อัตตาและอารมณ์


. . . หยุดยึดติด “อัตตา” และการใช้ “อารมณ์” กันเถอะ. . .

         ผมพบบทความที่ภรรยาตัดเก็บไว้ เข้าใจว่าน่าจะมาจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก อย่างน้อยๆ ก็ 4-5 ปีมาแล้ว เป็นคอลัมน์ "คิดทางขวาง ของ พ.ญ. พรทิพย์ โรจนสุนันท์" ท่านเขียนไว้ดังนี้:

         . . . หมอสังเกตว่า สัมคมไทยมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับความขัดแย้งไปในทางไม่สร้างสรรค์ ทั้งๆ ที่ความขัดแย้งเกิดมาจากการคิดไม่ตรงกัน ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่เดิม

         ความจริงถ้ารู้จักใช้ความแตกต่างทางความคิดไปในทางสร้างสรรค์ก็จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการพัฒนาการที่ดี แต่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงมีปัญหาในการรับฟัง หรือยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

         ปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้เกิดปัญหาในการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างคือ คำสองคำ “อัตตา” และ “อารมณ์”

         “อัตตา” คือตัวตน ผู้คนส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจในหลักธรรมจะยึดมั่นถือมั่นในคำๆ นี้มาก ใครจะว่า จะติติงก็มักจะไม่ชอบ ถ้าหนักหน่อย ก็คือ พวกที่ทนไม่ได้แม้เพียงการแสดงความคิดเห็นแตกต่างไป

         คนไทยนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเน้นการละวางอัตตามากกว่าศาสนาใดๆ แต่กลับพบว่า คนไทยมีปัญหากับการยึดติดอัตตามากที่สุด ไม่ว่าจะในสังคมใด ที่เห็นได้ชัดจนอาจทำให้เอือมระอา คือ การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง

         หมอไม่เห็นระบบการเมืองของประเทศที่เจริญแล้ว เขาขัดแย้งกันเหมือนของไทยเลย ตั้งแต่หมอพอจะเข้าใจระบบการเมือง ก็ดูจะพบว่า ถ้ารัฐบาลเอาอย่างนี้ ฝ่ายค้านจะว่าอีกอย่าง เป็นปฏิปักษ์ต่อกันอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่บางครั้ง เมื่อเดิมทีก็เป็นนโยบายของฝ่ายตนเป็นผู้เริ่มต้นเอาไว้

          วิธีเช่นนี้ บ้านเมืองจึงไม่ค่อยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเท่าไหร่เลย

          คำอีกคำ ที่ดูจะแสดงออกกันบ่อยขึ้นคือ “อารมณ์” เจ้าอารมณ์นี้มาเมื่อไหร่ไม่ใช่สิ่งดีแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม และยิ่งมาบวกกับการยึดมั่น “อัตตา” ด้วยแล้ว คงยากที่จะไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงตามมา

          ลำพังแค่คำว่า “อารมณ์” ก็จัดการได้ค่อนข้างยากอยู่แล้ว พอมาเจอกับ “อัตตา” เข้าล่ะก็สถานการณ์จะดูหนักทีเดียว

          การยอมรับว่า ความขัดแย้งกันทางความคิดเป็นสิ่งปกติ ซึ่งหากไม่เอาคำสองคำเข้าไปใช้จะช่วยแก้ปัญหาในสังคมได้หลายอย่าง ผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทุกฝ่าย ควรใช้สติ และปัญญาในการให้ความเห็น มิใช่เอาเรื่องของอัตตา และอารมณ์มากระตุ้น

         โครงการหลายอย่างที่เป็นเรื่องดีต่อประชาชนไทยไม่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ถูกเปลี่ยนแปลงจนผิดเจตนา มักเกิดมาจากความขัดแย้งเช่นนี้

         หากทุกฝ่ายนึกถึงส่วนรวมให้มากเข้าไว้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะเป็นสิ่งสร้างสรรค์ต่อสังคม

         หยุดยึดติด “อัตตา” และการใช้ “อารมณ์” กันเถอะ

 

เห็นด้วยกับผมไหมครับว่าบทความนี้เป็นสิ่งที่ทันสมัยใช้ได้กับเหตุการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แม้คุณหมอจะเขียนไว้หลายปีแล้วก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 218855เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มายกมือ เห็นด้วยค่ะ อาจารย์

สวัสดีครับครูอ้อย เข้ามาเร็วมากเลยครับ สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ

เห็นด้วยกับอาจารยืค่ะ เหตุการณ์ขณะนี้ทำให้รู้สึกหดหู่ใจบ่อยๆค่ะ

สวัสดีครับ

  • ใช่ครับ ง “อัตตา” และ “อารมณ์” เป็นสิ่งที่พึงลดละและควบคุมไม่ให้ออกฤทธิ์มากเกินไป
  • ถ้ไล่ไปอีกชั้น ทั้งอัตตา และอารมณ์ ต่างก็มีกิเลสสามกองเป็นแรงขับครับ

เห้นด้วยค่ะ

ช่วงนี้ ไม่ดูข่าวทีวีเลย อ่านหนังสือพิมพ์ อาทิตย์ ละ 1-2 ครั้ง

กังวล แต่ พยายามไม่ทุกข์ ล่วงหน้าค่ะ

มายกมือเห็นด้วยค่ะ

อัตตา และ อารมณ์ ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรค่ะ ถ้าเราไม่ "ยึดมั่น" มันเอาไว้เหนียวแน่น

เข้าใจว่าบทความนี้ต้องการโยงคำว่า "อัตตา" และ "อารมณ์" เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง

ดิฉันเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเดียวกันหรือต่างฝ่ายกันก็ย่อมมีความคิดต่างกันได้ แต่ถ้าทุกฝ่าย

- มีความจริงใจ

- ซื่อสัตย์กับตัวเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

- ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง

- ไม่คอรัปชั่น

- ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย

เชื่อแน่ว่าบ้านเมืองสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงยั่งยืนแน่นอนค่ะ

แต่ทุกวันนี้อาจจะเป็นเพราะ "อัตตา" ของผู้ที่ชอบอ้างตัวว่าเป็นกลางมากกว่าที่ทำให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้

ขอให้ดูจากประวัติหรือพฤติกรรมที่ผ่านมาของตัวบุคคลว่าที่ผ่านมา ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม หรือสร้างภาพให้กับตัวเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท