CAR 2 ของครูลินลดา


สิ่งบ่งชี้และสภาพความสำเร็จของการสอนและเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ความตั้งใจจริงของครูผู้สอนที่สามารถหาวิธีการจัดการเรียนรู้,สร้างสื่อที่นำไปสู่ความสำเร็จได้โดยความร่วมมือของนักเรียนและผู้ปกครอง

 

CAR 2  ของครูลินลดา

 

    เมื่อครูลินลดารู้จักเด็กในการดูแล โดยการใช้ CAR 1 ก็เริ่มวางแผนที่จะนำพาผู้โดยสารที่น่ารักทั้ง ๒๙ คนไปสู่เป้าหมาย นั่นคือการทำแผนการจัดการเรียนรู้    เมื่อทำแล้ว  ก็ใช้สอน  และก็ต้องมีการตรวจสอบแผนที่ทำขึ้น  ตรวจสอบการสอนของตนเอง    เรามาดูว่าครูขวัญทำอย่างไรบ้างนะคะ

 

คำถามของ CAR 2

 

คำถามการวิจัย 

๑. ความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้าง มีสาเหตุและปัจจัยมาจากอะไร 

๒. มีปัญหาของการสอน มีอะไรบ้าง  และมีสาเหตุและปัจจัยมาจากอะไร

๓. แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการสอนของตนเองมีอะไรบ้าง

 

จัดเก็บข้อมูลอย่างไร

๑. บันทึกระหว่างสอนและหลังสอน

๒. การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน

๓. การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง

๔. ผลงานนักเรียน

๕. การประชุมระดับชั้น และประชุมกลุ่มสาระ

"ครูขวัญขับเคลื่อน CAR 2  อย่างไร"

 

 ..ฟังครูขวัญเล่านะคะ..

 

๑ แนวคิดและเหตุผล

                  การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ก็คล้ายกับการเขียนแผนที่ที่แสดงทิศทางไปสู่จุดประสงค์ของการสอนแผนการจัดการเรียนรู้อาจมีหลายขนาดและมีความหลากหลาย  ความยาวหรือแบบแผนในการเขียนที่ต่างกันไม่ได้ทำให้แผนใดแผนหนึ่งดีกว่าแผนอื่นๆ แผนการจัดการเรียนรู้คือเครื่องมือซึ่งจะมีประสิทธิภาพได้ถ้ามีการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง  ครูควรเป็นผู้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกวิธี  จึงจะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมาย โดยรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการจัดโปรแกรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่งไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  ดังนั้นการวางแผนจึงต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  ไม่ว่าครูผู้สอนจะเคยมีประสบการณ์การสอนมานานหลายปีแล้วก็ตาม  แผนการจัดการเรียนรู้  เป็นเครื่องมือแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มโดยมีขั้นตอนการทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดขึ้นทำความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้รวมทั้งแนวความคิดขอบเขตของกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้มาเป็นกรอบในการทำแผนการจัดการเรียนรู้

                จากประสบการณ์ในชีวิตของความเป็นครูมาหลายปี   มีความเชื่อมั่นและมองเห็นความสำคัญในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง  และมั่นใจเสมอเมื่อได้วางแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเอง  ที่สำคัญจะเกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างสูงเมื่อเกิดความสำเร็จ  เพราะชีวิตความเป็นครูที่ถูกเปรียบเหมือนเรือจ้างในอดีตนั้น  ปัจจุบันนี้ คิดว่า เปรียบเหมือนวิศวกรผู้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ถึงแม้เราจะไม่ได้มองเห็นเป็นรูปธรรมในทันที  แต่เรารู้ด้วยตนเองว่า  ผลงานที่เราได้สร้างกับเด็กๆในแต่ละปีมันคือยิ่งกว่าสิ่งปลูกสร้างใดๆ เพราะมันเป็นการสร้างคนให้เป็นคนที่มีความสมบูรณ์ สำหรับสิ่งที่ตอกย้ำความสำเร็จของเราก็คือ  ผลิตผลที่มองเห็น  นั่นคือ ความรู้ความสามารถที่พอกพูนขึ้นจากอดีตของลูกศิษย์นั่นเอง ส่วนอานิสงค์ที่เราได้รับ ก็คือวิทยฐานะที่ได้รับเพิ่มขึ้น และศรัทธาจากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กที่มีต่อเรา  เพราะการคิดเขียนวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงให้เราค้นหานวัตกรรม  และหากเราได้นำสิ่งที่เราคิดมาปฏิบัติ เราก็ได้พัฒนาตนเอง นักเรียนก็จะเกิดการเรียนรู้  สิ่งใดที่ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติจริง  ส่งนั้นย่อมไม่เกิดผลิตผล

                 สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ภาคภูมิใจมากในชีวิต คือ  แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยต้นข้าวชาวนาไทย เป็นเส้นทางการปฏิบัติที่มีการวางแผนมาหลายปี  เกิดจากการสั่งสมในสิ่งที่อยากจะให้เด็กๆ เป็นอย่างที่เราได้คิดฝัน  เมื่อผสมผสานกับหลายสิ่งจึงเกิดความสมบูรณ์และงดงามในตนเองอย่างหาค่าเปรียบมิได้  แต่เมื่อต้องการที่จะปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ จึงต้องทำการประเมินพฤติกรรมการสอนของตนเอง เพื่อจะได้ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   

 

  คำถามวิจัย

            ๒.๑   สิ่งบ่งชี้และสภาพความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้างและเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จคืออะไร

            ๒.๒   ปัญหาและอุปสรรคของการสอนมีอะไรบ้าง และมีสาเหตุปัจจัยมาจากอะไร

            ๒.๓   แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัยในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ต่อไปควรมีอะไรบ้าง

 

๓. วิธีดำเนินการวิจัย

            ๓.๑  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๗ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่จำนวน  ๒๙  คน เป็นหญิง ๑๕  คน  ชาย  ๑๔  คน ภาคเรียนที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๐

            ๓.๒  เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวางแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยต้นข้าวชาวนาไทย ครั้งที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐

            ๓.๓   แหล่งข้อมูล เครื่องมือคือ  แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย ต้นข้าวชาวนาไทย ครั้งที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗

ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐  CAR ๒/๑ แบบประเมินการสอนของตนเอง  และ CAR ๒/๒  แบบบันทึกหลังการสอนเพื่อการเรียนรู้ของครูนักวิจัย

            ๓.๔   การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการนำข้อมูลที่ได้มาสร้างตารางแจกแจงความถี่หรือสร้างแผนภูมิต่าง ๆ และจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการบรรยาย

 

๔. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย        

            ๔.๑ ทำให้มองเห็นพฤติกรรมการสอนของตนเองและเติมเต็มในสิ่งที่ขาดของแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะได้

นำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

            ๔.๒ ทำให้ค้นหาแนวทางในการที่จะพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนได้ในระดับต่อไป

 

๕.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

           ครั้งที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ จากการสรุปข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ CAR ๒/๑แบบประเมินการสอนของตนเองปรากฏว่านักเรียนเกิดความกระตือรือร้นมากเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะเมื่อรับทราบว่าในการเรียนหน่วยต้นข้าวชาวนาไทยนี้จะได้ออกไปศึกษานอกสถานที่ และเมื่อได้ค้นหาเว็บไซด์ของบ้านควายไทย ก็แสดงอาการตื่นเต้น และถามว่าจะได้ไปจริงๆ เมื่อไร ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง  ส่วนสิ่งที่ควรปรับปรุงและ/หรือเพิ่มเติมในการสอนครั้งต่อไป  อาจจะให้นักเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ศึกษาค้นคว้าจากเว็บไซด์มาก่อน  โดยอาจจะให้ชื่อเว็บไซด์ หรือให้ฝึกสืบค้นเอง ส่วนสื่อที่นำมาใช้ ควรจะมีการปรับปรุงหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และจาก CAR ๒/๒  แบบบันทึกหลังการสอนเพื่อการเรียนรู้ของครูนักวิจัย พบว่าสิ่งที่ครูได้เรียนรู้และเกิดความคิด แนวคิดใหม่ คืออยากจะให้นักเรียนได้นำความรู้ที่เกิดขึ้นมาปฏิบัติต่อที่บ้านหรือที่โรงเรียน อาจจะให้ปลูกข้าว โดยบูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการเพาะเมล็ด หว่านเมล็ด และน่าจะสร้างสื่อที่จะจูงใจนักเรียนมากขึ้น หรือได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในวิชาภาษาไทยให้เกิดความเด่นชัดมากยิ่งขึ้น

 

ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐  จากการสรุปข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ CAR ๒/๑แบบประเมินการสอนของตนเอง ปรากฏว่านักเรียนเกิดความกระตือรือร้นมากเป็นพิเศษ  เมื่อได้ฟังเสียงการอ่านทำนองเสนาะของครูจากCD.และเปิดอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านไปพร้อมๆกับฟังเสียง และฝึกอ่านไปพร้อมๆกันรวมทั้งเกิดความประทับใจเมื่อได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้จากสื่อที่เราเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  และได้เห็นความตั้งใจของเด็กๆในการเรียนรู้และฝึกฝนจนสามารถสอบผ่านได้อยากจะให้นักเรียนได้นำความรู้ที่เกิดขึ้นมาปฏิบัติต่อยอด    โดยวางแผนในคาบต่อไปให้มีการปลูกข้าวในทุ่งนาจำลองในสวนเกษตร           ของโรงเรียนเชิญชวนให้ผู้ปกครองมาร่วมในโครงการ ร่วมด้วยช่วยกันสานฝันเพื่อลูกโดยจะปลูกข้าวถวายเป็นมหามงคล คือ  ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ  และจาก CAR ๒/๒  แบบบันทึกหลังการสอนเพื่อการเรียนรู้ของครูนักวิจัย พบว่าจะนำประสบการณ์ ความคิด และสิ่งที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้ไปปรับใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยต้นข้าวชาวนาไทยในปีต่อไปจะสร้างสื่อโดยพัฒนาจากหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องต้นข้าวชาวนาไทย ให้มีความทันสมัยมากขึ้น   และจากการจัดการเรียนรู้ในปีแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ จนถึง     ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ได้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดังนี้

            ๑. ปีการศึกษา ๒๕๔๘และ ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการสอนตามแบบเดิม  แต่เพิ่มให้นักเรียนได้ค้นคว้าสืบค้นโดยใช้คอมพิวเตอร์จากที่บ้านก่อน  คนที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถมาใช้ในห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนหรือใช้ในห้องเรียนก่อนการเรียนรู้ได้  ส่วนการปรับการทำนาไม่สามารถทำนาในทุ่งนาจริงๆได้ จึงประยุกต์ให้ปลูกข้าวในกะละมังวางไว้ข้างระเบียง

            ๒.  ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นปีมหามงคล และได้เข้าร่วมอบรมการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ ห้องประชุมบิ๊กซี

โดยความกรุณาของศึกษานิเทศก์ ๓ ท่าน คือ ศึกษานิเทศก์วัชราภรณ์  วัตรสุข ศึกษานิเทศก์อรรณพ   ดวงเกตุ และศึกษานิเทศก์อนันต์  เทียมอ้าย โดยอบรมในวันเสาร์ต่อเนื่องกันจำนวน  ๑๑  ครั้ง จึงได้ออกแบบ หน่วยการเรียนรู้ ต้นข้าวชาวนาไทย และใช้กระบวนการประสบการณ์ภาษา ๕ ขั้นตอนและ การบูรณาการองค์รวมด้วยวิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism ) และได้สร้างนวัตกรรมคือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องต้นข้าวชาวนาไทย เป็นบทดอกสร้อยเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้บูรณาการ

 

๖.  สรุปผลการวิจัย

๖.๑  สิ่งบ่งชี้และสภาพความสำเร็จของการสอนและเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ความตั้งใจจริงของครูผู้สอนที่สามารถสร้างสื่อปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จได้โดยความร่วมมือของนักเรียนและผู้ปกครอง

๖.๒  ปัญหาและอุปสรรคของการสอนมีอะไรบ้าง และมีสาเหตุปัจจัยมาจากอะไร ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในปีแรกคือขาดสื่อที่จะช่วยนำความรู้สู่ตัวเด็ก สาเหตุปัจจัยคือ ครูยังขาดทักษะเมื่อปฏิบัติต่อเนื่องในปีต่อมาจึงได้พัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งสามารถนำเสนอในรูปแบบของการวิจัยกระบวนการสอนได้อีกด้วย

๖.๓  แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัยเองในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ต่อไปควรมีการพัฒนาสื่อคือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง ต้นข้าวชาวนาไทย ให้มีความทันสมัยมากขึ้น และมีการนำเสนอผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อไป

 

๗.  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

            ๗.๑  จากการสรุปผลการวิจัยพบว่าจะต้องมีการพัฒนาสื่อจากหนังสือส่งเสริมการอ่านต่อไป ให้มีความทันสมัยและมี

                    การใช้สื่อ ICTในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

            ๗.๒  ควรพัฒนาสื่อหนังสือส่งเสริมการอ่านให้ทันสมัยโดยปรับเป็น หนังสือ e-book ให้มีทั้งภาพและเสียง

 

๘.  บทเรียนความคิดใหม่และประโยชน์ที่ผู้วิจัยได้จากการทำวิจัยในครั้งนี้

          การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้จากการประเมินโดยใช้เครื่องมือ  CAR ๒/๑ แบบประเมินการสอนของตนเอง 

         และ CAR ๒/๒  แบบบันทึกหลังการสอนเพื่อการเรียนรู้ของครูนักวิจัย ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

         ควรมีการนำไปปรับใช้กับการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป

..เพื่อนๆติดตาม เครื่องมือ CAR 2/1  CAR2/2 ของครูขวัญในบันทึกถัดไปนะคะ..

สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 259334เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตามมาอ่านครับ ดีจังเลย กำลังให้คุณครูฝึกทำอยู่เหมือนกันครับ มาให้กำลังใจพี่ครับ

P

อรุณสวัสดิ์ค่ะ..

ตื่นแต่เช้าเลย  ยังอยู่ใต้หรือเปล่าคะ..

ไม่ว่าอยู่ไหนน้องบ่าวของพี่อ้วนก็ขยันเสมอ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ..พี่อ้วนเผยแพร่งานครูกัลยาณมิตรที่น่ารักก็เป็นการให้กำลังใจคนทำงานค่ะ

ดูน้องขวัญเธอมีความสุขมากค่ะ ที่ได้บอกได้เล่าในสิ่งที่ทำอยู่

เมื่องานของเธอสำเร็จจึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม  สมควรที่นำมาบอกกล่าวแบ่งปันเพื่อนๆค่ะ

อาจารย์ขจิตดูแลสุขภาพด้วยนะคะ 

พักบ้าง..

พี่อ้วนเป็นกำลังใจให้ด้วยค่ะ.. 

สวัสดีวันหยุดค่ะ...

      สารภาพอย่างน่าชื่นตาบานค่ะว่ายังไม่ได้อ่าน(สายตามีปัญหากำเริบอีกแล้ว)

      ขออนุญาตSAVEไว้อ่านทีหลังนะคะ ^_^

            

       ขอบคุณเรื่องราวดีๆของครูขวัญคนสวย

       กับการถ่ายทอดโดยศน.อ้วนคนงามเจ้าค่ะ ^__^

  • มาให้กำลังใจก่อนไปนอน
  • เลยเอาภาพน่ารักๆมาฝากเจ้า

ขอบคุณครูตุ๊ก..ที่ติดตามเป็นเพื่อนครูขวัญ..จ้า

 

น้องเขี้ยวจ๋า..อิอิ ได้รูปนี้มากจากไหนนี่

ยังอยู่ใต้ครับ มีคนมาเยี่ยม อิอิๆๆๆ ไปดูสรุปงานวิจัยของครู กศน หรือภาพกิจกรรมนะครับ พี่อ้วนสบายดีนะครับ..

คิดถึงศน.อ้วนมาก อ่านเรื่องครูลินลดา แล้วอยากสมัครเป็นลูกศิษย์ และอยากเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบ car บ้าง หวังว่าคงจะรับลูกศิษย์คนนี้ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท