อย่าเป็นครูเลย ถ้าเป็นครูไม่ได้


วันนี้ผมเตรียมตัวจะไปเที่ยวสวนป่าแล้ว ตั้งใจจะนอนให้เต็มอิ่ม แต่ต้องมาเขียนบันทึก "ถึงนักศึกษาปริญญาโท: ผมยินดีช่วยสอนด้วยการลบบันทึก" เพื่อสื่อสารกับคนที่ไม่รู้ว่าจะมาอ่านบันทึกของผมหรือเปล่า

ระหว่างเขียนไปผมก็นึกไปพลาง

"อย่าเป็นครูเลย ถ้าเป็นครูไม่ได้"

เขาเรียกตัวเองว่าครู แต่เขาไม่รู้จักวิชาชีพครู เขามากอบโกยจากชื่อเสียงที่ครูหลายต่อหลายรุ่นพยายามสร้างกันมาด้วยชีวิตและวิญญาณ

ใช่แล้วครับ ผมหมายถึง "เขา" ผู้ไม่รู้จักที่จะเป็นครู ผู้ที่แอบแฝงมาในวิชาชีพของการศึกษาเพื่อหารายได้

การเป็นครูบาอาจารย์เดี๋ยวนี้รายได้ไม่ธรรมดานะครับ โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ในระบบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

สอนปริญญาโทภาคพิเศษเดี๋ยวนี้เขาจ่ายกันชั่วโมงละไม่น้อยทีเดียว ยิ่งในหลักสูตรที่รับนักศึกษาเต็มห้องประชุมใหญ่ๆ ครูบาอาจารย์เดี๋ยวนี้ไม่จนครับ และผมทราบมาว่าในวงการนั้น เดี๋ยวนี้เขาเรียกนักศึกษาว่า "ลูกค้า" กันได้อย่างเต็มปากเต็มคำทีเดียว

ผมไม่ได้ว่าอะไรหรอก เขาทำอาชีพสุจริตไม่ได้ผิดกฎหมาย ไม่ได้มีกฎหมายไหนตราห้ามไว้ว่าการเป็นครูห้ามหารายได้

แต่มันเหมือนตะเกียงที่เผาใส้ตัวเองกิน

ในวันนี้คนจบปริญญาโทไม่มีความหมาย มหาวิทยาลัยบางแห่งเคยมีชื่อเสียงว่าสร้างมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงปัจจุบันไม่มีใครยอมรับ พอบอกชื่อขึ้นมาใครๆ ก็ "รู้กัน"

ยิ่งกว่านั้นตลาดแรงงานไม่ยอมรับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโท ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ใบปริญญาไร้ค่ายิ่งกว่าสิ่งใดทั้งนั้น

ผมกำลังสงสัยว่าตะเกียงนี้จะเผาใส้ตัวเองกินไปได้อีกนานแค่ไหน

หลักสูตรปริญญาโทในหลายมหาวิทยาลัยพยายามสร้างมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ แต่ไม่สามารถให้กำลังใจแก่นักศึกษาได้

ทำไมฉันต้องเรียนหนักหนาสาหัสกว่าเพื่อนของฉันที่จ่ายเงินสบายๆ แล้วก็ได้ใบปริญญา

แม้เธอและเขาจะรู้ว่าสิ่งที่ได้คือความรู้นั้นมีค่ากว่าใบปริญญานัก แต่เชื่อว่าช่วงเวลาในความคิดก็ย่อมต้องมีที่จะเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ

ตะเกียงไม่ได้เผาแค่ใส้ตัวเอง แต่กลับลุกลามทำให้บ้านทั้งหลังจะไหม้ลงไปเหลือแค่ตอตะโก

 

หมายเลขบันทึก: 182875เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ตื่นเต้นจะได้พบอาจารย์ครับ  อิอิ

สวัสดีครับ อาจารย์ :)

  • แวะมาเยี่ยมซะสองบันทึกติด ๆ กันเลย ผม :)
  • เอ้า เห็นด้วยครับ
  • เอาแค่ตอนผมเรียนโท ... เพื่อน พี่ น้อง วิชาเอกเดียวกันเนี่ย วิธีคิดยังแตกต่างกัน แต่ที่แน่ ๆ ส่วนใหญ่คิดเหมือนกันครับว่า "ทำอย่างไรจึงจะจบเร็วที่สุด"
  • ไม่ได้คิดว่า "ทำอย่างไรจึงจะได้ความรู้ไปให้เยอะที่สุด ให้สมกับที่เรียนจบสูงกว่าชาวบ้านชาวเมืองเขา"
  • พูดตรง ๆ ผมเห็นคนที่คิดแบบนี้ ผมเบือนหน้าหนีอย่างเดียว รู้สึกสังเวชในวิธีคิดของคนที่แวะมาเรียนแบบฉาบฉวยแล้วก็ไป เอาปริญญาไปอวดที่ทำงาน ขอขึ้นขั้นตามวุฒิ หรือ เอาไปสมัคร ส.ส. ส.ว. ส.ท
  • ผมมีเพื่อนเป็นอาจารย์ที่โอนมาจาก สพฐ. อยู่คนหนึ่ง จบโท  2 ปี สอนไม่รู้เรื่อง สอนได้ไม่กี่วิชา ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ เก่งอย่างเดียว คือ จับผิดครู ถามเด็ก เด็กบอก อาจารย์เค้าสอนอะไรก็ไม่รู้ แถมยังสอนผิด ๆ ถูก ๆ บ้าแล้ว
  • เอาแค่ปริญญามาแลกกับซีที่สูงขึ้น ....
  • ปัจจุบัน เรียนเอกเล้ย ในเมืองไทยนี่แหละ แต่เลือกเรียนสาขาผู้นำฯ อยากใหญ่ว่างั้นเถอะครับอาจารย์
  • แบบนี้ เกลื่อนครับ ...
  • แอบขอบคุณเปิดพื้นที่ให้ครับ ว่าง ๆ จะไปใช้พื้นที่ตัวเองครับ

ขอบคุณครับ :)

  • อาจารย์คะ แต่เดี๋ยวนี้นักศึกษาก็หนีอาจารย์ที่ให้เกรดยากเหมือนกันค่ะ
  • พอดีน้องชายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเช่นกัน เค้ามีมาตรฐานในการให้คะแนนที่ค่อนข้างสูง พอเกรดออก เด็กบ่นว่าโหด แต่เค้าเป็นคนรักสถาบันนี้มาก เพราะจบจากที่นั่นและเป็นอาจารย์สอนที่สถาบันนั้นต่อ จึงไม่ยอมลดมาตรฐาน เด็กลงเรียนน้อยลงไปบ้าง ก็ไม่สน เพราะอยากให้เด็กที่จบออกมามีคุณภาพจริงๆ และไม่ทำให้มหาวิทยาลัยนั้นเสียชื่อเสียง ไม่ใช่ได้แค่ใบปริญญาค่ะ
  • เคยเจอคนที่รู้ว่าเราเป็นพี่น้องกันในงานหนึ่ง เค้าเข้ามาพูดว่าทำไมน้องชายเธอโหดขนาดนี้  เล่าต่อว่าได้โอนหน่วยกิตไปเรียนโทที่อื่นแล้วค่ะ

ปรากฎการณ์การเรียนปริญญาโทเพราะต้องการได้ใบปริญญาไม่ใช่อยากได้ความรู้เป็นเรื่องแทบจะปกติแล้ว คนที่ต้องการได้ความรู้ถูกมองว่า "ไม่ฉลาด" มันน่าเศร้ามาก และขณะนี้ในวงการครูกำลังมีปรากฎการณ์ที่คล้ายคลึงกันคือ อยากได้วิทยฐานะที่สูงขึ้นพร้อมเงินประจำตำแหน่งโดยลอกผลงานคนอื่นมา หรือใช้วิธีเลียนแบบ ที่ร้ายที่สุดคือ ใช้เงินซื้องานมาส่ง คิดแล้วยิ่งเศร้าแบบยกกำลัง(ตัวยกกำลังแล้วแต่จะเขียนจำนวนตามระดับความรุนแรงของความเศร้า ส่วนผู้เขียนนั้นกำหนดในระดับ "ไม่มีที่สินสุด")เคยภูมิใจนักหนาในอาชีพครูของตนเอง มันเหนื่อยจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆในการเป็นครูดี (รู้ไหมว่าพิมพ์ไปนำตาตกไป มันรู้สึกหดหู่ใจจริงจริง)

เคยได้ยินคำกล่าวนี้บ่อย ๆ ค่ะ"Those who can, do, and those who can't, teach".

  • ค่อยรู้สึกดีขึ้นมานิดนึง เพราะว่า.....สอน ป.4
  • แต่ถ้า  อยู่ในมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เอก  ไม่เห็นเรียกขานผู้สอนว่า....ครู
  • เห็นด้วยกับทุกๆท่านล่ะค่ะ  เป็นครูดี...นี่ยากจริง
  • แต่หากครูทุกคน...ยังเบียดบังความเป็นครู เพียงเพื่อทำอะไร ไม่สมกับความเป็นครู ให้ ครูเดือดร้อนใจ  ก็ไม่น่าเป็นครูต่อไป

ขอบคุณค่ะ

จะเป็นครู..อยู่ที่จิตสำนึก

หากตำแหน่งที่เรียกขาน..เป็นแค่หัวโขน

วิญญาณของการเป็นผู้ให้ต่างหาก...ที่เราปลูกไว้ให้ในจิตสำนึกของ "ครู" แต่ละคนไม่ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์.. นานๆ จะได้อ่านบันทึกที่กล่าวถึงความเป็นจริงของสังคม (ทางการศึกษา) บ้าง..ก็รู้สึกดีนะคะ ที่รู้สึกดี ไม่ใช่เพราะว่า อยากใ้ห้ผู้ใดเดือดร้อน แต่เพราะว่า อยากให้สังคมประเทศชาติก้าวหน้ามากกว่านี้ ดังนั้น บางครั้งความจริงจำเป็นที่จะต้องได้รับการเปิดเผยบ้าง

ขอชื่นชมอาจารย์ด้วยใจจริงที่กล้าเขียน  ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ  เพราะอาจารย์มีฐานะที่จะกระทำได้   จากความคิดในจุดเล็กๆ ที่นำเสนอไปนี้  อาจช่วยเปลี่ยนสภาพสังคมปัจจุบันได้ก็ได้  วันนี้ยังไม่เห็นผล แต่การกระทำทุกอย่างย่อมมีผล..

อย่าเป็นครูเลยถ้าเป็นครูไม่ได้   ถูกต้องที่สุดค่ะ 
เพราะคำว่า "ครู"  นี่มีค่ามาก  ครู มาจาก คะ-รุ ที่แปลว่า หนักแน่น  ดังนั้น คนที่เป็นครู ต้องมีความหนักแน่นใน  ความรู้ และ ความดี  ต้องสามารถเป็นแบบอย่างของสังคม ประเทศชาติได้

อย่างเป็นครูเลย  ถ้าไม่มีคุณธรรมของครูู   .. ครูเป็นอาชีพที่ทรงเกียรติ  ที่สามารถทำประโยชน์ให้เกิดได้มาก  และรู้สึกภูมิใจเสมอที่ตนเองมีอาชีพครู   และ ก็พยายามเรียนรู้ และต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อจะเป็นครูที่ดีให้ได้

ครู  คือ ผู้ให้  ให้ความรู้ ให้ความเมตตา ความจริงใจ ให้อภัย ให้ความช่วยเหลือ ฯลฯ โดยไม่หวังผลตอบแทนจากศิษย์    หากไม่รู้จักการให้  ไม่มีความซื่อสัตย์จริงใจ ก็เป็นครูไม่ได้

ตะเกียงไม่ได้เผาแค่ใส้ตัวเอง แต่กลับลุกลามทำให้บ้านทั้งหลังจะไหม้ลงไปเหลือแค่ตอตะโก

ถูกต้องที่สุดอีกแล้วค่ะ    เพราะ สิ่งที่ครูทำ ทุกคำที่พูดหรือกระทำนั้นไม่ได้มีผลแก่ผู้พูดคนเดียว  ทุกสิ่งที่ทำทุกคำที่พูด  มีผลต่อศิษย์นะคะ  เขาเห็นแบบอย่างที่ครู(ไม่มีคุณธรรมความเป็นครู)  เขาก็คิดว่า เป็นสิ่งที่ดี เพราะครูยังทำ  แล้วหากเขานำไปทำตาม และนำไปสอนศิษย์ต่อๆ กันไป    ไฟนี้คงจะลุกลาม มอดไม้ เหลือแค่ตอตะโกจริงๆค่ะ.

ขอบคุณค่ะอาจารย์สำหรับแนวคิดที่ดี.

อย่าว่าแต่มหาวิทยาลัยทั่วไปเลย  ลุงเอกสอนปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่ว่าระดับหนึ่งของประเทศ  เด็กมาเรียนเพียง 2 ครั้งใน 14 ครั้งแถมทำข้อสอบไม่ได้อีก พอคะแนนไม่ดีก็จะให้ทางคณะจะให้ช่วยแก้เกรดให้  เพราะคุณแม่ก็เป็นอาจารย์  ลุงเอกแจ้งว่าที่ทำเช่นนี้เพื่อมาตราฐานสถาบัน  ถ้าอยากเปลี่ยนยังไงก็เปลี่ยนไป

อันที่จริงทุกวันนี้ไม่ต้องกะเกณฑ์ให้เด็กมานั่งในห้องก็ได้แต่ต้องอยู่ในมาตราฐานการศึกษา  บางครั้งเรียนแบบค้นคว้าเองก็น่าจะมีประโยชน์กว่า  แต่ว่าการศึกษาไทยยังยึดติดไม่ไปไหนจึงวิ่งใส่แต่ตำราและห้องเรียนเท่านั้น  ความคิดความฝันจึงไม่เกิดขึ้น   

สวัสดีค่ะ มาแสดงตัวเป็นแนวร่วมนะคะ สิ่งที่อาจารย์มีความเป็นห่วงสังคมในเรื่องของการมีจิตวิญญาณแห่ง "ความเป็นครู" เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องต้นทางจริงๆนะคะ

มองระบบคุณภาพการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา ในภาพใหญ่อาการทรุดลงทุกวัน และได้เห็นวิธีคิด วิธีทำของครูบาอาจารย์หลายคนที่สอนระดับปริญญาโท และเอก แต่แทบไม่มีความเป็นครูอยู่พอสมกับการปั้นคนคุณภาพออกไปให้เป็น"พลัง"ของสังคม มันน่าสงสารประเทศชาติค่ะ

 ยิ่งจากต้นทางขึ้นไปอีกในระดับประถม-มัธยมผลิตเด็กคุณภาพน้อยออกมาเป็นส่วนใหญ่ มันก็ยิ่งด้อยลงไปเป็นทอดๆ

ครูที่มีความเป็นครูจะเหนื่อยสาหัส ทั้งกายและใจค่ะ

(ขอเป็นกำลังใจให้คุณลุงเอกและครูบาอาจารย์อีกมากมายทีพยายามทวนฝ่ากระแสด้วยค่ะ)

อย่าเป็นครูเลย ถ้าเป็นครูไม่ได้

ประโยคนี้อ่านง่าย    แต่ทำยาก  ถ้าจะเป็น ครูให้เต็มคำ

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ...มีครูที่โรงเรียนไปเรียนปริญายาที่สูงขึ้น...แต่วิธีการไม่เหมือนกัน...มีวิจัยจริง..วิจัยหลอก...และไม่ต้องวิจัย

**อย่าเป็นครูเลย ถ้าเป็นครูไม่ได้ประโยคนี้อ่านง่าย แต่ทำยาก ถ้าจะเป็น ครูให้เต็มคำ**

* ความคิดที่เน้นสีนี้.....น่าสนใจและใคร่ครวญ.....ว่าเป็นครู...หรือเป็นเพียงอาชีพครู

ฝากรูปมาขอบคุณที่ท่านแวะไปให้กำลังใจ...งามอยู่ท่ามกลาง...หลากหลายพันธุ์

ตามมาอ่านค่ะ เห็นด้วยกับบันทึกนี้อย่างมากๆค่ะ

ผมเห็นด้วยครับ ผมอยากให้ครูเป็นผู้ที่มีความรู้จริงๆ แล้วมีสปิริตสูงๆ ไม่ทำเพราะเห็นแก่เงิน

แต่ถ้าครูที่ดีจริงๆมีอยู่น้อย ก็คงไม่พอกับจำนวนนักเรียนที่มากมาย ไม่รู้จะแก้ปัญหาแบบนี้ยังไงดี

คนธรรมดา ปริญญาไม่มี

ทุกวันนี้ ไม่ต้อง เป็นครูมหาลัยหรอก ครูชั้นประถมยังหากินกะสอนพิเศษเด็ก ป.1 เลย ไม่ให้ลูกไปเรียนก็ไม่ได้ ครูออกข้อสอบในตอนสอนพิเศษ เวรกรรมไม๊ล่ะ การศึกษาของชาติ ผมความรู้น้อยต้อยต่ำไม่เข้าใจหรอก รู้แต่ว่า สมัยผมเรียน ประถมไม่เห็นครูคนไหนเก็บตังเลยเมื่อสอนพิเศษนอกเวลาราชการ

สวัสดีค่ะ อ. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

  • แวะมาชื่นชม ผลงานค่ะ
  • อ่านข้อความแล้วโดนใจจริงๆ
  • อย่าเป็นครูเลย ถ้าเป็นครูไม่ได้ ข้อความนี้น่าจะ สะท้อนให้หลายๆๆ คน คิด วิเคราะห์ ตามมากถึงมากได้ค่ะ
  • อย่าว่าแต่วิชาชีพครูเลย อาชีพอื่นก็มีไม่น้อย ที่ต้องเจอปัญหาเหล่านี้ แต่ก็โชคดีนะค่ะที่ได้อาจารย์ที่สอนแต่ละท่าน เอาจริงเอาจังกับการสอนมาก สอนจนขอร้องให้อาจารย์หยุดเถอะนักศึกษาไม่ไหวแล้ว อิอิ

ที่กล่าวถึง น่าจะไม่ใช่ครูนะคะ คนที่สอนระดับสูงกว่า ป.6 เขาไม่เป็นครูกันแล้ว

เรียนอาจารย์ธวัชชัย

แวะมาเยี่ยมชมค่ะ อาจารย์กับอาจารย์จันทวรรณ และน้องต้นไม้สบายดีนะคะ

- หนูเห็นด้วยกับเนื้อหาในบล๊อกของอาจารย์อย่างยิ่งค่ะ เพราะนับจากที่เรียนจบจาก มอ ไป จนตอนนี้ได้มาเรียนปริญญาโทภาคปกติที่สถาบันนึง ปรากฏว่าวิชาในหลักสูตรที่เขียนไว้เยอะแยะนั้น จริงๆมีเปิดให้เรียนจริงแค่ 3-4 วิชาเอง และอาจารย์ผู้สอนบางท่าน ก็ไม่เต็มที่กับการสอนนักศึกษาภาคปกติอย่างที่ควรจะเป็น เข้าใจว่า เป็นเพราะคำว่า "เงิน" ตัวเดียวแหละค่ะ จึงทำให้จิตวิญญาณของความเป็นครูสมัยนี้ มันลดน้อยหายไป เพราะว่าภาคพิเศษเนี่ยพวกอาจารย์เค้าได้กัน ชม ละหลายพัน จึงทำให้วิชาที่น่าสนใจหลายๆตัว ไม่เปิดให้นักศึกษาภาคปกติเรียนกัน แต่เปิดให้เรียนกันเฉพาะนักศึกษาภาคพิเศษ เห็นแล้วเศร้าใจจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท