ภาษามลายูพื้นเมือง: เนาะ แกแจะ นายู วะ แบะ(แบบ)นอ


แม้แต่ภาษายังใช้ผสมผสานกันได้

                            ภาษามลายูพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้   เป็นภาษาหนึ่งของท้องถิ่นที่มีใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ปัจจุบันนี้กระทรวงศึกษาธิการของไทยเรามีนโยบาย กำลังจะนำหลักสูตร ภาษาท้องถิ่น(มะลายู) มาใช้ในโรงเรียนในจังหวัดดังกล่าวด้วย ต่อไปก็คงขยายผลไปถึงจังหวัดต่างๆของไทย ดังเช่นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่นำมาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับช่วงชั้นต่างๆมาแล้ว บล็อกนี้จึงขอทำเป็นการล่วงหน้านิดหนึ่ง พอหอมปากหอมคอเกี่ยวกับภาษามะลายู

ลักษณะภาษามะลายูพื้นเมือง

เป็นภาษาพูดโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ค่อยตรงตามภาษาเขียนหรือภาษาหนังสือ เช่นฆี กานอ(ไปไหน) มาจากภาษาเขียนว่าเปอรฺฆีเกอมานาเป็นต้น คำที่มีหลายพยางค์มักจะย่อให้สั้นลง เช่น มะ (ชื่อคนผู้ชาย คำเต็มว่า มุหัมมัด) ฆี (คำกิริยา เขียนเต็มว่า เปอรฺฆี) เป็นต้น ประโยคของภาษามลายูพื้นเมืองจะเรียงเป็น คำๆ เช่นเดียวกับภาษาไทย เช่น  แดมอ นามอ อาปอแปลว่าคุณ ชื่อ อะไร” “อาเดะ เนาะ ฆี กานอ

แปลว่าน้องจะไปไหน(ที่ไหน)อาเดะ เนาะ ฆี ยาแล(น้องจะไปเที่ยว) เป็นต้น มีถิ่นที่ใช้มากที่สุดในนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ภาษาถิ่นของบ้านเรานี้สามารถสื่อสารได้ดีกับภาษาของรัฐกลันตันของมาเลเซีย ต่างกันก็แค่สำเนียงนิดหน่อย เช่น แดมอ โดะ วะอาปอ(ถิ่นปัตตานี) กับ แดมอ โดะ วะ ฆาปอ(ถิ่นกลันตัน) ประโยคทั้งสองนี้แปลว่า ท่านหรือคุณกำลังทำอะไร  คำท้องถิ่น จะออกเสียงเป็นสระแอ และสระ ออ มากที่สุด ทั้งนีเฉพาะคำที่ลงท้ายด้วยเสียงงั, - นั, - มั หรือ สระ อำ จะออกเสียงเป็น แ-, เช่นมากัน เป็น มาแก(กิน) ญาลัน เป็น ญาแล(เดินทาง) กาลัม เป็น กาแล(ปากกา) มาซัม เป็น มาแซ(เปรี้ยว) ออรัง เป็น ออแร(คน) มีคำต่างๆในภาไทยเราที่ใช้กันจนติดปาก ผสมผสานจนแยกไม่ออกว่าเป็นภาษาของใคร (คำเหล่านี้ A.binmaha จะนำมาต่อยอดในไม่ช้านี้ เพราะเป็นเรื่องที่หลายๆคนยังไม่ทราบ และไม่เคยคิดมาก่อน ผู้เขียนจะลองวางให้เป็นระเบียบระบบดู แล้วจะเสนอด้วยบล็อก คิดว่า ท่านจะเกิดการเรียนรู้ และได้ความรู้สึกดีๆ เพิ่มขึ้นบ้าง ในฐานะที่ แม้กระทั้งภาษาก็ยังกลมกลืนกัน) เช่น กะมาแก (กรรมการ) โต๊ะกือมือแน (กำนัน) ปีเซะ (พิเศษ) ฆู (คู่) แบะ (แบบ) เป็นต้น มีคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ เช่น ซอเล็ง(มาจากคำว่าซอลิม อามา มาจากคำว่าอะมัลเป็นต้น  มีคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ เช่น รอดิยู(วิทยุ มาจากคำว่า Radio) แบเตอรี (แบตเตอรี มาจากคำว่า Battery  ตายา(ล้อรถ มาจากคำว่าTyre) สกรูแดรบา(ไขควง มาจากคำว่า Screw - driver) เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 44500เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2006 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ก็ น่าสนใจดีนะแบ แกแจะบาซอนายูนี่ค่อนข้างยากจริงๆสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษานี้ แต่ถ้ามีเวลาศึกษาให้มากๆ สำหรับเพื่อนคนไทยที่ไม่ได้พูดภาษานี้ เราก็จะรู้สึกว่าบ้านเรานี้ช่างดีจริงๆ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่ล้ำค่า ประเทศอื่นคงไม่มี ถึงมีก็ไม่สงบร่มเย็นเหมือนบ้านเรา

รู้สึกดีๆทุกๆครั้งที่ได้คุยกัยนักเรียนนักศึกษาชาวนายู เค้าพูดไทยแม้จะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็เก่งเหลือเชื่อ เพราะภาษาไทยกับภาษานายูท้องถิ่นมันคนละตระกูลภาษากันเลย คนที่พูดได้คล่องทั้งสองภาษาต้องเป็นคนที่เก่งมากๆ

มอและเดาะห์ คะนอ อาดอ ออแฆ มาฆี อายา บาซอนายู บูวี บาเญาะห์ บูวี ออแฆ ตะปะห์ ลายลาย เทา บาซอกีตอ

ไวยากรณ์ แปลกๆ มั้ยครับ ใช้ภาษามลายูมาตั้งแต่เกิดที่บ้านพูดไทยนับถือพุทธ ในชุมชนพูดมลายูนัถือมุสลิม แต่ก็อยู่กันได้ที่นราธิวาส ตอนนี้ย้ายมาอยู่สงขลาไม่ค่อยได้พูดเลยลืมไปบ้าง ไม่เคยได้เรียนหรอก แต่พูดตั้งแต่เด็ก เขียน-อ่านก็ไม่เป็น พูดได้ก็ไม่เก่ง

อยากพูดคุยมลายูแอดได้ที่ [email protected]

ออมอ ยาดี ออแฆนาฆอ วาเนาะห์ดีฆอเลาะห์(โกลก)แมะ เหาะ ออมอ ปง แกแจะ บาซอ นายู ปานา(ฆตี) ยูเฆาะ

ผิดถูกยังไงติชมได้ครับ ไม่ได้ใช้มา 5 ปีแล้ว ลืมบ้าง ออมอ เดาะ ปากา ลามอ ปง ลูปอ แอแตะห์

เอ่อ!ผมเองห่างหายไปจากบล็อก gotoknown นานพอดู พอเปิดดู โอ๊!ทางสำนักบล็อกยังเก็บรักษาไว้อย่างดี แถมยังเรียบเรียง ลำดับ หาได้ง่ายขึ้น พอมาเจอ บล็อกของ ออแฆ นาฆอเข้า(ขนาดหลายปียังจำและพูดได้เข้า จอยกนิ้วให้ ทำใจผมจุดประกายขึ้นทันที อยากลอง อยากเล่นใหม่ เอ่อ! พอได้อ่าน คำนายู ที่ท่านประดิษฐ์ประดอยคำนายูมาเป็นภาษาแล้วเนียะ ผมมีมีข้อความอยู่ประโยคหนึ่ง ถ้าเป็นคำถามในภาษาไทย จะเป็นว่า "ปลามีหรือเปล่า"คนที่ไม่ใช่นายูและไม่เคยพูดหรือพูดไม่ได้ ผมก็จะสอนเขา ให้เขาว่าตาม ดังนี้ "อีแก อาดอ แก"ที่ไหนได้ แก่เปลี่ยนเสียงเพี้ยนไปหมด จากตัว อ เปลี่ยนเป็นตัว ห ทั้งสองตัวเลย ความหมายเดิมหายไปโม้ด!....(ความหมายว่าอย่างไร ลองนั่ง นอนนึก) แทนที่จะเป็นความหมายภาษานายู กลับไปเป็นภาษาไทยอย่างเดิม คิดออกแล้วใช่ป่าว?ความสร้างสรรทางภาษา นายู ยังมีอีกเยอะ ท่านติดตามผมมาเรื่อยๆ แล้วท่านจะหัวเราะ แล้วได้ความรู้

แบนัง

อยากจะถามว่า Awang Noor Abd. Ghani คำไหนคือชื่อ...คำไหนคือนามสกุล

สวัสดีครับ..  ผมเ็ป็นลูกอีสานใต้..แต่อยากเรียนรู้ภาษามลายู  เพราะมีเพื่อนอยู่ที่ยะลา เป็นมุสลิม  เวลาเราคุยกันก็คุยภาษาไทย  แต่หากเรารู้ภาษาเขาบ้างก็น่าจะดี จะทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมของเขาได้ดียิ่งขึ้น..อีกอย่างพี่สาวก็ทำงานอยู่ที่หาดใหญ่...หวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความอนุเคราะห์  ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

บาจอวีมอและ /อาดอฆอปอ สองประโยคนี้แปลว่าอะไรค่ะ ช่วยตอบหน่อยค่าาา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท