beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ครูภูมิปัญญาไทย (ประวัติ beeman)


ประวัติที่ส่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

   ก่อนวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2549 ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอชื่อของผมให้กรอกประวัติ เพื่อเข้า Candidate ครูภูมิปัญญาไทยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

  ผมไม่อยากกรอกประวัติให้เลย เนื่องจากในชีวิตของผมเคยกรอกประวัติในลักษณะนี้ มาไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง แล้วแต่ไม่เคยได้รับการติดตามผลเลย

  เส้นทางการกรอกประวัติ เพื่อ candidateโดยทั่วไปมีดังนี้

  • หน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการเชิญชวนให้ส่งบุคลากรเข้าประกวด
  • มหาวิทยาลัยเวียนหนังสือไปตามคณะฯ
  • คณะพิจารณาบุคคลระดับภาควิชาฯ ให้กรอกประวัติตามแบบฟอร์มเพื่อเสนอชื่อไปยังมหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัย ส่งรายชื่อ (มักส่งไปทั้งหมด)ไปยังหน่วยงานที่จัดประกวด

   ที่ไม่มีใคร (ระดับบุคคล) อยากส่งชื่อตัวเองเข้าประกวด เพราะไม่มีการติดตามผลปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมของผู้เข้าประกวดเองเมื่อส่งชื่อไปแล้วถือเป็นอันหมดหน้าที่ของมหาวิทยาลัย คณะฯ, ภาควิชาฯนี่คือการทำงานของภาคราชการโดยทั่วไป ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อทรัพยากรบุคคล (Human Resources) มากนัก

  ครูภูมิปัญญาไทยสาขาเกษตรกรรม (ประวัติของ beeman)

1.ประวัติสวนตัว
ชื่อนายสมลักษณ์  วงศ์สมาโนดน์
เชื้อชาติ ไทยสัญชาติ ไทย
วัน เดือนปเกิด 7พฤศจิกายน 25..
บานเกิด ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองจังหวัดนครนายก
ที่อยู บ้านเลขที่ 99ตําบลท่าโพธิ์ อําเภอเมืองพิษณุโลกจังหวัดพิษณุโลก
โทรศัพท 0-9860-2xxx
ที่ทํางานภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
วุฒิการศึกษา/ระดับการศึกษา วท บ.(ชีววิทยา-สัตววิทยา), วท ม.(สัตววิทยา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   
ชื่อมารดานางขาเกียว (อายุ 93ปี)
เป็นบุตรคนที่ 9ในจํานวนพี่น้อง 9 คน

2.ประวัติชีวิตและผลงาน   
ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม

ชีวิตวัยเด็ก

     สมัยตอนเด็กๆ อยู่บ้านเดิมที่จังหวัดนครนายก จำได้ว่าคุณแม่เคยนำน้ำผึ้งมาให้ดูอยู่ในขวดแม่โขงสีดำๆ อยู่ครึ่งขวด บอกว่าเวลาเป็นอะไร (ป่วย)ก็เอามาผสมยาให้รับประทาน เรื่องนี้ก็ฝังใจอยู่นานจนกระทั่งได้มาเรียนมหาวิทยาลัยตอนปี 3 (ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ท่านอาจารย์ (ศาสตราจารย์ ดร.)สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ได้มาชวนให้ลงเรียนวิชาการเลี้ยงผึ้ง(Apiculture) ซึ่งจะเปิดเรียนเป็นครั้งแรก (รุ่นแรก)ในปีการศึกษา 2524 (ภาคปลาย) การเรียนวิชานี้เป็นการเรียนตามทฤษฎีแต่ก็สนุกเนื่องจากชีววิทยาของผึ้งเป็นสิ่งที่เราไม่รู้และชีวิตของผึ้งก็น่ามหัศจรรย์มาก พอตอนเดือนธันวาคม 2524ได้มีโอกาสไปทัศนศึกษา (Trip) ที่อำเภอแม่สรวยจังหวัดเชียงราย ไปที่ไร่ข้าวบาร์เล่ย์ของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่จำกัด ที่นั่นมีผึ้งเลี้ยงของฟาร์มผึ้งสงวน-เผ่าไทยอยู่จำได้มีอยู่ประมาณ 30-40 รัง เห็นผึ้งบินเข้า-ออกที่หน้ารังเกิดความประทับใจคือเรียนรู้ชีวิตของผึ้งก็สนุกแล้วยิ่งมาเห็นผึ้งจริงๆยิ่งสนุกใหญ่เลย ตอนนั้นได้ซื้อน้ำผึ้งมา 12 ขวด ขวดละ 100 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท

      ตอนจบปริญญาตรีนี่ยังเลี้ยงผึ้งไม่เป็นเพราะไม่ได้ฝึกภาคปฏิบัติ ต่อปริญญาได้เข้าเรียนต่อปริญญาโท(ปีการศึกษา 2526) ที่สถาบันเดิม มีความคิดว่าถ้าทำวิทยานิพนธ์ก็จะต้องทำเรื่องที่เกี่ยวกับผึ้งพอลงเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องหมดแล้วประมาณปีครึ่งก็พยายามไปฝึกงานที่เกี่ยวกับผึ้ง ได้ไปติดต่อที่กรมวิชาการเกษตรในส่วนงานที่เกี่ยวกับผึ้ง มีหัวหน้าเสนอ บูรภวังค์ เป็นหัวหน้าและมีคุณสมนึก บุญเกิด เป็นทีมงาน ได้ติดตามคุณสมนึกไปดูงานด้านการเลี้ยงผึ้งครั้งแรกที่ปากช่อง(ได้รู้จักยาดีที่ผึ้งต่อยแล้วทาจะไม่เจ็บปวดเลย) ต่อมาอาจารย์ที่ปรึกษา (ดร.สิริวัฒน์)ส่งไปฝึกงานด้านการเลี้ยงผึ้งที่ไร่พรหมพร อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดฝึกงานด้านการเลี้ยงผึ้งอยู่ 6เดือนจึงเริ่มมีความมั่นใจว่าจะเลี้ยงผึ้งได้ ช่วงนั้นก็ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้ง”

      ระหว่างที่เรียนอยู่ได้ทุนโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์ (UDC=University Development Commission) ที่จะต้องมาทำงานที่จังหวัดพิษณุโลกช่วงปี 2527 ได้มาดูสถานที่ทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม และปี 2529-2530ได้เปลี่ยนสถานที่มาทำวิทยานิพนธ์ที่จังหวัดพิษณูโลกที่ฟาร์มผึ้งนางพญาของอาจารย์สว่าง ปิยาภิชาตทำอยู่เกือบปีจึงสำเร็จการศึกษาในช่วงนั้นได้ติดต่อกับหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ผศ.ดร.คงศักดิ์ พร้อมเทพ)ซึ่งจะต้องมาทำงานด้วยเมื่อสำเร็จการศึกษาให้เปิดหลักสูตรวิชาการเลี้ยงผึ้งรองรับไว้ (ใช้เวลา 1 ปี)และช่วงนั้นก็เริ่มมาช่วยงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

       เริ่มมารับราชการวันที่29 พฤษภาคม 2530 พอถึงเดือนมิถุนายน ก็ได้สั่งผึ้งมาเลี้ยง 3 รังเดือนกรกฏาคม สั่งผึ้งมาเลี้ยงอีก 3 รัง จากนั้นแยกขยายได้เป็น 19รังในเดือนธันวาคม 2530 ช่วงนี้ก็ได้ผลิตนางพญาเอง และมีนิสิตปี 3ที่มาทำปัญหาพิเศษด้วยในปีแรก 3 คนช่วยเลี้ยงผึ้ง(มีชื่อปราณี,อรทัยและนุชจรินทร์) มีนิสิตคนหนึ่งชื่อนุชจรินทร์ บ้านอยู่ลำพูน ซึ่งมีต้นลำไยมากตอนปิดภาคเรียนที่ 1 (เดือนตุลาคม) เรา 4 คนก็วางแผนไปเที่ยวบ้านนุชจรินทร์ และวางแผนต่อมาว่า เดือนมีนาคม 2531เราจะพาผึ้งไปเก็บน้ำผึ้งลำไยที่นี่
เดือนมีนาคม 2531 เราพาผึ้ง 19รังไปเก็บน้ำผึ้งลำไย เราไม่ค่อยมีความรู้ภาคปฏิบัติมากนักเลยไปอาศัยเรียนเรื่องการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งที่ฟาร์มผึ้งเอราวัณช่วงนี้เราได้ทดลองชั่งน้ำหนักรังผึ้งและตื่นเต้นกันใหญ่ว่าวันหนึ่งผึ้ง 1 รังเก็บน้ำผึ้งได้วันละ 4 กิโลกรัมในปีนั้นเราเก็บน้ำผึ้งมาได้ 300 กิโลกรัมทั้งแจกทั้งขายได้เงินมาเป็นทุนเลี้ยงผึ้งต่อ

     สิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจคือหลังจากนั้นแล้ว การเลี้ยงผึ้งซึ่งเป็นวิชาเลือกในภาควิชาชีววิทยาไม่ได้เคยใช้เงินงบประมาณในการดูแลอีกเลย เพราะว่าผึ้งเลี้ยงตัวเองได้และยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับผึ้ง ซึ่งมีผึ้งเป็นต้นทุน จนถึงปี 2549ได้ตั้งหน่วยวิจัยผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง (ไม่เป็นทางการ)เพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้งไปสู่ประชาชนระดับรากหญ้าทั้งนี้โดยได้งบประมาณมาจากงานวิจัย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเงินบริจาค โดยที่หน่วยวิจัยฯ มีผึ้งเลี้ยงอยู่ภาคสนามจำนวน 70 รัง(ฝากฟาร์มผึ้งธนฤนทรจังหวัดอุตรดิตถ์เลี้ยง)

3.ประสบการณการทํางานด้านที่เชี่ยวชาญ

ด้านที่เชี่ยวชาญเฉพาะ

      มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเลี้ยงผึ้งเป็นความรู้ภาคปฏิบัติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผึ้งไม่ว่าจะเป็นชีววิทยาของผึ้ง วัสดุอุปกรณ์ ปัญหาของการเลี้ยงผึ้งการป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้ง การรวมรัง การแยกรัง การคิดต้นทุนการตลาดผลิตภัณฑ์   

ระยะเวลาในการทํางานดานที่มีความเชี่ยวชาญ
    ระยะเวลาที่สั่งสมประสบการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง ไม่ต่ำกว่า 20 ปีทำงานสอนด้านการเลี้ยงผึ้งตั้งแต่ปี 2530-2549 ไม่ต่ำกว่า 20 รุ่นมีนิสิตที่เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้งไม่ต่ำกว่า 250คน    การถ่ายทอดความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งให้กับประชาชน ก่อนหน้าปี 2541ช่วยเป็นวิทยากรให้กับศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้ง พิษณุโลกแต่หลังจากปี 2541 ได้จัดอบรมเรื่องการเลี้ยงผึ้งเป็นระยะๆและผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในด้านการเลี้ยงผึ้ง   การถ่ายทอดและการพัฒนาการถ่ายทอดความรู(ระบุรูปแบบวิธีการถ่ายทอด/การพัฒนาการถถ่ายทอด)   
       การถ่ายทอดมีหลายวิธี
เช่น ถ่ายทอดในห้องเรียน,พัฒนาสื่อการสอนและปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน, ถ่ายทอดในลัไม่สามารถติดตามข้อมูลได้แต่ที่พบเห็นหรือติดต่ออยู่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 80 คน   การสร้างเครือข่ายและการเผยแพร่ความรู(มีการสรางเครือขายหรือไม/อยางไร/จํานวนกี่คน/เครือขาย)    มีการสร้างเครือข่ายเผยแพร่ความรู้ทางกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทยกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษจังหวัดพิจิตรเวทีเสมือนในGotoknow.org 
       ประสบการณหรือความเชี่ยวชาญอื่นๆ
    เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge management) และการสร้าง/เขียนบล็อก ใน GotoKnow.org

        เขียนบันทึกใน Gotoknow.org เป็น แบบ Diaryถ่ายทอดความรู้ให้คนอ่านติดตามหลากหลากรูปแบบโดยใช้นามแฝงว่า beeman ติดตามได้ใน www.gotoknow.org/beesmanจนได้รับรางวัล คุณลิขิต (เดือนธันวาคม 2548) และรางวัลสุดคะนึง(เดือนกุมภาพันธ์ 2549)นอกจากนี้ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล KM BIO Award 2005(Knowledge Management Blog Intelligent UsersOrganization 2005)

4.ผลงานที่ปรากฏ ผลงานเป็นประโยชน์

       ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้แก่  เรื่อง ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งนาแห้วเผยแพรที่ หมู่บ้านบ่อเหมืองน้อย อำเภอนาแห้วจังหวัดเลย -เรื่อง ตู้หลอมไขผึ้งพลังงานแสงอาทิตย์เผยแพรที่กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือแห่งประเทศไทย -เรื่องตู้หลอมไขผึ้งพลังงานแสดงอาทิตย์และกระถางกล้าไม้จากเศษรวงผึ้งเผยแพรที่งานนวัตกรรมแห่งประเทศไทยเรื่อง อุปกรณ์เสริมโรงสีข้าวชุมชนเคลื่อนที่เผยแพรที่โรงสีข้าวชุมชนทับคล้อ ผลงานที่ริเริ่มสรางสรรค(ระบุจุดเดนของผลงานที่แตกตางจากผลงานของผูอื่น)การดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการและบรรจุผลิตภัณฑ์ผึ้งของกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทย(ต้องอาศัยที่ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร(ผึ้ง) จังหวัดพิษณุโลก และต้องระดมทุนจากแหล่งต่างๆรวมทั้งทุนของตัวเองด้วยเพื่อต่อไปจะเป็นที่ทำการพัฒนาศักยภาพของผู้เลี้ยงผึ้งให้มีขีดความสามารถทางด้านการแข่งขัน: ใช้งานเป็นตัวตั้ง ไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง)

5.ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม

  • ชนะเลิศการประกวดน้ำผึ้ง (สาบเสือ)“งานเกษตรแห่งชาติปี 2544(ระดับประเทศ) 
  • ที่ปรึกษากลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างแห่งประเทศไทย(ระดับภูมิภาค) 
  • รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย(ระดับประเทศ)
  • รางวัล “สุดคะนึง” และ“สุดยอดคุณลิขิต” ของ สคส.(สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)(ระดับประเทศ)
6.เครื่องราชอิสริยาภรณ/เกียรติคุณ/รางวัลที่เคยได้รับ
  • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
  • เข็มเชิดชูเกียรติในฐานะผู้ปฏิบัติงานโครงการชีววิทยาโอลิมปิก(จากสมเด็จพระพี่นางฯ) 

ข้อมูล ณ วันที่23 มีนาคม พ.ศ. 2549                             

 
หมายเลขบันทึก: 33275เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2017 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ผมเคยเป็นนักวิจัยของ สกศ ในสมัยดร. รุ่ง งานเป็นระบบดีนะครับ ปัจจุบันไม่ทราบครับ
  • รออ่านเรื่อง เจ เจ๊เล็กครับผม

ถ้าโดนผึ้งต่อยควรทำยังงัยค่ะ เพราะเคยโดนครั้งหนึ่งปวดมากๆเลย

  1. เอาเล็บทั้ง 5 ขูดเอาเหล็กในออก (ลักษณะเหมือนอาการเกา)
  2. เอาปากดูดเอาพิษตรงแผลที่ต่อยออก
  3. ใช้ขี้ผึ้งพวกแซมบัค หรือยาหม่องทาตรงแผลที่ต่อย
  4. ถ้าปวดให้ทานยาพาราเซตตามอล ตามด้วยยาแก้แพ้ (ถ้ามี)

อาจารย์ให้หนูหาครูภูมิปัญญาถ้าหนูเลือกประวัติอาจารย์จะได้มั้ยค่ะ

  1. อยากทราบว่าเรียนอยู่ที่ไหน ระดับไหนครับ
  2. คงไม่มีปัญหาอะไรครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำหลายๆ เรื่องที่แพร่ในเวลาอันจำกัด

ขออนุญาตนำไปประยุกต์ใช้กับศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านครับ

สนใจอยากทำเรื่องเซรุ่มของต่อและผึ้งเพราะเวลาถูกต่อต่อยจะเป็นอันตรายมากหรือผึ้งช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทเห็นในสารคดีต่างประเทศน่ะค่ะอาจารย์พอจะมีแนวทางในการฝ่าต่อมพิษมาผลิตได้หรือไม่ค่ะ ตอนนี้หนูเป็นพนักงานราชการอยู่ที่กรมวิชาการเกษตรค่ะและอยากจะเรียนต่อ ป. โท ต่อเนื่อง ป. เอก เลยได้หรือไม่คะ หนูเรียนจบจาก ม.แม่โจ้ ปี 2544 เคยมีประสนการณ์การเลี้ยงผึ้งค่ะ และตอนนี้กำลังเริ่มเลี้ยงที่ จ.จันทบุรี อ. โป่งน้ำร้อน ตอนนี้กำลังหาทางขยายผึ้งอยู่ค่ะ รบกวนอาจารย์เท่านี้ก่อนนะค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

อิงอร ภาคเจริญ

ขอให้อาจารย์มีความสุขตลอดไป เหมือนชื่ออาจารย์ในภาษาจีน หลับให้สบายนะครับ

กระผมกลับมาอ่านของอาจารย์อีกครั้ง สัญญาว่าจะอ่านไปเรื่อยๆให้หมดกราบน้อมระลึกถึงอาจารย์ที่เคารพรักขอให้อาจารย์พบความสุขสบายที่สัมปรายภพrespect.

น้องรำลึกถึงอาจารย์เสมอนะครับ ขอบพระคุณองค์ความรู้ที่ได้มอบให้ ขอให้อาจารย์มีความสุขในภพหน้า มีนิพพานเป็นที่ไปเป็นที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท