การขนส่งทางอากาศ


แนวความคิดในการขนส่งทางอากาศ

แนวความคิดในการขนส่งทางอากาศ

 

            การขนส่งทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นบริการขนส่งที่มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่ประเทศต่าง ๆ มีการคมนาคมติดต่อกันมากขึ้นส่งผลให้การขนส่งทางอากาศของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งภูมิภาคที่การขนส่งทางอากาศขยายตัวมากที่สุดคือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้นการขนส่งทางอากาศจึงเป็นกิจการสาธารณูปโภคประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

            1.  วิวัฒนาการในการขนส่งทางอากาศ

                        ในระหว่างปี 1650 และปี 1900 ได้มีการพยายามครั้งที่สอง เป็นการบินที่ไม่สลับซับซ้อน แต่มีประสิทธิภาพในการทำการบิน เพราะมีเครื่องจักรกลที่เบากว่าอากาศ คือการคิดที่จะใส่เติมภาชนะด้วยสิ่งที่ปกติสิ่งนั้นจะลอยขึ้นไป ในอากาศ ซึ่งมนุษย์รู้จักมา ตั้งแต่ปี 1300 ซึ่งระยะห่างกันถึง 500 ปี มีสารต่างๆ หลายชนิดที่รู้จักว่าเบากว่าอากาศ โดยทั่วๆ ไป ได้แก่ ไอน้ำ กาซ ฮีเลี่ยม, ก๊าซไฮโดรเจน ความพยายามในการใช้อากาศยานแบบนี้เป็นครั้งแรก ทำโดยพี่น้องตระกูล Montgolfier ในฝรั่งเศส ปี 1783ผู้ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในการสร้างยานที่เบากว่า อากาศ คือ Count Ferdinandจาก Zeppelin ในต้นปี 1930 ยานของ German Graft Zeppelin สามารถทำการบินข้ามมหาสมุทร Atlantic ไปยังประเทศอเมริกา สำหรับยาน Hildenburg ก็ประสบความสำเร็จเช่น เดียวกันกันกระทั่งยานถูกทำลายเนื่องจากไฟไหม้ขณะที่กำลังจะลงจอดที่ Lakehurst,New Jersey.ในปี 1937ในต้นปี 1900 พี่น้อง ชาว อเมริกัน สองคน คือOrville and Wilbur Wright จาก Dayton, Ohio เริ่มทดลองด้วยเครื่องร่อนเครื่องร่อนสร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลจาก Otto Lilienthal ชาวยุโรปทั้งหมดของการทดลองบินประสบความล้มเหลว มาในปี 1901 ทั้งคู่ได้ตัดสินใจด้วยการสร้างปีกขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลของตัวเองทดลองปีกชนิดต่างๆ มาในปี 1902 เครื่องร่อนที่สร้างมีความยาวของปีกถึง 32 ฟุต จากปลายปีก ถึงปลายปีก และกว้างถึง 5 ฟุต นี่ถือเป็นยานลำแรกที่สามารถควบคุมการบิน ได้ทั้งสามแกน และนั่นหมายความว่ายานสามารถบังคับให้ ขึ้น-ลง,ซ้าย - ขวา และ เอียง ซ้าย-ขวาได้ เขาทดลองบินมากกว่า 800 เที่ยว ที่ Kitty Hawkปัญหาต่างๆที่เคยเกิดขึ้น ก็สามารถแก้ไข ได้ทั้งหมดศักยภาพ ในอนาคตของเครื่องบินได้ ตระหนักขึ้น เมื่อ Louis Bleriot (France) ได้บินเครื่องบิน ปีกชั้นเดียวของเขา ผ่านช่องแคบ อังกฤษ ในปี 1909. ซึ่งเป็น สาเหตุ ที่ทำ ให้อังกฤษเห็นว่าความมั่นคงของอังกฤษไม่ปลอดภัยเพราะว่าเดิมอังกฤษให้ความไว้วางใจกับ กองทัพเรือ ของตนเครื่องบินที่บินขึ้นลงทางน้ำได้สร้าง และบินเป็นครั้งแรกโดย Henri Fabre (ชาวฝรั่งเศส) ในปี 1910 ที่ Martigues, France. เป็นความบุกเบิกครั้งสำคัญของ การบินทางน้ำ คือ Glen Curtiss จากอเมริกา ในปี 1911 โดยที่เขาใส่สกีแทนล้อเข้าไปในเครื่องบินปีกสองชั้นที่ใช้เครื่องยนต์ผลักเครื่องบินของเขา และเครื่องบินของเขาสามารถบินขึ้น จากน้ำได้จากสหรัฐอเมริกา,Ford Trimotor เป็นสายการบินแรกของโลกที่ให้บริการในปี 1910 ด้วยการออกแบบที่ก้าวหน้าเกี่ยวกับอากาศยานเนื่องจากสงครามห้องโดยสารปกปิด มิดชิดและเป็นมาตรฐานสำหรับสายการบินพานิชย์ ในปี 1920เมื่อเวลาผ่านไปความเร็ว ของเครื่องบิน เริ่มมากขึ้นจากความเร็วสูงสุด 12 ไมล์ต่อ ช.ม. ของเครื่องตระกูล Wright ชื่อ Kitty Hawk Flyer จนกระทั่ง ในปี 1947 นักบินทดลองชื่อ Chuck Yeager บินด้วยความเร็วเหนือความเร็วเสียงจากจุดนั้น การทดลองบินของเครื่องบินที่มีความเร็วเหนือเสียงก็ทำลายสถิติเรื่อยมา ทุกวันนี้เรา สามารถที่จะเห็น เครื่องบินบางลำที่มีความเร็วเหนือเสียงที่สร้างตั้งแต่ ปี 1960 เช่น Concorde(mach 2), TU-144 (mach 2.2), SR-71, Blackbird (mach 3) เป็นต้น

           วิวัฒนาการของการขนส่งทางอากาศ เริ่มจากเครื่องร่อน บอลลูน เรือเหาะ และในปัจจุบันใช้เครื่องบินการรับขนสาธารณะโดยอากาศยาน ซึ่งคนโดยสาร สัมภาระ สินค้า และไปรษณียภัณท์ ที่แยกกันหรือรวมกัน โดยมีค่าตอบแทนหรือค่าจ้าง[1]

          การขนส่งทางอากาศ เป็นการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีอื่น แต่ต้องใช้จ่ายค่าเชื้อเพลิงสูง เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีราคาแพงและจำเป็นที่ตลาดมีความต้องการสูง มีน้ำหนักไม่มากเกินไปปัจจุบันเกือบทุกประเทศในโลกมีสายการบินพาณิชย์ของตนเอง เพื่อใช้ขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ[2]

                        ข้อดีของการขนส่งทางอากาศ

                        1)  เสียเวลาในการเดินทางน้อย

                         2)สามารถเข้าถึงท้องถิ่นไกลๆ หรือเขตทุรกันดารได้

                        ข้อเสียของการขนส่งทางอากาศ

                        1)  ค่าใช้จ่ายสูง

                        2)  เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าการขนส่งทางอื่น

                        3)  มีอุปสรรคทางด้านดินฟ้าอากาศ

              เครื่องบินเคลื่อนที่ในอากาศได้เนื่องจากเครื่องยนต์ และปีกเครื่องบินแดเนียล เบอร์นูลี นักวิทยาศาสตร์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์พบว่า เมื่ออากาศมีความเร็วเพิ่มขึ้นความดันของอากาศจะลดลง เนื่องจากอากาศที่กำลังเคลื่อนที่จะมีพลังงานจลน์ และอากาศที่มีความเร็วสูงจะมีพลังงานจลน์มากกว่าอากาศที่มีความเร็วต่ำ ดังนั้นขณะที่อากาศมีความเร็วสูงขึ้นจะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ทำให้แรงกระทำต่อพื้นที่ลดลง เป็นเหตุให้ความดันลดลงด้วย จากหลักการนี้จึงนำไปสร้างปีกเครื่องบินให้มีผิวด้านบนโค้งด้านล่างเรียบ เมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่อากาศด้านบนของปีกเครื่องบินมีความเร็วมากขึ้นความดันลดลง ทำให้อากาศด้านล่างของปีกออกแรงดันปีกเครื่องบินให้ยกขึ้น เครื่องบินไอพ่น เครื่องบินไอพ่นเคลื่อนที่ได้โดยมีกลจักรพ่นอากาศไปทางด้านหลัง ก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาขับดันเครื่องบินไปข้างหน้า กระแสลมที่พัดผ่านปีกจะทำให้เกิดแรงยกเครื่องบินให้ลอยตัวได้ ตามหลักของแดเนียล เบอร์นูลี

            เนื่องจากเวลาเป็นอุปสรรคสำคัญในการขนส่งสินค้าทั้งทางเรือและทางถนน สำหรับสินค้าบางประเภทแล้วเวลาที่ใช้ในการขนส่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การขนส่งสินค้าทางอากาศมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าที่ต้องการแข่งกับเวลาและลดความเสียหายที่มีสาเหตุจากการขนส่งน้อยที่สุดด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่มีความเร็วสูงเมื่อเทียบกับรูปแบบการขนส่งทุกประเภทสามารถทำระยะทางได้ไกลกว่าการขนส่งทางถนน ความจุของยานพาหนะในการขนส่งสินค้ามากกว่าการขนส่งสินค้าทางบกแต่น้อยกว่าการขนส่งทางทะเลและทางรถไฟ สามารถขนส่งสินค้าได้หลากหลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นกับลักษณะของภาชนะที่ใช้บรรจุเป็นหลักแต่การขนส่งทางอากาศมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยสูงมาก ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากเพื่อรองรับรูปแบบการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งระบบ และยังคงต้องอาศัยระบบขนส่งสินค้าทางถนนช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้การขนส่งทางอากาศสามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ได้ที่ท่าอากาศยานเท่านั้น นอกจากนี้ การขนส่งทางอากาศใช้ระยะเวลาในการรวบรวมและกระจายสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่งในบริเวณคลังสินค้าทางอากาศโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้คลังสินค้าร่วมกับการขนส่งรูปแบบอื่นได้ เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากความมั่นคงของประเทศและรูปแบบของภาชนะที่ใช้ในการขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว

          อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ นับเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลก โดย International Air Transport Association (IATA) ระบุว่าสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของโลกพึ่งพาการขนส่งทางอากาศ ด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศของโลกในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวในอัตราประมาณร้อยละ 6.2 ต่อปี โดยเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลงในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากเอเชียในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 จากนั้นจึงได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ทั้งนี้ บริษัท โบอิ้ง จำกัดได้คาดหมายว่าแนวโน้มการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศในระยะยาวจะอยู่ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6.4 ต่อปี และตลาดที่เชื่อมโยงกับเอเชียจะยังคงเป็นผู้นำโดยขยายตัวในอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างชาติเอเชียด้วยกันจะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทุกตลาดด้วยอัตราประมาณร้อยละ 8.6 ต่อปี และเมื่อถึงปี พ.ศ.2562 ตลาดเอเชียจะมีส่วนแบ่งในการขนส่งสินค้าทางอากาศกว่าร้อยละ 50 ของตลาดโลก[3]

       ปัจจัยสําคัญที่ขับดันให้การขนส่งทางอากาศเติบโตขึ้น ได้แก่ แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าโลก และทิศทางการแข่งขันทางการค้าในโลกยุคใหม่ที่มุ่งเน้นความรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการส่งมอบสินค้าและบริการที่กำลังกลายเป็นข้อได้เปรียบหลักของการแข่งขันในอนาคต ดังนั้น สนามบินและเทคโนโลยีโลจิสติกส์สมัยใหม่จึงมีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

        ท่าอากาศยานพาณิชย์ของไทยในปัจจุบันมีทั้งหมด 35 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 6 แห่ง และท่าอากาศยานภายในประเทศ 29 แห่ง เส้นทางการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศส่วนใหญ่จะมีจุดเริ่มต้นและปลายทางอยู่ที่ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 5 แห่ง

            2.ศักยภาพการขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบัน

             ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศไทยอยู่ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางอากาศกำลังมีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จากสถิติของสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย พบว่าในปีพ.ศ.2547 จำนวนปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ มีปริมาณคิดเป็นน้ำหนัก 1.06 ล้านตันต่อปี จัดเป็นอันดับ 7 ของเอเชีย และอันดับที่ 19 ของโลกในจำนวนนี้เป็นปริมาณสินค้าเพื่อการส่งออก (Total outbound and transit) กว่า 5.5แสนตันต่อปี ส่วนในด้านมูลค่านั้นประมาณว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกของไทยหรือประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นการขนส่งทางอากาศ ประเภทสินค้าที่นิยมใช้บริการขนส่งทางอากาศส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าประเภทอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและของมีค่าต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังนิยมขนส่งสินค้าประเภทผัก ผลไม้ ที่ต้องการรักษาสภาพให้คงความสดอยู่เสมอ ซึ่งสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศตามท่าอากาศยานที่สำคัญ แยกตามสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออกซึ่งในปี พ.ศ. 2548 มีปริมาณสินค้าขาเข้า 479,491 ตัน สินค้าขาออก 706,072 ตันรวม 1,185,563 ตัน

      ภาพรวมการแข่งขันทางธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบันนี้ คู่แข่งที่สำคัญในภูมิภาคนี้ คือ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนเราจะมีคู่แข่งทางการขนส่งสินค้าทางอากาศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง แต่ขณะนี้ฮ่องกงไม่ได้เป็นคู่แข่งของเราอีกต่อไป เพราะฮ่องกงได้แซงหน้าเราไปมาก โดยเฉพาะได้เปลี่ยนจากสนามบินระหว่างประเทศธรรมดาเป็นประตูสู่ประเทศจีน (Gateway to China) ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนมาเลเซียนั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้มาใช้บริการกลับลดลง ในขณะที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีความแออัดมาก สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ที่จอดรถของผู้มาใช้บริการก็มีความหนาแน่น

            2.3  สภาพปัญหาและอุปสรรค[4]

                        1) ปัจจุบันพื้นที่ของคลังสินค้าของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยทั้ง 4 หลัง มีความหนาแน่นแออัดสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลา 16.00 - 24.00 น. หรือในช่วงเวลาอนุญาตให้เดินรถบรรทุกได้ สินค้าจากที่ต่าง ๆ จะต้องการตรวจสอบและพิธีการต่างๆ ก่อนที่จะนำบรรจุขึ้นเครื่องซึ่งจะต้องใช้เวลามากทำให้เกิดความไม่แน่นอนบ่อยครั้งที่หลังจากสินค้ามาถึงที่คลังสินค้าแล้วไม่สามารถตามหาเจ้าของสินค้าได้

                        2) สายการบินแห่งชาติของประเทศไทยยังไม่มีเครื่องบินสำหรับบรรทุกสินค้าโดยเฉพาะ (Air Freighter) แต่ยังคงใช้วิธีฝากไปกับเครื่องบินผู้โดยสารหรือเช่าพื้นที่บนเครื่องบินจากสายการบินอื่น ทำให้เกิดรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

                        3) ห้องเย็นสำหรับพักสินค้าที่ต้องการรักษาความเย็นมีพื้นที่และจำนวนห้องที่ให้บริการจำกัด ในกรณีที่สินค้าที่ต้องการขนส่งมีปริมาณมากและใช้พื้นที่มาก เช่น กล้วยไม้สด จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่พอเพียงต่อความต้องการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนต้องนำสินค้ามาถึงที่คลังสินค้าในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาที่เครื่องบินจะออกจากลานจอด ทำให้ความแออัดบริเวณหน้าคลังสินค้าที่มีมากอยู่แล้วกลับทวีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบลดลงด้วย

 


            [1] วิวัฒนาการของการขนส่งทางอากาศ, [Online] available URL: http://www.fts.rtaf.mi.th, 31 (เมษายน, 2552)

            [2] การเดินอากาศ และการขนส่งทางอากาศ, [Online] available URL: http://www.thaitrucknavigator.org/truck/thaitrucknavigator/trucknavigator/index.php?option=com_content&view=article&id=96:2008-08-05-07-08-34&catid=54:2008-07-13-16-12-56&Itemid=107, 31 (เมษายน, 2552)

            [3] พรนพ พุกกะพันธุ์, “ธุรกิจการบิน (Airline business)”, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548, หน้า 120.

            [4]ปัญหาและอุปสรรคในการเดินอากาศในปัจจุบัน, [Online] available URL: http://www.thaitrucknavigator.org/truck/thaitrucknavigator/trucknavigator/index.php?option=com_content&view=article&id=96:2008-08-05-07-08-34&catid=54:2008-07-13-16-12-56&Itemid=107, 31 (เมษายน, 2552)

 

หมายเลขบันทึก: 386014เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท