุ่งหมายให้เป็น Design  for all / ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากอย่างเดียวกันด้วยกันได้

               Universal Design  เริ่มเป็นกระแสการออกแบบแรกๆ  มีแนวคิดในการออกแบบพิเศษเพื่อมุ่งใช้สำหรับบุคคลทุพพลภาพโดยเฉพาะ   คือเป็นการออกแบบเพื่อปรับแก้ไขหรือกำจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ทุพพลภาพ   เมื่อปีประมาณ ค.ศ.1990 สมาคมมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายคนพิการ(The American Disabilities Act) ขึ้น  เพื่อกำจัดอุปสรรคต่อผู้พิการโดยรับรองสิทธิของผู้พิการให้ทัดเทียมกับคนทั่วไป  เนื่องจากจำนวนของผู้พิการมีมากขึ้น  และสิ่งของเครื่องใช้ที่มีอยู่ก็เป็นอุปสรรคสำหรับคนเหล่านั้น    แต่ต่อมาได้มีแนวต่อต้านว่าการออกแบบจะทำให้เกิดความแปลกแยกระหว่างบุคคลปกติ กับบุคคลทุพพลภาพ  แนวคิด Universal Design  ควรจะเป็น เพื่อความทัดเทียม  มิได้แบ่งแยกเฉพาะบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง  เป็นการออกแบบเพื่อมุ่งใช้ได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย  ทั้งที่เป็นบุคคลปกติและบุคคลทุพพลภาพ    ความหมาย Universal Design ที่สรุปก็น่าจะเป็น "การออกแบบเพื่อทุกคน" Universal Design

              ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ค.ศ.1990 เป็นต้นมา  เริ่มมีการดำเนินการต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ให้สูงขึ้นตลอดมา เป็นเหตุให้ผู้บริโภคมีปัญหาและความต้องการในสินค้าก็มีมากขึ้น   ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุและคนพิการในประเทศก็เพิ่มขึ้นด้วย ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันบางอย่างก็เป็นอุปสรรคในการใช้  ดังนั้น  จึงต้องมีการพัฒนาสิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ  และคนพิการเพื่อให้ทัดเทียมกับผู้อื่น  และทุกคนสามารถใช้สินค้านั้น ๆ ได้เหมือนกันทุกคน   Universal Design นี้เป็นสาระสำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (ISO)  ที่จะสามารถนำพาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโลกได้    ดังนั้น Universal Design จึงเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง    ซึ่งนักออกแบบผลิตภัณฑ์จะต้องศึกษาไว้ด้วยโดยเฉพาะ

 

          หลักเกณฑ์ของ ของ Universal Design  มี  7 ประการ ได้แก่ ... 

 (ดูภาพประกอบที่ 1 – 7)

1. เสมอภาค   ใช้งานได้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่น การติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะสองระดับ ระดับทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ หรือคนที่นั่งรถเข็นใช้ได้

2. ยืดหยุ่น     ใช้งานได้กับผู้ที่ถนัดซ้าย และขวาหรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตามความสูงของผู้ใช้ 

3. เรียบง่ายและเข้าใจได้ดี    เช่น มีภาพหรือคำอธิบายที่เรียบง่าย สำหรับคนทุกประเภทไม่ว่าจะมีความรู้ระดับไหน อ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากล สื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย ฯลฯ

4. มีข้อมูลพอเพียง      มีข้อมูลง่ายสำหรับประกอบการใช้งานที่พอเพียง

5. ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด     เช่น มีระบบป้องกันอันตรายหากมีการใช้ผิดพลาด รวมทั้งไม่เสียหายได้โดยง่าย

6. ทุ่นแรงกาย สะดวกและไม่ต้องออกแรง

7. ขนาด และสถานที่ที่เหมาะสม      และใช้งานในเชิงปฏิบัติได้ โดยคิดออกแบบเผื่อสำหรับคนร่างกายใหญ่โต คนที่เคลื่อนไหวร่างกายยาก คนพิการ คนชรา

 

 

 

 

 

  

 

 

 

              นี่เป็นเพียงบางส่วนของงานออกแบบ "การออกแบบเพื่อทุกคน"   Universal Design ในญี่ปุ่น   เขาได้มีการพัฒนามาตลอดเวลา  จะเห็นได้ว่า บริษัทใหญ่ ที่ญี่ปุ่น  เช่นโตโยต้า และ พานาโซนิค และอีกหลายบริษัท เขาจะมีโชว์รูม สร้างเป็น Universal Design Showcase  เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ ผู้สนใจ เด็ก และเยาวชน ได้มาศึกษา ด้านของผลิตภัณฑ์ การค้นคว้าทดลองการออกแบบ  ดังเช่นที่เคยเขียนไว้ใน บล็อก  http://gotoknow.org/blog/art-design7yod/229994      เรื่อง TOYOTA Universal Showcase   ไม่ใช่มีแค่รถยนต์”

              สรุป คือ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นผู้มี ความสามารถในการพัฒนาการออกแบบ และเป็นผู้ยกระดับคนให้มีความเสมอภาคกันในสังคมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นสื่อกลาง คงไม่มีนักออกแบบคนไหน เห็นเรื่อง Universal Design   แล้วจะต้อรอดู กระแส รอ นโยบาย มาตรการ จากหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง จินตนาการเรา ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ของเรา  จะเรียกร้องออกมาเองว่าให้มีการพัฒนาการในเรื่องนี้เพื่อผู้บริโภคทุกคน  

                                             ******************

อ้างอิง

           ธีระชัย สุขสด. Universal Design . สื่อทางโปรแกรมสำเร็จรูป วิชา Industrial  Design 5 (12 – 411 – 305)           หลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม คณะศิปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์          มทร.ล้านนา  2552

          อัครพงษ์ เวชยานนท์. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แบบของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค แนวความคิด (Universal Design): http://gotoknow.org/blog/akrapong/140461 สืบค้นเมื่อ19 มีค 53 http://en.wikipedia.org/wiki/Universal_design    สืบค้นเมื่อ19 มีค53

          Universal Design กับ 50 ตัวอย่างในญี่ปุ่น  / posted on 02 Aug 2009 16:15 by hayashikisara  in Japan http://hayashikisara.exteen.com/ สืบค้นเมือ พ.ย.52

          Universal Design  งานออกแบบเพื่อทุกคน http://wwisartsakul.wordpress.com สืบค้นเมือ พ.ย.52

                                                                                                                                                                                                                 

                  

                                                                                                      

         

หมายเลขบันทึก: 358762เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สุรเชษฐ(บิ๊ก) ศิษย์เก่าออกแบบฯ ที่สอนอยู่ลาดกระบังกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องนี้อยู่ครับ ใกล้จบแล้ว

ชวนมาสอนที่ออกแบบฯของเรา บอกขอเวลาอีกสัก 6-7 ปี จะมาครับ

สวัสดีค่ะ คุณ Art

ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาแชร์

ว่างๆก็เข้ามาทักทายได้นะคะ

ด้วยความยินดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ที่แชร์ความรู้ให้กับทุก ๆ คน

ดีมาก ๆ จริงๆ ค่ะ ต้องขอชื่นชมอาจารย์ค่ะ ที่ทำให้ข้อมูลน่าอ่าน น่าสนใจมากทีเดียว

อ.อรนุช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท