KPI: เราจะวัดผล หรือผลจะวัดเรา


        เป็นเรื่องดีมากที่มีการวัดประสิทธิผลของงานด้วย KPI ตามหลัก Balanced Scorecard หรือด้วยเครื่องมือทางการจัดการอื่นๆ

        แต่เรื่องของการวัดผล มีประเด็นในรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วยหลายอย่าง KPI ไม่ใช่ดัชนีศักดิ์สิทธิ์ที่ชี้บอกว่าใครดี-ใครไม่ดี เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ไม่เช่นนั้นก็อาจกลายเป็นเสมือนการเรียนเพื่อสอบให้ได้คะแนนดี แต่ไม่ได้ความรู้ความเข้าใจอะไรมา ประยุกต์ความรู้ไปใช้ไม่ได้เลย

        กระบวนการทำงานหรือทำอะไรสักอย่าง เริ่มต้นด้วยเป้าหมายที่ชัดเจน และต่อมาด้วยการพิจารณาสภาพแวดล้อม องค์ประกอบ ทรัพยากร (คน งบประมาณ เวลา เทคโนโลยี) ข้อจำกัด ความยั่งยืน ฯลฯ ไปเรื่อยๆจนถึงการวัดผล

        เป้าหมายต้องมาก่อน หากไม่มีเป้าหมาย ก็ไม่มีทางรู้ว่าจะเดินไปไหน

        นอกจากนั้นต้องรู้ด้วยว่าเรายืนอยู่ตรงไหน (รู้สภาวะแวดล้อม ทรัพยากร และข้อจำกัดต่างๆ) ถ้าไม่รู้ จะกำหนดหรือวางแผนได้อย่างไรว่าจะเดินไปทางไหน

        หากไม่รู้ทั้งสองอย่าง คงแปลได้ว่ามั่วสุดๆ และเดินไปอย่างคนตาบอดไม่รู้ทิศทาง (แต่บางทีก็สำเร็จได้เหมือนกัน)

        KPI ช่วยให้รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ด้วยประสิทธิผลอย่างไร แต่ในบางครั้ง KPI กลับถูกเชื่อมโยงเข้าเป็นสมรรถนะของหน่วยงานและบุคลากร แม้ว่าจะมีส่วนถูกต้อง แต่ความคิดในแง่นี้ ไม่ได้นำเอาข้อจำกัดต่างๆเข้ามาพิจารณา ถ้านายชุ่ย หรือคิดว่าจ้างมาแล้วก็ต้องทำให้ได้-ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น บางทีนายควรจะลองมาทำเองบ้างเหมือนกัน

        ข้อจำกัดกับข้อแก้ตัวนั้น อยู่ใกล้กันนิดเดียว แต่เชื่อว่าคนเป็นนายแยกแยะได้ไม่ยากหากเอาใจใส่ในงาน

        ข้อจำกัดมีทั้งแบบแก้ไขได้ กับแบบแก้ไขไม่ได้เช่นกัน คนเป็นนายต้องยอมรับความจริงที่ว่าข้อจำกัดนั้น มีอยู่จริงและเป็นปัญหามาก่อนหน้านั้นแล้ว หน้าที่ของคนเป็นนายคือเอาชนะข้อจำกัดให้ได้ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

        สำหรับข้อจำกัดที่แก้ไขไม่ได้นั้น หากพบระหว่างทาง หมายความว่าการวางแผนและการจัดการความเสี่ยง ไม่ดีพอ ทำให้ไม่สามารถพบข้อจำกัดนี้ได้ก่อน

        ดังนั้น หากเชื่อมโยง KPI เข้ากับการประเมินผลงาน จะต้องระมัดระวังให้ดี ไม่เช่นนั้น จะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 60428เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

  เหมือนกับ ถูกประเมินอย่างไม่เป็นธรรมเลย    อย่ายึดติดกับ kpi ดีกว่า   อย่ายึดติดกับสิงใดใดเลย   ...

ผมไม่ได้เชื่อ KPI ด้วยศรัทธา -- KPI เป็นเครื่องมือครับ ถ้ารู้จักใช้ รู้จักข้อจำกัด ก็จะเป็นประโยชน์ เรื่องที่เป็นห่วงก็คือการเชื่อมโยง KPI เข้ากับการประเมินผลแบบที่ไม่ดูรายละเอียดเลย มองคน-มองหน่วยงานเป็นตัวเลขไปหมด

ผมเ็้ป็นคนประเมินคนอื่น จึงต้องเตือนตัวเองไว้; ส่วนบอร์ดประเมินผม ซึ่งคงไม่เหมาะที่จะไปเตือน แต่ว่าชี้แจงได้

ถึงต้องมีการกำหนดสมรรถนะของแต่ละงาน/คนด้วยไงคะ  เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินค่ะ

นั่นคือชื่อบันทึกไงครับ เราตั้ง KPI เพื่อวัดประสิทธิผลของงานซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรือว่าเราตั้ง KPI เพื่อให้ผ่านการประเมินกันแน่ ทั้งนี้ไม่ใช่ในความหมายว่าตั้งเป้าไว้ต่ำๆเพื่อให้ได้คะแนนสูง ซึ่งนั่นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่หมายถึงว่า KPI มีไว้วัดอะไรกันแน่ ความสำเร็จของงานในทุกแง่มุม หรือ การทำงานของซึ่งนำไปเชื่อมโยงกับการประเมินผลคน

สองอย่างนี้ดูจะคล้ายกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันทีเดียว

ผมเชื่อในในบริบทแรก ซึ่งได้อภิปรายไว้ในบันทึก ส่วนในบริบทหลังนั้น เป็นสิ่งที่ต้องคุยกันเยอะหน่อย

เมื่อหลายปีก่อน เคยทำงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีการจัดอันดับโดยขึ้นกับผลประกอบการ (เชื่อมโยงกับกำไรที่ส่งเข้ารัฐ) ผมคิดว่าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจคือการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีคุณภาพดี ราคาเป็นธรรม ส่วนใหญ่เป็นบริการที่ให้ประชาชนมาต่อยอด ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องมีและเอกชนไม่ทำด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่รัฐวิสาหกิจทำจึงไม่ควรจะแข่งขันกับเอกชนเลย ในเมื่อมี performance agreement มาเป็นตัววัด กลับทำให้รัฐวิสาหกิจต้องผลักภาระไปให้ประชาชน

บริการของภาครัฐจึงอาจผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายที่แท้จริง เพราะเราไม่ละเอียดในเรื่องสำคัญนะครับ

ผมไม่ได้ปฏิเสธ KPI แต่หากจะเชื่อมโยง KPI เข้ากับการประเมินผล จึงต้องระวังให้มาก

ดีมากครับ

ประเมินใคร กันแน่

จาก รายงาน ผล KPI ก็สามารถ แสดง EQ ของ ผู้บริหารได้ชัด ว่า สติ ยังดีแค่ไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท