ชีวิตนี้มีอะไรให้เราได้ฝึก “ดูใจ” ตลอดเวลา


ในตอนนั้นไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมา ผมก็รู้ดีว่านี่คือช่วงเวลาสำหรับการฝึก “ดูใจ” . . . ชีวิตนี้มีอะไรให้เราได้ฝึก “ดูใจ” ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมที่จะฝึกฝนหรือเปล่าเท่านั้นเอง!!

         สองสามวันที่ผ่านมานี้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย . . . หลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามที่ ใจปรารถนา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มีค่า เพราะทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการฝึกตาม ดูใจ

         เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ (ที่ผ่านมา) ผมได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งให้ไปเล่าเรื่อง KM ให้นักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกฟัง รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 ตอนรุ่นแรกผมก็เคยไป ปูพื้น เรื่องเดียวกันนี้ไว้ แต่สิ่งที่ไม่ค่อยจะพอใจในตอนนั้นก็คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ Notebook ในขณะที่ฟังบรรยาย เป็นการทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้การเรียนรู้ (การฟัง) ไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นตอนที่ผมรับปากว่าจะไปบรรยายในรุ่นที่ 2 นี้ ผมจึงต้องกำชับกับทั้ง ผอ.หลักสูตร กับอาจารย์เจ้าของวิชา และแม้แต่เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อประสานมาว่าขอให้ช่วยบอกนักศึกษาด้วยว่าอย่าเพิ่งใช้ Notebook ในขณะที่กำลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่เลย

         แต่พอถึงวันสอนจริงๆ ปรากฏว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องดังกล่าว หากแต่ว่ากลับมาเจอปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า นั่นก็คือในบรรดานักศึกษา 28 คน ผมเพิ่งได้ทราบตอนเช้าวันนั้น ในขณะที่รอสอนว่า วันนี้พอดีนักศึกษาบางส่วน (11 คน) ติดการสอบวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่ง บังเอิญ มากำหนดไว้ตรงกันพอดี ตอนก่อนที่จะสอนได้ยินแต่คำพูดว่า เสียดาย ซึ่งใน ความคิด ของผม ไม่รู้จะพูดกันไปทำไมให้ เปลืองน้ำลาย เพราะแท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ จัดการ ได้ ไม่ใช่มาพูดเสียดายในตอนนี้ วันนั้นกว่าได้ได้เริ่มเข้า Class กันก็ประมาณ 9.20 น. ตอนนั้นมีนักศึกษาแค่เพียง 4-5 คน ซึ่งคงไม่ต้องบอกก็ได้ว่าผมต้องใช้ วิทยายุทธ์ ที่ได้ฝึกฝนมาบ้างแล้ว ซึ่งก็คือการ ยอมรับแล้วกลับมาดูที่ใจ นั่นเอง

         ในบรรดานักศึกษาที่มาร่วมเรียนรู้กันในวันนั้น แต่ละท่านถือว่าคุณภาพค่อนข้างจะ คับแก้ว เลยทีเดียว ซึ่งถึงแม้จำนวนจะน้อย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ คุณภาพ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้อยไปแต่อย่างใด หากแต่ลื่นไหลไปได้ด้วยดี มีรสชาติ มีบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้ได้ดีทีเดียว และที่ดีกว่านั้นก็คือเมื่อเวลาผ่านไปก็มีผู้ทยอยเข้ามาเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะหมดเวลา (ซึ่งผมขอต่อเวลาไปจนถึงเวลา 12.30 น.) ก็มีนักศึกษาจำนวนกว่าสิบคน แต่ละคนล้วนตั้งคำถามและมีข้อแนะนำที่ ต่อยอด การเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ นี่ถ้าผม เบรคแตก ไปเสียตั้งแต่แรก ผมก็คงพลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไป

         วันรุ่งขึ้นเป็นวันอาทิตย์ ผมต้องเดินทางไปเวียงจันทร์ เพราะได้รับการติดต่อจากคณะกรรมการลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) ให้ไปบรรยายเรื่อง KM ให้กรรมการจากสี่ชาติอันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียตนาม และเขมร ฟัง ตั้งแต่ตอนที่ MRC มาติดต่อที่ สคส. ผมเคยบอกไปแล้วว่า ถ้าจะให้ได้ผล ไม่ควรจัดในลักษณะการประชุมสัมมนา แต่น่าจะจัดในลักษณะ Workshop 2-3 วัน จะได้ผลดีกว่ามาก แต่ในที่สุดด้วยข้อจำกัดด้านเวลา เขาบอกว่าสามารถจัดได้แค่วันเดียว และช่วงที่ผมบรรยายก็คงจะได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

  

             ภาพบรรยากาศของงานสัมมนา "An Introduction to Knowledge Management and Focus Groups" 

         งานที่เวียงจันทร์นี้ ตอนแรกผมเข้าใจว่า เขาคงจะเลื่อนไปแล้ว เพราะไม่ได้รับการติดต่อประสานเพื่อยืนยันแต่อย่างใด แต่พอใกล้ๆ วันงานเพียงแค่ 4 - 5 วันก่อนวันงาน เขาก็ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ผมค่อนข้างจะฉุกละหุกพอสมควร ผมไปงานนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับงานเลย ทราบแต่เพียงว่าผู้ที่เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากประเทศภาคีทั้งสี่ประเทศๆ ละ 4-5 คน ส่วนกำหนดการก็ทราบเพียงคร่าวๆ จากการพูดคุยกันว่า ผมจะบรรยายในตอนเช้าเป็นการให้หลักการ และ Introduction ส่วนตอนบ่ายจะเป็นทีมอาจารย์ (ฝรั่ง) จาก AIT มาพูดเรื่องหลักสูตร Certified Professional Development และ Capacity Building in KM ที่ทาง AIT จะทำให้กับ MRC

         พอถึงเช้าวันนี้ตอนที่ผมเข้าห้องสัมมนา ผมก็เพิ่งจะพบว่าช่วงเวลาที่ผมจะพูดจริงๆ นั้นถึงแค่ 10.30 น. เท่านั้น เพราะมีกำหนดการอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทำเอางงไปเหมือนกัน เพราะถ้าผมรู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะพูดได้แค่ชั่วโมงกว่าๆ ก็คงจะไม่ตัดสินใจมา เพราะรู้สึกว่าเสียเวลา ไม่น่าจะคุ้มค่ากับการเดินทางเลย แต่ในตอนนั้นไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมา ผมก็รู้ดีว่านี่คือช่วงเวลาสำหรับการฝึก ดูใจ . . . ชีวิตนี้มีอะไรให้เราได้ฝึก ดูใจ” ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมที่จะฝึกฝนหรือเปล่าเท่านั้นเอง!!

หมายเลขบันทึก: 245918เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เรียน ท่าน อาจารย์

  • หลายสถาบัน จัด เพื่อให้ได้ตาม KPI
  • แต่หัวใจ
  • ไม่ได้ตั้งใจ ครับ

ขอบพระคุณ่สำหรับข้อคิดดีๆ ค่ะ

เป็นเรื่องเล่าที่ทรงคุณค่ามากเลยค่ะ สำหรับกะปุ๋ม...

ทำให้ต้องน้อมกลับมาที่เรื่องราวของตนเอง..และสภาวะใจที่เรียนรู้ขณะรับฟังผ่านการอ่านเรื่องเล่านี้ของอาจารย์... การเดินทางทำให้กะปุ๋มต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมายที่ผ่านเข้ามากระทบ แต่สิ่งหนึ่งที่จัดว่าเป็นโอกาสอันมีค่าที่หาได้ยาก คือ การเรียนรู้ที่จะทำให้สิ่งที่มากระทบนั้นไม่กระเทือนใจเรา...

ประสบการณ์ในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ กะปุ๋มจะน้อมนำบอกตนเองเสมอว่า... เป็นความโชคดีที่มีโอกาสได้เจอขณะที่เราเป็นมนุษย์ เพราะหากเราไม่เจอเรื่องราวมากระทบ เราจะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เลยว่าเราเจริญมากขึ้นหรือถดถอยเพียงใด... ปัญญาเราได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากสภาวะจิตที่ละเอียดมากน้อยเพียงใด กะปุ๋มจึงมักรู้สึกว่าเรื่องราวและบุคคลต่างๆ นั้นเป็นครูที่เข้ามาสอนให้เรียนรู้และเข้าใจ"ธรรม"ชาติมากยิ่งขึ้นค่ะ

จำนวนคน หรือรายละเอียดของเรื่องราวไม่ได้มีค่าไปมากกว่าการที่กะปุ๋มได้เข้ากระโดดร่วมไปเรียนรู้ และทุกสิ่งนั้นต่างดีและพิเศษเสมอ แม้ว่าบางครั้งคนที่นั่งฟังเราเพียงหนึ่งคน ยังมีคุณค่ามากกว่าอีกหลายสิบคนที่เดินจากเราไป...

ขอบพระคุณสำหรับเรื่องเล่าที่มีค่านี้มากค่ะ

(^___^)

กะปุ๋ม

สวัสดีครับ ท่าน ดร.ประพนธ์

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดดังกล่าวและผมคิดว่าสัจธรรมยังก้าวไปสู่เบื้องหน้าเสมอ

นพรัตน์สิงขร

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ที่เคารพ ครับ

ต้องกราบขอโทษอาจารย์สำหรับเรื่องวันเสาร์ด้วยครับ แต่อย่าเพิ่งเสียใจเลยนะครับ

ถึงแม้จะขาดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนของนศที่มีความรู้กลุ่มใหญ่ไป

แต่จากที่ท่านอาจารย์ได้ มาอบรมในวันนั้นเป็นประโยชน์มากครับ

นอกจากนี้ ผมได้ยินว่ามีการบัยทึกการสอนในวันนั้นและแจกให้เพื่อนที่ไม่ได้เข้าครับ

แต่ตัวผมเองยังไม่ได้ กำลังคอยตามบันทึกอยู่ครับ ผมเองก็ได้บอกกับเพื่อนๆ หลายคนว่าเป็นclassที่ไม่ควรพลาดเลย ผมใช้คำว่า "หากผมไม่ได้เรียนclassนี้ ผมขอลงทะเบียนวิชานี้ใหม่ดีกว่า" ซึ่งผมพูดจากใจนะครับ ผมชอบสไตล์อาจารย์สอนครับ

เพราะว่า เรื่องแบบนี้ หากไม่กระทุ้งกันแรงๆ ไม่ค่อยจะรู้สึกจริงๆครับ แม้กระทั่งคนที่พยายามฝึกดูตัวเองอยู่แล้ว บางทีก็ต้องการการกระทุ้งซึ่งจะช่วยให้มีสติมากขึ้นครับ

จะขออนุญาตคอยติดตามผลงานเขียนของท่านอาจารย์นะครับ

ขอบคุณครับ

เ รียนอาจารย์หมอ JJ . . . รูปดอกทานตะวันที่ส่งมา มีรูปคนขาวๆ ดำๆ เขาทำอะไรกันครับ ??

สวัสดีครับอาจารย์โสรจ . . . ขอบคุณสำหรับ Comment ที่สร้างกำลังใจในเ ช้านี้ . . . ถึงแม้ผมจะหงุดหงิดใจอยู่บ้างในวันนั้น แต่ลึกๆ แล้ว "ประทับใจ" นักศึกษาหลายๆ ท่าน . . . เป็นวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ถือว่าดีทีเดียวครับ

ดร.กะปุ๋ม ทำให้ผมได้คิดอีกแล้วครับว่า่ . . . ถ้ากระทบ แล้วไม่กระเทือน VS. กระทบ แล้วกระเทือน แล้วรู้ . . . เอ๊ อย่างไหนจะได้ฝึกมากกว่า?? ถามมาเล่นๆ เท่านั้นครับ ถ้าเข้าใจไม่ตรงกัน ก็อาจจะเป็นเพราะ "ภาษา" ครับ

ขอบคุณ คุณชาดา ~natadee วันที่ 16 นี้เจอกันที่ ม.พายัพนะครับ

ขอบคุณ คุณนพรัตน์สิงขร ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนครับ

  • ฝึกตามจิต ดูใจทำได้ทันทีที่รู้ตัวค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์

  • คนดำ-ขาว เขาโสกัน Dialogue กลางป่าครับ

ขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์

เจอกันที่สนามบินเช้าวันที่ 16 นะคะ  ชาดาไปรับท่านเองค่ะ

ส่งหนังสือเชิญพร้อมกำหนดการให้ท่านทาง EMS แล้วนะคะ

 

ถ้ากระทบ แล้วไม่กระเทือน VS. กระทบ แล้วกระเทือน แล้วรู้

ดีจังเลยค่ะอาจารย์ ... ทำให้กะปุ๋มฉุกคิดด้วยเช่นกันค่ะ...

อันไหนฝึกได้มากกว่านี้...ไม่แน่ใจค่ะ แต่ทำว่าก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งสองแบบค่ะ ขึ้นกับทุนเดิมทางปัญญาของแต่ละบุคคลค่ะ

ไม่ว่าจะแบบแรกหรือแบบสองต้องผ่านการรู้... เพราะหากไม่รู้แล้วจะไม่สามารถจัดสภาวะสู่ความไม่กระเทือนได้... ก่อนที่จะกระทบแล้วไม่กระเทือนนั้น บางคนต้องผ่านสภาวะกระเทือนแล้วรู้ และเป็นรู้ที่เป็นปัญญาแจ้งนะคะ... หากไม่แจ้งก็จะยังวนอยู่เช่นเดิม แต่ฝึกฝนไปเรื่อยๆ ... กระทบปุ๊บรู้ปั๊บ ดับปุ๊บ.. ช่วงกระเทือนจึงหดสั้นลดสั้นลงไปเรื่อยๆ... จนเหลือแต่รอยของความไม่กระเทือนค่ะ...

ด้วยความเคารพค่ะ

(^__^)

กะปุ๋ม

เรียน ท่านประพนธ์ ที่เคารพ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง....
"ชีวิตนี้มีอะไรให้เราได้ฝึก "ดูใจ" ตลอดเวลา.....

คงต้องฝึกวิทยายุทธ์ให้ลึกล้ำกว่านี้
เพื่อการ "ดูใจ"ที่เต็มประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

 

กราบสวัสดีอาจารย์ประพนธ์ครับ

แวะมาอ่านและรายงานตัวครับ

 . . ชีวิตนี้มีอะไรให้เราได้ฝึก “ดูใจ” ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมที่จะฝึกฝนหรือเปล่าเท่านั้นเอง ! !.....

...นั่นแหละคะ คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและ คิดว่า KM ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้น.. และมักจะไม่ยอมรับฟังความเห็นของคนอื่น (มักค้านในใจ..ว่างั้นเหอะ) หรือขี้เกียจฟัง ขี้เกียจฝึกฝน ...ก็ไม่แน่ใจนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท