beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

มุมมองใหม่เกษตรกรไทย <๑> "อรหันต์ชาวนา" เดชา ศิริภัทร ตอนที่ 1


"สอนให้โลภ สอนให้รวย" เริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว

      เมื่อผมไปฝึกอบรมที่มูลนิธิข้าวขวัญนั้น ความคาดหวังแรกๆ คือ อยากไปได้กระบวนการในการฝึกอบรม..ซึ่งจะมีทั้งการพัฒนาตัวเอง, พัฒนากลุ่ม และเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนประถม,มัธยมและอุดมศึกษา (หลักสูตรแมลงในนาข้าว, หลักสูตรการปรับปรุงดินโดยใช้จุลินทรีย์, หลักสูตรการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้อง)

      ส่วนใหญ่ผมก็ได้ตามคาด ที่น้อยกว่าคาดก็เห็นจะเป็นเรื่องการสร้างกลุ่มและสร้างเครือข่าย ซึ่งโดยธรรมชาติก็ทำยากอยู่แล้ว แต่คงค่อยๆ เรียนรู้ไป

       สิ่งที่เกินคาดหวัง จะอยู่ในคืนวันที่ ๔ ตอนที่ลุงเด (เดชา ศิริภัทร) มาตอบคำถาม ส่วนมากเกษตรกร (ชาวนา) ไม่ค่อยถาม ผมเลยได้โอกาสถาม ๒ เรื่องใหญ่ๆ คือ

  1. เรื่องสถานการณ์ข้าว ปัจจุบันและอนาคต
  2. แนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง

        พอฟังคำตอบ แนวคิดที่สอง ทำให้ตัว Jigsaw ต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของผมเกือบ ๕ ทศวรรษ ได้ต่อกันแต่ยังไม่สนิทดี จนกระทั่งได้อ่านหนังสือ "จิตวิญญาณในเมล็ดข้าว" ซึ่งเป็นประวัติชีวิต แนวคิดและงานของลุงเด (เดชา ศิริภัทร) ทำให้ภาพ Jigsaw ของผมสมบูรณ์และเด่นชัด

        ปกติผมรู้จัก "เศรษฐกิจพอเพียง" อยู่บ้างแล้ว ปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว แต่มาครั้งนี้ เรารู้เลยว่าจะต้องทำอย่างไร เริ่มต้นเราต้อง "ล้างสมอง" ตัวเองก่อน "ลบ memory" ที่มีอยู่เดิม เพราะระบบการเรียนการสอนของเรา เอาอะไรเป็นตัวตั้ง.... (เงินใช่ไหม)

        สอนให้โลภ สอนให้รวยใช่ไหม..เริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว เราต้องเปลี่ยน "Paradigm" ของผู้ปกครองและนักเรียนว่า เราเข้าไปโรงเรียน ไปเรียนเพื่อให้ "พึ่งตนเอง" ได้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จะต้อง "พึ่งตัวเอง" ให้ได้ก่อน ผลิตเพื่อให้ตัวเองและครอบครัว พออยู่ พอกิน เสียก่อน เหลือกินแล้วถึงขาย

        ถ้าอย่างนั้น เราเข้าเรียนแบบปกติไม่ได้ เพราะ โรงเรียน (หลายแห่ง) คิดเอา "เงิน" เป็น "ตัวตั้ง" มันผิดตั้งแต่ต้นแล้ว.. นี่เราไปโทษสิ่งนอกตัว..

        ลุงเด..เล่าว่า ตัวเองเกิดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๙๑ ที่บ้านดารา ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตัวเองมีเชื้อจีนและไทยอย่างละครึ่ง พ่อได้รับมรดกจากปู่ เป็นที่นา ๘,๐๐๐ ไร่ และโรงสีอีก ๑ โรง ชีวิตเริ่มแรกของลุงเดจึงเป็น "นายทุน"

        ลุงเด เป็นลูกคนที่ ๕ ของครอบครัว แต่เป็นลูกชายคนที่ ๓...แม่เล่าให้ฟังว่า ก่อนลุงเดเกิด ได้มีโอกาสให้หมอดูทำนาย..หมอดูว่า จะได้ลูกชาย และดวงเกิดอยู่ระหว่างวันอังคารกับวันพุธ ถ้าเกิดวันอังคารให้เลี้ยงได้ แต่ถ้าเกิดวันพุธ เลี้ยงไม่ได้ เพราะจะล้างตระกูลจนสิ้นสูญ

        สุดท้ายลุงเด คลอดเมื่อเวลา ๕ ทุ่ม ๔๕ นาที เรียกว่าขาข้างหนึ่งแหย่ข้ามไปอยู่วันพุธแล้ว ลุงเดจึงมีนิสัยเกเรและแสดงความโกงตั้งแต่เด็ก..เช่น ถ้ามีแขกมาที่บ้านและพาเด็กๆ มาด้วย ถ้าแขกเผลอ ลุงเดก็จะผลักตกลงจากบ้าน (สูง ๓ เมตร)

       นิสัยลุงเด ดีขึ้นมา เอาใจตัวเองน้อยลง เมื่อมีน้องหลังจากตัวเองมีอายุ ๕ ขวบ จึงช่วยแม่เลี้ยงน้อง....ลุงเด อ่านหนังสือได้ก่อน ๕ ขวบ พอ ๖ ขวบ ไปเรียนหนังสือที่วัดใกล้บ้าน..ไปเรียนอนุบาล แล้วหนีกลับไปบ้าน..ครูไปตามให้ไปอยู่ ป.๑ ไปอยู่ได้วันเดียว..เนื่องจากอ่านหนังสือคล่องแล้วครูจึงให้ขึ้นไป ป.๒ ตอนอยู่ป.๒ นี่ผ่านครึ่งปีไปแล้ว เรียนอีกครึ่งปีก็ผ่านไป ป.๓ สรุปว่าลุงเดเรียนเร็วไป ๒ ปี

       หลังจากจบ ป.๔ ก็มาต่อม.๑ ที่โรงเรียนสหวิทย์ที่จังหวัด ต่อ ม.๒-๖ ที่โรงเรียนประจำอำเภอบางปลาม้า...มาสอบเข้าเตรียมอุดมไม่ได้เว้นไป ๑ ปี

       ปี ๒๕๐๖ มาเรียนต่อ ม.ศ.๔-๕ ที่อำนวยศิลป์ พอจบแล้วเลือกเรียนเกษตร..สอบติดเกษตรที่ "ขอนแก่น" (ช่วงสอบนี้สร้างวีรกรรมไว้เยอะเหมือนกัน) เข้าเรียนสัตวบาล ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘-จบปี ๒๕๑๒ ที่อยากเรียนเกี่ยวกับสัตว์ เพราะอยากจบมาเป็น "คาวบอย"

        "หากมองย้อนประวัติศาสตร์กลับไป ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ อเมริกาเป็นประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนัก มหาอำนาจเปลียนจากยุโรปมาเป็นอเมริกา...อเมริกาวางแผนที่จะเป็นเจ้าโลก ครองโลก แต่ไม่ใช้วิธีเดิม ไม่ใช้แสนยานุภาพทางกองทัพยึดเป็นอาณานิม แต่จะใช้วิธีทางเศรษฐกิจ โดยตั้ง World Bank ตั้ง IMF ขึ้นมา แล้วบีบบังคับใหประเทศต่างๆ มีแผนพัฒนาประเทศ โดยใช้แนวทางของธนาคารโลก"

         "ประเทศไทยเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๐๔ (แผนละ ๕ ปี) แผนนี้กำหนดให้ประเทศไทย ต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีการกู้เงินมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทำถนน ทำเขื่อน ทำชลประทาน สร้างมหาวิทยาลัย และสถาบันทางการเกษตร ฯลฯ...วางแผนเปลี่ยนจากเกษตรแบบพึ่งพาตนเองเป็นเกษตรแผนใหม่"

         เกษตรแผนใหม่ ต้องทำเพื่อขาย พึ่งปุ๋ย พึ่งสารเคมี พึ่งตลาด...รัฐบาลบีบให้ผลผลิตราคาไม่สูงเกินไป โดยที่ราคาต้นทุนสูงขึ้นทุกปี เพื่อควบคุมเงินเพ้อไม่ให้สูง ราคาค่าแรงจะได้ถูก เหมาะสมที่ต่างประเทศจะมาลงทุนทำอุตสาหกรรมในประเทศไทย

        อีกอย่างหนึ่งต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ "ชาวนา" ทำนาขาดทุน ต้องขายที่นา และรับจ้างทำนา เมื่อทำไม่ไหว ก็มาขายแรงงานในเมือง กลายเป็นกรรมกรค่าแรงถูก...นี่เป็นแผนที่วางเอาไว้

        สรุปว่า การที่รัฐช่วยเอื้อให้กลไกตลาด ข้าวเปลือกถูก ข้าวสารราคาสูง เพื่อหวังผล ๒ ประการหลัก คือ

  • ทำให้ภาวะเงินเฟ้อไม่สูงเกินไป ค่าแรงถูก เหมาะแก่การลงทุนเป็นประเทศอุตสาหกรรม
  • ทำให้ชาวนาล้มละลาย (ย้ายตัวเองจากภาคเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรม) จะได้มาขายแรงงานเป็นกรรมกรค่าแรงถูก
        

 

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

 

หมายเลขบันทึก: 185887เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • จะคอยอ่านตอนต่อไปนะคะ
  • ได้อ่านในหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ลุงเด มูลนิข้าวขวัญ มีต้นทุนในการปลูกข้าวเพียงไร่ละ 400 บาทเท่านั้น
  • ถ้าชาวนาทั้งประเทศทำได้บ้าง ที่นาของเราจะได้ไม่ตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนจากต่างชาตินะคะ
  • ปัจจุบันนี้ (ล่าสุดเดือนเมษายนที่ผ่านมา) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ ๑,๙๐๐ บาท ถึง ๒,๔๐๐ บาทครับ ที่สูงขึ้นมาหน่อยเพราะจ้างเขาทำครับ..คือทำนาแบบขี้เกียจแต่ได้ผลตอบแทนพอสมควร
  • ผลผลิตต่อไร่ อยู่ที่ ๑๐๐-๑๒๐ ถังต่อไร่ สูงสุดทำได้ ๑๖๐ ถึงต่อไร่
  • ๑๐๐ ถังเท่ากับ ๑ เกวียนครับ ถ้าข้าวเปลือกอยู่ในเกณฑ์ ๑๒,๐๐๐ บาท ได้กำไรไร่ละเกือบหมื่นบาทครับ..

สวัสดีเจ้าค่ะ ครูบีแมน

สบายดีไหมค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ แวะมาเยี่ยมก่อนเข้าเรียนวิชาต่อไปค่ะ เครียดๆๆๆ ค่ะ คิคิ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---〉น้องจิ^_^

สวัสดีครับน้องจิ

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

ได้โทรคุยกับน้องจิ..ตอนที่ไปมูลนิธิข้าวขวัญ เอาเบอร์มาจาก ศน.กุ้ง..ศน.กุ้งไม่มีเบอร์ไปขอมาจากอ.พิสูจน์

  • ได้โทรคุยกันตอน น้องจิฟังปฐมนิเทศน์
  • และอีกครั้ง วันอาทิตย์ที่ผ่านมา
  • น้องจิ เรียนอยู่ศิลปากร ทับแก้ว อักษรศาสตร์ ประมาณนี้
  • ช่วงแรกปรับตัว เลยเครียดไปหน่อย...ระบบการศึกษาของเราทำให้เครียด..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท