เรียนรู้เพื่อการทำงานในองค์กรกับหนังเรื่อง "ครูบ้านนอก"


สาระที่ได้จากหนังเรื่องนี้น่าจะจุดประกายเชื่อมโยงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กรได้

   <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;">จอ อำ จำ                จอ อำ จำ                จอ อำ จำ</p> <p style="text-align: center;">ความดีเราทำ         เราจงทำแต่ความดี</p> <p style="text-align: center;">ชาวนาทำนา          จึงมีข้าวมาเลี้ยงชีพชีวี</p> <p style="text-align: center;">ชาวนาทำดี            ชาวนานั้นมีบุญคุณต่อเรา</p> <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"></p>

 

คนที่มีอายุ 30 ปี ปลายๆ  ขึ้นไป น่าจะรู้จักและประทับใจกับบทเพลงประกอบการสอน สอนของครูปิยะ คนนี้ได้เป็นอย่างดี  หนังเรื่องนี้สมัยเด็กผมก็ดูสนุกสนานตามประสาเด็กๆ แต่ก็เกือบร้องไห้เมื่อพระเอกมาตายตอนจบ และเมื่อไม่นานมานี้ ผมก็ได้ดูอีกครั้งจาก VCD ที่นำมาทำใหม่ ของค่าย Rose VDO คราวนี้ผมดูในมุมมองของผู้ใหญ่ และคนวัยทำงานในองค์กรทั่วไป และได้ลองวิเคราะห์เชื่อมโยงสาระที่ได้จากหนังเรื่องนี้กับการทำงานในองค์กร ผมคิดว่าน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กันได้ วิธีการสอนของครูปิยะยังทันสมัย ผมคิดว่าเราสามารถนำมาปรับใช้กับการสอนในปัจจุบันได้ เช่น การนำเพลงมาใช้ในการเรียนการสอน เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในเรื่องของการใช้เพลงหรือหนัง ภาพเคลื่อนไหว  Clip VDO มาประกอบการสอนได้อย่างสะดวก การใช้เพลงหรือ Clip VDO ประกอบการสอน ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเพลง หรือ Clip VDO ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนการสอนก็ได้  เราเพียงเพื่อเป็นตัวจุดประกายเชื่อมโยงความรู้ไปยังเนื้อหาที่เราต้องการ โดยให้ผู้เรียนเกิดการฉุกคิด หรือต่อยอดความคิดจากสื่อนั้นๆ (ผมเคยเขียนบันทึกเรื่อง การ Music VDO คาราโอเกะ มาใช้ในงานฝึกอบรมจาก Link นี้ http://gotoknow.org/blog/attawutc/320250 ซึ่งเนื้อหาของ Music VDO คาราโอเกะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนแต่ผมใช้การจุดประกายเชื่อมโยงของเนื้อหาไปยังเรื่องที่ต้องการ)

 

 

บทบาทของครูปิยะในเรื่อง ไม่เป็นเพียงแค่ครูผู้สอนเท่านั้น แต่ยังช่วยชาวบ้านพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นด้วย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาอาหารกลางวันให้เด็ก ด้วยการปลูกผักสวนครัว การช่วยชาวบ้านเรื่องสุขอนามัย การสืบเรื่องราวเกี่ยวกับไม้เถื่อน เปรียบกับเราอยู่ในองค์กรในหน้าที่ต่างๆ เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด และศึกษาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร นำมาใช้พัฒนาองค์กรต่อไป ประสานงาน อาสาช่วยงานต่อผู้คนรอบด้าน ดังคำกล่าวที่ว่า เราต้องปฏิบัติตัวให้เป็นที่พอใจและไว้วางใจของลูกค้า ลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าที่มีอุปการะคุณ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานเราเท่านั้น ผมคิดว่า ลูกค้าคือใครก็ได้ที่ไม่ใช่เรา เช่น ถ้าเราทำหน้าที่เป็นวิศวกร ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คนอื่นๆไม่ได้ เราต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังลูกค้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

ปัจฉิมบทของหนังเรื่องครูบ้านนอก จะเห็นว่าพระเอกตายตอนจบ เพราะไปขัดผลประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ดังนั้นการทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี ต้องไม่เก่งอยู่คนเดียว ไม่กล้าจนเสี่ยงเกินไป (กล้านักมักบิ่น) ต้องมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง พยายามหาเครือข่ายที่เป็นกัลยาณมิตร ช่วยเหลืออุ้มชูกัน ไม่ใช่เครือข่ายแบบพันธมิตร ซึ่งเป็นมิตรที่อยู่ได้ด้วยผลประโยชน์ หมดผลประโยชน์ก็แยกจากกัน เราต้องพยามทำเครือข่ายแบบพันธมิตรให้เป็นแบบเครือข่ายที่เป็นกัลยาณมิตร ด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิย วาจา สมานัตตา (โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน) ต่างๆ เหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 321017เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยครับ กัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างมากในสภาวะสังคมปัจจุบัน

ปีใหม่นี้ ผมมีหนังสือดีๆมาแนะนำครับ ให้แง่คิดเรื่องภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมได้ดีทีเดียวครับ

ขอบคุณคุณบัวปริ่มน้ำ P ข้ามสีทันดร ที่แนะนำหนังสือดีๆ มาให้ครับ อย่างนี้ต้องรีบเข้าร่าน Se-Ed แล้วครับ

14 ม.ค.นี้ ครูบ้านนอก เวอร์ชั่นเสี่ยเจียง จะเข้าฉายต้อนรับวันครูนะครับ

http://www.thaicinema.org/kits207khrubannok.asp

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท