การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทที่ 5

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์

ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า

นางชัดเจน ไทยแท้

ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร : ประมวลสาระ

คำนำ

หลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาคือการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษา

การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งการดำเนินการให้บรรลุตามหลักการดังกล่าว

จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา

ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนและ

ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างกลไกและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญใน

การปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเข้มแข็ง สร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และสร้างความเชื่อมั่นให้

ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการ

พัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้

แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ทำหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเตรียม

ความพร้อมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานการจัดทำชุดฝึกอบรมต้นแบบ เพื่อเป็นคู่มือให้

กลุ่มเป้าหมายได้ใช้ศึกษาและพัฒนาตนเอง

ชุดฝึกอบรมต้นแบบที่จัดทำขึ้นมีจำนวน 3 ชุด คือ (1) ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร (2) ชุดฝึกอบรม

ครู และ (3) ชุดฝึกอบรมผู้นำชุมชน โดยชุดฝึกอบรมต้นแบบแต่ละชุด ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสต

ทัศน์ ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ จะประกอบด้วย ประมวลสาระ และ แนวทางการศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จะนำชุดฝึกอบรมต้นแบบดังกล่าวไปผลิตเพื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบ เพื่อใช้ในการศึกษา

และพัฒนาตนเองต่อไป

เอกสารเรื่อง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อ

สิ่งพิมพ์ในชุดฝึกอบรมผู้บริหาร ประกอบด้วยสาระสำคัญ 7 เรื่อง คือ

1. หลักการจัดการศึกษา

2. การบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบการใช้โรงเรียนหรือเขตพื้นที่การศึกษาเป็นฐาน

3. การบริหารโดยองค์คณะบุคคล

4. การประกันคุณภาพการศึกษา

5. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. การพัฒนาและควบคุมวิชาชีพ

7. การส่งเสริมชุมชนและท้องถิ่นในการปฏิรูปการศึกษา

ในการจัดทำชุดฝึกอบรมดังกล่าว สำนักงานปฏิรูปการศึกษาในฐานะฝ่ายเลขานุการของ

คณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและ

ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกันอุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะ จนเสร็จ

สมบูรณ์ คณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่ง

ว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี

(.ดร. ปรัชญา เวสารัชช์)

ประธานคณะกรรมการประสานงาน

โครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา

ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มีนาคม 2545

สารบัญ

หน้า

คำนำ

บทที่ 5 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1

เรื่องที่ 5.1 หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3

5.1.1 แนวคิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 4

5.1.2 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษา 7

แห่งชาติ พ.. 2542

เรื่องที่ 5.2 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 14

5.2.1 การบริหารจัดการ 14

5.2.2 การจัดการเรียนรู้ 14

5.2.3 การเรียนรู้ของผู้เรียน 16

เรื่องที่ 5.3 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 18

5.3.1 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง 19

5.3.2 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับคนอื่น 21

5.3.3 เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 22

เรื่องที่ 5.4 การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 27

5.4.1 การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง 27

5.4.2 วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 28

5.4.3 การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 28

เรื่องที่ 5.5 บทบาทของครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 30

5.5.1 บทบาทในฐานะผู้จัดการและผู้อำนวยความสะดวก 30

5.5.2 บทบาทในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ 31

เรื่องที่ 5.6 บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 34

5.6.1 บทบาทในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 34

5.6.2 บทบาทในการสนับสนุนการนิเทศการจัดการเรียนการสอน 37

5.6.3 บทบาทในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล 37

บรรณานุกรม 38

1

บทที่ 5

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ความนำ

การศึกษาเป็นกลไกที่ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในสังคม เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่

กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาอบรมในวันนี้ จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติ

ในวันข้างหน้าดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพความเป็นอยู่ของสังคมใดๆ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นความมี

ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาของสังคมนั้น ๆ ด้วย

สังคมไทยในอดีตถึงปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับ

สิ่งที่มีประโยชน์ การเอารัดเอาเปรียบ การทุจริต การเชื่อถือโชคลางหรือวัตถุต่างๆ อย่างไร้เหตุผล ประชาธิปไตย

ที่ไม่สมบูรณ์ เหล่านี้มักกล่าวโทษว่าระบบการศึกษาเป็นต้นเหตุ ถึงขั้นกล่าวว่าการศึกษาไทยมีสภาพถึงขั้นวิกฤติ

ต้องเร่งรีบแก้ไขโดยด่วน

รุ่ง แก้วแดง (2543) ได้กล่าวถึงภาวะวิกฤติของการศึกษาไทยว่า การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันยัง

ไม่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล สังคมและประเทศ เมื่อต้องเผชิญกับกระแสความคาดหวังของสังคมที่

จะให้การศึกษามีบทบาทในการเตรียมคนให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในสังคมโลกด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นสภาพ

ความสับสน ความล้มเหลว และความล้าหลังที่เป็นปัญหาของการศึกษามากขึ้น และวิกฤติที่สำคัญของการศึกษา

นอกจากนี้อาจกล่าวถึงได้อีกคือ วิกฤติของผู้เรียน กล่าวคือ ผู้เรียนมีความทุกข์เนื่องจากเนื้อหาที่เรียนไม่สอดคล้อง

กับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ต้องจำใจเรียนสิ่งที่ไกลตัว ต้องสร้างจินตนาการด้วยความยากลำบาก และ

ต้องท่องจำตลอดเวลา ขาดการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความ

สับสน ผลที่เกิดขึ้นคือ มีเจตคติทางลบต่อการเรียน และเป็นปัญหาของสังคม เช่น ฆ่าตัวตาย เป็นคนเกเรหนี

โรงเรียน สร้างปมเด่นในทางที่ผิด และติดยาเสพย์ติด

ประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้น สอดคล้องกับที่พระธรรมปิฎก (อ้างถึงใน รุ่ง : แก้วแดง 2543) กล่าวถึงวิกฤติ

ของการศึกษาไว้ว่า นับตั้งแต่ประเทศไทยนำรูปแบบการศึกษาแผนใหม่จากประเทศตะวันตกเข้ามาในสมัย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดการศึกษาแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาโดยตลอด การกำหนด

หลักสูตร ตำรา และภาษาที่ใช้ในการสอนล้วนกำหนดโดยส่วนกลางทั้งสิ้น ก่อให้เกิดปัญหาสะสมมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของสาระในข้อมูลที่อ้างถึง สรุปได้ว่า ความผิดพลาดที่สำคัญประการหนึ่ง

ของการจัดการศึกษาที่แล้วมาคือ ละเลยที่จะพิจารณาความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน และการเชื่อมโยงสิ่ง

2

ที่เรียนรู้กับการนำมาใช้ในชีวิตจริง แม้แต่ในพระราชดำรัสที่กล่าวถึงข้างต้นก็ยังกล่าวว่า การศึกษาของประชาชน

แต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องทบทวนแนวคิดและกำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัด

การศึกษาเสียใหม่ ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครองของผู้เรียน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤติ

3

ของการศึกษาและผู้เรียนต่อไป

4

5

เรื่องที่ 5.1หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมาย

สำคัญที่สุด คือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือ

ศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด

และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน

เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึง

ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาท

สำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤติทางการศึกษา และวิกฤติของผู้เรียนที่

ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ

ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการศึกษาและวิกฤติของผู้เรียนต่อไป

การทบทวนบทบาทของครู ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับ

ความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึด

วิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงหลักความ

แตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบการทำงานของครูกับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่

บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วย ด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน

แล้วบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่นๆที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษา

ผู้ป่วยทุกคนเหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ครู

หมายเลขบันทึก: 197351เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หลังๆ พบเด็กไร้วินัยมากขึ้น

ไม่รู้เกี่ยวกันไหม

อยากได้ครบ ทั้ง หัวข้อ 5.1 - 5.6 น่ะค่ะ

จะเอาไปประกอบการเรียน ป.บัณฑิต ค่ะ

รบกวนลงให้หน่อยได้มั๊ยคะ จักขอบพระคุณยิ่งค่ะ

อยากได้ครบ ทั้ง หัวข้อ 5.1 - 5.6 น่ะค่ะ

จะเอาไปประกอบการสอบ เพื่อเลื่อนวิยฐานชำนาญการพิเศษะ

รบกวนลงให้หน่อยได้มั๊ยคะ จักขอบพระคุณยิ่งค่ะ

ด่วนเลยนะค่ะ !

อยากได้แนวข้อสอบครูชำนาญการพิเศษรุ่นพัฒนา

ต้องการเอกสารทั้งชุดเพื่อนำมาพัฒนาครู

ขอบคุณมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท