เตาเผาศพปลอดมลพิษ : ธุรกิจที่หากินกับ "ผี..."


ถามเรื่องเตาเผาศพปลอดมลพิษครับ

ข้อความ: สวัสดีครับอาจารย์
ผมได้อ่านบทความของอาจารย์โดยบังเอิญเกี่ยวกับเตาเผาศพปลอดมลพิษครับ เลยต้องมา login กับ gotoknow ใหม่หลังจากหายไป 2 ปี ตอนนี้ผมมาช่วยมูลนิธิชัยพัฒนาในการปรับปรุงเตาเผาศพให้เป็นแบบปลอดมลพิษที่ อ.แม่สาย เชียงรายครับ คงเหมือนกับของอาจารย์ที่มีผู้เสนอราคามาหลายรายแต่เขี้ยวลากดินทั้งนั้น ผมได้คุยกับคุณ..... พบว่าราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าฝีมือดีก็น่าสนใจ อาจารย์มีข้อแนะนำอะไรไหมครับ ขอบพระคุณครับ


 

สำหรับเรื่องเตาเผาศพปลอดมลพิษนั้น เป็นเรื่องของ "การหากินกับผี"
การสร้างเตาหนึ่งๆ ของบริษัทต่าง ๆ นั้นได้กำไรกันเตาละหลายแสนบาท
ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผมเคยลงไปมุดเมรุโน้น ปีนเมรุนี้ดูก็ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า ราคาต้นทุนจริง ๆ ของเตาเผาศพปลอดมลพิษ

Large_meru111


ถ้าเป็นเตาน้ำมัน (ใช้หัวเผาระบบน้ำมันดีเซล 2 หัวเผา จะมีราคาต้นทุนรวมทั้งหมดทั้งสิ้นไม่เกิน 700,000 บาท)
แต่สำหรับเตาเผาศพปลอดมลพิษที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงนั้น จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากทั้งค่าการเดินระบบแก๊ส ถังแก๊ส และหัวเผา แต่ถึงอย่างไรต้นทุนเต็มที่จริง ๆ ไม่เกิน 900,000 บาท
 
สำหรับบริษัท.... จากการที่ผมได้ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบมาจากบริษัทที่จำหน่ายและให้บริการเตาเผาศพในประเทศ ณ ช่วงเวลา 1-2 ปีก่อน ถือว่าเป็นบริษัทแถวหน้าของเมืองไทย อาจจะเรียกได้ว่าตัวเตา (ตัวอิฐ เหล็ก และปูน) เป็นเตาเผาศพที่ดีที่สุดภายในประเทศ ของผู้ที่ผลิตและจำหน่าย ณ ขณะนั้น

Large_tt8009


 
ซึ่งในปัจจุบัน ผมก็ยังมั่นใจว่าตัวเตา (ไม่รวมระบบ) บ. ...... ไม่เป็นสองรองใคร
 
แต่ทว่าในช่วงหลัง ผมพบว่า การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทั้งด้านการเดินระบบและการบริหารของบริษัทฯ ค่อนข้างหยุดชะงักไป เนื่องจากผู้บริหารไม่ลงมาลุยงานเองเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งนั่นหมายความว่าปล่อยให้งานให้ลูกน้องเป็นคนพัฒนาคุณภาพ ซึ่งจะไม่ได้มาตรฐานและไม่ก้าวหน้าเหมือนดั่งเช่นอดีต

 
แต่สำหรับในความคิดเห็นส่วนตัวของผม ผมยังมั่นใจเตาของบริษัท.... มากกว่าเตาเผาของบริษัทอื่น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเตาเผาศพปลอดมลพิษที่พัฒนาจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยหรือพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐ เพราะเมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาใกล้เคียงกันแต่ระบบการพัฒนาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการยังล้าหลังเอกชนอยู่ประมาณ 3-5 ปี
 

ถ้าหากเป็นการทำเพื่อการกุศลแล้ว น่าจะมีการซื้อแยกเป็นสองส่วน คือ ซื้อในส่วนของตัวเตาเปลือย ๆ ที่มีโครงเหล็กพร้อมกับการก่ออิฐทนไฟและหุ้มฉนวนเรียบร้อยแล้ว ราคาต้นทุนไม่เกิน 250,000 บาท


 

 


ส่วนหัวเผา (น้ำมัน) และระบบไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมระบบสามารถซื้อจากผู้แทนจำหน่ายมาติดตั้งเองได้ ซึ่งต้นทุนหัวเผาแบบน้ำมันหัวหนึ่งอยู่ที่ 2-30,000 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ

 

ทางด้านระบบไฟฟ้านั้นก็มิใช่เป็นเรื่องอะไรที่ซับซ้อนเกินไปกว่าความรู้ที่สอนกันในระดับ ปวส. และ ปริญญาตรี


ซึ่งเมื่อรวมกับระบบทั้งหมด ราคาต้นทุนจริง ๆ จะอยู่ไม่เกิน 400,000 บาท ถ้าใช้ความรู้และประสบการณ์ของนักวิชาการชุมชนที่มีความตั้งใจจะเข้ามาช่วยงานมูลนิธิฯ
 
ซึ่งนั่นก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ถึง 3-4 เท่าจากราคาขายปัจจุบันของเตาเผาศพในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่ 1,500,000 บาท เป็นต้นไป...

 Large_dsc04423

หมายเลขบันทึก: 411794เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เคยใช้บริการในงานของพ่อเมื่อ 2 ปีก่อน  หมดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 2000 บาท (เนื่องจากใช้บริการเป็นรายแรก จึงต้องใช้น้ำมันมาก.....เจ้าหน้าที่บอก)

แต่ถ้าใช้เมรุ แบบเดิม จะหมดค่าใช้จ่ายประมาณ 500 บาทหรือน้อยกว่านี้

แต่เพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ยอมรับได้ค่ะ

พวกเราเกิดข้อสงสัยว่า     แล้วในรายต่อๆ ไป  ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งโดยประมาณเท่าไหร่ค่ะ  (ไม่นับค่าสินน้ำใจที่ให้กับเจ้าหน้าที่ เพราะเราให้ด้วยความเต็มใจอยู่แล้ว)

คิดเผื่อคนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

ขอบคุณค่ะ

เมื่อสักครู่ข้าพเจ้าได้รับการติดต่อจากกรรมการวัดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ว่าต้องการให้บริษัทที่ขายเตาเผาศพปลอดมลพิษทางกรุงเทพฯ เสนอราคามาให้ทางวัดหน่อย เพราะจำได้ว่าบริษัทนี้ขายเสนอราคาเตาเผาศพปลอดมลพิษแบบใช้น้ำมันดีเซลระบบ 5 หัวเผา (เผาศพ 4 หัว และเผาควัน 1 หัว) ในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท

กรรมการวัดเล่าให้ฟังว่า ทางหน่วยงานท้องถิ่นเมื่อทราบข่าวเรื่องที่ทางวัดจะดำเนินการสร้างเมรุฯ และมีโครงการที่จะซื้อเตาเผาศพ ก็ได้จูงมือบริษัทอีกบริษัทหนึ่งในพื้นที่ ได้เสนอกับทางวัดว่าจะดึง "งบฉุกเฉิน" มาช่วย ซึ่งงบประมาณจะอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท

 

ราคาสามล้านบาทนี้น่าตกใจไหม...?

ก็ไม่เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับข้อมูลก่อนที่เคยทราบว่ามีการเสนอโครงการปรับเปลี่ยนเตาเผาศพทั้งจังหวัดในราคาเตาละ 3.2 ล้านบาท (งบประมาณโดยรวมทั้งจังหวัดประมาณหนึ่งร้อยเจ็ดล้านบาท) ซึ่งเจ้าของบริษัทที่ขายเตาเผาศพกระซิบให้ฟังว่า เขาได้เงินจริง ๆ แค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น....! (ประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อเตา หรือทั้งหมดก็ได้ประมาณ 50 ล้าน)

ธุรกิจเตาเผาศพ เป็นธุรกิจที่หากินกับผี ในปัจจุบันที่สังคมกำลังสนใจเรื่องของมลพิษและสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุปัจจัยให้ทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานราชการมีช่องที่จะหากินกับเรื่องนี้มากขึ้น

อีกตัวอย่างหนึ่งขององค์กรส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปริมณฑล ก็มีการให้งบประมาณอุดหนุนวัดในเขตจังหวัดนั้นที่จะปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษเช่นเดียวกัน ซึ่งหน่วยงานราชการจะอนุมัติวงเงินสำหรับเตาเผาศพระบบน้ำมันดีเซล เตาละ 1.5 ล้านบาท ซึ่งบริษัทขายเตาจะได้รับ 1.1 ล้าน อีก 4 แสนนั้น หน่วยงานราชการจะทำเรื่องมอบให้วัด 1 แสนบาท ที่เหลืออีก 3 แสนก็ไปที่ชอบที่ชอบ...

คิดแล้วเป็นสิ่งที่น่าอดสูใจยิ่งสำหรับคนที่มุ่งจะหาผลประโยชน์กับ "ผี..."

ก่อนที่จะว่าเรื่องเตาเผาศพโดยละเอียด ขออนุญาตตอบคำถามของคุณ กระติก~natachoei ที่ ~natadee ที่ได้มีคำถามที่ทรงคุณค่าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเผาศพแบบปลอดมลพิษไว้ ดังนี้...

เคยใช้บริการในงานของพ่อเมื่อ 2 ปีก่อน  หมดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 2000 บาท (เนื่องจากใช้บริการเป็นรายแรก จึงต้องใช้น้ำมันมาก.....เจ้าหน้าที่บอก)

แต่ถ้าใช้เมรุ แบบเดิม จะหมดค่าใช้จ่ายประมาณ 500 บาทหรือน้อยกว่านี้

แต่เพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ยอมรับได้ค่ะ

พวกเราเกิดข้อสงสัยว่า     แล้วในรายต่อๆ ไป  ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งโดยประมาณเท่าไหร่ค่ะ  (ไม่นับค่าสินน้ำใจที่ให้กับเจ้าหน้าที่ เพราะเราให้ด้วยความเต็มใจอยู่แล้ว)

คิดเผื่อคนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

ขอบคุณค่ะ

 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเผาศพโดยใช้เตาเผาศพแบบปลอดมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ 1. ใช้ขดลวดไฟฟ้า (แบบนี้มีใช้น้อยมากในประเทศ) 2. ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง (มีประมาณ 5-10% ของเตาเผาศพปลอดมลพิษทั้งประเทศ) และ 3. ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

ซึ่งข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายเตาเผาศพมลพิษนั้น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของศพหนึ่ง ๆ จะอยู่ที่ 45-60 ลิตร จะมากหรือน้อยนั้นอยู่ที่ปัจจัยหลัก ๆ 3 ประการ คือ

1. ความต่อเนื่องในการใช้เตา

อย่างเช่นที่คุณ กระติก~natachoei ที่ ~natadee  ได้รับข้อมูลว่า "เนื่องจากใช้บริการเป็นรายแรก จึงต้องใช้น้ำมันมาก....." เหตุผลนี้ "ถูกต้องครึ่งหนึ่ง"

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น...?

ขออนุญาตเล่าหลักการทำงานของเตาเผาศพปลอดมลพิษในปัจจุบันซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นระบบ "ไฟเผาควัน" ดังนี้

ในอดีต เตาเผาศพ (เมรุฯ) นั้นจะเป็นระบบห้องเผาเดียว ก็คือ มีห้องที่ใช้บรรจุโลงและศพ ดังเช่นที่เรามองเห็นเขาดันโลงเข้าไปเมื่อไปงานฌาปนกิจศพตามงานต่าง ๆ

ซึ่งเตาในอดีตจะถาดล้อเลื่อนโดยใส่เชื้อเพลิงไว้ด้านล่าง ส่วนใหญ่จะเป็นถาดแล้วราดน้ำมัน จากนั้นเมื่อประกอบพิธีการเสร็จ ญาติ ๆ และสัปเหร่อ ก็จะเตาโลงศพวางไว้บนเชื้อเพลิงนั้นแล้วจุดไฟ เมื่อไฟถูกจุด ก็จะเผาโลงศพที่อยู่ด้านบน

หลักการของควันและความร้อนจะลอยขึ้นสู่ที่สูง โดยเมรุฯ มีระบบปล่องควันที่ใช้ลมดูด ถ้าการออกแบบปล่องมีประสิทธิภาพ ความร้อนและควันจะลอยขึ้นสู่ปล่องและออกทางปลายปล่องโดยอัติโนมัติ

เตาแบบเดิม เมื่อเชื้อเพลิงคือถ่านเผาถูกจุด เปลวไฟก็จะลุกผ่านโลงศพและไหม้ทุกอย่างที่อยู่ในโลงนั้น ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ไม้จากโลง ดอกไม้จันทร์ เสื้อผ้า หรืออะไรต่ออะไรที่เราใส่ลงไปพร้อมกับผู้ตาย

จากนั้นควันทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะลอยผ่านปล่องควันขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยทันที ซึ่งจากทีเราเห็นนั้นจะเป็นควันสีดำ และนั้นก็คือ "มลพิษ"

ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นหลักการต่าง ๆ ที่จะมาจัดการกับเจ้าควันดำที่ลอยออกจากห้องเผาศพ  ซึ่งแรก ๆ มีผู้คิดค้นการดักควันหรือมลพิษนั้นโดยการใช้ "น้ำ"

เมื่อเกิดการไฟไหม้ในห้องเผาศพแล้ว ผู้สร้างเตาจะสร้างท่อหรือปล่องควันให้ควันนั้นลอยผ่านช่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งช่องนั้นจะมีการ "ฉีดน้ำ" เมื่อให้ละอองน้ำไปเกาะตัวให้ควันเป็นอณูที่หนาและหนักขึ้นจนทำให้เกิดเป็นหยดน้ำตกลงสู่ที่รองรับและถูกปล่อยลงไปสู่ "พื้นดิน"

ระบบนี้ใช้งานได้ดีในการกำจัดมลพิษทางอากาศ เพราะควันดำที่เคยพวงพุ่งออกทางปากปล่องแทบไม่มีเหลือ เพราะถูกน้ำจับควันไว้เกือบทั้งหมด

แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะน้ำที่รวมตัวกับควันนั้นเป็น "มลพิษ" เมื่อถูกปล่อยลงดิน ส่งกลิ่นเหม็น ยิ่งพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ต่ำยิ่งเกิดเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้คิดค้นผลิตเตาเผาศพแบบ 2 ห้องเผา คือ ห้องแรกเผาศพ ห้องที่ 2 เผาควัน โดยมีหลักการคร่าว ๆ  คือ เมื่อเกิดควันจากห้องเผาศพ ควันนั้นจะลอยขึ้นตามช่องสู่ห้องเผาศพที่ 2 ซึ่งในห้องเผาศพนั้น จะมีหัวเผา (Burner) อีกหนึ่งตัว พ่นไฟออกมาเพื่อเผาควันนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามหลักการของการควบคุมมลพิษแล้ว ควันนั้นจะต้องถูกกักเก็บและเผาซ้ำอยู่ในห้องเผาศพที่ 2 อีกไม่น้อยกว่า 1 วินาที จึงจะสมบูรณ์

ซึ่งทำให้เตาเผาศพรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เราแทบจะไม่เห็นควันสีดำพวงพุ่งออกจากปล่องเมรุฯ หรืออาจจะเห็นแค่ควันสีขาว ๆ ออกมาในตอนแรกบ้างเล็กน้อย ซึ่งควันขาว ๆ นั้น ข้าพเจ้าเคยสอบถามผู้ที่มาตรวจสอบมลพิษแล้วได้คำตอบว่า ควันขาว ๆ นี้ไม่จัดว่าเป็น "มลพิษ" ตามระดับการวัดของหน่วยงานที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาตสรุปหลักการเตาเผาศพจากอดีตถึงปัจจุบันในเบื้องต้น ดังนี้

1. เมรุฯ ระบบเดิม มี 1 ห้องเผา ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง อัตราสิ้นเพลิงของเชื้อเพลิงของถ่านจะอยู่ที่ 2 กระสอบต่อศพ ซึ่งราคาถ่านต่อกระสอบอยู่ที่ประมาณ 2-300 บาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ใช้จะอยู่ที่ 5-600 บาท

และราคานี้สามารถลดลงได้อีก ถ้าหากญาติ ๆ ของผู้วายชนมีเงินน้อย โดยการหาเศษไม้หรือเชื้อเพลิงอื่นใดที่มีในท้อนถิ่นมาผสมรวมกันกับถ่านก็ได้ หลักการง่าย ๆ ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ไฟติดจนสามารถเผาเนื้อและกระดูกให้หมดไป

2. เตาเผาศพปลอดมลพิษระบบผ่านน้ำ จะมี 1 ห้องเผา บวกกับท่อหรือปล่องที่ผ่านเข้าระบบการสเปรย์น้ำ

เตาเผาระบบนี้ใช้เชื้อเพลิงจากเผาศพระบบน้ำมันดีเซล 1 หัวเผา ซึ่งจะใช้น้ำมันอยู่ที่ประมาณ 30 ลิตรต่อศพ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงถ้าคิดตัวเลขง่าย ๆ อยู่ที่ลิตรละ 30 บาท ก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,200 บาท

ต่อทางวัดหรือฌาปนสถาน ก็จะคิดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า (ใช้ในการควบคุมระบบ) อาจจะคิดเรา 1,500 บาท หรือ 2,000 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้นแล้วแต่นโยบายของฌาปนสถาน

3. ระบบไฟเผาควัน ระบบนี้จะเป็นเตาเผาศพระบบ 2 ห้องเผา จะใช้หัวเผา (Burner) อย่างน้อย 2 ตัว คือ ตัวหนึ่งเผาศพ ตัวหนึ่งเผาควัน

อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจะอยู่ที่ 45-60 ลิตร ซึ่งถ้าราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 30 บาท ก็จะต้องเสียค่าน้ำมันประมาณ 1,350 - 1,800 บาท

จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการหลัก ๆ ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น คือ

1. เป็นศพแรก หรือเตาไม่ได้ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง

2. วัสดุที่ใช้ทำโลงและขนาดของร่างกาย

3. เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ "ฝีมือคนเผา..."

ปัจจัยตัวที่ 1 สำหรับการสิ้นเพลิงเชื้อเพลิงในการเผาศพ

1. ความต่อเนื่องในการใช้เตา

จากเดิมที่เคยกล่าวถึงเรื่องระบบการเผาศพแบบปลอดมลพิษ ในส่วนของห้องเผาที่ 2 หรือห้องเผาควันซึ่งจะต้องมีอัตราการกักเก็บซ้ำเพื่อเผาควันอย่างน้อย 1 วินาทีนั้น

ในทางปฏิบัติ การที่จะทำให้เตาเผาศพทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบได้ อุณภูมิความร้อนสะสมภายในห้องเผาควัน (Chamber 2) จะต้องอยู่ไม่ต่ำกว่า 350 องศาเซลเซียส

ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเป็นเตาใหม่ หรือเตาที่ไม่ถูกใช้มาเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง (ตามหลักการการคลายความร้อนของอิฐทนไฟเมื่อถูกใช้ครั้งหนึ่ง ๆ แล้วนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 48 ชั่วโมง)

เมื่อระยะเวลาการใช้เตาแต่ละครั้งเกินกว่า 48 ชั่วโมง ก็แสดงว่า เราจะต้องเริ่มสตาร์ทการทำอุณหภูมิจากอุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) ทุกครั้ง ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส

การเริ่มสตาร์ทจากอุณหภูมิห้องเมื่อสร้างอุณหภูมิสะสมในห้องเผาควันให้เกินกว่า 350 องศาเซลเซียส ทำได้ 2 วิธี หลัก ๆ คือ

1. ผู้ควบคุมเตา จะทำการจุดหัวเผา (Burner) ทั้งในห้องเผาศพและในห้องเผาควัน ก่อนที่จะใส่โลงศพเข้ามา เพื่อระบายความชื้นภายในเตารวมถึงสร้างอุณหภูมิมวลรวมของอิฐทนไฟให้สูงขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ซึ่งจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 5-10 ลิตร

แต่ถ้าระยะเวลาการจุดหัวเผาเพื่อระบายความชื้นและสร้างอุณหภูมิมีความห่างจากการเผาจริงเกินกว่า 2 ชั่วโมง ก็แทบจะไม่มีประโยชน์ในการเผาจริงเลย เพราะความร้อนสะสมจะถูกระบายทางปล่องลมออกไปเกือบหมด

2. เมื่อใส่ศพเข้าไปในห้องเผาศพแล้ว ผู้ควบคุมเตาทำการจุดหัวเผาในห้องที่ 2 เพื่อสร้างอุณหภูมิให้ได้ 350 องศาเซลเซียส

ระบบนี้จะทำความร้อนได้ช้ากว่าแบบแรก เพราะไม่มีความร้อนจากห้องเผาหลักขึ้นมาช่วย ในบางเตาอาจจะใช้เวลาถึง 30 นาที หลังจากใส่ศพเข้าไปแล้ว

ซึ่งนั่นหมายความว่า ญาติ ๆ ที่คิดว่าเผาใส่เข้าไปครึ่งชั่วโมงนั้นน่าจะถูกเผาไฟบ้างแล้ว แต่แท้ที่จริงยังไม่มีการจุดหัวเผาในห้องเผาหลักเลย

เพราะถ้าหัวเผาหลักถูกจุดในขณะที่ความร้อนสะสมในห้องเผาควันยังไม่ถึง 350 องศานั้น จะได้เห็นควันขโมง (มลพิษ) ออกทางปากปล่องอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นก็จะเกิดคำถามตามมาว่า นี่หรือคือเตาเผาศพปลอดมลพิษ

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการเผาศพที่เป็นศพแรกกับการเผาที่มีระยะห่างกันเกินกว่า 48 ชั่วโมง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าถ้าเตาเย็นแล้วก็ต้องมาสตาร์ทกันใหม่นั้นจึงใกล้เคียงกัน

แต่ทว่า บางฌาปนสถาน อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเผาสำหรับศพแรกเพิ่มมากขึ้นจริง ๆ เนื่องจากก่อนการเผานั้นจะมีการลองระบบกันหลายครั้ง ทั้งการส่งมอบเตาและการลองระบบต่าง ๆ ของผู้ที่ควบคุมเตา

จากข้อมูลที่เคยได้ยินสำหรับการแนะนำระหว่างบริษัทผู้ขายกับผู้ซื้อนั้น ผู้ขายจะแนะนำให้ผู้ซื้อ (วัดหรือฌาปนสถาน) บอกกับญาติ ๆ ว่าต้องใช้น้ำมัน 60 ลิตร เผื่อเหลือ เผื่อขาด

 

ปัจจัยตัวที่ 2 โลงและร่างกาย

โลง...

โลงมีส่วนสำคัญสำหรับการสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิงประมาณ 10%

ประเด็นแรกเกิดจาก ถ้าเกิดเป็นโลงที่ใช้ไม้หนา ในการเกิดมลพิษนั้นปัจจัยแรกที่สุดคือควันที่เกิดขึ้นจากไม้ และไม้ที่ใส่เข้าไปนั้นก็คือ "โลง"

ถ้าโลงหนามาก อัตราความแรงของการจุดหัวเผาบน (ห้องเผาควัน) ก็จะต้องแรงมาก เพื่อให้ไฟหรือความร้อนสามารถกำจัดมลพิษที่ออกมาจากห้องเผาล่างจนหมดจด

ดังนั้นเมื่อโลงยังไม่หมด ผู้ควบคุมเตาจะทำการปิดหัวเผาบนไม่ได้

โดยปกติ การเผาศพปลอดมลพิษจะมีช่วงเวลาวิกฤต (Critical time) อยู่ที่ 30 นาทีแรก หลังจากการจุดไฟในห้องเผาศพ

โดยอย่างยิ่งในช่วง 5 นาทีแรก ที่โลง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าญาติบางคนจะนำใส่ไปกับศพด้วยอาทิ เสื้อผ้า ผ้าห่ม หมอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใยสังเคราะห์ติดไฟนั้นจะทำให้เกิดมลพิษได้มากกว่าโลงหลายเท่า

ดังนั้นการทำความร้อนในช่วงแรกจึงมีส่วนสำคัญมากเพื่อจัดการกับวัสดุแปลกปลอมเหล่านี้

จากนั้นเมื่อโลงและวัสดุต่าง ๆ ไหม้ไฟหมดแล้ว (ปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที) ผู้ควบคุมเตาจะทำการปิดหัวเผาบน เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง เพราะในขณะนั้น ห้องเผาบนจะมีความร้อนสะสมอย่างน้อย 600-700 องศาเซลเซียสแล้ว เนื่องจากมีความร้อนทั้งจากหัวเผาล่างขึ้นไปช่วย รวมทั้งไฟที่เกิดจากโลงและวัสดุต่าง ๆ ทำให้การกักเก็บเพื่อเผาซ้ำนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเราสังเกตุเตาเผาศพรุ่นก่อน ๆ (แบบห้องเผาเดียว) ให้ดีก็จะพบว่า จะเกิดควันดำในช่วง 15 นาทีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะเป็นควันขาวแทบทั้งสิ้น

ด้วยเพราะเหตุเดียวกันคือ 15 นาทีแรกนั้นเป็นช่วงของการเผาโลงและวัสดุต่าง ๆ จึงทำให้เกิดมลพิษ

ทำไมเตาแบบเดิมใช้เวลาในช่วงแรก (15/30 นาที) น้อยกว่าเตาเผาศพปลอดมลพิษ...?

คำตอบคือ "คำว่าปลอดมลพิษ"

คำว่าเตาเผาศพปลอดมลพิษนี้ ทำให้ทุกคนคาดหวังว่าจะ "ไม่มีควัน (ทั้งควันดำและควันขาว)" ดังนั้น ผู้ควบคุมเตาจะต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้มีควันหลุดรอดออกมาได้

ช่วงแรกจึงเป็นช่วงของการ "ประคับประคอง" ค่อย ๆ เผาโลง เผาเสื้อผ้าไปเรื่อย ๆ จะเร่งหัวเผาแบบเต็มที่เหมือนเตารุ่นเดิมไม่ได้ เพราะเตารุ่นเดิมอย่างไงก็มีควัน ไม่ต้องเลี้ยงมาก "อัดได้เลย"

และเมื่อประกอบกับเวลาที่จะต้องใช้สร้างอุณหภูมิในห้องเผาควันให้ได้ 350 องศา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาที บวกกับเวลาเลี้ยงควันอีก 30 นาที เตาเผาศพปลอดมลพิษจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเผาศพไปได้มากเท่ากับเตารุ่นเดิมเพียง 15 นาที (ในอัตราความสำเร็จของการเผาไหม้วัสดุและร่างกายเท่ากัน)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้วายชนที่มีร่างใหญ่

จากเดิมที่ข้าพเจ้าเคยสังเกตเมื่อเผาศพฝรั่งกับคนไทยแล้ว ศพฝรั่งซึ่งมีน้ำหนักตัวมากกว่าคนไทยโดยเฉลี่ย 20-30 กิโลกรัมนั้นจะใช้เวลามากกว่าประมาณ 30 นาที

และอีกปัจจัยหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ก็คือ "การถอดปลั๊กโลงเย็น"

การบำเพ็ญกุศลศพในปัจจุบันวัดหรือฌาปนสถานต่าง ๆ นิยมใช้โลงเย็นกันค่อนข้างมาก

ถ้าหากมีการบำเพ็ญกุศลศพเกินกว่า 3 วัน ภายในร่างกายของผู้ตายที่แช่อยู่ในโลงเย็นนั้นจะเป็นน้ำแข็ง

ดังนั้นก่อนเวลาเผาจริง ซึ่งจะเป็นช่วงบ่ายของอีกวันหนึ่ง ผู้ควบคุมเตา กรรมการวัด หรือสัปเหร่อ จะต้องทำการปิดโลงเย็นหรือถอดปลั๊กออกก่อนอย่างน้อยคืนหนึ่ง หรือจะต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงเพื่อให้ความเย็นในร่างกายลดน้อยลง...

ปัจจัยตัวที่ 3 คือ "ฝีมือของคนเผา"

การเผาศพปลอดมลพิษนั้น จุดที่ยากที่สุดคือการทำให้ปลอดมลพิษ ดังนั้น การทำให้ปลอดมลพิษนี้เองจะขึ้นอยู่กับเทคนิคของคนเผา

จากข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับ ทราบว่า มีผู้เยี่ยมยุทธ คือมีความชำนาญสูงมากในการเผาสามารถใช้น้ำมันเพียง 35 ลิตรในการเผาศพ ๆ หนึ่ง

ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความใส่ใจเป็นยิ่งยวด

ถ้าจะให้น้อยจริง ๆ ต้องถึงขั้นว่านั่งเฝ้ากันทีเดียว

คือต้องดูว่าตอนนี้อุณหภูมิของเตาอยู่ที่เท่าใด ดับหัวเผาบนได้หรือยัง ถ้าดับได้แล้วก็ประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกส่วนหนึ่ง

ผู้เผาศพบางท่าน อาจจะมีภาระงานอื่น จะต้องทำโน่นทำนี่ บางคนจุดเตาไว้ชั่วโมงสองชั่วโมงกลับมาดูที ก็แสดงว่าจุดหัวเผาไว้คู่กันเลย ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การจุดไฟหัวเผาบนหลังจากที่โลงไหม้หมดไปแล้วแทบจะไม่มีความจำเป็นเลย รังแต่จะให้เปลืองน้ำมันไปเปล่า ๆ ฟรี ๆ

ดังนั้น ถ้าหากผู้เผาศพของตรวจสอบการเผาไหม้อยู่ตลอด ช่วยดันให้ส่วนของร่างกายที่เหลือเข้าไปใกล้หัวเผา (ซึ่งโดยปกติจะอยู่ด้านบนหรือส่วนหัวของศพ) มาก ๆ ก็ยิ่งจะทำให้เผาหมดไว้

เพราะถ้าไม่ดัน ร่างกายอยู่ไกลหัวเผา ก็ต้องใช้เวลาเผานาน

และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือ ระยะเวลาในการเก็บกระดูกของญาติ ถ้าหากไม่เร่งมาก คือ มาเก็บตอนเช้า หลังจากที่เผาจนเหลือแต่กระดูกสักกองหนึ่ง ผู้ควบคุมเตาก็สามารถปิดหัวเผา แล้วปล่อยให้กระดูกที่เหลือถูกความร้อนสะสมภายในเตาค่อย ๆ ย่อยสลายไป ซึ่งในตอนเช้าก็จะหมดพอดี

แต่ถ้าหากญาติ ๆ เร่งเก็บกระดูก จะเอาเย็นนั้น กระดูกกองที่เหลือ ก็จะต้องใช้ไฟเผา คือต้องจุด Burner อัดอยู่อย่างน้อย

และที่น่าสนใจมากก็คือ กระดูกกองเล็ก ๆ นี้เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าเนื้อหรือร่างกายที่มีน้ำมัน

ดังนั้นการเผากระดูกที่ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการเผาร่างกายในส่วนอื่น ๆ

 

นายสุวิจักรษณื เสนาะกลาง

ผมมีน้ำมันที่ผลิตจากขยะจำหน่ายถูกกว่าตลาดลิตรละ 5 บาทตลอดไปใช้ได้ทั้งรถยนต์ดีเชลหากนำมาเผาผมจะถูกกว่าดีเชลลิตรละ 6-7 บาท ติดต่อผมได้ตลอดเวลาพร้อมจัดส่งทั่วไทย โทร.0885530669 พร้อมใบรับรองคุณภาพครับ

 

พระ วีรลักษณ์ สุทธจิโต

เจริญพร

       คุณโยม เจ้าของเวปบอรด
                                        อาตมาจะขอรบกวนความรู้อันมีค่าของคุณโยมเพื่อศึกษาหาประโยชน์
                              เนื่องจากทางวัดกำลังจะจัดสร้างเมรุ ซึงตัวอาตมาเป็นคนขับเคลื่อนเรื่องการหาปัจจัย
                              มันยากนะถ้าเป็นพระแล้วต้องมาหาเงินทีละมากๆแต่พอได้อ่านบทความของโยมก็รูสึกมีทางเลือกบ้างสุด
                              ท้ายอาตมารอคำแนะนำของโยมต่อนะ สาธุ.............

ทางบริษัทของเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยBURNERหัวพ่นไฟ ยี่ห้อF.B.R.นำเข้าจากประเทศอิตาลีหัวพ่นไฟเตาเผาอุตสาหกรรมทุกชนิดซึ่งมีราคาไม่แพงสามารถนำไปใช้งานได้หลายประเภทเช่นเตาหลอมอลูมิเนียม, เตาเผาเซรามิค, เตาอบ, ห้องอบสี, หม้อไอน้ำ, เตาเผาขยะ, เตาเผาศพ, เตาอบปุ๋ย, Oven, Spray Dryer, Hot Oil,
Boiler
เตาอบสีรถยนต์เตาต้มน้ำ



เครื่อง BUENER ของเราราคาก็ยังไม่แพงอย่างที่คิดและใช้งานได้ดี และทนที่สุดในประเทศมีรับประกันสินค้า



ทางบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แก๊สยี่ห้อREGOและBALLVALVE



รับติดตั้งระบบสถานีจ่ายแก๊สเดินระบบท่อแก๊สในราคาย่อมเยา



สนใจกรุณาติดต่อคุณวรพจน์วิเชียรเลิศ[email protected]



หรือ0819160275



ผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยREGO597FB ,
1584ML , 1588ML , LV4403SR4 HIGH REGULATOR , LV4403 , LV2302A2 , LV4403C ,
LV5503C LOW REGULATOR , 6010 6016 EMERGENCY SHUT OFF VALVE , 3127G , 3133G,
3135G , 7534G , AA3135UA250 , RELIEF VALVE , A3176 , A3186 , A3400L4 BACK CHECK
VALVE , A3272G , A3282C , A3292B , A3500P4 EXCESS FLOW VALVE , TSS3169 VENT
VALVE , GLOBE VALVE , ROTO GAUGE
,FBRGAS X3CE TC
, GAS X4 CE TC , GAS X5 CE TC , GAS XP40 CE TC , GAS XP60 CE TC SINGLE STAGE
GAS BURNER , GAS X3/2 CE TC , GAS X4/2 CE TC , GAS X5/2 CE TC , GAS XP40/2 CE
TC , GAS XP60/2 CE TC , GAS P70/2 , GAS P100/2 , GAS P150/2 TWO STAGE GAS
BURNER
REGO CRYOGENIC9560B ,
9563CR MASTER VALVE , 2554AC , BK8404T , BKA8412S GLOBE VALVE , T9453 , T9454 ,
T9464DA SHORT STEM VALVE , CG500SS CHECK VALVE , PRV9432 , PRV9434 RELIEV VALVE
, RG125 , RG300 , 1784A , 1788C , BR1784B , BR1788C REGULATOR
SPARE PART
FOR BURNER
HONEYWELL , KROMSCHDER , BRAHMA , COFI , LANDIS&GYR , GULIANI
ANELLO
GAS FILTER , GAS GOVERNER ทาง
บริษัท หวัง เป็น อย่าง ยิ่ง ว่า จะ ได้ รับ คำ ตอบ จาก คุณ เร็วๆ นี้ ครับ



ทางบริษัทของเราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยBURNERหัวพ่นไฟ ยี่ห้อF.B.R.นำเข้าจากประเทศอิตาลีหัวพ่นไฟเตาเผาอุตสาหกรรมทุกชนิดซึ่งมีราคาไม่แพงสามารถนำไปใช้งานได้หลายประเภทเช่นเตาหลอมอลูมิเนียม, เตาเผาเซรามิค, เตาอบ, ห้องอบสี, หม้อไอน้ำ, เตาเผาขยะ, เตาเผาศพ, เตาอบปุ๋ย, Oven, Spray Dryer, Hot Oil,
Boiler
เตาอบสีรถยนต์เตาต้มน้ำ



เครื่อง BUENER ของเราราคาก็ยังไม่แพงอย่างที่คิดและใช้งานได้ดี และทนที่สุดในประเทศมีรับประกันสินค้า



ทางบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แก๊สยี่ห้อREGOและBALLVALVE



รับติดตั้งระบบสถานีจ่ายแก๊สเดินระบบท่อแก๊สในราคาย่อมเยา



สนใจกรุณาติดต่อคุณวรพจน์วิเชียรเลิศ[email protected]



หรือ0819160275



ผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยREGO597FB ,
1584ML , 1588ML , LV4403SR4 HIGH REGULATOR , LV4403 , LV2302A2 , LV4403C ,
LV5503C LOW REGULATOR , 6010 6016 EMERGENCY SHUT OFF VALVE , 3127G , 3133G,
3135G , 7534G , AA3135UA250 , RELIEF VALVE , A3176 , A3186 , A3400L4 BACK CHECK
VALVE , A3272G , A3282C , A3292B , A3500P4 EXCESS FLOW VALVE , TSS3169 VENT
VALVE , GLOBE VALVE , ROTO GAUGE
,FBRGAS X3CE TC
, GAS X4 CE TC , GAS X5 CE TC , GAS XP40 CE TC , GAS XP60 CE TC SINGLE STAGE
GAS BURNER , GAS X3/2 CE TC , GAS X4/2 CE TC , GAS X5/2 CE TC , GAS XP40/2 CE
TC , GAS XP60/2 CE TC , GAS P70/2 , GAS P100/2 , GAS P150/2 TWO STAGE GAS
BURNER
REGO CRYOGENIC9560B ,
9563CR MASTER VALVE , 2554AC , BK8404T , BKA8412S GLOBE VALVE , T9453 , T9454 ,
T9464DA SHORT STEM VALVE , CG500SS CHECK VALVE , PRV9432 , PRV9434 RELIEV VALVE
, RG125 , RG300 , 1784A , 1788C , BR1784B , BR1788C REGULATOR
SPARE PART
FOR BURNER
HONEYWELL , KROMSCHDER , BRAHMA , COFI , LANDIS&GYR , GULIANI
ANELLO
GAS FILTER , GAS GOVERNER ทาง
บริษัท หวัง เป็น อย่าง ยิ่ง ว่า จะ ได้ รับ คำ ตอบ จาก คุณ เร็วๆ นี้ ครับ



ณัฏฐกิตติ์ รักษ์หมื่นศรี

ช่วงนี้ผมมีงานเขียนแบบเมรุเผาศพ  อยากรายละเอียดเตาของอาจารย์ครับ ถ้ามีไฟร์ที่เป็นแบบ autocadยิ่งดีครับ จะได้เอาไปลงรายละเอียดในแบบได้ครับ

ร้านอยู่ที่ไหน ของ ขอนแก่น คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท