เมืองไทยอยู่ตรงไหนในศตวรรษที่ 21 (ตอนต่อมา)


ขอความกรุณาดูสไลด์ข้างล่างนี้ให้จบก่อนครับ มีสัญญาณที่สำคัญหลายเรื่องซึ่งหากนำไปคิดต่อ ก็น่าจะได้ประโยชน์มาก *** บันทึกนี้ตั้งคำถามถึงเรื่องอนาคตประเทศไทย ซึ่งมีประเด็นหลักอยู่ที่การเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลง ***

ผมไม่สามารถก็อบปี้สไลด์มาอยู่ในเมืองไทยเพื่อให้โหลดได้เร็วขึ้นเนื่องจากมีลิขสิทธิ์ ถ้าจะละเมิดก็ทำได้ง่ายมากแต่เป็นสิ่งที่ผิด เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ดู

บันทึกนี้อาจจะถือเป็นส่วนต่อของบันทึกเมืองไทยอยู่ตรงไหนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งผมเขียนไว้ในบล๊อกตามใจฉัน นัยแห่งบันทึกแรกพูดถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า เมืองไทยแทบไม่อยู่ในแผนที่ยุทธศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจของโลกเลย โดยอ้างอิงจากความถี่ของ"คำ"ในหนังสือ The World is Flat ของ Thomas Freidman 

ส่วนบันทึกนี้ ตั้งคำถามถึงการเตรียมตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในอนาคต

  1. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เกิดขึ้นมากมายรอบตัวเรา เราเห็นหรือไม่? เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่?
  2. เราเตรียมตัวสำหรับอนาคตอย่างไร? ในเมื่อเราจัดสรรทรัพยากร+กำลังความคิดส่วนใหญ่ ไปใช้สำหรับการแก้ปัญหาในอดีต
  3. เราตระหนักหรือไม่ว่าการแข่งขันในอนาคตนั้น ผู้ที่แข่งขันคือคนรุ่นหลัง คือลูกหลาน คือพนักงานหรือผู้บริหารระดับล่างลงไป ซึ่งท่านผู้ิบริหารระดับเทพอาจจะคิดว่ายังไม่ได้เรื่อง หรือไม่รู้จักตัวด้วยซ้ำไป แต่ท่านเตรียมความพร้อมให้เขาอย่างไรบ้าง?
  4. ครม.ทุกคณะอายุรวมกันเกินพันปีทั้งสิ้น องค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลส่วนใหญ่ หากนับอายุตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดลงไปสี่ระดับ ก็มีอาการชราภาพเช่นกัน บอร์ดของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีอายุรวมกันกว่าพัน-สองพันปีทั้งนั้น ทำอย่างไรจึงจะประสานประสบการณ์และความรอบคอบ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ดี?
  5. รากฐานแบบใดที่คนรุ่นปัจจุบัน จะสร้างไว้ให้แก่คนรุ่นหลังได้ดีที่สุด?
  6. เมื่อเราต้องแข่งขันกับประเทศที่มีกำลังมาก กลยุทธ์ใดเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเมืองไทย?
  7. "กิจการ" ของประเทศไทย ดำเินินการด้วยภาคเอกชน (ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐที่จะมาทำการค้า) ส่วนราชการ ระบบราชการ กฏหมาย และทัศนคติของ "ผู้ใหญ่" จริงจังกับแนวคิดนี้เพียงใด?
หมายเลขบันทึก: 98983เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะคุณConductor

ดู slide แล้วก็อึ้งไปพักหนึ่งค่ะ..  : )

คิดว่าสถิติของเขามีส่วนจริง แต่ค่อนข้าง extreme ค่ะ

ถ้าสถิติที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้จริง "shift" ที่ว่านี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างแน่นอน

ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการทำนายของเขาบางส่วนอาจผิดค่ะ ดิฉันว่าการเจริญเติบโตของข้อมูลในยุคหน้าจะถูกหยุดโดยจำนวนประชากรที่มากเกินไปที่โลกใบนี้ (ธรรมชาติ) จะรับได้ อาจเกิด famine ขึ้นแล้วบางอย่างก็อาจต้องล่มสลายไปเพื่อสร้างความสมดุล...

แต่วัตถุประสงค์ของคุณ Conductor ก็อาจต้องการให้พวกเรารับรู้และเตรียมการเพื่อที่จะไม่เป็นสิ่งหนึ่งที่ล่มสลายไป ใช่ไหมคะ..อันนี้ดิฉันเดา..

ถ้าตอบโจทย์นี้ดิฉันว่าการศึกษาของคน เป็นคำตอบ เพราะถ้าคนมีคุณภาพ เทคโนโลยี การวิจัย ความสงบสุข ความเพียงพอและยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติจะตามมา เพียงแต่เรากำลังวนอยู่กับการแก้ปัญหาปัจจุบัน และยังไม่ได้ลงทุนอะไรกับคนรุ่นหน้าอยู่ ก็เลย......

สำหรับตัวเองก็คงทำหน้าที่สร้างคนที่จะออกไปสู่อุตสาหกรรมปัจจุบันให้ดีที่สุดน่ะค่ะ แต่ก็ไม่คาดหวังว่าจะทำได้ 100% หรอกค่ะ ได้เกินครึ่งก็ถือว่าสำเร็จ(สำหรับตัวเอง)แล้วค่ะ แล้วก็ปรับปรุงตัวเองในด้านความรู้ไม่ให้ outdated นัก เพราะที่เขาว่าไว้ใน slideshow ในเรื่องนี้ดิฉันว่าจริงค่ะ ไม่งั้นกว่านักศึกษาจะจบไปทำงาน ความรู้ที่เรียนมาก็ใช้ไม่ได้เสียแล้ว..

อ้อ..สำหรับคำถาม..รากฐานแบบใดที่คนรุ่นปัจจุบัน จะสร้างไว้ให้แก่คนรุ่นหลังได้ดีที่สุด? นั้นดิฉันคิดว่าเราต้องสอนคนให้ปรับตัวเป็น เข้าใจในธรรมชาติ ในวงจรของธรรมชาติ (อันนี้อาจจะมองในมุมของคนปฏิบัติธรรมนิดๆ นะคะ) การที่จะปรับตัวได้ดี ต้องเป็นคนที่รู้จักสังเกต รู้จักหาความรู้เพิ่มเติมที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รู้จักตัดสินใจแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา และรู้ว่าเงินและอำนาจไม่ใช่คำตอบของชีวิตค่ะ...แค่นี้ก่อนค่ะ เดี๋ยวจะเลยเถิดไปเยอะ..

ขอบคุณที่นำข้อมูลมาให้รับทราบกันนะคะ

สไลด์ชุดนี้ เขียนให้คนอเมริกันดูครับ (ผมไม่ชอบการเหมารวมกันไป แต่กรณีนี้คงเลี่ยงไม่ได้นะครับ) คนอเมริกันส่วนใหญ่มีนิสัยหลงตัวเอง ก็ต้องกระชากกลับมาอยู่บนความเป็นจริงก่อนครับ -- ผมก็ใช้วิธีนี้บ่อยๆ อาจารย์คงเห็นในวิธีเขียนบันทึกซึ่งบางทีสุดเว่ิอร์ เนื่องจากไม่มีฟอร์มใดๆ ต้องรักษานะครับ

แต่ข้อมูลเหล่านี้ เท่าที่ตรวจสอบได้บางส่วนก่อนนำมาโพส เป็นข้อมูลเก่า ส่วนข้อมูลล่าสุดแรงกว่านี้อีกครับ! แต่เรื่องนี้ก็ไม่หลุดรอดสายตาของอาจารย์ไปได้ คือที่ว่า extreme นั้น เป็นเพราะเค้าใช้ statistical inference ทำนายอนาคตครับ ซึ่งก็จะมีความน่าเชื่อถือได้พอๆกับตัวเลขในแผนธุรกิจ ;-) แต่พวกอเมริกันเชื่อสถิติตัวเลขพวกนี้มากกว่าศาสนาเสียอีกใช่ไหมครับ

เรื่องคำตอบสำหรับคำถาม #5 ผมอยากชวนอาจารย์ดูรูปสุดท้ายของบันทึก Teach & Learnด้วยครับ -- ถ้าเราจะเตรียมตัวรับการแข่งขันในอนาคตให้ได้ คุณภาพของคนจะสำคัญที่สุดกว่าทรัพยากรใดๆ; แต่เราพยายามผลิตคนระดับไหนออกมา แล้วคนที่จบการศึกษาออกมา ได้พยายามแค่ไหนที่จะเป็นฝึกฝนตนจนเป็นคนที่มีคุณภาพและคุณธรรม (ซึ่งก็ต้องได้รับโอกาสฝึกด้วย)

P

ดูหมดแล้ว...

แรกๆ ทำท่าเครียด.... พอดูๆ ไปก็นึกถึงโฆษณาสะบู่นกแก้วได้...

คุณโยมน่าจะเคยเห็น ที่มีผู้มาตะโกนบอกว่า น้ำจะท่วมโลก .. แล้วก็มีผู้ตอบกลับว่า เตรียมสะบู่ไว้หรือยัง ?... จะได้อาบน้ำสนุก... หรืออะไรทำนองนี้

นี้แหละคุณโยม... ปรัชญาไทยแท้ๆ

เจริญพร

เอ ผมไม่เคยเห็นโฆษณาชิ้นนี้นะครับ แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ จะเอาอะไรกับคนกรุงเทพ

สำหรับทางออกที่ดี คงจะไม่ใช่เป็นการทำเหมือนกับที่คนอื่นทำหรอกครับ บริบทไม่เหมือนกัน ทรัพยากรไม่เหมือนกัน และข้อจำกัดก็ไม่เหมือนกัน

และแม้ว่าจะทำได้ ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะเมื่อทุกประเทศเหมือนกันหมด คงที่ประสบความสำเร็จก็คือคนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (ซึ่งไม่ใช่เรา)

ไม่ค่อยได้เข้าเลยครับ แต่ถ้ามีโอกาส นี่คือบล็อกหนึ่งที่จะแวะมาครับ มีหลายๆ เรื่องที่อ่านแล้วอยากแสดงความเห็น แต่ไม่มีเวลาเขียนยาวๆ เลยครับ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งบันทึกที่ให้ข้อคิดเห็นที่ดีมากครับ  ผมชอบบันทึกบันทึก Teach & Learn มากๆ ด้วยขอบคุณจริงๆ ครับ เป็นประโยชน์มากครับ 

เลยรู้สึกว่าต้องเขียนครับ เป็นการบันทึกความคิดที่เกิดขึ้น เพื่อต่อยอด ไม่อย่างนั้นจะรู้สึกผิดครับ

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์  กมลวัลย์ ว่า การศึกษาของคน เป็นคำตอบ  และต้องเป็นการศึกษาที่มีวัสัยทัศน์ด้วย พออ่านที่ท่าน เขียน BM.chaiwut  ก็เห็นด้วยอีก  ก็คงต้องบอกว่าอาจต้องแบ่งคนรุ่นใหม่เป็นหลายกลุ่ม ตามรูปสามเหลี่ยม กลุ่มยอดสามเหลี่ยมของเราอาจอยู่ช่วงกลางสามเหลี่ยมของประเทศพัฒนา ตอนนี้ผมชักจะคิดว่ายังไง สำหรับบ้านเรา ความจริงคือคนจะเป็นอย่างที่ท่าน BM.chaiwut ตั้งข้อสังเกตคือ เป็นสังคมที่ไม่ซีเรียส ต่างจากพวกจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียตนาม  ผมมองว่าเราจะออกไปทางอินโด ฟิลลิปปินส์ เราคงเจริญได้ในแบบของเรา ผมมองว่าในภาพรวมแล้ว เราอาจต้องมุ่งไปทางการให้บริการ การผ่อนคลาย    ซึ่งในอนาคตที่สังคมจะเครียดมากขึ้นๆ   sector ทางบริการจะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น

ถ้าเราคิดว่าจะมุ่งไปทางนี้ หัวหอกของเราแทนที่จะมุ่งสั่งสมความรู้ทางเทคโนโลยีชั้นสูงแบบตะวันตก อาจต้องมาสั่งสมความรู้ในแง่การทำบริการให้สู่ระดับที่มีวิทยาการเข้าร่วม กล่าวคือเป็น contribution ที่คนที่มีความรู้ระดับสูงจะมีให้คนที่เป็นผู้ปฏิบัติการจริงที่เป็นพลังหลักของบ้านเรา

ผมคิดว่า ในระดับปัจเจก เราจะไปทางไหนก็ได้ แต่หากมองในระดับชาติแล้วเราต้องรู้จักตัวเอง รู้จักคนส่วนใหญ่ของเรา ยอมรับ เข้าใจคนส่วนใหญ่ของเรา แล้วจึงจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางของชาติที่สอดคล้องกับคนส่วนใหญ่ของเรามากที่สุด

นี่อาจจะเป็นแนวคิดหรือการมองเหมารวมแบบ essentialism ที่ผมไม่ค่อยชอบใจนัก  แต่ถ้าจะมองในระดับ global มันก็ช่วยไม่ได้เหมือนกันที่เราจะต้องนึกอะไรที่ให้ออกมาในแบบรูปธรรม เห็นง่ายๆ

ความเป็น niche อาจจะเป็นหนทางรอดก็ได้ค่ะ เท่าที่เฝ้าดูสังคมไทย เรามีความแข็งแกร่งด้านไสยศาสตร์มากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ น่าจะดี ถ้าทำเป็นสินค้าและบริการส่งออกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ให้ดังระดับ วูดู ไสย์ดำของพวกแอฟริกาให้ได้ เราก็จะเป็นหนึ่งในอีกศาสตร์ที่จะ rule the world

(ปล. กรุณาตั้งสติก่อนอ่านซ้ำ)

ขอบคุณอาจารย์มาโนชมากครับ อาจารย์หายไปนานเลย

บางทีเมื่อมองระดับมหาภาคแล้วจะอยู่รอดให้ได้ แทนที่จะมองจากมุมของการแข่งขันเพื่อชนะ เราควรพยายามเรื่องการเชื่อมโยงให้มากขึ้นนะครับ (ความเห็น #257638) ไม่จำเป็นต้อง"ได้"คนเดียว--ถึงอยาก"ได้"ก็คงทำไม่ได้

เรื่องระดับมหภาคอาจจะเกินกำลังของสมาชิก g2k ทำ เราเพียงช่วยสร้างองค์ประกอบได้บ้าง เช่นสร้างทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนบ้าน ศึกษา-เข้าใจ-ให้เกียรติเขาให้มากขึ้น จะทำอะไรก็นึกถึงใจเขาใจเราบ้าง แสดงความจริงใจต่อเพื่อนบ้าน (โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา)

ผมเห็นด้วยว่าการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยครับ

คุณ [ minisiam ] ก็พูดเล่นไปได้ เราส่งออกจตุคามไปสองประเทศทางใต้เยอะเหมือนกันนะครับ

เรื่องหนึ่งซึ่งประเทศอื่นๆ คิดว่าเมืองไทยมีดีคือเรื่อง "การเข้าถึงความสุข" ครับ เพียงแต่ว่ามันมีหลายความหมายทั้งดีและไม่ดี ขึ้นกับสภาพจิตของผู้มอง

  • บางคนพอพูดถึงเมืองไทย ก็จะนึกถึงแหล่งโลกีย์ เวลาเขามาก็ตั้งใจจะมาตระเวนสถานที่เหล่านี้
  • บางคนเมื่อนึกถึงเมืองไทย ก็จะเป็นเรื่องแหล่งท่องเที่ยว เดินป่า ขี่ช้าง เที่ยวทะเล เที่ยวกับครอบครัว
  • บางคนก็นึกถึงเมืองไทยว่าเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา เป็นศูนย์การศึกษาเรื่องของสมาธิ
  • อีกหลายคนก็คิดว่าเป็น medical hub ที่รวมค่าเดินทาง ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าพักฟื้น และค่าเที่ยวแล้ว ยังถูกกว่าใช้บริการทางการแพทย์ในบ้านเมืองของเขา (คุณ Bluebonnet คงให้รายละเอียดได้)
  • เสน่ห์ของเมืองไทยหายไปเยอะด้วยการเร่งรัดการพัฒนาทางวัตถุ แต่ไม่มีใครบินมาครึ่งโลก เสียเงินมากมาย บินสิบยี่สิบชั่วโมงเพื่อมาหาประสบการณ์ที่เขาหาได้ในบ้านเขาหรอกครับ กลยุทธ์ของบางกอกแอร์เวส์ที่ใช้เมืองไทยเป็น hub สำหรับอุษาคเนย์/สุวรรณภูมิ (mainland southeast asia) เป็นกลยุทธ์ที่ดีนะครับ

แต่ผมมีคำถามว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นแรงจูงใจที่เพียงพอให้"ลูกค้า"เดินทางเข้ามารับบริการในเมืองไทยหรือไม่ครับ เรายังมีดีเหมือนกัน เพียงแต่มันดีพอหรือไม่ แล้วเราจะพัฒนาสิ่งดีเหล่านี้ต่อไปอย่างไร

ในบริบทของคนเป็นนาย เมื่อสถานการณ์มีแนวโน้มเปลี่ยนไป ก็จำเป็นต้องประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเตรียมหาทางออกล่วงหน้า อย่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วจึงค่อยคิดแก้ไข -- คนเป็นนายเปลี่ยนทัศนคติและวิธีทำงานกันดีไหมครับ

เราปล่อยให้องค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตกอยู่ในความเสี่ยงไม่ได้ บางเรื่องเป็นเรื่องที่ตัดสินใจลำบาก เช่นธุรกิจที่ทำมาหลายชั่วอายุคน กำลังจะแข่งขันไม่ได้เนื่องจากสู้ต้นทุนของคู่แข่งไม่ได้ แบบนี้จะทำต่อไปเหมือนเดิมจะดีจริงหรือครับ

แม้ว่าการไม่ตัดสินใจ จะเป็นการตัดสินใจแบบหนึ่ง (ตัดสินใจที่จะยังไม่ตัดสินใจ) แต่การทำเหมือนเดิมบนความเปลี่ยนแปลง/การไม่มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ก็ไม่น่าจะให้ผลที่ดีนะครับ

ฝากไว้คิดด้วยครับ -- ถึงอย่างไรเมื่อจะตัดสินใจลงมือทำแล้ว ก็อย่าตัดสินใจเหมือนคนไม่ได้คิดพิจารณามาก่อน

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งกับอาจารย์ กมลวัลย์  ถ้าจะสู้เราต้องสู้กันด้วยสมอง ไม่ได้สู้กันด้วยจำนวน
  • ประเทศจีนไม่ได้ใหญ่โตหรือยิ่งใหญ่ด้วยจำนวนประชากร อินเดียก็เช่นเดียวกัน แต่ที่เขามีคือความรู้ และรากเหง้าทางวัฒนธรรมสองสามพันปี ไม่งั้นเขาคงไม่เรียกว่า อินโดจีน เราคงไม่ไปไล่ตามเขา เราต้องหาแนวทางของเราเอง
  • เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งประชากรของจีนและอินเดียจะถึงจุดสูงสุด เช่นเดียวกับประเทศไทยที่จะมีประชากรสูงสุดไม่เกิน 75 ล้านคน เนื่องจาก ครอบครัวมีลูกน้อยลง ประชากรเราแต่งงานช้า หรือไม่แต่งงาน ต่อไปปิรมิดเราจะมีแต่คนสูงวัย หรือกลางคนมากกว่าวัยพึ่งพา
  • ถ้ามาแบ่งสัดส่วนในวัยพึ่งพาจะพบว่าส่วนใหญจะเป็นลูกของคนที่การศึกษาน้อย มากกว่าคนที่มีการศึกษา
  • แล้วเราจะติดอาวุธสมองให้คนวัยพึ่งพาของเราต่อสู้กับคนอื่นได้อย่างไร คงจะมีคำตอบเดียวคือการศึกษา (cream of the cream)

 

เรียน คุณ Conductor ผมขอพูดในประเด็นที่ว่าการสร้างรากฐานให้คนรุ่นหลัง ในเรื่องของการศึกษา ผมเห็นด้วย แต่ก่อนที่จะให้การศึกษา ผมว่าเราน่าจะมองย้อนกลับไปในอดีตก่อน ว่ารากของเราอยู่ที่ใหน (การศึกษาในปัจจุบัน เราพยายามทำประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก ซึ่งไม่ใช่รากของเรา)ผมว่ารากวัฒนธรรมของเรา คือ ผี พราหมณ์ และ พุทธ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่จิตใจเป็นเป้าหมาย โดยมีวัตถุเป็นแค่สิ่งอำนวยความสะดวก แต่ในปัจจุบัน เป้าหมายของเราอยู่ที่วัตถุครับ ศาสนาของเรา คือ ศาสนาบริโภคนิยมและศาสนาทุนนิยม ทุกวันนี้ความอบอุ่นในใจของคนเรา คือ การบริโภคสัญญะของทุนนิยมครับ ซึ่งเป็นกระบวนทรรศน์ของตะวันตก ในอนาคต ถ้าเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ดังกล่าว ผมว่าจะให้การศึกษาอย่างไรก็ไร้ผลครับ และการวางรากฐานให้คนรุ่นหลังในมุมมองของผมนะครับ ผมว่าต้องมองไปในอดีต(สมัยที่ยังอิทธิพลตะวันตกยังไม่เข้ามา) แล้วเลือกสิ่งที่ดีในอดีตมารับใช้ปัจจุบัน เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต (การมองไปในอดีต ไม่ใช่กลับไปย้อนยุคนะครับ แต่เป็นการนำมาประยุกต์ใช้) ขออนุญาตกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดครับ ในเรื่องของการศึกษา ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้หลายปีแล้วว่า การศึกษาบ้านเรา เป็นการศึกษาหมาหางด้วน ทุกวันนี้หางจะกุดแล้วครับ ขอบคุณครับ

ขอโทษคุณ Dream Farm : ฟาร์มฝันครับ มา ลปรร.กันครั้งแรก ผมไม่น่าทำอย่างนี้เลย แต่ผมไม่เห็นด้วยกับบรรทัดสุดท้ายครับ

ไม่ใช่ว่าการศึกษาไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะการศึกษาเป็นคำตอบเดียวไม่ได้ครับ -- การศึกษานั้นสำคัญแน่นอน แต่เพียงเพราะเราพบว่าเรื่องหนึ่งสำคัญ ก็ไม่ได้แปลว่านั่นคือสิ่งเดียวที่ต้องทำครับ

สมมุติเราปรับปรุงการศึกษาขนานใหญ่จนนักศึกษาของเรามีคุณธรรมที่สุดในโลก ดีที่สุดในโลก เก่งที่สุดในโลก เสียสละที่สุดในโลก และทำเพื่อส่วนรวมตลอดเวลา แต่กว่าจะจบ กว่าจะมีประสบการณ์ กว่าจะเติบโตในหน้าที่การงาน กว่าจะ... ต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ครับ แล้วระหว่างนี้เราจะทำอะไรกันดีครับ

ผมเห็นด้วยว่าต้องสู้ด้วยสมอง จึงเป็นที่มาของคำถามมากมายในบันทึกนี้ ไม่เฉพาะคำถามที่ 5 ครับ

ยินดีต้อนรับนะครับ

ไม่เป็นไรครับ ผมเข้ามาเพื่อแสดงความคิดเห็น ในอีกมุมมองหนึ่ง อาจจะมีมุมอื่นที่ผมอาจมองไม่เห็น หากมีใครเข้ามาแลกเปลี่ยน หลากหลายความคิด หลากหลายมุมมอง สุดท้ายเราอาจจะสรุปได้ว่าอะไรคือคำตอบ

          ยินดีรับคำชี้แนะครับ ผม

Education is important infrastructure to build human resources. But after those "cream of the crop" were built, what's next ?

Thomas Friedman - author of The World is Flat, wrote the other day in the NY Times,

"I took part in commencement this year at Rensselaer Polytechnic Institute, one of America’s great science and engineering schools, so I had a front-row seat as the first grads to receive their diplomas came on stage, all of them Ph.D. students. One by one the announcer read their names and each was handed their doctorate — in biotechnology, computing, physics and engineering — by the school’s president, Shirley Ann Jackson.

The reason I had to laugh was because it seemed like every one of the newly minted Ph.D.’s at Rensselaer was foreign born. For a moment, as the foreign names kept coming — “Hong Lu, Xu Xie, Tao Yuan, Fu Tang” — I thought that the entire class of doctoral students in physics were going to be Chinese, until “Paul Shane Morrow” saved the day......

Don’t get me wrong. I’m proud that our country continues to build universities and a culture of learning that attract the world’s best minds. My complaint — why I also wanted to cry — was that there wasn’t someone from the Immigration and Naturalization Service standing next to President Jackson stapling green cards to the diplomas of each of these foreign-born Ph.D.’s. I want them all to stay, become Americans and do their research and innovation here. If we can’t educate enough of our own kids to compete at this level, we’d better make sure we can import someone else’s, otherwise we will not maintain our standard of living...."

The article calls for  Congress to open "borders — as wide as possible — to attract and keep the world’s first-round intellectual draft choices in an age when everyone increasingly has the same innovation tools and the key differentiator is human talent."

I am not an expert in US immigration law, but the basic idea is to keep the best and the brightest immigrants in the country.  What about the laborers? Well, let the lawmakers debate about that. But the idea is, we also need them.

America is known to be "Land of Opportunity". It's up to the interpretation of people in the "Land of Smile" to get themselves shifted to "Land of Smile & Opportunity". 

  • เปิดผ่าน สไลด์โชว์ ดูๆ ไป เป็นสัญญานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณด้านประชากร  เทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงที่มาอย่างรวดเร็วจนเหมือนจะรับมือไม่ไหว
  • ข้อมูลบางอย่างมันไม่สมเหตุสมผล นำมาเปรียบเทียบโดยใช้ฐานข้อมูลพื้นฐาน เช่น คนจีน 1300 ล้าน จะเทียบ กับ 65 ล้านคน ได้ไง ลองสุ่มคนจีนมาซัก 65 ล้านคนดูสิ การเปรียบเทียบอย่างนี้ต้องพิจารณาด้วย จะเอาช้างมาสู้กับแมวมันก็กระไรอยู่ ลองให้ช้างตัวเท่าแมวดูสิ  
  •  ข้อมูลบิดๆ เบี้ยว ทำให้ เจ้าของบทความ ตื่นตูมมากไป หรือวิตกจริตเกินไปหรือเปล่า มันไกลเกินไป คิดจะไปดวงจันทร์เหมือนเขาเหรอ
  • กลับมามองไกล้ตัว คุณรู้หรือไม่ว่าเมื่อวานนี้ปลาตัวสุดท้ายที่หนองหมากแข้ง ถูกจับไปกินแล้ว คุณจะเตรียมการกับปัญหานี้อย่างไร?

 

คุณ hey jude: เป็นไปได้ว่าเจ้าของบทความวิตกจริตเกินไปครับ ถ้าสมมุติว่าเมืองไทยมีแต่คนดี มีศีลธรรม มีความสามารถ เป็นธรรมาธิปไตยในสาระ เป็นมหาอำนาจในทุกๆ ด้าน มีทรัพยากรไม่จำกัดและใช้อย่างรับผิดชอบ ก็คงไม่มีปัญหาใดๆ ต้องมาคิดหรอกครับ

การมองโลกในแง่ดี บางทีก็เป็น defense mechanism ในมุมหนึ่ง; จีนก็คือจีน อินเดียก็คืออินเดีย เราเปลี่ยนเขาให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เรื่องมันอยู่ที่ว่าเราจะวางตัวเองไว้ตรงไหน ซึ่งนั่นก็คือชื่อบันทึกไงครับ

ช้างไม่ได้สู้กับแมวครับ ช้างไม่เห็นแมวอยู่ในสายตาด้วยซ้ำไป ทั้งช้างและแมวกินอาหารกันคนละอย่าง แต่ถ้าโลกนี้กำลังจะเป็นโลกของช้าง มีแต่ช้างและอาหารช้าง แมวจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรครับ เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของช้าง แต่เป็นเรื่องความอยู่รอดของแมว ซึ่งแมวจะต้องหาทางออกเอาเอง และนั่นคือประเด็นของบันทึกครับ

ถ้าเมื่อวานนี้ปลาหมดไปจากหนองหมากแข้งแล้ว เพิ่งจะมาเตรียมตัว จะแก้ไขอะไรได้ครับ ในเมื่อมันหมดไปแล้ว ปัญหาเกิดแล้ว; ผมไม่รู้หรอกครับว่าหนองหมากแข้งอยู่ตรงไหน ในเมื่อคุณ hey_jude รู้ แล้วคุณทำอะไรไปบ้างล่ะครับ?

สวัสดีค่ะ

ในความเห็นของดิฉัน เจ้าของslidesด้านบน วิตกมากไป seriousไป เวอร์ไป อาจจะเป็นเจตนาจะกระตุ้นความตื่นตัวของคนกระมัง

คนเรา เกิดมาที่จะอยู่รอด เอาตัวรอด ไม่มีใครยอมงอมือ งอเท้าค่ะ

ในส่วนของประเทศเรา เรื่องเทคโนโลยี่สูงๆมากๆ คงไม่ต้องไปแข่งกับเขาหรอก  ของเราควรเป็นนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่นโยบายแข่งขันในเวทีโลก

น่าจะ focusในสิ่งที่เรามีอยู่+เทคโนโลยี่ระดับกลางก็จะไปได้ ซึ่งในด้านการบริการ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การแพทย์การพยาบาล    Long stay แบบต่างๆ ทั้งทางการพักผ่อนและการมาฝึกแบบจิตวิญญาณ เรื่องอาหารในรูปแบบต่างๆ  ตอนนี้ ก็จะมีSea food bank ออกมา คือการจัดสรรทรัพยากรชายฝั่ง ยังมีรายละเอียดอีกมากมายค่ะ พูดไม่หมดที่นี่

ญาติดิฉันทำ  Time sharing resort house  ที่ภูเก็ตและสมุย ขายmember ได้หมดอย่างเร็ว ชาวต่างประเทศทั้งนั้น   ตอนนี้ ไปขึ้นใหม่ที่เชียงใหม่ หัวใจอยู่ที่ทำเลและการออกแบบก่อน

เรื่องการศึกษาสำคัญมาก+การทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆค่ะ

ผมนั่งฟังเพลงของศิลปินญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ KITARO ฟังแล้วบอกได้แล้วว่าคนเอเซียมีอารยธรรมที่อิงกับจิตวิญญาณมากแล้วคำนึงถึงโลกมาก หากคุณฟังดีๆจะมองเห็นภาพย้อนไปเป็นพันปี โดยเขาจะเล่นโดยใช้เครื่องดนตรีจากทั่วโลก ฟังแล้วจินตนาการว่าลอยอยู่รอบโลก แล้วมีคอนเสริตครั้งนึงเขาเล่นที่อเมริกาการเล่นครั้งนั้นของเขาผมบอกได้เลยว่า เขาเหมือนกับเอาตะวันออกบรรจบกับตะวันออกจริงๆ รากของคนเอเซียคือความยิ่งใหญ่ในจิตวิญญาณครับไม่ใช่ร่างกายและสิ่งที่ใช้เหตุผลอะไรก็แล้วแต่มาพิสูจท์ว่ามันมีอยู่จริงในโลก ดังทฤษฎีของชาวตะวันตกซึ่งเขาถึงขนาดทำนายได้ว่าโลกจะแตกเมื่อไหร่ สุดยอด แล้วก็กลัวจนไม่อยากทำอะไรแล้วครับ เตรียมแสดงความเห็นแก่ตัวเต็มที่ครับไม่งั้นเดียวไม่รอดตาย (ขำกลิ้ง) แล้วจากสไลด์ที่ดู สนุกดีครับเสียเวลานิดเดียวเอง
ขอเน้นประโยคที่ว่า "โดยเขาจะเล่นโดยใช้เครื่องดนตรีจากทั่วโลก" สำหรับคุณ conductor ครับสำคัญครับ เหมือนกีตาร์กับระนาด บ้านเราครับเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง

เราอาจจะใช้ความพอเพียง ความรอบคอบ ความเรียบง่าย ความไม่โลภ เข้าช่วยให้ลูกหลานของเรามีชีวิตอยู่บนโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ครับ (ถ้าเราเลี้ยงดูลูกหลา่นของเราเป็น)

เราไม่ควรเพ้อเจ้อ อยากจะเป็นในสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ แต่ประเด็นในบันทึกนี้ถามว่า แล้วเราจะเป็นอะไรในศตวรรษที่ 21 ครับ -- ผมคิดว่าคำตอบที่ว่าเป็นเหมือนเดิม ไม่ดีพอครับ อนาคตของลูกหลานต้องดีกว่าเดิม แต่คำถามคืออย่างไร เพื่อที่จะรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

โลกเปลี่ยนไป อาจจะไม่เว่อร์เหมือนกับในสไลด์ แต่โลกก็จะเปลี่ยนไป ปลาที่ลอยตัวอยู่ในน้ำที่พัดไปทางซ้าย ก็จะไหลไปทางซ้ายทั้งตัวครับ ไม่ได้อยู่นิ่งในตำแหน่งเดิม

ในทัษนะของผมอนาคตของอะไรก็แล้วแต่ ผมจะมองที่รากของวัฒนธรรมก่อน ซึ่งตัวผมทำงานด้านการออกแบบ ก็จะหาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมซึ่งมีผมกับประชาชนในชาตินั้นๆ กรณีศึกษา มากที่สุดคือวัฒนธรรมจีน เกาหลี เและญี่ปุ่น ชึ่งนวัตกรรมต่างๆที่ประเทศเขาสร้าง ทำจะอิงกับรากเง้าของประเทศซะส่วนใหญ่ กระแสที่ว่าจะเกี่ยวพันกันหมด ทั้งเศษฐกิจ การเมือง ทิศทางของประเทศ คุณคงปฏิเสท ไม่ได้เลยว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งพวกนี้ทุกเวลา เราซึ่งเป็นคนในปัจจุปัน วัยที่มีแรงสามารถออกแแบบอนาคต แต่จริงๆแล้วอนาคตคือเยาวชนครับไม่ใช่เรา คนรุ่นต่อไปต่างหาก คนรุ่นเราเพียงแต่ทำอะไรก็ได้ที่ตอบสนองความเชื่อของเราในยุคนี้เท่านั้น กรณีสงครามฝิ่นที่จีนนี่เหตุการณ์เดียวตอบโจนยอะไรได้มากมาย ใช่ว่าประเทศเราไม่โดนผลกระทบน่ะครับ แต่ที่รอดมาได้เพราะความรู้จริงๆ ความรู้ทำให้เรารู้ทันโดยใช้เหตุและผล นี่ไงครับเรียนรู้อดีตเพื่อตอบอนาคตในสภาวะปัจจุบัน ความเข้มแข็งในสิ่งที่เป็นตัวของเราเองจะพาเราไปในสิ่งเราควรจะเป็น ความสับสน และไม่สามารถประยุกต์ชีวิตตามกระแสต่างๆของโลกนี่ต่างหากครับน่ากลัว และนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ ขอขอบคุณนวัตกรรมอินเตอรเน็ต ที่ทำให้โลกแคบลงจริง แต่ยิ่งแคบข้อมูลที่รับหรือส่งนี่ต้องพิจราณามากๆครับ
เงินกับฝิ่น เสพมากๆติดครับ (จากข้อมูลทางการแพทย์ สารจากฝิ่นใช้เป็นยาได้ครับ)

ก็พอเห็นประเด็นครับ

เมื่อเป็นเรื่องรากเหง้าของวัฒนธรรม เริ่มต้นด้วยการสะกดคำไทยให้ถูกก่อนดีไหมครับ แค่เอาใจใส่เล็กน้อยก็สามารถทำได้ถูกต้องแล้ว

เรื่องเงินกับฝิ่น ขออภัยที่ไม่เข้าใจครับ ใครเสพเงิน ใครเสพฝิ่น

ไม่มีเจตนาป่วนกระทู้น่ะครับ ผมซื่อจนสะกดอาจผิดพลาดได้ รู้สึกไงก็พิมพ์ยังงั้น ไม่ใช่ความเห็นที่มีชั้นเชิงคมคายอะไร ขออภัยครับ

โอ๊ะ ไม่เลยครับ ผมเห็นประเด็นเรื่องรากเหง้าของวัฒนธรรมจริงๆ ครับ เป็นเรื่องใหญ่ด้วย เพราะพื้นฐานความเข้าใจ อยู่บนบริบทของวัฒนธรรมเสมอๆ สิ่งที่วัฒนธรรมหนึ่งเห็นเป็นเรื่องสำคัญ อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจคิดว่าไม่เป็นประเด็น

ดังนั้นเรื่องที่ไม่ควรจะเป็นเรื่อง กลับอาจลุกลามใหญ่โตได้ครับ

ลืมอีกเรื่องครับ เสพฝิ่นมากก็ติดยาครับ ส่วนเสพเงินหรือใช้เงินมากๆก็ติดใจครับ เคลีียร์น่ะครับ

(คำว่า เคลียร์กับคำว่า กระจ่าง นีความหมายเดียวกันน่ะครับ) ดูทีวีมากไปหน่อยครับติดมาครับ เลิกยากครับ 

"ขอขอบคุณนวัตกรรมอินเตอรเน็ต ที่ทำให้โลกแคบลงจริง แต่ยิ่งแคบข้อมูลที่รับหรือส่งนี่ต้องพิจราณามากๆครับ" จากข้อความที่ 307011 ครับ
  • ขออนุญาตใช้ข้อความบางส่วน  สะกิดต่อมความคิดผู้คนที่ดงหลวงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท