นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน


นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน

นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน

โดย: pachranee

ติดประกาศ: 12-25-2007 @ 08:39 am

นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน ทุกวันนี้มีนักวิชาการและบุคคลต่างๆออกมาวิเคราะห์และวิจารณ์การจัดการศึกษาของไทยมากมาย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ ทั้งระบบการจัดการศึกษา และคุณภาพของผู้เรียน ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้การศึกษาของไทยและมาตรฐานผู้เรียนของไทยก้าวไม่ทันโลก จึงสมควรที่จะหันกลับมามองและคิดใหม่ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษาของไทย และพิจารณาว่ามีแนวทางใดที่จะพัฒนาการศึกษาของไทยในปัจจุบัน และวางแผนเกี่ยวกับการศึกษาในอนาคตของไทย โดยการพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความเป็นไทยในบริบทโลก ถ้าจะมาวิเคราะห์นโยบายการศึกษาไทย จะพบว่ามีกำหนดไว้ในเอกสารของทางราชการหลายแห่ง แหล่งที่สำคัญมี 4 แหล่ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา (สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. 2536 :379-381) นโยบายสมัยดั้งเดิมของไทยเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ยังไม่มีระบบโรงเรียน การศึกษาสมัยใหม่เริ่มในรัชกาลที่ 5 เน้นผลิตกำลังคนเข้ารับราชการ นโยบายการศึกษาสมัยเริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตย เน้นพื้นฐานการเป็นพลเมืองดี การเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตย ในช่วงยุคสงครามโลกเน้นความเป็นชาตินิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นการขยายตัวของการศึกษาทุกระดับ ในสมัยประชาธิปไตยเปลี่ยนชื่อโครงการศึกษามาเป็นแผนการศึกษาชาติ และมีการกำหนดนโยบายการศึกษาในรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งนโยบายการศึกษาสมัยพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ กำหนดนโยบายและทิศทางของการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการขยายการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และเมื่อพิจารณานัยแห่งเจตนารมณ์บางมาตราในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แสดงเจตจำนงของรัฐและรัฐบาลอย่างชัดเจนในเรื่องนโยบายการศึกษาของไทย โดยให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์องค์ประอบของนโยบายการศึกษานี้ ตามแนวทางทั้ง 4 ลักษณะ ตามโครงสร้างและกระบวนการ คือ 1. นโยบายในฐานะแม่บทของการบริหาร 2. นโยบายในฐานะส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษา 3. นโยบายในฐานะเป็นกรอบของการปฏิบัติ และ 4. นโยบายในฐานะเป็นกระบวนการ จะเห็นว่านโยบายการศึกษามีความชัดเจนเป็นแม่บทของการบริหาร ครอบคลุมหน่วยงานทุกระดับ เป็นแม่บทของการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และยังมีการกำหนดเงื่อนไขของระยะเวลาที่ปฏิบัติ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจลังคม ซึ่งมีการปรับตามความเหมาะสมว่าควรเร่งพัฒนาคนอย่างไร ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8 จนถึงปัจจุบันฉบับที่ 10 ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงพัฒนาการศึกษาให้ทันยุคทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และนโยบายในฐานะที่เป็นกรอบของการปฏิบัติ คือ มีทั้งแนวทางปฏิบัติและกฎเกณฑ์ปรากฏชัดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ส่วนในฐานะของกระบวนการ ก็คือ เมื่อมีการกำหนดนโยบาย ก็ต้องมีการนำโยบายไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการประเมินผล และนำผลย้อนกลับมาพิจารณาตัดสินว่า นโยบายควรมีพลวัต ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ซึ่งประการนี้ก็ปรากฏให้เห็นว่า เจตจำนงของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายมีการพิจารณาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจริง ดังปรากฏตามวาระเมื่อมีการเปลี่ยนสมัยของรัฐบาลเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติในรูปนโยบายและแผน เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าชัดเจน ซึ่งถ้าเปรียบนโยบายเป็นหางเสือในการเดินเรือไปตามทิศทางที่กำหนด และแผนเป็นการจัดเตรียมสัมภาระต่างๆที่ใช้ในการเดินเรือ ตลอดจนตรวจสภาพเรือก่อนออกเดินทาง นโยบายและแผนก็ดูเหมือนพร้อมที่จะนำพาการศึกษาของไทยไปสู่จุดมุ่งหมาย ถ้าพิจารณาวัตถุประสงค์ ที่ว่าจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) โดยมุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งพาตนเองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (มาตรา 7) (สำนักนโยบายและแผนการศึกษาฯ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2543) ทิศทางก็ยิ่งชัดเจน ส่วนนโยบายข้อที่ 1 คือ ความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เร่งจัดการศึกษาให้บุคลมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยมีเป้าหมายความสำเร็จภายในไม่เกิน 5 ปี นโยบายข้อที่ 2 เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา ซึ่งก็กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติไว้ นโยบายข้อที่ 3 เกี่ยวกับปฏิรูประบบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของส่วนที่เกี่ยวข้อง นโยบายข้อที่ 4 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิตครู การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชัพชั้นสูง(มาตรา 9 (4), 52) นโยบายข้อที่ 5 หลักสูตร และนโยบายข้อที่ 6 กระบวนการเรียนรู้ จะเห็นว่านโยบาย 2 ข้อนี้ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ นโยบายข้อที่ 7 เกี่ยวกับทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาและนโยบายข้อที่ 8 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้มีแนวทางและกติกาการจัดรูปแบบการจัดการศึกษาของชาติไว้อย่างละเอียดและครบถ้วนสมบูรณ์ จึงนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่าปัญจปฏิรูป” (ธีระ รุญเจริญ. 2550: 9) การนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มีการประเมินตลอดทั้งผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการการศึกษาและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมีนักวิชาการทำการวิจัยถึงผลของการปฏิบัติการ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวให้รับทราบกันตลอดเวลา เพราะแนวทางหนึ่งในการกำกับนโยบายก็คือ การศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการกำกับติดตามนโยบาย ที่ดูเหมือนคนในชาติแทบทุกส่วนพยายามทำหน้าที่นี้ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้มีหน้าที่ในการตัดสินใจกำหนดนโยบายจะได้มีข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังเช่นในรัฐบาลปัจจุบันที่มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีวาระการทำงานเพียง 1 ปี ได้แถลงนโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา ว่าในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีจะต้องทำงานด้านการศึกษาให้เป็นรูปธรรม โดยทบทวน 3 ประเด็นหลัก อันเป็นที่มาของนโยบายการศึกษาดังนี้ 1. การปรับแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลที่แล้ว ได้แก่ การจัดอัตรารับรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปัญหาเงินวิทยฐานะ 2. การเสริมเติมเต็มการปฏิรูปการศึกษาให้เดินทั้งระบบและครบกระบวนการ 3. ปรับแต่งให้การปฏิรูปการศึกษาสอดคล้อง-สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง และได้นำ 3 ส่วนนี้มากำหนดเป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษา 6 ประการ ซึ่งได้แก่ 1. เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ 2. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 3. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ 4. กระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา 5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชนและท้องถิ่น 6. การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สร.สาร สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ.7(พ.ย. 2549:1-5) นอกจากนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายในงานเฉลิมฉลอง “5 ทศวรรษ ครุศาสตร์ จุฬาฯ-ร่วมเฉลิมฉลอง 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ 115 ปีการฝึกหัดครูไทยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับโอกาสและความหวังของการศึกษาไทย โดยวิเคราะห์ว่าโอกาสและความหวังของการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ โดยปัจจัย 2 ประการแรก คือ เจตจำนงแห่งรัฐและเจตจำนงแห่งรัฐบาลนั้นเป็นโอกาส เนื่องจากมีความชัดเจนในนโยบายที่สนับสนุนด้านการศึกษา ปัจจัยที่ 3 คือเจตจำนงแห่งประชาชน ก็ถือเป็นปัจจัยสนับสนุน เพราะประชาชนทุกระดับให้ความสนใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น แต่ปัญหา คือ ปัจจัยที่ 4 ประเทศไทยนั้นยังวิกฤตเรื่องขาดภาวะผู้นำทางการศึกษา ทั้งระดับรัฐและระดับองค์การ จึงสมควรที่จะสร้างผู้นำไม่ใช่รอให้เกิดเอง และปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยเกื้อหนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยี ซึ่งยังขาดกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ให้ทรัพยากรที่มีสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โลกดูเหมือนจะถูกย่อให้เล็กลงด้วยวิทยาการก้าวหน้าด้านการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กลายเป็นโลกไร้พรมแดน และทำให้คนบนโลกทีการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษยชาติหรือที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ที่นำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศใหม่ อันมีผลกระทบต่อทุกชาติ ทุกภาษารวมทั้งประเทศไทย ถึงแม้กระแสโลกาภิวัตน์จะมีประโยชน์มากมายแต่ก็นำมาซึ่งสิ่งไม่ดีที่แฝงมาด้วย และก่อให้เกิดโทษมากมาย ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันทุกวันนี้ มีข่าวและประเด็นต่างๆที่มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยบ้าง ออกมาวิจารณ์แสดงความคิดเห็นบ้าง ถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย ทั้งการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ คุณภาพผู้เรียนตกต่ำ ปัญหาครูไม่มีคุภาพ หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องการบ้าง ซึ่งผลงานส่วนใหญ่กระทรวงศึกษาก็รับไปเต็มๆ เช่น ตัวอย่างข่าวการศึกษา (คม-ชัด-ลึก 17 สิงหาคม 2550) ระบบการศึกษาไทยห่วย มหาวิทยาลัยถูกคุมเข้ม-หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน  ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวเปิดพร้อมปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาวิชาการครบรอบ 3Ø ปี ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิยาลัยหอการค้าไทย เรื่อง ยุทธศาสตร์ด้านไอทีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงปัญหา ระบบการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษาค่อนข้างแย่มาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยถูกควบคุมเยอะมาก หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่ดี  รศ.วิทยา เชียงกูลØควรสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนา  คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง สภาวะการศึกษาไทย ปีพ.ศ. 2549-2550 “รัฐบาลจัดสรรงบด้านการศึกษาให้ถึง 21% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีดีพี แต่ตัวเลขของเด็กที่มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาลดลงจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่า(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: 17  นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่าØสิงหาคม 2550)  ทั้งปัญหาขาดคนเก่งมาเป็นครู ใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานผู้เรียนค่อนข้างวิกฤต มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เอกชนยังมีส่วนร่วมจัดการศึกษาไม่เต็มที่ แถมไร้ผู้นำทางการศึกษาในทุกระดับ  ดร.เลขาØ(ข้อคิดจาก ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา)  ปิยะอัจฉริยะ และคุณหญิง กษมา วรวรรณ ณอยุธยา มีความเห็นตรงกันกับการลดขนาดศธ.  รศ.ดร.พฤทธิ์Øและเตรียมงบอุดหนุนเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความพร้อม  ศิริบรรณพิทักษ์ คณะบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าปฏิรูปการศึกษามาทุกทิศทุกทางแล้ว เพียงแต่ยังเดินหน้ามาไม่ถึงครึ่งทาง หากต้องการยกระดับการศึกษาให้เห็นหน้าเห็นหลัง ก็ควรใช้ทรัพยากรมากกว่านี้ แต่เมื่อภาครัฐมีทรัพยากรจำกัด ก็ควรให้องค์กรอื่นร่วมจัดการศึกษา ประเทศต่างๆต้องมีพลวัต คือความสามารถในการปรับตัวสูง ให้คนในชาติมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม จึงจำเป็นที่ประเทศต่างๆจะต้องมีหลักที่ดีในการสงวนรักษาเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง คนในชาติต้องมีปัญญาที่จะไตร่ตรอง และมีความรู้เท่าทันความเจริญทางวัตถุ มีความพอดีในการแสวงหาปัจจัยต่างๆ เพื่อสามารถก้าวทันโลกได้อย่างมั่นคงและรู้เท่าทัน ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ก็มีประเด็นปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญๆดังนี้ 1. การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาสู่โรงเรียนหรือสถานศึกษา 2. การประกันคุณภาพ 3. การฝึกหัดครูและความเป็นผู้นำในด้านการศึกษา 4. การให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในโรงเรียน 5. งบประมาณและการโอนการศึกษาให้ภาคเอกชน 6. การขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษา 8. การศึกษากับประเด็นทางการเมือง มีหลายแนวคิดที่เสนอแนะให้กับการพัฒนาการศึกษาของไทย เริ่มมีคนบางกลุ่มที่ไมเชื่อในระบบโรงเรียน ได้นำการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือ Home School มาใช้อีก การศึกษาไทยในทศวรรษนี้ หรือการที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้โลกแคบเข้า เกิดความร่วมมือและแข่งขันในด้านต่างๆสูง จำเป็นต้องสร้างปัจจัยอันเป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนา โดยพัฒนาคุณภาพประชากร กำลังคน เทคโนโลยีสารสนเทศ การให้คนไดรับการศึกษาสูงขึ้น โดยมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต โดยการมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เร่งการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ มีอีกแนวทางที่น่าสนใจ ในหนังสือ อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา ซึ่งมี ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เป็นบรรณาธิการ เสนอ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมฐานความรู้ (สุดาพร ลักษณียนาวิน .2550) การพัฒนาประเทศไทยซึ่งมีภาคเกษตรเป็นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจ ควรพัฒนาสินค้าทางเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร หรือสินค้าแปรรูปจึงจะเหมาะสมการศึกษาต้องเกิดจากความเข้าใจสภาพของผู้เรียนรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน เช่น ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สื่อ รวมทั้งสภาพสังคมนอกห้องเรียน การศึกษาตามทฤษฎีสานสร้างความรู้จากสังคม มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งแนวคิดนี้เสนอวิธีการเรียนการสอนหลายรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -Based Learning) การเรียนรู้ที่มีวิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) และการเรียนรู้ด้วยการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Learning) ในภาพรวมสรุปว่านโยบายการศึกษาของไทยนั้นชัดเจน ทั้งกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติ ทั้งภาคการเมืองและประชาชนก็มีส่วนสนับสนุน แต่การที่ยังไม่ส่งผลในการพัฒนาประเทศและประชาชนไทยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้าจะเทียบกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จในด้านการศึกษา เช่น ผู้นำและผู้กำหนดนโยบายในหลายประเทศได้สร้างวิสัยทัศน์ขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่าประเทศมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศและสังคมโลกที่มีการแข่งขันสูง รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ ได้เสนอวิสัยทัศน์ 2020 โดยเน้นว่า การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ความเสมอภาคในสังคม และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ กำหนดวิสัยทัศน์โรงเรียนแห่งความคิด ชาติแห่งการเรียนรู้และรณรงค์ให้การเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมของชาติ ส่วนจีน ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ต่างทบทวนจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในทศวรรษใหม่(ศูนย์ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543:49-56) โดยรวมนโยบายการศึกษาของไทยมีความชัดเจน ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งทุกคนต้องถือปฏิบัติ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ส่วนการนำนโยบายทางการศึกษาไปใช้ ในระยะเวลาที่ผ่านมาสำหรับการศึกษาของไทย มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไป โดยเร่งสร้างเร่งพัฒนาผู้นำทางการศึกษา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อสร้างคุณภาพให้ผู้เรียนที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะไม่มีนโยบายใดที่นำไปปฏิบัติแล้วได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในทันที และใช่ว่าประเทศอื่นจะไม่ประสบปัญหา เพราะประเด็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเผชิญ เมื่อนำนโยบายด้านการศึกษาโดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาไปใช้ในการกระจายอำนาจการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ความมีอิสระในการบริหารตนเอง กับความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบ การกระจายอำนาจการบริหารกับความเสมอภาคทางการศึกษา การเปลี่ยนแลงเทคโนโลยีและวัฒนธรรม การกระจายอำนาจการบริหารกับผลที่ได้รับ รวมถึงการลดขนาดหน่วยงานกลางลงเมื่อมีการกระจายอำนาจ ซึ่งปัญหาก็ขึ้นกับบริบทของประเทศ การจะแก้ปัญหาต้องพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของประเทศไทย เอกสารอ้างอิง งานจัดการฐานข้อมูล กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศ สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. แหล่งที่มา: www.moe.go.th. เรื่องการศึกษาของไทยในอดีต. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2550. อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. ธีระ รุญเจริญ. 2550. ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา . กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอล.ที.เพรส. จำกัด. วิตร ศรีสอ้าน. 2544. หน่วยที่ 1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบาย ประมวลสาระชุดวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษา .พิมพ์ครั้งที่ 3.นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางการศึกษา ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก : แนวโน้มและประเด็นสำคัญ Educational Change and Development in the Asia-Pacific region : trends and issues . กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง. สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. นโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา :ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. สร.สาร. 7(พฤศจิกายน):1-5. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543. การวิเคราะห์ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติในรูปแบนโยบายและแผน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

หมายเลขบันทึก: 195032เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นประโยชน์มาก ในการเรียนบริหารการศึกษา ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อมูล

ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลที่ท่านนำค่ะ

ขอบคุณท่าน อ.อำพร เรืองศรี

มากนะคะ ข้อมูลข้างต้นเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่มีให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท