ปัญหาภาษาไทยสู่....การวิจัย


ปัญหาที่จะนำสู่การวิจัยภาษาไทย

    สวัสดีค่ะ..ต้องขอโทษเพื่อนๆ , คุณครูภาษาไทยที่รัก และท่านผู้สนใจทุกท่าน   ที่ค่อนข้างมาพบช้ามาก   แต่อย่างไรก็ตาม  วันนี้พกปัญหามาเพียบค่ะ... ได้เริ่มรวบรวมปัญหาที่จะนำสู่การวิจัยภาษาไทยแล้ว  บังเอิญเมื่อวานนี้มีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณครูภาษาไทย    ระดับประถมศึกษาประมาณ ๘๐ ท่าน  ที่เข้าประชุมเรื่อง  การเขียนเรียงความ    ย่อความ  และสรุปความ ของศูนย์พัฒนาวิชาการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สพท.เชียงใหม่ เขต ๑   ลองให้คุณครูเขียนปัญหาเกี่ยวกับการสอนเขียนเรียงความ ย่อความ และสรุปความดู ได้เยอะแยะมากมายค่ะ..จนน่าตกใจ...ท่านละไม่ต่ำกว่า ๓ ปัญหา เป็นปัญหาที่ค้างคาใจคุณครูมานานในหลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทย และปัญหาที่พบเกี่ยวกับการเรียงความ ย่อความ และสรุปความโดยเฉพาะ..จึงขอนำเสนอในตอนนี้นะคะ..ปัญหาจากคุณครู

  

     ปัญหาแรกค่ะ ด้านการอ่านและการเขียน..

...อีกปัญหาหนึ่งค่ะ...

...และนี่ก็อีกหลายปัญหาด้วย...

...นี่ก็อีกปัญหาค่ะ...

..ยังมีอีก..

 ...และอีกปัญหาหนึ่ง...

แถมอีกปัญหาหนึ่ง...

 

        เป็นอย่างไรบ้างคะ..นี่เพียงจากคุณครู ๖ ท่านเท่านั้นเอง ขออนุญาตยังไม่จัดหมวดหมู่ของปัญหานะคะ   ..ยังมีอีกค่ะ..ปัญหาด้านอื่น ๆ อีก..และปัญหาที่สามารถมองได้จากผลงานของนักเรียน...

 ปัญหาการเขียนของนักเรียน

สรุปการวิเคราะห์สภาพปัญหาการอ่านของคุณครูเครือข่ายภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑ ๓ 

ปัญหาด้านการอ่าน

  1. ๑.      นักเรียนอ่านไม่ได้ เนื่องจากเป็นชาวเขา
  2. ๒.    นักเรียนไม่ผ่านการเตรียมความพร้อมภาษาไทย (ชั้น ป.๑)
  3. ๓.     อ่านคำพื้นฐานไม่ได้
  4. ๔.     อ่านแจกลูกสะกดคำไม่เป็น
  5. ๕.     จำตัวอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านไม่ได้ 
  6. ๖.      จำตัวอักษรได้บ้าง  แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
  7. ๗.     อ่านช้า  มีความยากลำบากในการอ่าน  เช่นอ่านคำต่อคำ จะต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  8. ๘.     อ่านผิด เช่น อ่านคำผิด
  9. ๙.      อ่านคำโดยสลับตัวอักษร  หรือสลับคำกัน
  10. ๑๐.  นักเรียนใช้ภาษาถิ่น ในการพูดเป็นส่วนใหญ่ส่งผลให้เป็นปัญหาการอ่านและการเขียน
  11. ๑๑.  อ่านออกเสียงคำที่มี ร  ล
  12. ๑๒.อ่านไม่คล่อง  อ่านตะกุกตะกัก
  13. ๑๓. อ่านคำที่ประสมสระไม่ได้
  14. ๑๔. ไม่รู้จักสระ  ประสมสระไม่เป็น 
  15. ๑๕. ไม่รู้จัก พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์    บางคนจำไม่ได้
  16. ๑๖.  อ่านออกเสียงคำอักษรสูง กลาง ต่ำ เหมือนกัน
  17. ๑๗.  อ่านแบบท่องจำ ไม่ทราบว่าคำที่อ่านคือคำใด
  18. ๑๘.  จำสระไม่ได้ จึงอ่านสะกดคำไม่ได้
  19. ๑๙.  อ่านออกเสียงคำที่สะกดในมาตราต่างๆไม่ได้
  20. ๒๐.อ่านออกเสียงคำไม่ถูกต้องตามหลักการอ่าน
  21. ๒๑.อ่านผิด อ่านข้ามคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  22. ๒๒.    อ่านคำโดยสลับตัวอักษร  หรือสลับคำกัน
  23. ๒๓.     อ่านเดาจากตัวอักษรบางตัวที่อยู่ในคำ
  24. ๒๔.     ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
  25. ๒๕.    อ่านคำอักษรนำไม่ได้ อ่านไม่ถูก
  26. ๒๖.    ขาดความมั่นใจในการอ่าน เนื่องจากอ่านไม่ได้ และเป็นนักเรียนชาวเขา
  27. ๒๗.    อ่านออกเสียงคำที่มี ร   ล    ซ    ช ไม่ชัดเจน

     ปัญหาด้านการเขียน

    1. ๑.      เขียนตรงตามคำอ่านออกเสียง ซึ่งไม่ถูกต้อง
    2. ๒.    เขียนไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
    3. ๓.     เขียนวรรณยุกต์ไม่ถูก
    4. ๔.     เขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ได้  โดยเฉพาะคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา
    5. ๕.     เขียนไม่ถูกต้อง ไม่สวยงาม
    6. ๖.      เขียนไม่เป็นคำ/ไม่รู้เรื่อง
    7. ๗.     เขียนสระ/คำที่ประสมสระไม่ถูกต้อง
    8. ๘.     เขียนคำผิดความหมาย
    9. ๙.      เขียนพยัญชนะต้นผิด เช่น พ่อ เขียนเป็น ท่อ
    10. ๑๐.  เขียนวางตำแหน่งสระผิด
    11. ๑๑.  เขียนลายมือไม่สวย อ่านยาก
    12. ๑๒.เขียนคำโดยวางสระ วรรณยุกต์ ไม่ตรงตำแหน่ง
    13. ๑๓. เขียนไม่เป็นตัวอักษร เขียนอ่านไม่ออ
    14. ๑๔. เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนเกินบรรทัด เขียนไม่เต็มบรรทัด
    15. ๑๕. เขียนตัวอักษรหัวกลับ หรือกลับด้าน
    16. ๑๖.  เขียนตัวอักษรติดกัน ไม่เว้นช่องไฟ
    17. ๑๗. เขียนประโยคง่ายๆไม่ได้
    18. ๑๘. เขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
    19. ๑๙.  เขียนตามที่กำหนดไม่ได้
    20. ๒๐.เขียนบรรยายภาพ เล่าเรื่อง และความรู้สึกนึกคิด จินตนาการไม่ได้

               จากการอ่านพบในหนังสือชุดความรู้ภาษาไทย   "ศิลปะการใช้ภาษา"  ของกระทรวงศึกษาธิการ    ได้พบปัญหาในเรื่องของการใช้คำผิดพลาด      ซึ่งน่าจะนำมาเป็นประเด็นในการแก้ปัญหาได้ ดังนี้

  • ๑.       พูดไม่ชัด
  • ๒.     พูดตัดคำ
  • ๓.     น้ำเสียงเพี้ยน
  • ๔.     เลียนภาษาดารา
  • ๕.     ใช้ภาษาไม่สุภาพ
  • ๖.      ใช้คำหยาบคำต่ำ
  • ๗.     ใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง
  • ๘.     ใช้คำคะนองผิดที่
  • ๙.      ใช้คำที่ผิดความหมาย
  • ๑๐.   เขียนขยายความไม่เป็น
  • ๑๑.   ไม่เว้นวรรค
  • ๑๒.ไม่รู้จักภาษาดี
  • ๑๓. มีภาษาอังกฤษปน
  • ๑๔. บางคนใช้คำฟุ่มเฟือย 

         ทั้งหมดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนภาษาไทย และการใช้ภาษาไทยของเด็กและเยาวชน    ที่เราผู้เกี่ยวข้องน่าจะนำมาพิจารณาและแก้ไข เพราะ   "ภาษาไทยเป็นศักดิ์ศรีของชาติ"  ดังที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุจริต เพียรชอบ ท่านได้กล่าวไว้      

  •       ภาษาของเรานี้เป็นศักดิ์ศรีของชาติไทย     คงอยู่คู่ชาติให้เราได้ใช้ตลอดมา
  • ภาษาประจำชาติแสนพิลาศเลอล้ำค่า               ภูมิใจสุดพรรณนายากจะหาภาษาใด
  • น้ำเสียงแสนไพเราะฟังเสนาะน่าสนใจ              คล้องจองทำนองไทยปรากฏไว้ในวรรณกรรม
  • เป็นภาษาราชการใช้สื่อสารทุกถ้อยคำ             เด็กไทยจงจดจำค่าเลิศล้ำภาษาเรา            

     

     

หมายเลขบันทึก: 152428เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
ใครเอ่ย..(ขอยืมมาใช้หน่อยนะคะ)

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

พร้อมเกาะติดปัญหา..เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา..จะรออ่านตอนต่อไปค่ะ

พักผ่อนบ้างนะคะ..เป็นห่วงค่ะ

สู้ตายค่ะreply-00000028329.gif

สวัสดีจ้ะ..สาวน้อย

  • ขอบคุณมากจ้ะ..กำลังอยากได้ที่สุด "กำลังใจ"
  • "สู้ตายค่ะ"  เริ่มแผ่วลงแล้วตอนนี้.(รอกำลังใจอีกนิดหนึ่ง..นิดเดียวเท่านั้น..   รู้สึกหมอง ๆ ใจอย่างไรบอกไม่ถูก)
  • ขอบคุณมากนะจ๊ะ..คิดถึงค่ะ
  • (ตุ๊กตาน่ารักจัง)

สวัสดีค่ะ   

ขออนุญาตพักเหนื่อยก่อนนะคะ  ตามหาศน.แทบพลิกคอมฯแน่ะ เพราะจดชื่อตกไป 3 ตัวอักษร ดีใจค่ะที่ได้มาพบ  เป็นอย่างไรบ้าง  สุขภาพสำคัญที่สุดแล้วล่ะค่ะตอนนี้  พบหมอให้ตรงเวลานะคะ  ไม่วินิจฉัยโรคเอง เพราะคิดเองตอบเอง  เดี่ยวจะไม่สบายใจเพิ่มอีก ตอนนี้กำลังใจเพียบแล้ว อยู่แต่ว่าพลังกายก็ต้องการดูแลอย่างดี

  ขอบคุณสำหรับปัญหาที่นำมาเสนอดีค่ะ  เราจะได้ทราบว่าที่จริงแล้วต้องแก้ไขให้ตรงกับความต้องการของคุณครู   จะเข้ามาอ่านเทคนิคบ่อย ๆ นะคะ มาพร้อมกับกำลังใจค่ะ

รักนะคะ

เหมียว

สวัสดีครับ อาจารย์วัชราภรณ์

แวะมาอ่านปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนครับ

อ่านดูแล้ว คิดว่าปัญหาเบื้องต้นน่าจะอยู่ที่การอ่านนะครับ อ่านน้อย ไม่ชอบอ่าน ไม่สนใจอ่าน ถ้าแก้ตรงนั้นได้ ปัญหาอื่นคงจะหมดไป หรือทุเลาลงมากนะครับ

วันนี้กลับบ้านค่ำ ขับมาช้าๆ ฟังเพลง "ขันโตก" ไปด้วย

มาถึงบ้าน ตกใจและดีใจ ขอบพระคุณอย่างมากครับ ซาบซึ้งมาก ไม่ทราบจะพูดอย่างไร ประทับใจมากๆ ครับ แล้วจะตอบเป็นการส่วนตัวอีกครั้งนะครับ

หวังว่าอาจารย์คงสบายดีนะครับ ระลึกถึงเช่นกันครับ

เข้ามาบอกว่า มีคนแอบดูอยู่
หมู่นี้หน้าตาหม่นหมอง รักษาสุขภาพบ้างนะ

เจี๊ยก ๆ

สวัสดีค่ะ..ครูเหมียวคนใจดี

  • ดีใจที่สุด..ครูเหมียวเก่งจริงๆค่ะ..ที่ตาม ศน.อ้วน..จนพบ..ปรบมือให้ค่ะ
  • ขอบคุณจากใจจริงค่ะ..เรื่องสุขภาพ..ต่อไปคงไม่ดื้อแล้ว..อยู่โรงซ่อมสุขภาพทรมานจัง
  • ตอนนี้..เริ่มฮึกเหิมอีกแล้ว
  • ครูเหมียวมาเยี่ยม ศน.อ้วนอีกนะคะ..จะรอค่ะ

สวัสดีค่ะ..คุณครู

  • ขอบคุณค่ะ..ที่กรุณาแวะมาเยี่ยม
  • ขอโทษคุณครูที่เข้ามาคุยด้วยค่อนข้างช้าค่ะ
  • ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอมาค่ะ..หลายวันเลย
  • หนังสือที่มีคุณค่า..เหมาะสมกับคุณครูนักอ่านนักเขียนที่สุด..แทนคำขอบคุณในความกรุณา..และการแบ่งปันของคุณครู..กราบขอบพระคุณด้วยใจค่ะ..
  • คุณครูคะ..ปัญหาการอ่านน้อย ไม่ชอบอ่าน ไม่สนใจอ่าน..เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องตามมาจากการ"อ่านไม่ได้"  ดังนั้นการแก้ไขจึงตกอยู่ที่คุณครูภาษาไทยในชั้นต้น ๆ ที่ต้องรับภาระอันยิ่งใหญ่นี้เป็นกลุ่มแรก  การฝึกอ่าน สะกดคำ และแจกลูก การจำพยัญชนะ และ สระ   การผันวรรณยุกต์ ฯลฯ เด็กต้องเกิดพฤติกรรมนี้ก่อน  เมื่อเด็กอ่านได้แล้ว การชอบอ่านก็จะตามมา   ยิ่งมีหนังสือดีๆ ที่เด็กชอบ เด็กรัก  ต่อไปเขาก็จะอ่านมาก  และ "รักการอ่าน" ในที่สุด(เหมือนคนเขียน..นี่แหละค่ะ..(ฮิ ๆ)  คุณครูเห็นด้วยไหมคะ...
  • ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ..สวัสดีค่ะ..วัชราภรณ์

สวัสดีค่ะ..พี่ชาย

  • ขออนุญาตเรียก "พี่ชาย" นะคะ  ไม่กล้าเรียก "พี่ลิงล้านนา" ค่ะ..
  • อยู่มุมใดแอบดูคะ..
  • ขอบพระคุณค่ะ..รับไว้แล้วค่ะ "ความรู้สึกห่วง" ที่สัมผัสได้
  • ดีใจที่สุดค่ะ..ที่เข้ามาทักทายน้อง..(จากใจจริงค่ะ ..)
  • ต่อไปนี้ป้อมปราการ "ใกล้ตัว  ไกลใจ" คงเริ่มทลายลงนะคะ..  (ของพวกเรา)
  • น้องไปแวะอ่าน "บันทึกไร้เหตุผลของคนกันเอง" มาแล้วค่ะ ..บอกความเป็นพี่ชายได้สุดยอด
  • แล้วจะเข้าไปคุยด้วยค่ะ..สวัสดีค่ะ..น้องอ้วน

สวัสดีค่ะ  ศน.อ้วน

ตอนนี้ครูเหมียวกำลังศึกษาเกี่ยวกับการทำblogอยู่ค่ะ  ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือเปล่า  จะพยายามให้ทำได้เหมือนศน.อ้วนคนเก่งค่ะ  และครูเหมียวก็เข้าไปอ่านหมดแล้วด้วย  อ่านของทุกคนแต่ยังไม่ครบค่ะ  พยายามแบ่งเวลาให้เก่ง ๆ จะได้ทำได้ค่ะ

จะแวะมาเยี่ยมอีกนะคะ

ด้วยรัก....ครูเหมียว

สวัสดีค่ะ..ครูเหมียวคนสวย

ดีใจและปลื้มใจที่สุดค่ะ.ในความพยายามและมุ่งมั่นของครูเหมียว..

ต่อไประยะทางและสถานที่จะไม่เป็นอุปสรรคในการพบกันของเราแล้วนะคะ..

เห็นไหม..คนรักการอ่านตัวจริงมาแล้ว..

เรื่องแบ่งเวลานี่แหละค่ะ..ที่ ศน.อ้วนหนักใจเหมือนครูเหมียว

เฮ้อ!แต่อย่างไรเราก็จะพบกันใน gotoknow ต่อไปนะคะ

ด้วยรักและคิดถึงค่ะ..ศน.อ้วน

ได้อ่านข้อความอันเป็นความในใจของคน "รักชาติ" จริงๆ ของ ศน.อ้วน แล้วรู้สึกซาบซึ้งและภูมิใจมากที่ได้เป็นคนหนึ่งที่เคยร่วมงานกับท่าน และขอชื่นชมในความห่วงใยที่มีต่อชาติบ้านเมือง นับว่าท่านเป็นกำลังอันสำคัญที่มีคุณค่ามหาศาล ที่ครูรุ่งเชื่อว่า ฟ้าดินคงรับทราบ ในความอาทรนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ และ ขอร่วมสืบสานงานยิ่งใหญ่นี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง คุณค่าคนวัดได้ในผลงาน คนกล่าวขานแซ่ซร้องสรรเสริญ นี่แหละคนคุณภาพจักจำเริญ ขอเทพช่วยเสริมส่งให้ได้ดี

สวัสดีค่ะศน.อ้วนคนเก่ง ตัวเล็กเสียงใสจริงใจน่ารัก ที่เขียนมาในคืนนี้ก็อยากจะบอกว่าพยายามแบ่งเวลาดูแลตนเองด้วยนะคะ อย่าหักโหมมาก ได้อ่านเรื่องปัญหาของการอ่านการเขียนของเด็กๆจากที่คุณครูทั้ง ๖ ท่านได้เขียนไว้แล้วค่ะ อยากบอกว่าจริงๆ แล้วปัญหามีมากกว่านั้นอีกแล้วแต่ตัวแปร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมุ่งมั่นในสิ่งที่คุณครูทุกคนดั้งใจไว้ว่าจะแก้ปัญหาให้ลูกศิษย์ได้ตรงจุดหรือไม่ สิ่งสำคัญก็คือใจของคุณครูว่าจะตั้งมั่นสม่ำเสมอแค่ไหน ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูผู้ตั้งมั่นทุกท่านก็แล้วกัน ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ค่ะ อ้อ!ครูลินลดาเคยใช้การอ่านท่องจำบทร้อยกรองโดยแต่งจากคำยากที่เป็นคำพื้นฐานให้เด็กๆอ่านเป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทยตั้ง ๖ เล่ม ในชื่อชุด บทกลอนสอนคำยากก็สามารถแก้ปัญหาที่เด็กๆประสบอยู่ได้ผลด้วยนะคะ แล้ววันหลังจะเล่าให้ฟังต่อถ้าหากสนใจค่ะ

อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

จาก..น้องสาวศน.อ้วนค่ะ

ดิฉันเป็นครู ชื่อ นางวนัสนันท์ เขยสูงเนิน สอนวิชาภาษาไทย ป.1 โรงเรียนบ้านห้วยช้างแต่โรงเรียนถูกยุบไปเรียนรวมกับโรงเรียนด่านแม่คำมัน อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ กำลังทำอาจารย์ 3 ได้มีโอกาศไปงาน เวทีแสดงผลงานทางวิชาการ ที่โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ในวันที่ 13 กันยายน 2551 และได้มีโอกาศฟังการแบ่งปันความรู้ที่ ศน.อ้วนได้นำมาแชร์ให้ฟังกัน ยังนึกเสียดายเลยว่าเวลามีน้อยเกินไปสำหรับกิจกรรมนี้และทำให้เกิดประกายความคิดและแรงใจในการทำงานและสร้างนวัตกรรมมากค่ะ อยากจะเรียนถามเพื่อจะนำไปเขียนอ้างอิงในรายงาน ( บทที่ 2 )การเขียนสะกดคำโดยใช้นวัตกรรม คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ควรจะใช้อ้างอิงอย่างไร แบบไหน จึงจะเหมาะสมและถูกต้อง และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร **ดิฉันทำนวัตกรรมคือหนังสือนิทานเล่มเล็กตามมาตราตัวสะกด 8 แม่ รวม 8 เล่ม ** และที่สำคัญ โดยตำแหน่งยังเป็นครูโรงเรียนบ้านห้วยช้าง ( ในสลิปรับเงินเดือน ) แต่มาสอนที่โรงเรียนด่านแม่คำมัน เวลาเขียนในรายงานจะเขียนอย่างไรดีคะ ขอความกรุณาตอบดิฉันด้วยเถอะค่ะรอคอยด้วยความหวังตาม E-MAIL ข้างต้นก็ได้ค่ะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้นะคะ

นางวนัสนันท์ เขยสูงเนิน

โรงเรียนด่านแม่คำมัน อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์

ดิฉันเป็นครู ชื่อ นางวนัสนันท์ เขยสูงเนิน สอนวิชาภาษาไทย ป.1 โรงเรียนบ้านห้วยช้างแต่โรงเรียนถูกยุบไปเรียนรวมกับโรงเรียนด่านแม่คำมัน อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ กำลังทำอาจารย์ 3 ได้มีโอกาศไปงาน เวทีแสดงผลงานทางวิชาการ ที่โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ในวันที่ 13 กันยายน 2551 และได้มีโอกาศฟังการแบ่งปันความรู้ที่ ศน.อ้วนได้นำมาแชร์ให้ฟังกัน ยังนึกเสียดายเลยว่าเวลามีน้อยเกินไปสำหรับกิจกรรมนี้และทำให้เกิดประกายความคิดและแรงใจในการทำงานและสร้างนวัตกรรมมากค่ะ อยากจะเรียนถามเพื่อจะนำไปเขียนอ้างอิงในรายงาน ( บทที่ 2 )การเขียนสะกดคำโดยใช้นวัตกรรม คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ควรจะใช้อ้างอิงอย่างไร แบบไหน จึงจะเหมาะสมและถูกต้อง และมีข้อดีข้อเสียอย่างไร **ดิฉันทำนวัตกรรมคือหนังสือนิทานเล่มเล็กตามมาตราตัวสะกด 8 แม่ รวม 8 เล่ม ** และที่สำคัญ โดยตำแหน่งยังเป็นครูโรงเรียนบ้านห้วยช้าง ( ในสลิปรับเงินเดือน ) แต่มาสอนที่โรงเรียนด่านแม่คำมัน เวลาเขียนในรายงานจะเขียนอย่างไรดีคะ ขอความกรุณาตอบดิฉันด้วยเถอะค่ะรอคอยด้วยความหวังตาม E-MAIL ข้างต้นก็ได้ค่ะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้นะคะ

นางวนัสนันท์ เขยสูงเนิน

โรงเรียนด่านแม่คำมัน อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์

ดิฉันเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เรียนคณะศึกษาศาสตร์เอกภาษาไทยตอนนี้เรียนอยู่ปีที่ 2 ดิฉันเรียนไม่เก่งนักเคยคิดว่าจะจบภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะภาษาไทยถึงแม้ว่าจะเป็นภาษาของบ้านเรา แต่เป็นวิชาที่อยากเอามากๆ ต้องทำความเข้าใจศึกษาให้มาก เผอิญว่าดิฉันเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือส่วนมากจะจำจากเพื่อนเวลาเขาพูดคุยถึงเนื้อหามากกว่า ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องเนื้อหาภาษาไทยที่ลึกซึ่งเลย กลอนก็ท่องไม่เป็น แต่ชอบเกี่ยวกับวรรณคดีไทยมากเลย ดิฉันอากทราบว่าต้องทำยังไงถึงจะเรียนเอกภาษาไทยเก่ง อ่านแล้วเข้าใจ และจะเรียนจบแบบเร็วๆค่ะ กรุณาตอบด้วยค่ะ

ปัญหาคือครูแทบไม่มีเวลาสอนแล้วค่ะ ตารางให้ไว้200 ชั่วโมง แต่ต้องไปทำโน่น นี่ นั่น ซะ 100 ชั่วโมง เหลือ 100 ชั่วโมง นักเรียนขาด ครูป่วย วันแม่ วันตรุษจีน หมดเวลาแล้ว

  • สวัสดีค่ะ พี่อ้วน
  • ตอนนี้ป้าแดงก็มีปัญหาในการอ่านค่ะ
  • ใช้เครืองที่ทำงานตัวอักษรเล็กมาก แก้แล้วก็ไม่ดีขึ้นเลย
  • ขอบคุณค่ะ คิดฮอดนะคะ

- เป็นคนรุ่นเก่า เรียนหลักสูตรเก่า

- จำได้ว่า สมัยก่อน จะมีชั่วโมง วิชาเขียนไทย คัดไทย เรียงความ และการท่องอาขยาน สิ่งเหล่านี้มันแทรกซึมเข้ามาในตัวเราโดยไม่รู้ตัวค่ะ

คัดไทย ทำให้ลายมือสวย

เขียนไทย ทำให้เราเขียนคำยากๆ ได้ จำได้แม่น

อาขยาน ทำให้จำ โครงสร้างของการ เขียนกลอนได้

 

ดิฉันชอบหนังสือเล่มนี้  และทันเรียนด้วค่ะ

ครูภาษาไทย ก็ทำได้ เวปนี้เจ๋งดีครับ ที่สำคัญมีเสียงต้นแบบด้วย

http://www.nawama.ac.th/wantanee/

ครูอ้วนเจ้า...หนูขอรบกวนเวลาน่อยเจ้า

หนูเป็นธุรการเชียงใหม่ เขต 4 ที่ ครูอ้วนเคยเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เมื่อปีที่แล้ว ทีผ่านมาหนูปฏิบัติหน้าที่ 4 โรง หนูเป็นคนเลือกเองเพราะใกล้บ้านและมีโรงเรียนที่หนูเคยเป็นอัตราจ้างรวมอยู่ด้วย ก็เลยมีเจ้านายหลายคน ตอนนี้ที่โรงเรียนเก่าที่ว่านี้เขาต้องการครูพี่เลี้ยงเด็กพิการในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว พอดีว่าโรงเรียนนี้ก็อยู่ในหมู่บ้านหนูด้วย(อัตราเงินเดือน5,080) หนูอยากรบกวนถามครูอ้วนว่า

1.ตำแหน่งธุรการโรงเรียนนี้แนวโน้มจะมีจ้างตลอดไปหรือไม่

2.ตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการถ้าครูอ้วนพอจะทราบเขาจะจ้างตลอดไปหรือไม่

หนูขอปรึกษาครูอ้วนเท่านี้นะคะ หนูอาจจะรบกวนเวลาครูอ้วนมากไป แต่หนูต้องขอพึ่งบุญครูอ้วนด้วยนะคะเพราะหนูรู้ว่าครูอ้วนชอบช่วยเหลือคนที่เจอทางตัน

ด้วยความเคารพและนับถือ

ธุรการอดีตครู

ในที่สุดหนูก็เจอทางสว่างแล้วค่ะขอบคุณครูอ้วนมาก ๆ ๆ เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท