beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าวิธีคิด>>การบริหารค่าโทรศัพท์มือถือเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย


วิธีคิดสู่การปฏิบัติที่ทำให้ค่าโทรศัพท์มือถือลดลงไปได้ 60%

    แต่เดิมครอบครัวผมใช้โทรศัพท์มือถือรวม ๕ เครื่อง มีเบอร์มือถือ ๖ หมายเลข ของค่าย AIS ๒ หมายเลข และของค่าย DTAC ๔ หมายเลข....เป็นระบบเติมเงินทั้งหมด...

  • ค่าโทรศัพท์ ๕ เครื่อง ของ ๔ คน ตกคนละ 300 บาทต่อเดือน เดือนหนึ่ง 1,200 บาท ปีหนึ่งคิด ๑๐ เดือน ตก ๑๒,๐๐๐ บาท เลยทีเดียว
  • โทรศัพท์มือถือ ๕ เครื่อง ราคาตอนซื้อมา รวมกันประมาณ ๑๘,๐๐๐ บาท...ถ้าขายออกตอนนี้ ราคารวมกันเหลือ 3 พันกว่าบาทเอง...อิอิ

    เมื่อวันก่อนผมคิดวิธีการ บริหารค่าโทรศัพท์ได้ ผมจะมา Share ให้อ่านกันนะครับ...ข้อมูลเดิม

  1. ระบบ AIS ๑ หมายเลขเป็นเบอร์เก่า เน้นรับสาย เปลี่ยนเป็น Promotion น๊านนาน....
  2. ระบบ AIS ๑ หมายเลข เป็น Promotion โทรประหยัด นาทีละ 75 สตางค์ ทุกเครือข่ายเน้นโทรออกในพื้นที่ที่ระบบอื่นเข้าไม่ถึง...เบอร์นี้ยังโอนเงินโบนัสมาให้เดือนละ 50 บาท ติดต่อกันนาน 5 เดือนอีกด้วย
  3. ระบบ DTAC ๑ หมายเลข เน้นรับสาย Promotion Simple (Happy bank วันเกิดเดือนมิถุนายน)
  4. ระบบ DTAC ๑ หมายเลข โทรออก DTAC-DTAC นาทีละ ๑ บาท (Happy bank วันเกิดเดือนธันวาคม)
  5. ระบบ DTAC ๒ หมายเลข โทรออกนาทีแรก ๒ บาท นาทีต่อไป DTAC-DTAC 50 สตางค์ (Happy bank วันเกิดเดือนกันยายน และมกราคม)

    ทั้ง ๖ หมายเลข ค่าโทรศัพท์คิดง่ายๆ ว่าปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท จะบริหารให้เหลือค่าโทรปีละ ๕,๐๐๐ บาท (๕๐%) จะทำอย่างไร (ห้ามตอบว่าเลิกโทร รอรับสายอย่างเดียว..อิอิ)

     วิธีบริหารจัดการ ให้ ๔ คน ถือหมายเลข DTAC ๔ เครื่อง ๔ หมายเลข และซื้อเครื่องเพิ่มอีก ๑ เครื่องเป็น ระบบ DTAC ซึ่งขอรับ Sim มาฟรี จ่ายค่าเครื่องไป ๑,๐๐๐ บาท (ต้องบริหารค่าโทรให้เหลือ ๔,๐๐๐ บาทอย่างเดียว) Sim นี้โทรออก นาทีละ 75 สตางค์ ทุกเครือข่ายตั้งแต่นาทีแรก (แต่โทรหาอัชท์ไม่คิดค่าโทร) เบอร์นี้ Happy bank วันเกิดอยู่ในเดือนพฤศจิกายน

  • สมมุติว่า ค่าโทรของเครื่องทั้งหมดเฉลี่ยนาทีละ ๑ บาท รวมโทร ๑ หมื่นนาที ต่อปี ใช้โทรได้ 170 ชั่วโมง

     ต่อไปจะลดการโทร ๑ หมื่นนาที จาก ๑ หมื่นบาท ให้เหลือ ๔,๐๐๐ บาทต่อปี ได้อย่างไร ต้องบริหารจัดการในเครือข่าย DTAC ดังต่อไปนี้

  1. บริหารจัดการเบอร์คนรู้ใจของ ๔ คน ๔ เครื่อง...โทรนาทีละ 25 สตางค์ แบบงูกินหาง คือ A-->B, B--->C, C--->D, D--->A เสียค่าสมัคร 5 เดือน 2 ครั้งใน ๑ ปี คนละ 100 บาท รวม 400 บาท หักที่ค่าโทร............................................ค่าใช้จ่าย 400 บาท..........
    • หาก B ต้องการโทรหา A ก็โทรศัพท์ตอดไป (ศัพท์ในวงการโทรฯ) เป็นอันรู้กัน...ค่าใช้จ่ายแบบนี้ เกิดได้ 30 % หมายความว่าโทรไป 3,000 นาทีในวงนี้....จ่ายค่าโทร 750 บาท...ต่อปี
    • รวมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้....400+750 เท่ากับ 1,150 บาท (3,000 นาที)........(หักจากค่าโทร)...(๑)
  2. เดือนเกิดมี 5 เดือน คือ เดือน มกราคม,มิถุนายน,กันยายน,พฤศจิกายน,ธันวาคม....เติมเงินในวันเกิดหมายเลขละ 800 บาท ได้วงเงิน 900 บาท+โบนัส 500 บาท = หมายเลขละ 1,400 บาท จ่ายจริงแค่ (800 B*5หมายเลข).......4,000 บาท (ส่วนนี้จ่ายจริง)...(๒)
    • ส่วนนี้จะมีเวลาโทร 7,000 นาที (14,000*5=7,000) ถ้าคิดเฉลี่ยนาทีละ 1 บาท...แต่ต้องบริหารจัดการให้ได้ 1 หมื่นนาที
  3. หมายเลขทั้ง 5 บริหารจัดการให้ได้เวลา 1 ปี....เราก็ใช้ระบบเติมเวลาครั้งละ 6 เดือน...จ่ายค่าบริการ 12 บาท รวม 5 เครื่อง 2 ครั้ง เป็นเงิน.......120 บาท........(หักจากค่าโทร)...(๓)
  4. เราจะโอนเงินจากเครื่องต่างๆ มาให้เครื่องของกลาง ๑ เบอร์ไว้โทรออกนาทีละ 75 สตางค์ ส่วนนี้จะโทรออก 5,000 นาที....จะเสียค่าโทร......3,750 บาท (5,000 นาที)......(หักจากค่าโทร)....(๔)
    • เราโอนเงินมาจากเครื่องอื่น 3,000 บาท เสียค่าโอน 2 บาท ต่อยอด 200 บาท เราเสียค่าโอน 15 ครั้ง..... เป็นเงิน 30 บาท (หักจากค่าโทร)..(๔)
    • เครื่องนี้จะได้โบนัสเพิ่มมา 4 ครั้ง ครั้งละ 100 บาท รวมเราได้โบนัสมา 400 บาท โทรออกเพิ่มได้ 100 นาที
  5. เราเหลือส่วนที่ต้องจ่ายนาทีละ 1 บาท อีก....2,000 นาที (2,000 บาท หักจากค่าโทร)...(๕)

      สรุปว่า

  • จาก (๑) มีเวลาโทร 3,000 นาที+(๔) มีเวลาโทร 5,000 นาที และ () มีเวลาโทร 2,000 นาที รวม 10,000 นาที แต่ จ่ายค่าโทรไว้ 4,000 บาท
  • จากข้อ 2 ค่าใช้จ่าย (มีอยู่ 7,000 บาท ใน Happy Bank จากที่จ่ายจริง 4,000 บาท) จ่ายในข้อ 1 ไป 1,150 บาท ข้อ 3 จ่าย 120 บาท ข้อ 4 จ่าย 3,780 บาท และ ข้อ 5 จ่าย 2,000 บาท รวม  1,150+120+3,780+2,000=7,050 แต่เรามีโบนัสเข้ามา 400 บาท...ดังนั้นจริงๆ แล้วเราเหลือค่าโทรอีกนิดหน่อย..อิอิ

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 220532เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่านอาจารย์ Beeman กราบขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ

  • มีรายละเอียดที่มีประโยชน์น่าสนใจ แล้วจะค่อยเข้ามาดูอีกรอบครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เป็นวิธีการจัดการที่เหมาะสำหรับ 5 เครื่อง 2ระบบ 5 รูปแบบการใช้

ส่วนของกระผม 3 เครื่อง 1 ระบบ 3 รูปแบบการใช้ ติดต่อบุคลลหลัก 2 คน แต่เน้นโทรในระบบ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนก็ประมาณ 800 บาทครับ แต่บางเดือนก็อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับจำนวนเวลาที่โทรนอกเครือข่ายและนอกเวลาของโปรโมชั่นครับ

เรียนท่านอาจารย์ JJ

  • ยินดีครับ (สงสัยว่าจะมีส่วนที่เป็นประโยชน์กับท่านอาจารย์)
  • มีบางเรื่องที่ผมใช้ Trick (วิธีพลิกแพลง) อยู่บ้าง...แต่เปิดความหมายของ Trick ดู เป็นความหมายที่ออกมาไม่ค่อยดีเป็นส่วนใหญ่...<Click>

สวัสดีครับท่านพี่ Handy

  • มีบางเรื่องที่ผมแอบไปเอาแนวคิดของท่านอาจารย์มาปรับใช้ เช่น เรื่อง การสอนคน....อย่าลืมเรื่องอุเบกขา
  • หรือ "เทคโนโลยีสอนความง่าย แต่อย่าทำให้เป็นเรื่องมักง่าย" (ความหมายประมาณนี้)

สวัสดีครับท่านว่าที่ร้อยตรีวุฒิชัย

  • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ของท่าน ปีละหมื่นบาทเชียวครับ เท่ากับของผมใช้ได้ทั้งครอบครัวเลย
  • แต่ตอนนี้ผมทำให้ค่าโทรเหลือ (จ่ายจริง) เดือนละประมาณ 300 บาท จากเครื่องหลัก 4 เครื่องรวมกัน..อิอิ

อ่านแล้วหนูยังมึนๆอยู่เลยอ่ะคะ

อาจารย์ช่วยไปสอนในห้องตอนเรียนวิชา เลี้ยงผิ้ง หน่อยนะคะ

คือหนูเห็นตัวเลขแล้วหนูตาลายค่ะ

จริงๆแล้วหนูไม่ค่อยชอบเรื่องเกี่ยวกับตัวเลขซักเท่าไหร่อะค่ะ

แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆเลยนะคะ เพระหนูก็อยากประหยัดตังเอาไว้กินขนมค่ะ

อิอิ

หนูทำลองๆทำบล๊อกดูแล้วนะคะ

http://learners.in.th/blog/moojang

 

  • โอ้ย ! อ่านแล้วปวดกระบาล ต้องขอโทษที่ใช้คำนี้ครับ เพราะปวดหัวมันดูเบาไปสำหรับวิธีคิดที่ซับซ้อนเชิงเศรษฐศาสตร์แบบนี้
  • ผมเคยมีพี่สาวเพื่อนอยู่คนหนึ่ง จบเศรษฐศาสตร์ แล้วได้เข้าไปทำงานในธนาคารนครธน หน้าที่พี่แกก็คือคิดวิธีที่ธนาคารจะได้มูลค่าเพิ่มจากการโยกย้ายเงิน พี่แกนั่งอธิบายวิธีการให้ฟัง ผมละงง แต่สุดท้ายแกสามารถทำเงินได้จากวิธีดังกล่าว องยกให้สำหรับวิธีการคิดครับ
  • ต้
  • ขำๆ อ.หนึ่งครับ..ขนาดปวดกระบาล (แผลงมาจากกบาล-แปลว่าหัวหรือกระโหลกหัว) เลยครับ
  • ความจริงมันก็น่าปวดกบาลหรอกครับ ขนาดผมคิดเองยังปวดหัวเลย
  • แต่เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้จริงบนพื้นฐานที่บริษัทฯ เขาคิดคำนวณความคุ้มทุนของเขามาแล้ว..อิอิ
  • แต่ว่าเรื่องเล่าของอ.หนึ่งก็ทำให้ผมได้ข้อคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาครับ..คือเขาจ้างเราเพื่อทำให้เงินเขาเพิ่มขึ้นนั่นเอง..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท