ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy's adaptation model


ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy's adaptation model

 

 

ทฤษฎีการปรับตัวของรอย

        รอยได้ให้ความหมายของมนุษย์ว่า เป็นบุคคลเดียว ครอบครัว กลุ่ม องค์กร และชุมชนเป็นระบบการปรับตัวแบบองค์รวม (Holistic adaptation system) ระบบของมนุษย์เป็นทั้งหมดใน หนึ่งเดียวแสดงถึงพฤติกรรมการมีความหมายของมนุษย์ มีความสามารถในการคิด มีสติ และมีความหมายซึ่งจะมีการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลงคนและสิ่งแวดล้อมจะมีรูปแบบและมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก               

      ระบบการปรับตัวของบุคคลเป็นระบบเปิด ภายในมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา ( Roy, 1999) รอยมองว่า บุคคลประกอบด้วยกาย จิต และสังคม (Biopsychosocial being) มีความเป็นองค์รวม ( Roy, 1984 ) ไม่สามารถแยกจากกันได้เพื่อความปกติสุข หรือภาวะสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับระดับ  การปรับตัว (Adaptation level) ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบการปรับตัวของบุคคลอีกตัวหนึ่ง ระดับการปรับตัว ก็คือระดับหรือขอบเขตที่แสดงถึงความสามารถของบุคคลในการตอบสนองทางบวกต่อสถานการณ์หนึ่ง หรือเป็นผลจากการที่บุคคลตอบสนองต่อสิ่งเร้านั่นเอง ทั้งนี้ รอย ได้แบ่งระดับการปรับตัวออกเป็น 3 ลักษณะ (Roy, 1999) ได้แก่

1.ระดับการปรับตัวที่มีการผสมผสานกันได้ดี (Integrated level of adaptation)     

    หมายถึง ระดับของการปรับตัวที่โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย สามารถ    ทำงานประสานกันได้อย่างเหมาะสม ตอบสนองความต้องการของบุคคลได้ เช่น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ สามารถตอบสนองความต้องการของร่างกายได้ เมื่อมีเหตุการณ์ใด     เข้ามาสามารถยอมรับได้ บุคคลมีความมั่นคงในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมสามารถแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นอย่างเหมาะสมและขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นตามความเหมาะสมเช่นกัน

2.ระดับการปรับตัวที่อยู่ในระยะของการชดเชย  (Compensatory level of adaptation)   

      หมายถึง ระดับที่กลไกการควบคุมและกลไกการคิดรู้ถูกกระตุ้นการทำงานเพื่อ ที่จะให้เกิดกระบวนการปรับตัวอย่างผสมผสาน(Integrated)

3.ระดับการปรับตัวที่อยู่ภาวะอันตราย/ไม่ดี ( Compromised level of adaptation)    

        หมายถึง ระดับการปรับตัวที่ยังไม่เพียงพอที่จะไปถึงระดับของการปรับตัวที่ผสมผสานกันได้ดีและระดับการปรับตัวในระยะของการชดเชยทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวในระยะการปรับตัวที่ไม่ดีนี้ เมื่อสิ่งเร้าที่มากระทบนั้นอยู่ในขอบเขตความสามารถในการปรับตัวของบุคคล บุคคลจะสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าสิ่งเร้านั้นอยู่เหนือความสามารถของบุคคลจะเกิดการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งระดับความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคล จะมีลักษณะเฉพาะตัว และมีขอบเขตจำกัด แต่ถ้าหากบุคคลเคยประสบความสำเร็จในสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนแล้ว ขอบเขตระดับความสามารถในการปรับตัวจะกว้างขึ้นในสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคล้ายกันหากระดับการปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลสะท้อนกลับสู่ระดับการปรับตัวใหม่ เพื่อ ให้บุคคลนั้นอยู่ในสมดุลได้ต่อไปเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบทำให้ระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงการปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลของระบบโดยใช้กลไกการเผชิญปัญหา (Coping mechanism) เป็นกระบวนการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่บุคคลไม่ต้องคิด (Roy, 1984) การปรับตัวนั้นอาศัยกลไก ที่ทำงานประสานกัน 2 กลไก ได้แก่

1) กลไกการควบคุม (Regulator mechanism)    รอย  มองว่าเป็นกลไกการปรับตัวเพื่อตอบสนองโดยอัตโนมัติเพื่อรักษาสมดุลการทำงานของร่างกายในระบบต่างๆโดยอาศัยระบบประสาทของร่างกาย (Neural) สารเคมี (Chemical) และระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine) กระบวนการเผชิญปัญหาทำงาน จากการที่สิ่งเร้าทั้งจากภายนอกและภายใน ผ่านการรับความรู้สึก (Sense) เข้าสู่ระบบประสาท ระบบไหลเวียน และระบบต่อมไร้ท่อผ่านวิถีประสาท(Channel)โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติ (Automatic and unconcious responses) (Roy, 1984) และจะมีผลต่อกลไกการคิดรู้ด้วย

2) กลไกการคิดรู้ (Cognator mechanism)      รอย มองว่าเป็นกลไกการปรับตัวที่ทำงานผ่านทางกระบวนการการคิดรู้และอารมณ์ (Cognitive-emotive) มี 4 วิถีทาง ได้แก่ กระบวนการรับรู้หรือรับข้อมูล (perceptual and information processing) คือ กิจกรรมการเลือกรับข้อมูล เก็บรหัส (Coding) และจดจำข้อมูล (Memory) นั่นเอง ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ (Learning) จะเกี่ยวข้องกับการเลียนแบบ การได้รับรางวัลผ่านกระบวนการตัดสินใจ (Judgement) และการแสดงอารมณ์ (Emotion) (Roy, 1984) ตลอดจนกลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism) (Roy, 1999) แล้วเกิดเป็นพฤติกรรมตอบสนองออกมาการทำงานของกลไกลการควบคุมและกลไกการคิดรู้มีการทำงานร่วมกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ซึ่งตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรมการปรับตัว4 ด้าน ได้แก่  

 1.การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode)                

    ซึ่งรอย (Roy, 1999)    กล่าวว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางด้านร่างกายและสารเคมีที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องการทำหน้าที่และกิจกรรมของระบบอวัยวะโดยจะเป็นการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายของบุคคลเป็นการปรับตัวเพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงด้านร่างกาย (Physiologic integrity) ได้แก่ อากาศ น้ำ  อาหาร การออกกำลังกายและการพักผ่อน การขับถ่าย  การควบคุมภาวะสมดุลของร่างกาย ยังรวมถึงการทำหน้าที่ของกลไก    การควบคุม คือ การรับความรู้สึก สารน้ำ และอิเลคโตรไลท์ การทำหน้าที่ของระบบประสาทและการทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ เป้าหมายสูงสุดเป็นการปรับตัวเพื่อเข้าสู่สมดุลของร่างกาย    การประเมินพฤติกรรมการปรับตัวด้านร่างกายเป็นการประเมินพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายสามารถประเมินได้จากการสังเกต การวัด การตรวจร่างกาย  การตรวจพิเศษ  การสัมภาษณ์และการรายงานด้วยตนเอง มีรายละเอียดดังนี้

       1.1 ออกซิเจน (Oxygenation)

       1.2 โภชนาการ (Nutrition)

       1.3 การขับถ่าย (Elimination)

       1.4 การมีกิจกรรมและการพักผ่อน (Activity and rest)

       1.5 การป้องกันอันตรายของร่างกาย (Protection)

       1.6 การรับความรู้สึก (Sense)

       1.7 สารน้ำและอิเลคโตรไลท์ (Fluid and Electrolyte )

       1.8 การทำหน้าที่ของระบบประสาท (Neurological function)

       1.9 การทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine function)

2. การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน (Self-concept mode)                    

      ประกอบขึ้นจากความเชื่อ และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองในช่วงเวลาหนึ่ง เกิดขึ้นจากการรับรู้ในตนเองและจากปฏิกิริยาของบุคคลรอบข้าง (Roy, 1999) ซึ่งรอยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

2.1 อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย (Physical self)                        

    ซึ่งรอย(Roy ,1999) อธิบายว่า เป็นการประเมินตนเองด้านร่างกายของบุคคลอันประกอบด้วยคุณลักษณะทางด้านร่างกาย การมีเพศสัมพันธ์ ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย และลักษณะที่ปรากฏ รอย (Roy,1999) แบ่งเป็นด้านการรับความรู้สึกของร่างกาย (Body sensation) และด้านภาพลักษณ์ (Body image)  

  2.2 อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคล (Personal self )     

     รอย(Roy ,1999) กล่าวว่า เป็นการประเมินของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับลักษณะนิสัย ความคาดหวัง ความรู้สึกมีค่า การให้คุณค่า อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคลนี้ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงในตนเอง (Self consistency) ด้านอุดมคติของตนเอง (Self ideal) ด้านศีลธรรมจรรยาและจิตวิญญาณแห่งตน (Moral ethical spiritual self)

3. การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode)                 

    เป็นการปรับตัวเพื่อตอบสนองทางด้านความมั่นคงหรือได้รับการยอมรับในสังคม (Social integrity) เป็นการกระทำหน้าที่ตามความคาดหวังของสังคม เน้นบทบาทตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์หนึ่ง ๆ โดยบุคคลจะต้องปรับตัวตามบทบาทหน้าที่ตามที่สังคมคาดหวังไว้อย่างเหมาะสม หากไม่สามารถปรับตัวในด้านบทบาทหน้าที่ได้จะเกิดปัญหาคือการไม่สามารถแสดงบทบาทใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Ineffective role transition) การแสดงบทบาทไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง        (Role distance) ความขัดแย้งในบทบาท (Role conflict) และความล้มเหลวในบทบาท (Role failure) การแสดงบทบาทนี้จะสัมพันธ์กับความรู้สึกต่อบทบาทตามที่รอยได้แบ่งบทบาทของบุคคล ออกเป็น 3 ประเภท คือ

3.1 บทบาทปฐมภูมิ (Primary role)       

       บทบาทนี้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น บทบาทนี้เป็นไปตามการเจริญเติบโตของบุคคลหรือขั้นพัฒนาการแต่ละวัย เช่น บทบาทการเป็นเด็กวัยเรียน บทบาทในการเป็นผู้สูงอายุ

3.2 บทบาททุติยภูมิ (Secondary role)      

   เป็นบทบาทที่สัมพันธ์กับบทบาทปฐมภูมิ บุคคลหนึ่งอาจมีบทบาททุติยภูมิได้หลายบทบาท ทั้งบทบาทในครอบครัว เช่น บทบาท การเป็นบุตรของบิดามารดา บทบาทการเป็นพี่หรือเป็นน้อง และบทบาทตามอาชีพ เช่น บทบาทการเป็นพยาบาล บทบาทการเป็นครู บทบาทการเป็นนักศึกษาพยาบาล

3.3 บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role)       

   เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้นได้รับบทบาทนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระยะเวลาและระยะพัฒนาการของบุคคล เช่น บทบาทการเป็นผู้ป่วย บทบาทการเป็นประธานการประชุม เป็นต้น     ทั้งนี้ บทบาทจะประกอบไปด้วยพฤติกรรมของบุคคล 2 พฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการกระทำ (Instrumental behavior) และพฤติกรรมความรู้สึก (Expressive behavior)   

4. การปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence mode)    

     เป็นการปรับตัวเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคมเช่นกันเป็นการตอบสนองต่อความต้องการที่จะมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลการให้ได้รับความรัก ความห่วงใย ก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย หากปฏิบัติตัวหรือปรับตัวไม่เหมาะสมจะเกิดการพึ่งพาผู้อื่นไม่เหมาะสม(Dysfunction dependence) และการพึ่งพาตนเองไม่เหมาะสม (Dysfunction independence) แต่โดยปกติแล้วบุคคลจะพยายามพึ่งพาตนเองและผู้อื่นภายในขอบเขตที่เหมาะสมและสังคมยอมรับ         มีการรับและให้ความเอาใจใส่ดูแล พึ่งพาอย่างสม่ำเสมอ มีปฏิสัมพันธ์และการอยู่คนเดียวอย่างเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวด้านนี้ที่มีความเหมาะสม  ซึ่งรอย ( Roy,1999) แบ่งการประเมินออกได้ดังนี้                                              

  4.1 บุคคลสำคัญ ( Significant other )       

       เป็นการประเมินความรู้สึก ความผูกพัน สัมพันธภาพ และการช่วยเหลือกันระหว่างผู้รับบริการกับบุคคลที่มีความหมายต่อชีวิต                                               

 4.2 ระบบสนับสนุน ( Supporting system )       

       ประเมินความรู้สึก ความผูกพัน การช่วยเหลือระหว่างผู้รับบริการกับครอบครัว เครือญาติ เพื่อนร่วมงาน            

        รอยให้คำจำกัดความของสิ่งแวดล้อม โดยยึดตามทฤษฎีของเฮลสัน ที่กล่าวว่า        การปรับตัวเป็นการทำงานของระดับการเปลี่ยนแปลงระดับและระบบการปรับตัวของนุษย์รอยมองว่า สิ่งแวดล้อม เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสภาพการณ์ ที่ล้อมรอบตัวบุคคลทั้งภายในและภายนอกบุคคล มีผลกระทบต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล (Roy, 1999) สิ่งแวดล้อมถือเป็นปัจจัยนำเข้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจะกลาย เป็นสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้บุคคลเกิดการปรับตัว โดยจำแนกสิ่งเร้าออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli)     คือ สิ่งเร้าทั้งจากภายนอกและภายในที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้นมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการปรับตัวมากที่สุดทำให้ต้องมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้น  สิ่งเร้าเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม เช่น การเจ็บป่วยขณะนั้น

2.สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli)    คือ สิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น นอกเหนือจากสิ่งเร้ามีผลมากระทบบุคคลเช่นกัน เป็นได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งถ้ามีผลในทางบวกจะช่วยลดอิทธิพลของสิ่งเร้าตรงหรือช่วยลดความรุนแรงได้แต่ถ้ามีผลในทางลบจะทำให้อิทธิพลของสิ่งเร้าตรงมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้นจะทำให้บุคคลปรับได้ยากเพิ่มขึ้นโดยอาจจะมีผลเป็นตัวเสริมต่อสิ่งเร้าตรง สิ่งเร้าร่วมเหล่านี้ เช่น เพศ การศึกษา สัมพันธภาพ รายได้ของครอบครัว เป็นต้น

3.สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli)     คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในระบบบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ หรืออาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีต เช่น นิสัย ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพ เป็นต้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 115432เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
วิลาวัณย์ อุ่นเรือน
เข้ามาอ่านและมาชื่นชมค่ะ คนอะไรเก่งจัง  จะแอบหยิบยืมไปใช้บ้างนะคะ  ตอนนี้อบรมเฉพาทางอ่านหนังสือไม่จำเพราะอายุมากค่ะ(ไม่บอกว่าแก่นะคะ)  มาให้กำลังใจเขียนงานต่อไปและผลิตผลงานดีๆมาให้อ่านค่ะค่ะ
so surprise!!!....my good friend....กะลังต้องการเลยจ้า...ด้วยผลบุญนี้ขอให้เบนโกะจบโทไวๆเน้อ...(อย่าลืมลากชั้นไปด้วย..อิ๊อิ๊)....สาธุ!!!!

ก็กำลังเล่าเรียนเจริญรอยตามพี่นะคะ ก็ขอชื่นชมและขอบคุณที่มาของข้อมูลของพี่ที่ช่วยทำให้งานน้องสำเร็จไปด้วยดีค่ะ

ด้วยอานุภาพแห่งการทำบุญด้วยจิตศรัทธาขอให้พี่ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกด้านค่ะ

ขอทฤษฎีของกอร์ดอนมีมั้ยคะ

มีทฤษฎีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรของวัตสันมั้ยคะ

ขอบคุณค่ะที่นำมาลงเป็นความรู้ที่ดี

ขอบคุณค่ะที่นำความรู้ดีๆแบบนี้มาลง

เป็นพยาบาลใกล้เกษียณ แต่สนใจการศึกษาเพิ่มเติม พอเข้ามาจึงพบว่าทั้งหมดคือความรู้ที่แท้จริง ขอบคุณมากนะคะ ขอให้ได้บุญได้กุศลมากๆ

อยากได้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ด้านอัฒมโนทัศน์ของบุคคลน่ะค่ะ เพราะตอนนี้ทำวิจัยเกี่ยวกับการปรับตัวโดยยึดตามหลักของรอยด์น่ะค่ะ

บุญญรัตน์ ฐานะรุ่งเรืองเลิศ

ขอทฤษฎีTransitionalหน่อยได้ไหมค่ะ ถ้าได้จะขอบพระคุณยิ่งค่ะ

สรุปเนื้อหาได้ดีค่ะ

อยากทราบความรู้เกี่ยวกับ Meleis's transition Theory ค่ะ

มีเคสตัวอย่างที่นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ไหมค่า

หนูเดือดร้อนต้องการมากเลยค่ะ

ต้องใช้ข้อมูลในการทำงานพอดีเลย ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาเผยแพร่ค่ะ

ขอบคุณที่นำความรู้มาเผยแพร่ การนั่งทำงานที่บ้านก็สามารถมีห้องสมุดที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปมหา'ลัย หาหนังสืออ่าน มีค่าใช้จ่าย ค่ารถ ค่าเดินทาง เวลา แต่งตัว อยู่ที่บ้านก็มีความรู้ได้ระดับหนึ่ง

ขอบคุณนะคะ กำลังคิดว่าขอนำแนวคิดไปใช้บ้าง

ขอขอบคุณที่แบ่งปันความรู้นะคะ

ขอขอบคุณนะค่ะ ที่นำความรู้ดีๆๆๆๆมาให้เรียนรู้ เรากำลังเรียนอยู่เลย

อยากได้ข้อวิจารณ์น่ะค่ะ

คือว่าจะทำรายงาน

วิชานี้ยากมากเรยครับ

ผมเรียนแล้วสอบมาหลายรอบแล้ว ยากที่จะทำความเข้าใจมากเรยครับ

ขอบคุณมากๆคร่า

อยากได้กรณีศึกษา สิ่งเร้าตรง สิ่งเร้าร่วม และสิ่งเร้าแฝงค่ะ ตอนนี้เครียดมาก กำลังเรียนอยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ขอยืมไปใช้นะคะ กำลังทำ C6 ค่ะ

ขอบคุณค่ะ กำลังค้นหาแบบย่อๆ เพื่อนำไปสอนน้องพยาบาลใน รพ. 

สาธุ ในความดีครั้งนี้

ขออนุญาติแชร์บทความ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฏีของรอยด้วยคนนะคะ เพื่อจะมีประโยชน์บ้าง

ผู้รับบริการประกอบด้วยชีวะ จิต สังคม และมีระบบการปรับตัวเป็นองค์รวม ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อรักษาภาวะสมดุลของระบบต่างๆไว้ การมีสุขภาพดีขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมีการปรับตัวได้ดี ส่วนการเจ็บป่วยจึงเป็นผลจากการปรับตัวไม่ดี ซึ่งการปรับตัวของบุคคลจะ ขึ้นอยู่กับ ระดับความรุนแรงของสิ่งเร้ากับระดับความสามารถในการปรับตัวของบุคคลนั้นๆ ส่วนสิ่งแวดล้อมมักหมายถึงสิ่งเร้าผลกระทบต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคลซึ่งประกอบด้วย สิ่งเร้าตรง สิ่งเร้าร่วม และสิ่งเร้าแฝงสำหรับการพยาบาลจะมีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมให้มีการปรับตัวที่เหมาะสม และการจัดการสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุเพื่อให้บุคคลมีภาวะสุขภาพทีดีและคุณภาพชีวิตมโนทัศน์หลักของทฤษฎีที่ว่า บุคคลเป็นระบบการปรับตัว (Human as Adaptive System)ที่มีกระบวนการที่ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้าสู่คือสิ่งเร้า และระดับการปรับตัว (Adaptive Level) ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่1) ระดับการปรับตัวที่มีการผสมผสานกันได้ดี (Integrated level of adaptation)2) ระดับการปรับตัวที่อยู่ในระยะของการชดเชย (Compensatory level of adaptation) และ 3) ระดับการปรับตัวที่อยู่ภาวะอันตราย/ไม่ดี ( Compromised level of adaptation)

และกระบวนการคือกลไกการควบคุม ที่ทำงานประสานกัน 2 กลไก ได้แก่1) กลไกการควบคุม (Regulator mechanism) และ 2) กลไกการคิดรู้ (Cognator mechanism)

สำหรับกรณีศึกษานี้ยังมีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม คือ มารดาไม่สามารถปรับตัวต่อการดูแลผู้ป่วยใกล้ตายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งพยาบาลสามารถนำทฤษฎีการปรับตัวของรอยในการดูแลผู้ป่วย ก็จะทำให้มารดาและผู้ป่วยมีการปรับตัวที่เหมาะสมมากขึ้น และการจัดการสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหานี้ได้ ซึ่งสามารถใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและมารดาในการแก้ปัญหานี้ได้ ดังนี้

ขั้นที่ 1 Assessment

ประเมินพฤติกรรมผู้ป่วย

ด้านร่างกาย : ผู้ป่วยซูบผอม สีหน้าไม่สดชื่น จากความเครียด

ด้านอัตมโนทัศน์ : ตนเองมีสภาพใกล้ตาย ตนเองมีภาพลักษณ์ด้านร่างกายที่เปลี่ยนไปจากก่อนเจ็บป่วย อายไม่อยากให้เพื่อนเข้าเยี่ยม

ด้านบทบาทหน้าที่ : คิดว่าตนมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ เป็นผู้ที่พ่อแม่ต้องดูแล

ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน : ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากครอบครัวเป็นอย่างดี

การประเมินสิ่งเร้า

สิ่งเร้าตรง คือ พยาธิสภาพของโรค และการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

สิ่งเร้าร่วม คือ ความเครียดจากการปรับเปลี่ยนบทบาทและคิดว่ามารดายังยอมรับการเจ็บป่วยของตนยังไม่ได้

สิ่งเร้าแฝง คือ ยังไม่มีประสบการณ์ต่อการเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย

ขั้นที่ 2 Nursing Diagnosis

มารดาไม่สามารถปรับตัวต่อการดูแลผู้ป่วยใกล้ตายได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนบทบาทการเป็นผู้ป่วยใกล้ตายได้

ขั้นที่ 3 Nursing Plan

มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว คือ การส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวในการดูแล และการยอมรับสภาพการเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย เพื่อให้ผู้ป่วยจากไป

อย่างสงบ

ขั้นที่ 4 Nursing Intervention

มุ่งเน้นการจัดการกับสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหา โดยมุ่งเน้นการจัดการกับความเครียด ซึ่งจะแก้ไขทั้งการจัดการกับอารมณ์ โดยเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก การรับฟังอย่างตั้งใจ และการยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การดำเนินของโรค การทำความเข้าใจกับสภาพการเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย

ขั้นที่ 5 Evaluation

ประเมินว่า ผู้ป่วยและครอบครัว สามารถในการปรับตัวในการดูแล และการยอมรับสภาพการเป็นผู้ป่วยใกล้ตาย และการจากไปอย่างสงบของผู้ป่วย หากยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ให้กลับไปขั้นประเมินใหม่อีกครั้ง จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

จะเห็นได้ว่าการประยุกต์ทฤษฎีการปรับตัวของรอยในการพยาบาลผู้ป่วยและครอบครัว ก็จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้ศักยภาพของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีอยู่ ทำให้รู้สึกเกิดความมีคุณค่าในตนเอง

อยากทราบแหล่งที่มาของทฤษฎี

ขอบคุณครับ

ทฤษฎีทำให้เข้าแนวคิดจากผู้ที่คลุกคลีและศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวโดยตรง

ขอบคุณมากๆๆๆเลยนะคะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ

ขออนุญาตินำข้อมูลไปอ้างอิงในการทำงานวิจัยต่อไปนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท